ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ความรับผิดของกรรมการบริษัท

กรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบคดีที่เกิดมาก่อนที่เข้ามาหรือเปล่าครับ


คดีแพ่งและอาญาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งกรรมการ และถูกฟ้องก่อนหรือในช่วงที่คนใหม่เข้าเป็นกรรมการ เขาต้องรับผิดชอบด้วยไหมครับ หรือกรรมการคนเก่ายังต้องรับผิดชอบอยู่

จากคุณ : ปรีชาชน
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 54 17:14:07 A:115.87.6.13 X: TicketID:124468


ความคิดเห็นที่ 1

บริษัท ถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างหาก จากกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้น

ดังนั้น ความรับผิดในทางแพ่งและอาญา โดยปกติแล้ว กรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นจะไม่จำต้องรับผิด"ร่วม"กับบริษัท(ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ)

โดยเว้นแต่ กรณีระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิให้กรรมการบริษัท"รับผิดโดยไม่จำกัด" หรือ มีกฏหมายพิเศษอื่นๆบังคับให้กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ครับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์

มาตรา 1101 บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดจะรับผิดโดยไม่ จำกัดก็ได้ ถ้ากรณีเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าต้องจดแถลงความรับผิดเช่นนั้นลงไว้ใน หนังสือบริคณห์สนธิด้วย
อันความรับผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นกรรมการนั้นย่อมถึงที่สุด เมื่อล่วง เวลาสองปีนับแต่วันที่ตัวเขาออกจากตำแหน่งกรรมการ



สรุปง่ายๆคือ กรรมการฯไม่จำต้องรับผิดชอบส่วนตัวร่วมกับบริษัท เว้นแต่ ได้ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ หรือ กรรมการฯยอมไปทำสัญญาผูกพันตนค้ำประกันหนี้ของบริษัท หรือ มีกฏหมายพิเศษเฉพาะอื่นๆที่กำหนดไว้ให้กรรมการฯต้องรับผิดร่วมก็ต้องเป็นไปตามนั้น ครับ

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

แก้ไขเมื่อ 21 ม.ค. 54 18:46:20

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 54 18:45:24










ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณคุณอุบลแมนครับ
อันนี้หมายถึงเฉพาะแพ่งใช่ไหมครับ
แล้วถ้าคดีอาญา ถ้าบริษัทถูกฟ้อง กรรมการปัจจุบันต้องรับโทษด้วยไหมครับ

จากคุณ : ปรีชาชน
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 54 19:00:08 A:115.87.6.13 X: TicketID:124468










ความคิดเห็นที่ 3


กรณีคดีอาญา ที่บริษัทฯอาจต้องรับผิด

ในความเห็นส่วนตัว บริษัทเป็นนิติบุคคล การแสดงเจตนาของบริษัทในการจะกระทำการไม่กระทำการใดๆ จะแสดงเจตนาโดยผ่านทางกรรมการผู้มีอำนาจ"ในขณะนั้น" ดังนั้น หากต้องรับผิดชอบในทางอาญา(หากมี) เห็นว่า กรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นต้องเป็นคนรับผิด หาใช่กรรมการที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่หลังจากมีการทำผิดโดยกรรมการคนเก่าไปแล้ว ครับ

เช่น

พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 175 บุคคลดั่งต่อไปนี้มีหน้าที่และความรับผิดทางอาญาเช่นเดียว กับลูกหนี้ สำหรับกิจการที่ตนได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของ ลูกหนี้
(1) ถ้าลูกหนี้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงาน หรือผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้น
(2) ถ้าลูกหนี้เป็นบริษัทจำกัดผู้เริ่มก่อการ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ชำระบัญชีของบริษัทนั้น
(3) ถ้าลูกหนี้เป็นนิติบุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ใน (1) และ (2) ผู้ จัดการหรือผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้น
(4) ถ้าลูกหนี้มีตัวแทนหรือลูกจ้างเป็นผู้ประกอบการงาน ตัวแทนหรือ ลูกจ้างของลูกหนี้นั้น
(5) ถ้าลูกหนี้ตาย ทายาท ผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์ของลูกหนี้ นั้น

///////


ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 54 19:14:17
ถูกใจ : ckman









ความคิดเห็นที่ 4

ขอบคุณครับ

จากคุณ : ปรีชาชน
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 54 19:18:53 A:115.87.6.13 X: TicketID:124468








Create Date : 23 มกราคม 2554
Last Update : 23 มกราคม 2554 10:32:58 น. 1 comments
Counter : 8295 Pageviews.

 


โดย: wbj วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:20:55:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.