ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
18 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ผู้รับจำนองขอให้ขายทอดตลาดที่ดินที่ถูกเจ้าหนี้อื่นยึดโดยปลอดการจำนองได้ด้วยหรือ

รบกวนท่านผู้รู้เรื่องกฏหมายเกี่ยวกับบ้านที่ติดธนาคารด้วยค่ะ


คือว่าบ้านดิฉันติดภาระหนี้สินกับธนาคารออมสินอยู่ยังผ่อนส่งทุกเดือน ต่อมาสามีเป็นหนี้บัตรเครดิต โดนบริษัทบัตรเครดิตฟ้องร้อง สามีให้หักเงิน
เดือนเพราะว่าไม่มีเงินก้อนจ่าย แต่ทางบัตรเครดิตไม่ยอมไปเอาโฉนดที่ธนารคารแล้วไปขายทอดตลาด ธนาคารก็ให้ไปขายทอดตลาดได้ในฐานะปลอดจำนอง ทั้งๆที่เราก็ติดภาระหนี้สินกับธนาคารอีกหลายปี ทำไมธนาคารทำเช่นนี้ ดิฉันกับสามีต้องเทียวไปกรมบังคับคดีเพื่อค้าน และบางครั้งต้องไปสู้ราคาเพื่อจะรักษาบ้านไว้ อยากถามท่านผู้รู้ทั้งหลายค่ะ ว่าธนาคารมีสิทธิทำเช่นนี้หรือ บ้านเป็นชื่อสามีค่ะ และก็ตั้งแต่ธนาคารเอาโฉนดเราไปขายทอดตลาดเราก้หยุดการผ่อนบ้านมา ณ.บัดนั้น เพราะเก็บเงินเพื่อเอาไปวางมัดจำเวลาเราตั้งไปประมูลบ้านของเราเอง มันเจ็บปวดค่ะ ธนาคารมีสิทธฺให้โฉลดของเราไปได้ด้วยหรือคะ ใใครก็ได้ช่วยตอบให้หายข้องใจหน่อยค่ะ
ต้องขออภัยด้วยนะคะ ทั่ตั้งกระทู้ซ้ำเพราะเมื่อกี้ข้อความบางส่วนก็อปปี้ไม่หมดค่ะ

จากคุณ : missiskim
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 53 11:04:24

ความคิดเห็นที่ 1

ทำไม ไม่ลองเจรจากับเจ้าหนี้ละครับ เมื่อชำระหนี้ก็สามารถงดการขายได้

ผมมองว่าคุณไม่ยอมเจรจากับเจ้าหนี้ เรื่องหนี้บัตรเครดิต ซะมากกว่าครับ

จากคุณ : neversayso
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 53 11:43:04




ความคิดเห็นที่ 2

ข้อเท็จจริงที่คุณ จขกท.เล่ามา ไม่ชัดนัก

แต่"น่าจะ" หมายความว่า สามีคุณ ถูก ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้บัตรเครดิตเป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่ ไม่มีเงินชำระ ฝ่ายเจ้าหนี้บัตรเครดิตเขาจึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด ที่ดิน ของสามีคุณจขกท.ที่ติดจำนองกับธนาคารออมสิน ซึ่งต่อมา ได้มีการประกาศขายทอดตลาด โดย ธนาคารออมสินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายที่ดินนั้นๆ โดยปลอดการจำนอง ซึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศขายทอดตลาด

จากข้อเท็จจริงที่ จขกท.ให้มาว่า "ตั้งแต่ธนาคารเอาโฉนดเราไปขายทอดตลาดเราก้หยุดการผ่อนบ้านมา ณ.บัดนั้น " การที่คุณจขกท.และสามีไม่ผ่อนชำระหนี้จำนองต่อ เป็นเหตุให้ ธนาคารเขาสามารถขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดการจำนองได้ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 แจ้งแก้ไขข้อมูล

การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319

//////

อย่างไรก็ตาม แม้ คุณ จขกท.และสามีจะผ่อนชำระหนี้จำนองอยู่ แต่ ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา(หนี้บัตรเครดิตนั้นๆ) ทางฝ่ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังสามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดนั้นไว้ได้ต่อไป โดย การขายทอดตลาดอาจขายโดยการปลอดการจำนอง หรือ การจำนองติดไปก็ได้ครับ(ซึ่งต้องอ่านดูในรายละเอียดสัญญาจำนองอีกครั้ง แต่ส่วนใหญ่ธนาคารเขาจะเขียนสัญญาให้อำนาจฝ่ายธนาคารในทางเลือกมากกว่าผู้จำนองอย่างแน่นอนครับ) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียสิทธิแก่ผู้รับจำนองเขานั่นเอง

ทางแก้ของคุณ จขกท.กับสามี คือ ต้องชำระหนี้และ"ตกลง"กับเจ้าหนี้เขาให้ได้ครับ ซึ่งกฏหมายก็มีทางออกให้สำหรับกรณีที่ตกลงชำระหนี้กันได้(แม้จะยังไม่ครบก็ตามโดยอาจขอผ่อนชำระก็ได้)ดังนี้ครับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 292 เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณี ต่อไปนี้
(3) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี ว่าตนตกลงงดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี


กล่าวโดยสรุปคือ ฝ่ายเจ้าหนี้จำนองตามกระทู้ เขามีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยวิธี"ปลอดการจำนอง" ทางแก้ของ จขกท.และสามี คือ ต้องชำระหนี้ หรือตกลงกับเจ้าหนี้บัตรเครดิตและเจ้าหนี้จำนองแล้วขอให้งดการบังคับคดี ตาม ม.292(3)

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 53 11:54:10










ความคิดเห็นที่ 3

เฮียอุบลแมน ถ้ากรณีมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมละครับ ( กู้สองคน )

มันจะออกแนวไหน....

จากคุณ : aftertime
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 53 12:24:00










ความคิดเห็นที่ 4

ตอบเฮียอาร์ฟ คห.3

การเป็นผู้ถือกรรมสิทธิร่วมในโฉนด แม้เขาจะไม่ได้เป็นหนี้บัตรเครดิตด้วย

ถ้าที่ดินนั้นๆ ไม่ได้แบ่งเป็นสัดส่วนชัดเจนว่า ตรงไหนเป็นของใคร ตามกฏหมายแล้ว หากมีการยึดจะต้องยึดมาทั้งหมดทั้งแปลงนั้นครับ

ทางแก้ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคือ

ต้องร้องขอต่อศาลขอให้กันส่วนที่ดินนั้นในส่วนของตน หรือ หากกันส่วนที่ดินไม่ได้ ให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินนั้นตามส่วนของตนครับ

และ กรณีตามกระทู้ หากมีการตกลงชำระหนี้และให้งดการบังคับคดีตามม.292(3) เมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมเป็น"ผู้มีส่วนได้เสีย" การงดการบังคับคดีนั้น จึงต้องได้รับความยินยอมจากเขาด้วยเช่นกันครับ

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 18 พ.ย. 53 12:39:05



//www.pantip.com/cafe/social/topic/U9930514/U9930514.html




Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2553 13:20:59 น. 1 comments
Counter : 4025 Pageviews.

 


โดย: MaFiaVza วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:28:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.