ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ขอบเขตการบังคับคดี

หัวข้อสนทนา : การบังคับคดี
-เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สามารถยึดทรัพย์มรดกขอภริยาลูกหนี้ เพื่อนำชำนะหนี้ได้หรือไม่?
- ถ้าลูกหนี้เป็นนี้ตามคำพิพากษา 30,000 บ. และลูกหนี้มีเงินเดือนเพียง 6,000 บ. ถ้ามีการบังคับคดี คิดว่าศาลจะให้หักเงินเดือนละเท่าใดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา


จากคุณ : ลูกหนี้ราม....ที่ลูกหนี้จริงดันตาย ..เลยต้องรับผิด - [19 ธ.ค.52 16:46]

ความคิดเห็นที่ 1 :
-เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สามารถยึดทรัพย์มรดกขอภริยาลูกหนี้ เพื่อนำชำนะหนี้ได้หรือไม่?
^
^

โดยหลักเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิบังคับคดีกับทรัพย์ของลูกหนี้เท่านั้น หากเป็นทรัพย์ของคู่สมรสของลูกหนี้ จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสจึงจะบังคับคดีกับทรัพย์นั้นได้ กรณีตามที่ จขกท.ถามมา ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์มรดกของภรรยาของลูกหนี้ กรณีจึงถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาลูกหนี้ ตามหลักใน ปพพ.ดังนี้

ปพพ. มาตรา ๑๔๗๑
สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สิน
(๑) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอยู่ ก่อน สมรส
(๒) ที่เป็น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือ เครื่องประดับกาย ตามควรแก่ฐานะ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่จำเป็น ในการประกอบอาชีพ หรือ วิชาชีพ ของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(๓) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มา ระหว่าง สมรส โดยการรับมรดก หรือ โดยการให้โดยเสน่หา
(๔) ที่เป็นของหมั้น

จากม.๑๔๗๑(๓) ที่ดินดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงบังคับคดีกับทรัพย์นั้นไม่ได้ครับ


- ถ้าลูกหนี้เป็นนี้ตามคำพิพากษา 30,000 บ. และลูกหนี้มีเงินเดือนเพียง 6,000 บ. ถ้ามีการบังคับคดี คิดว่าศาลจะให้หักเงินเดือนละเท่าใดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา
^
^

กรณีนี่ ลูกหนี้มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ ๑๐,๐๐๐-บาท จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามหลักใน ปวิแพ่งดังนี้ครับ

ปวพ. มาตรา ๒๘๖
*ภายใต้บังคับ บทบัญญัติ แห่งกฎหมายอื่น เงิน หรือ สิทธิเรียกร้อง เป็นเงิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต่อไปนี้ ไม่อยู่ใน ความรับผิด แห่ง การบังคับคดี
(๑) เบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่ง กฎหมายกำหนดไว้ และ เงินรายได้ เป็นคราวๆ อันบุคคลภายนอก ได้ยกให้ เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวน รวมกันไม่เกินเดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ศาล เห็นสมควร
(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และ เบี้ยหวัด หรือ รายได้อื่นในลักษณะเดียวกัน ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือ ลูกจ้าง ในหน่วยราชการ และ เงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือ บำเหน็จ ที่หน่วยราชการ ได้จ่าย ให้แก่ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของบุคคลเหล่านั้น
(๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือ รายได้อื่น ในลักษณะเดียวกัน ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือ คนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้าง จ่ายให้แก่ บุคคลเหล่านั้น หรือ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวน รวมกันไม่เกิน เดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ศาล เห็นสมควร
(๔) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ที่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับ อันเนื่องมาแต่ ความตาย ของบุคคลอื่น เป็นจำนวน ตามที่จำเป็น ในการดำเนินการ ฌาปนกิจศพ ตามฐานะ ของผู้ตาย ที่ศาล เห็นสมควร
...

สรุป

๑.โดยหลักเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิบังคับคดีกับทรัพย์ของลูกหนี้เท่านั้น หากเป็นทรัพย์ของคู่สมรสของลูกหนี้ จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสจึงจะบังคับคดีกับทรัพย์นั้นได้ กรณีตามที่ จขกท.ถามมา ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์มรดกของภรรยาของลูกหนี้ กรณีจึงถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาลูกหนี้ จากม.๑๔๗๑(๓) ที่ดินดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงบังคับคดีกับทรัพย์นั้นไม่ได้ครับ

๒.กรณีตามกระทู้ ลูกหนี้มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ ๑๐,๐๐๐-บาท จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี




ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ


จากคุณ : พลายงาม - [19 ธ.ค.52 18:13]


ความคิดเห็นที่ 3 :
ขอบคุณ คุณพลายงามมากมาย....คะ
ตอบได้ชัดเจน มากมาย
แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอีกว่า แล้วอย่างนี้เจ้าหนี้จะทำอย่างไรได้คะ เมื่อไม่สามารถบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ ลูกหนี้ฯ จะต้องจำคุกแทนหรือไม่ อย่างไร?
จากคุณ : ลูกหนี้ราม....ที่ลูกหนี้จริงดันตาย ..เลยต้องรับผิด - [20 ธ.ค.52 22:46]

ความคิดเห็นที่ 4 :
กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์ที่จะบังคับคดีได้ เจ้าหนี้ต้องรอ...รอให้เขามีทรัพย์ที่จะอยู่ในข่ายบังคับคดีได้เท่านั้นครับ

เพราะกรณีการบังคับคดีแพ่ง จะบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้หรือบังคับให้ลูกหนี้กระทำการ,งดเว้นกระทำการ(เช่นการบังคับขับไล่รื้อถอน) เท่านั้น ไม่มีกรณีที่จะให้ลูกหนี้ไปจำคุกแทนแต่อย่างใด

ตามหลักในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้ครับ

ปพพ. มาตรา ๒๑๓
ถ้า ลูกหนี้ ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ ของตน เจ้าหนี้ จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งบังคับชำระหนี้ ก็ได้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้ จะไม่เปิดช่อง ให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อ สภาพแห่งหนี้ ไม่เปิดช่องให้ บังคับชำระหนี้ได้ ถ้า วัตถุแห่งหนี้ เป็นอันให้กระทำการ อันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้ จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งบังคับ ให้บุคคลภายนอก กระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้ เสียค่าใช้จ่ายให้ ก็ได้ แต่ถ้า วัตถุแห่งหนี้ เป็นอันให้กระทำ นิติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่ง ให้ถือเอา ตามคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนา ของลูกหนี้ ก็ได้
ส่วนหนี้ ซึ่ง มี วัตถุเป็นอันจะให้ งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้ จะเรียกร้องให้รื้อถอน การที่ได้กระทำลงแล้วนั้น โดยให้ลูกหนี้ เสียค่าใช้จ่าย และ ให้จัดการอันควร เพื่อกาลภายหน้าด้วย ก็ได้
อนึ่ง บทบัญญัติ ในวรรคทั้งหลาย ที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึง สิทธิที่จะเรียกเอา ค่าเสียหายไม่


ปพพ. มาตรา ๒๑๔
ภายใต้บังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา ๗๓๓ เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะ ให้ชำระหนี้ของตน จาก ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ จนสิ้นเชิง รวมทั้ง เงิน และ ทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่ง บุคคลภายนอก ค้างชำระ แก่ลูกหนี้ด้วย


ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเท่านี้ครับ

จากคุณ : พลายงาม - [21 ธ.ค.52 10:15]


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 13:15:59 น. 0 comments
Counter : 1764 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.