ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
2 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
การคุกคามทางเพศ เรื่องปกติที่"ไม่ปกติ"ต่อผู้หญิงในเอเชียใต้

การคุกคามทางเพศ เรื่องปกติที่"ไม่ปกติ"ต่อผู้หญิงในเอเชียใต้



คำว่า "Eve-teasing" อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูคนไทยนัก แต่ในประเทศแถบเอเชียใต้อย่างอินเดีย บังคลาเทศ เนปาล และปากีสถาน นั้นคำดังกล่าวเป็นคำที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ในความหมายถึง การคุกคามทางเพศ ที่เพศชายกระทำต่อเพศหญิง



โดยความหมายตามตัวอักษรของ Eve-teasing ที่หมายถึง “การยั่วยวนของอีฟ” ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นการโยนความรับผิดชอบไปให้ผู้หญิง ในฐานะที่เป็นตัวยั่วยวนทางเพศ ที่ทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้น และมองว่าการคุกคามทางเพศของฝ่ายชายเป็นเรื่องปกติธรรมดามากกว่าเป็นการกระทำผิด ทำให้นักสิทธิสตรีและองค์กรอาสาสมัครหลายแห่งเสนอให้ใช้คำอื่นที่เหมาะสมมากกว่านี้



คำว่า “Eve” เป็นชื่อที่มีที่มาจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งนักเรียกร้องสิทธิสตรีแย้งว่าเป็นคำที่ใช้กล่าวโจมตีสตรีโดยตรง ที่มองว่าสตรีเป็นเพียง "ผู้ที่ชอบยั่วยวน" และต้องแพ้ภัยตนเองในที่สุด และถือเป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในพจนานุกรมภาษาอังกฤษแบบอินเดีย



อาจกล่าวได้ว่า Eve-teasing เป็นการกระทำหยาบคายประการหนึ่งของเพศชายเพื่อดึงดูดความสนใจจากเพศหญิง เป็นรูปแบบของการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งมีขอบเขตความรุนแรงตั้งแต่ การพูดจาจาบจ้วงทางเพศ การแตะต้องสัมผัสสตรีในที่สาธารณะ การส่งเสียงโห่ฮาล้อเลียน การทำลามกอนาจารต่อเพศหญิง จนทำให้รู้สึกเขินอายและเสียหน้า หญิงสาวบางรายถูกคุกคามและถูกกดดันอย่างหนักจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย



นับตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ย. ปีที่แล้ว เฉพาะในบังคลาเทศ มีสตรี 26 ราย และพ่อของสตรีที่ถูกกล่าวลวนลามฆ่าตัวตายแล้วหนึ่งราย โดยมีชาย 10 ราย และสตรีอีก 2 รายถูกสังหาร หลังเข้าร่วมประท้วงพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ



โดยสมาคมทนายความสตรีแห่งบังคลาเทศ กล่าวว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากในบังคลาเทศ นักเรียกร้องสิทธิหลายรายได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูง และประสบความสำเร็จในการนิยามคำจำกัดความของคำว่า Eve-teasing โดยให้ถือว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมที่รุนแรง เพื่อเป็นการส่งสาสน์ไปยังสื่อมวลชนในท้องถิ่น ตำรวจ และหน่วยงานด้านการศึกษาต่างๆ ว่าควรยกเลิกความเข้าใจแบบเดิม และเพิ่มเติมคำอธิบายที่มีความเหมาะสมกว่า เช่น การคุกคามทางเพศ การข่มเหง และการล่าเหยื่อ



คำว่า Eve-teasing เข้าใจว่ามีการนำมาใช้ครั้งแรกในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ในช่วงยุค 1950-1960 ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "sexual" ซึ่งอาจกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่านในประเทศที่มีสังคมแบบอนุรักษ์นิยมเช่นอินเดีย ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผู้หญิงจำนวนมากเริ่มเข้าเรียนในวิทยาลัย และออกทำงานนอกบ้าน ทำให้ผู้หญิงมีอิสระและพึ่งพาตนเองมากขึ้น ซึ่งหมายถึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีญาติพี่น้องที่เป็นผู้ชายไปเป็นเพื่อนติดตามคอยช่วยเหลือตาธรรมเนียมแบบดั้งเดิม ดังนั้นการปรากฏตัวในที่สาธารณะโดยลำพังมากขึ้นของผู้หญิงอินเดีย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหานี้เพิ่มขึ้น



แม้กระทั่งในปัจจุบัน ที่หนังสือพิมพ์ของอินเดียเต็มไปด้วยข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องเพศมากมาย แต่คำดังกล่าวก็ยังมีการนำมาใช้ บ่อยครั้งในหัวข้อข่าวที่สตรีถูกทำร้าย และลวนลาม



ซึ่งผลก็คือมันได้สร้างความเข้าใจและการรับรู้ให้แก่คนทั่วไปว่า เหตุ Eve-teasing นั้นก็คือการที่สตรีถูกกลุ่มผู้ชายพูดจากระเซ้าเย้าแหย่เท่านั้น



ผลการวิจัยล่าสุดจากศูนย์วิจัยด้านสตรีนานาชาติระบุว่า ชายหนุ่มจำนวน 1,000 คนที่เข้ารับการวิจัยเปิดเผยว่า พวกเขาส่วนใหญ่มองว่า Eve-teasing นั้นเป็นการกระทำที่ไม่มีอันตรายและไม่เป็นภัย



รายงานข่าวออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ หลายแห่งในอินเดีย ซึ่งในระยะหลังๆ นี้มีความรุนแรงมาก อย่างเช่นการสาดน้ำกรดใส่ผู้หญิง และมีหลายรายที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย หรือตามมาด้วยการถูกข่มขืนแล้วฆ่า ทำให้รัฐบาลอินเดีย และรัฐบาลรัฐเพิ่มมาตรการลงโทษและบังคับใช้กฏหมายเอาผิดกับฝ่ายชายที่กระทำการดังกล่าว



แม้ว่าการกระทำนี้จะเป็นสิ่งที่น่าประณามและมีกฎหมายลงโทษ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับบุคคลเพศชายที่กระทำผิดต่อเพศหญิงเหล่านี้โดยง่าย ขณะที่เหตุการณ์ในหลายกรณีผู้เสียหายไม่มีการร้องเรียน เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่เชื่อว่านั่นอาจทำให้พวกเธอถูกหัวเราะเยาะและยิ่งทำให้อับอายมากขึ้น



หลายฝ่ายได้เคยทำการเรียกร้องต่อตำรวจทั้งของอินเดียและบังคลาเทศ ที่แสดงการเพิกเฉยต่อการแสดงออกเช่นนี้ โดยไม่ได้มองว่านี่ถือเป็นอาชญากรรมขั้นร้ายแรง อีกทั้งแย้งว่าความรู้สึกเช่นนี้ถูกสนับสนุนด้วยความคิดที่ว่า เหยื่อก็เพียงแค่ถูก"เย้าแหย่"เท่านั้น



ปัญหาการลวนลามทางเพศในอินเดียนี้เป็นที่สนใจต่อสาธารณะและสื่อมวลชนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผู้หญิงจำนวนมากเริ่มเข้าเรียนในวิทยาลัย และออกทำงานนอกบ้าน ทำให้ผู้หญิงมีอิสระและพึ่งพาตนเองมากขึ้น ซึ่งหมายถึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีญาติผู้ชายไปเป็นเพื่อนติดตามคอยช่วยเหลือตามแบบธรรมเนียมดั้งเดิม การปรากฏตัวในที่สาธารณะโดยลำพังมากขึ้นของผู้หญิงอินเดีย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหานี้เพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ดี ยังมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับสาเหตุของการถูกคุกคาม นักอนุรักษ์นิยมบางรายกล่าวว่าผู้หญิงเป็นผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นเอง เนื่องจากพวกเธอแต่งกายที่เป็นการยั่วยวนจนเกินไป และแนะนำให้พวกเธอแต่งกายตามแบบประเพณีดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อนับตามสถิติแล้ว เป็นการยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าการแต่งกายมิดชิดจะช่วยให้พวกเธอรอดพ้นจากการถูกลวนลาม



ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า 35% ของผู้ถูกลวนลามกลายเป็นคนที่ต่อต้านสังคม, 32% เป็นนักเรียนนักศึกษา และ 33% อยู่ในวัยกลางคน ผู้หญิงที่อาศัยในเมืองใหญ่ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันตัว และอีกจำนวนมากเข้ารับการฝึกการป้องกันตัว แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามจะออกนโยบายหรือกฏหมายใดๆเพื่อเอาผิดการกระทำเช่นนี้ แต่จากสถิติที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง



//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298972781&grpid=01&catid=&subcatid=

ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณกิ้ฟคุรคห.1 ครับ

ท่านยายซิ่งคห.2 ภาพปลากรอบแต่อัน ฮาได้ใจ คุณป้าตามรูปนั่น เอ่อ...555

ผมก้อไม่ทราบว่า คำว่า"คุกคามทางเพศ" กับ "อนาจาร" เหมือนกันไหม

แต่ถ้าเป็นการอนาจาร จะมีหลักในกฏหมายอาญาดังนี้ครับ

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดย ขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่า ตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


จะอย่างไรบ้างคือ การอนาจาร ศาลได้เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานไว้ดังนี้ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2550 แจ้งแก้ไขข้อมูล

การกระทำอนาจาร คือ การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ เพียงแต่กอดจูบลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควรก็เป็นการอนาจารแล้ว ส่วนการกระทำชำเรานั้นเป็นการกระทำถึงขั้นใช้อวัยวะเพศของชายใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิง การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อจำเลยพรากเด็กหญิง อ. ไปเพื่อกระทำชำเราเด็กหญิง อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม และเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานกระทำชำเรา

/////////////

อย่างไรก็ตาม ในคห.ส่วนตัว คำว่า "การคุกคามทางเพศ" น่าจะมีความหมายกว้างกว่า"อนาจาร"ครับ สมัยผมเด็กๆทำงานใหม่ๆสิบกว่าๆปีก่อน เคยเห็นหัวหน้าผู้ชายคนหนึ่ง แกจะชอบเรียกลูกน้องสาวๆสวยๆเข้าไปในห้อง แล้วให้นั่งทำงานในห้องแกยังงั้นแหละ แกก็นั่งมองๆๆไปโดยไม่ได้ทำอะไรเขา ยังงี้คงไม่ผิดอนาจาร แต่ น่าจะเข้าข่าย"คุกคามทางเพศ" ครับ

แต่อ่านตามข่าว เอเชียใต้ หรือ พวกแขกนั่นแหละ ปัญหาเรื่องนี้น่าจะหนักกว่าบ้านเรานะครับ...ผมก็ไม่เคยไปเที่ยวทางนั้น แต่อ่านจากข่าวมันประมาณนั้นครับ...


จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 2 มี.ค. 54 10:57:02


//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10295931/U10295931.html


Create Date : 02 มีนาคม 2554
Last Update : 2 มีนาคม 2554 11:02:03 น. 0 comments
Counter : 1381 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.