ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
พ่อถูกฟ้องล้มละลาย และบ้านที่อยู่ถูกประกาศขายทอดตลาด ลูกจะสามารถเข้าประมูลซื้อบ้านกลับมาได้หรือไม่

*** พ่อถูกฟ้องล้มละลาย และบ้านที่อยู่ถูกประกาศขายทอดตลาด ถามว่าลูกจะสามารถเข้าประมูลซื้อบ้านกลับมาได้หรือไม่คะ ***


คือว่าพ่อถูกฟ้องล้มละลายค่ะ และกำลังจะพ้นคดีในปีนี้ช่วงปลายปี
แต่ว่าทางเจ้าหนี้ได้ประกาศขายทอดตลาด เดือนหน้า

อยากทราบว่าเราเป็นลูก ใช้สกุลเดียวกัน จะสามารถเข้ายื่นประมูลซื้อบ้านกลับมาเป็นของตนได้หรือไม่คะ

ถ้าได้ ต้องมีกฏระเบียบ ทำอย่างไรบ้างคะ

ปล. ในหนังสือระบุว่า บ้านของเรา แปลงที่1 ติดจำนอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด ผู้สวมสิทธิรับจำนอง เจ้าพนักงานบังคับคดี จะทำการขายแยกโดยปลอดการจำนอง (มีบ้านของอาอีกหลังค่ะ แต่ไม่เกี่ยว) ถามว่าเมื่อประมูลได้แล้วนี่คือจะพ้นจากการจำนองทันที ใช่หรือไม่คะ

และเจ้าหนี้ คือ ธนาคารนครหลวงไทย จะมีสิทธิคัดค้านหรือไม่คะหากเราซึ่งเป็นลูกจะเข้าทำการประมูล



แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 54 22:25:33

จากคุณ : Poranoid
เขียนเมื่อ : 17 ม.ค. 54 22:10:34


ความคิดเห็นที่ 1


ลูก เป็นคนละคนกับพ่อที่เป็นคนล้มละลาย ลูกจึงมีสิทธิเข้าประมูลซื้อทรัพย์ของพ่อที่ถูกยึดในคดีล้มละลายได้ครับ



เงื่อนไขที่ว่าขายปลอดการจำนอง หมายความว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดจะได้ทรัพย์นั้นไปโดยปราศจากภาระจำนองครับ ตามนัยประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้ครับ



มาตรา 744 อันจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไป ด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุ อายุความ
(2) เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(3) เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(4) เมื่อถอนจำนอง
(5) เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาล อันเนื่อง มาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง
(6) เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด






ส่วนคำถามสุดท้าย ธนาคารมีสิทธิค้านไม่ให้ จขกท.ซึ่งเป็นลูกของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเข้าประมูลหรือ คำตอบคือ ธนาคารไม่มีสิทธิค้านครับ แต่เขาอาจมีสิทธิคัดค้านราคาในการประมูลได้ว่าต่ำไป ตาม ป.วิพ.มาตรา ๓๐๙ ทวิ เท่านั้น



ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ



จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 17 ม.ค. 54 22:34:01


//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10142098/U10142098.html


Create Date : 18 มกราคม 2554
Last Update : 18 มกราคม 2554 11:41:21 น. 5 comments
Counter : 4032 Pageviews.

 
ซื้อได้? แต่จะซื้อเพื่ออะไร?

แล้วถ้าหนี้ของพ่อมีมูลค่ามากกว่าตัวบ้านที่ทอดขายล่ะ

อย่างเช่นติดหนี้ธนาคาร5แสนรวมดอกเบี้ย แต่บ้านที่ขายทอดตลาดธนาคารตั้งที่3แสน เราประมูลมาได้ก็จริง แต่ที่สุดก็ต้องหามาจ่ายที่เหลืออยู่ดี ซึ่งถ้าไม่มีจ่ายธนาคารก็ตามมายึดบ้านที่ประมูลได้กลับไปขายทอดตลาดอีก

เพราะหนี้ของพ่อแม่ลูกต้องรับผิดชอบ ในฐานะผู้สืบสันดาน ไม่ใช่หรือคะ?


โดย: คล้ายดาว วันที่: 18 มกราคม 2554 เวลา:12:20:34 น.  

 
ตอบคุณคล้ายดาว

สมมุติว่า ลูกของจำเลยในคดีแพ่งหรือลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เขาเข้ามาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและซื้อทรัพย์นั้นได้ไป

แม้เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นๆจะไม่คุ้มหนี้ เช่น เป็นหนี้กันอยู่ 1 ล้านบาท แต่ที่ดินที่ขายทอดตลาดขายได้เพียง 5 แสนบาท ดังนี้ เงินส่วนต่างอีก 5 แสนบาท ตามกฏหมายแล้วลูกไม่จำต้องไปชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้แต่อย่างใดครับ

กรณีที่ทายาทหรือผู้สืบสันดาน จะต้องชดใช้หนี้ของพ่อแม่ ตามกฏหมายแล้วจะเป็นกรณีที่ พ่อแม่เสียชีวิต แล้วมี "มรดก" ตกทอดถึงลูกหรือทายาท ดังนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้สามารถเรียกร้องเอาจากลูกหรือทายาทได้ ในส่วนของมรดกที่ตกทอดแก่ลูกหรือทายาท แต่ หนี้ที่เรียกร้องนั้นๆจะเรียกร้องได้ไม่เกินกว่า"มรดก"ที่ตกทอดแก่เขาครับ

ตามหลักในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้ครับ
มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ได้แก่ตน

ซึงในทางปฏิบัติที่พบเจออยู่บ่อยๆ ก็เห็นลูกหลานของจำเลยหรือลูกหนี้ในคดีล้มละลาย มาซื้อทรัพย์สินในลักษณะตามกระทู้อยู่มากครับ


โดย: อุบลแมน วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:10:54:52 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:13:49:35 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:14:55:26 น.  

 


โดย: SassymOn วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:2:05:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.