ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
เบิกความเท็จ

แพทย์ให้ความเห็นผิด แต่ไม่ตั้งใจผิดไหมครับ

การให้ความเห็นในชั้นศาลเช่นเป็นพยานในคดีถูกทำร้ายร่างกาย แต่ให้ความเห็นเกินจริงโดยไม่ตั้งใจ จะผิดข้อหาอะไรบ้างครับ

(ละเมิด หรือ เบิกความเท็จรึเปล่าครับ ไม่แน่ใจ)

ขอบคุณครับ

จากคุณ : MD cm
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 21:24:57 A:124.157.189.185 X: TicketID:248683


ความคิดเห็นที่ 1

แล้วถ้ามีแพทย์อีกฝ่าย มาให้ความเห็นแย้งกับเรา โดยที่เรารู้ว่าเค้าตั้งใจทุจริตในความเห็นเค้าจะผิดอะไรบ้า้งครับ

ช่วงนี้ผมฝึกเป็นแพทย์นิิติเวช ต้องให้ความเห็นเรื่องบาดแผลบ่อย ท่านใดรู้กฎหมายรบกวนช่วยด้วยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

จากคุณ : MD cm
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 21:27:36 A:124.157.189.185 X: TicketID:248683










ความคิดเห็นที่ 2

กรณีเบิกความเท็จต่อศาล มีหลักกฏหมายในประมวลกฏหมายอาญาให้ไว้ดังนี้ครับ

มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณา คดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท

^
^

กรณีความผิดฐานเบิกความเท็จ จะต้องกระทำโดยเจตนา คือ รู้ว่าเป็นความเท็จ แต่ก็ยังจะเบิกความนั้นๆต่อศาล ตามข้อกฏหมายข้างต้น

กรณีที่ จขกท หารือมา เห็นว่า

๑. "การให้ความเห็นในชั้นศาลเช่นเป็นพยานในคดีถูกทำร้ายร่างกาย แต่ให้ความเห็นเกินจริงโดยไม่ตั้งใจ จะผิดข้อหาอะไรบ้างครับ " กรณีเป็นการแสดงความเห็นจริง และ มีส่วนเกินจริงไปบ้าง แต่ในเมื่อเพียงเป็นการแสดงความเห็น และ มีส่วนจริงและไม่ได้เจตนาจะเป็นความเท็จถึงขนาดให้ใครเสียหาย จึงน่าจะยังไม่เข้าองค์ประกอบเบิกความเท็จครับ แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้ระมัดระวังในการให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาครับ แม้จะเกินจริงไปบ้าง ก็ไม่น่าจะถึงขนาดผิดเบิกความเท็จครับ (เป็นความเห็นส่วนตัวคนอื่นอาจเห็นต่างครับ)

๒."แล้วถ้ามีแพทย์อีกฝ่าย มาให้ความเห็นแย้งกับเรา โดยที่เรารู้ว่าเค้าตั้งใจทุจริตในความเห็นเค้าจะผิดอะไรบ้า้งครับ" ก็ต้องดูองค์ประกอบความผิดของกฏหมายข้างต้นอีกครั้งครับ คือ ถ้าเขาคนนั้นเจตนา คือ รู้ว่าที่แสดงความเห็นไปเป็นความเท็จและยังขืนเบิกความต่อศาล เขาก็จะมีความผิดตามม.๑๗๗ ข้างต้นครับ

อย่างไรก็ตาม ความผิดเบิกความเท็จตามม.๑๗๗ ยังมีทางออกให้ผู้กระทำความผิดดังนี้ครับ

มาตรา 182 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 177 หรือ มาตรา 178 แล้วลุแก่โทษ และกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือเจ้าพนักงาน ก่อนจบคำเบิกความหรือการแปล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 183 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 177 มาตรา 178 หรือ มาตรา 180 แล้วลุแก่โทษและกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือ เจ้าพนักงานก่อนมีคำพิพากษาและก่อนตนถูกฟ้องในความผิดที่ได้ กระทำศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได

^
^

คือ

ถ้าก่อนจบคำเบิกความแล้วบอกศาลว่า ที่เบิกความไปเป็นเท็จ ก็จะไม่ต้องรับโทษ(ม.๑๘๒)

หรือ เบิกความไปแล้ว ก่อนศาลพิพากษาและก่อนที่ตัวเองจะถูกฟ้องว่าเบิกความเท็จนั้น ไปบอกความจริงต่อศาลว่าที่เบิกไปมันเท็จนะครับ ดังนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได(ม.๑๘๓)

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 53 22:09:43

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 22:02:45










ความคิดเห็นที่ 3

แล้วถ้าให้ความเห็นเกินจริงโดยไม่ได้ตั้งใจ

แล้วทำให้เกิดผลเสียกับจำเลยหล่ะครับ

จากคุณ : MD cm
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 22:11:26 A:124.157.189.185 X: TicketID:248683










ความคิดเห็นที่ 4

ตามที่คุณหมอ จขกท ว่ามาตาม คห.๓

ผมเห็นว่า ควรใช้ทางแก้คล้ายๆกับ ม.๑๘๓ ครับ คือ เรียนให้ศาลทราบก่อนมีคำพิพากษา ว่า ที่เราเบิกความไปนั้น มันโอเว่อไปหน่อยและจะทำให้มีผลร้ายกับฝ่ายจำเลย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำผิดถึงขนาดเบิกความเท็จก็ตามครับ


มาตรา 183 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 177 มาตรา 178 หรือ มาตรา 180 แล้วลุแก่โทษและกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือ เจ้าพนักงานก่อนมีคำพิพากษาและก่อนตนถูกฟ้องในความผิดที่ได้ กระทำศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได้

น่าจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้ในทางกฏหมายครับ ยังไงอาจมีผู้รู้และมีประสบการณ์ตรงเข้ามาเสริมให้อีกครั้งครับ

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 22:21:28










ความคิดเห็นที่ 5

มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณา คดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท

^
^

ทั้งนี้คงต้องพิจารณาไปถึงองค์ประกอบอีกอันที่ว่า "ความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี " คือ ที่เบิกความไปนั้นมีผลถึงขนาดทำให้คดีแพ้ชนะกันหรือมีผลให้ศาลต้องลงโทษ/ไม่ลงโทษจำเลย หรือไม่ด้วยครับ

แต่จะว่าไป ในคดีอาญา ความเห็นของแพทย์ น่าจะมีผลเป็นอย่างมากต่อคดี และ น่าจะถือว่าเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะศาลคงไม่มีความรู้ทางแพทย์ คงต้องรับฟังความเห็นแพทย์ประกอบการพิจารณาเป็นส่วนใหญ่ครับ


ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 23:26:44










ความคิดเห็นที่ 6

ขอบคุณครับ

จากคุณ : MD cm
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 53 23:32:00 A:124.157.189.185 X: TicketID:248683






ที่มา- //www.pantip.com/cafe/social/topic/U8958197/U8958197.html


Create Date : 08 มีนาคม 2553
Last Update : 8 มีนาคม 2553 19:47:24 น. 0 comments
Counter : 1888 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.