ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
กรณีนาธานถูกขังระหว่างพิจารณา

นาธานนอนคุก!ไม่ไกล่เกลี่ยคดีโกง ไร้คนประกัน


28 กพ. 2554 20:30 น.


ศาลสั่งคุมตัวนาธาน หลังไม่ยอมไกล่เกลี่ยคดีโกงน้ามด เปิดโอกาสให้ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับบุคคลหลายคนในจังหวัดเลย ให้มาประกันตัว แต่ไม่มีใครสนใจจนหมดเวลาประกัน ตำรวจควบคุมที่เรือนจำจังหวัดเลย

ตามที่พนักงานอัยการเป็นโจทย์ บรรยายคำฟ้องว่า เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2553 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยหลอกลวง นางสิทธิพร โคตรอุดมพร ผู้เสียหาย ว่า สามารถจัดธุรกิจนำเที่ยวได้ทั่วโลก และจัดหาลูกค้านักท่องเที่ยวไปเที่ยวในที่ต่างๆได้ หากผู้เสียหายร่วมลงทุน จำได้กำไรเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งความจริงการกระทำของจำเลยเป็นเพียงกลอุบายเพื่อให้ได้ไปเพื่อทรัพย์สินจากผู้เสียหาย โดยการลอกลวงดังกล่าว ทำให้นางสิทธิพร ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยหลายครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 702,800 บาท

จำเลยให้การปฏิเสธ และจะหาทนายความเอง ซึ่งศาลกำหนดนัดพร้อมในวันที่ 14 มีนาคม 2554 เวลา 08.00 น. ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไม่มีหลักประกัน แต่ศาลจังหวัดเลยยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่ามูลค่าความเสียหายที่จำเลยหลอกหลวงผู้เสียหายไปเป็นเงินจำนวนถึงเจ็ดแสนกว่าบาท หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้หาหลักประกันมายื่นต่อศาลต่อไป

วันนี้ศาลนำตัวจำเลยและนางสิทธิพร ผู้เสียหายซึ่งเดินทางมาศาลในวันนี้ด้วย เข้าห้องไกล่เกลี่ยคดี โดยมีนายศักดิ์ดา วะสมบัติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเลย ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งผลการไกล่เกลี่ยเบื้องต้น จำเลยประสงค์จะต่อสู้คดี ไม่ประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหาย ศาลจึงนำตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อรอการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว แต่ไม่มีใครมาประกันตัว จนหมดเวลาทำงาน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศาลจึงเอาตัวไปควบคุมที่เรือนจำจังหวัดเลย

//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=497197








จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 28 ก.พ. 54 22:10:12

ความคิดเห็นที่ 9

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

/////////////

เท่าๆที่เคยตามข่าวมา ข่าวเก่าๆเกี่ยวกับเรื่องนี้นาธานก็"รับ"ว่าได้เอาเงินมาจริง

ก็ไม่รู้จะสู้เรื่องอะไร ให้เดา คงสู้ว่า ให้โดยสเน่หา หรือ เป็นเรื่องผิดสัญญา(สัญญาทำธุรกิจร่วมกัน)ไม่ใช่การฉ้อโกง แต่เท่าๆที่ตามข่าวแล้ว...เฮ้อ...ไม่วิจารณ์ดีกว่า

ความจริงเรื่องฉ้อโกงนี้มันยอมความได้

มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตาม มาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
//////

ถ้าตกลงกับผู้เสียหายเขาได้ ใช้เงินคืนเขาไป คดีก็จะได้จบๆไปครับ

ถ้าไม่ขอประกันตัวโดยมีหลักประกันมาวาง ก็ต้องอยู่เรือนจำไปเรื่อยละครับ...

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 28 ก.พ. 54 23:26:09


//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10290732/U10290732.html



นายนาธานสมควรโดนขังหรือไม่{แตกประเด็นจาก U10290732}



กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก U10290732

สืบเนื่องจากข่าวที่ศาลจังหวัดเลยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายนาธาน จากข้อเท็จจริงในเนื้อข่าวในกระทู้ที่แตกประเด็นมา ส่วนเป็นบรรยายฟ้องโจทก์สรุปได้ว่าคดีนี้มีการฟ้องหรือตั้งข้อหานายนาธานในข้อหาฉ้อโกงตาม ปอ. 341 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ากรณีนี้ศาลจังหวัดเลยสั่งถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

คดีฉ้อโกงดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี เป็นคดีแขวง แต่เท่าที่ทราบจังหวัดเลยยังไม่มีศาลแขวงเปิดทำการ ศาลจังหวัดเลยจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงไปพลางก่อนได้ตามวิแขวง (มาตราใดจำไม่ได้แล้ว ม. 17 มั้งครับไม่แน่ใจ) กรณีของนายนาธานตามข่าวขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลเนื่องจากอัยการฟ้องคดีแล้ว การที่ศาลจังหวัดเลยจะปล่อยชั่วคราวได้ แสดงว่ากรณีศาลมีอำนาจที่จะออกหมายขังจำเลยได้

ตาม ปวิอ.ม. ๗๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา ๘๗ หรือ มาตรา ๘๘ ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม..."

ปวิอ.ม. ๖๖ บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ

(๒) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"

จากบทบัญญัติดังกล่าว ตามความเข้าใจส่วนตัวเห็นว่า คดีที่ศาลอาจออกหมายขังระหว่างพิจารณาได้นั้น ต้องมีเหตุตาม ปวิอ. ม. ๖๖ เสียก่อนกล่าวคือ ต้องปรากฏว่าโทษที่จำเลยอาจจะได้รับมีโทษจำคุกขั้นสูงเกินสามปี หรือมิฉะนั้นต้องมีพฤติการณ์จะหลบหนี ยุ่งเหยิงพยาน หรือก่อเหตุอันตราย ถ้าพ้นจากนี้แล้ว แม้จำเลยจะถูกฟ้อง ศาลก็ไม่อาจออกหมายขังระหว่างพิจารณาได้ คงทำได้แต่นัดหมายให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเท่านั้น

เมื่อเป็นดังนี้ ด้วยความเคารพ เห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแขวง รวมคดีที่อยู่ในอำนาจศาลจังหวัดเนื่องจากโทษปรับเกินหกหมื่นแต่โทษจำคุกไม่เกินสามปีเช่นคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาก็ตาม ถ้าไม่ปรากฏเหตุตาม (๒) แห่งมาตรา ๖๖ ศาลก็ไม่อาจขังจำเลยได้ และก็เป็นเหตุให้ศาลไม่อาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยใดๆ ได้ เนื่องจากไม่สาเหตุขังจำเลยได้

จากกรณีตามข่าวของนายนาธาน เป็นคดีฉ้อโกงที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี และตามข่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยจะมีพฤติการณ์หลบหนี (เรียกให้มา ก็มาตามนัด) ยังไม่ปรากฏเหตุที่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายอื่นใด กรณีจึงเห็นว่าไม่น่าจะออกหมายขังนายนาธานได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าหลักประกันที่นายนาธานเสนอต่อศาลน่าเชื่อถือหรือไม่

ปล. ขอวิจารณ์ในเชิงวิชาการนะครับ ประเด็นอยู่ที่ว่า "ข้อโกงฉ้อโกงตาม ปอ.ม. 341 ศาลออกหมายขังระหว่างพิจารณาได้หรือไม่" ไม่ใช่ "นาธานไม่ดีอย่างไร" เพราะเรื่องนี้ในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหลายคดีที่เจออยู่ศาลบางท่านก็ว่าต้องประกัน บางท่านให้ออกหมายนัดไว้ ก็อยากให้เสนอแนวกฎหมายเผื่อ นักกฎหมายบางท่านจะใช้เป็นแนวในการอุทธรณ์กรณีศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวลูกความ

แก้ไขเมื่อ 01 มี.ค. 54 13:48:54

แก้ไขเมื่อ 01 มี.ค. 54 13:46:50

จากคุณ : สมมติ
เขียนเมื่อ : 1 มี.ค. 54 13:43:18
ถูกใจ : อุบลแมน

ความคิดเห็นที่ 8


ปวิอ.ม. ๗๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา ๘๗ หรือ มาตรา ๘๘ ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม..."

ปวิอ.ม. ๖๖ บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ

(๒) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"



//////////////////



จากข้อกฏหมายข้างต้น แม้ข้อหาฉ้อโกงจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่ ศาลยังสามารถออกหมายขังจำเลยได้ โดยใช้ดุลยพินิจตามม.66(2) ครับ ซึ่งตามตัวบทจะให้อำนาจศาลไว้กว้างๆ



เหมือนตั้งแต่ตอนจับนั่นแหละครับที่ใช้ม.66 เพียงแค่พอมีเหตุควรเชื่อ ศาลก็ออกหมายจับได้แล้ว คือขอแค่น่าเชื่อซัก 50% ขึ้นไป ศาลก็น่าจะออกหมายจับให้แล้ว ตามนัยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯดังนี้ครับ

“ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๘”

ข้อ ๑๘ ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ออกหมายจับหรือหมายค้น ผู้พิพากษาไม่จำต้องถือเคร่งครัดเช่นเดียวกับการรับฟังพยานหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลย



ข้อ ๔๓ ก่อนที่ศาลจะออกหมายขังตามข้อ ๓๙ หรือกรณีที่ศาลจะขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาจะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควรที่ทำให้เชื่อได้ว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ผู้พิพากษาจะออกหมายขังนั้นเป็นผู้ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้หรือต้องขังตามหมายศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ร้องขอหรือไม่ ผู้พิพากษาจะออกหมายขังผู้นั้นต่อไปโดยไม่ต้องไต่สวนตามวรรคหนึ่งก็ได้



ข้อ ๔๔ ให้นำหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการออกคำสั่งตามข้อ ๑๗ ถึงข้อ ๑๙ มาใช้บังคับแก่การออกหมายขังด้วย โดยอนุโลม



/////////



นั่นคือ ศาลน่าจะใช้ดุลยพินิจตามม.66(2)ว่าจำเลยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงได้ออกหมายขังจำเลยไว้นั่นเองครับ



ซึ่งข้อหาฉ้อโกงเงินไปเป็นจำนวนกว่า 7 แสนบาท ถือเป็นเงินจำนวนสูง หากให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยไปโดยไม่มีหลักประกัน ศาลคงเห็นว่าจำเลยอาจหลบหนีตามนัยม.66(2)ครับ



ยังไงก็ลองฟังความเห็นของสมาชิกท่านอื่นดูอีกทีนะครับ



ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ





จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 1 มี.ค. 54 14:33:26
ถูกใจ : สมมติ, ข้างบูรพา, ohmygodness

//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10292805/U10292805.html


Create Date : 01 มีนาคม 2554
Last Update : 1 มีนาคม 2554 18:16:23 น. 0 comments
Counter : 1108 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.