ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
คอมมอนลอว์

28 ธ.ค. 2551, 16:42 น.
คำถาม : คอมมอนลอว์ ใช้อย่างไร++++
อ่านหนังสือแล้วเห็น อังกฤษ อเมริกา ก็มี พระราชบัญญัติต่างๆเหมือนประเทศเรา การใช้การตีความ ก็อ้างทั้ง ตีความตัวอักษรและคดีเก่าๆ เลย งงมาก ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยคะ ว่า เขาใช้ ตีความอย่างไร

ความคิดเห็น
ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(Common Law System) หรือเรียกว่าระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี ระบบกฎหมายนี้มีที่มา จากประเทศอังกฤษซึ่งเชื่อว่ามีรากเง่ามาจากลัทธิศักดินา(feudalism)ทีมีอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ โดยในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีจารีตประเพณีเป็นของตนเอง ดังนั้น ระบบกฎหมายนี้จึงถือว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นมีอยู่แล้วผู้พิพากษาเป็นผู้มีหน้าที่ค้นให้พบและนำเอามาใช้ กล่าวคือเมื่อมีคำพิพากษาในคดีใดแล้วคำพิพากษานั้นก็เป็นหลักการ หรือบรรทัดฐานในการพิจารณาพิพากษาคดีที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นภายหลังจนบางครั้งเรียกกฎหมายสกุลนี้ว่า สกุลกฎหมายที่เกิดจากศาล (Judge made law) ซึ่ง แตกต่างจากระบบกฎหมายซิวิลลอว์ ที่ต้องวางทฤษฎี(doctrine) จากการสร้างแนวความคิด(concept) อย่างไรก็ตาม ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้นก็ประสบปัญหา ว่าการตัดสินคดีของศาลคอมมอนลอว์นั้นไม่อาจก่อให้เกิดความเป็นธรรมได้ในทุกกรณี ดังนั้น จึงเกิดมีการนำข้อพิพาทขึ้นสู่กษัตริย์โดยตรงทำให้เกิดระบบเอคควิตี้(equity) และนอกจากนั้นก็ได้มีการใช้ลายลักษณ์อักษรด้วยเช่นเดียวกัน และประเทศที่ใชัระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นี้ ก็ได้แก่ประเทศอังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ปัจจุบันผมเห็นว่าคงไม่มีประเทศใดในโลกที่จะใช้ระบบ คอมมอนลอว์หรือซีวิลลอว์ เพียวๆอีกแล้ว เพราะสังคมมันมีวิวัฒนาการที่มากขึ้นซับซ้อนขึ้น แนวโน้มจะออกไปทางผสมครับ เช่น

หากใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เพียวๆอย่างเดียว ก็น่าจะเกิดปัญหาเรื่องความชัดเจนกับประชาชน เพราะไม่มีตัวบทกฏหมายแน่นอน จึงต้องแก้โดยใช้ระบบซีวิลลอว์บ้างบางส่วน โดย มีการใช้ พระราชบัญญัติหรือประมวลกฏหมายบ้างในบางสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติครับ




Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:39:04 น. 1 comments
Counter : 1836 Pageviews.

 


โดย: ลูกสาวชิชิ วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:5:49:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.