ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ

20 พ.ย. 2551, 15:05 น.
ขอถามเรื่องการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
1.ถ้าบริษัท ก.ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยชนะการประมูลโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อเข้าดูร่างสัญญาแล้วปรากฏว่ามีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับบริษัท ก. อยู่บางข้อซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเองภายหลัง(เงื่อนไขนอกเหนือจากแบบสัญญาของรัฐ) อยากทราบว่าบริษัท ก.สามารถทำอย่างไรได้บ้าง.
2.แล้วถ้าหน่วยงานของรัฐที่ว่านี้ ประกาศไม่ทำสัญญากับบริษัท ก.โดยอ้างว่าบริษัท ก.ไม่สามารถรับเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดขึ้นเองภายหลังได้ อยากทราบว่าจะสามารถดำเนินการร้องเรียนหรือฟ้องร้องอย่างไรได้บ้าง และจะอ้างข้อกฎหมายใดได้บ้าง.
รบกวนผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องลักษณะนี้ช่วยตอบด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง.
จากคุณ : บริษัท ก.

ตามที่ถามมาต้องดูก่อนนะครับว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ดังนี้

...


คำนิยาม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

สัญญาทางปกครองมีลักษณะ ดังนี้

1. คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรัฐซึ่งอาจจะเป็นองค์กรหรือบุคคลที่กระทำแทนรัฐอาจทำสัญญาได้ 2 ลักษณะ จะเป็นสัญญาทางปกครอง หรือจะเป็นสัญญาทางแพ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของรัฐ เช่น กระทรวงกลาโหมขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่จังหวัดนครนายกเพื่อจัดสร้างโรงเรียนเตรียมทหาร กระทรวงกลาโหมใช้วิธีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเจรจาให้ค่าขนย้ายกับผู้บุกรุกแล้วตกลงค่าขนย้ายกัน จะเห็นได้ว่ากระทรวงกลาโหมไม่ได้เข้าทำสัญญาโดยใช้อำนาจรัฐ แต่ลดตัวลงมาเท่ากับเอกชนเจรจาต่อรองกัน เพื่อให้เขาขนย้ายออกไปโดยจ่ายเงิน สัญญานี้เป็นสัญญาทางแพ่งไม่ใช่สัญญาทางทางปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ 12/45)
แต่สัญญาซื้อที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อนำมาสร้างถนนหรือใช้ในกิจการอื่นของรัฐ แม้ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายแต่ต้องดำเนินกระบวนการทางปกครองมาก่อน คือจะต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเวนคืน มีการสำรวจที่ดิน มีคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น แล้วแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนทราบว่าพอใจหรือไม่ จะพอใจหรือไม่พอใจก็ทำสัญญาซื้อขายเพื่อให้กรรมสิทธิ์โอนจะเห็นว่ารัฐใช้อำนาจเหนือ คือกำหนดราคาข้างเดียว ไม่มีการเจรจาต่อรอง ถ้าไม่ขายก็ออกพระราชบัญญัติเวนคืนเอาที่ดินได้อยู่ดี ดังนี้เป็นสัญญาทางปกครองเพราะรัฐใช้อำนาจเหนือ (คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ 22-23/47)

2. ลักษณะของสัญญา ซึ่งมีตัวอย่างตามตัวบทดังนี้

สัญญาสัมปทาน เป็นสัญญาที่รัฐให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งของรัฐ โดยเอกชนเก็บเงินหรือผลประโยชน์และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐ ซึ่งรัฐใช้อำนาจเหนือ โดยรัฐกำหนดและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้เอง

สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ เป็นการบริการสาธารณะที่รัฐต้องทำ แต่รัฐให้เอกชนมารับไปทำแทน เช่น ให้เก็บขยะ ซึ่งการเก็บขยะเป็นการบริการสาธารณะที่รัฐต้องทำ แต่สัญญาจ้างบริษัทมาทำความสะอาดในสถานที่ราชการ เช่น ศาลยุติธรรมจ้างเอกชนมาทำความสะอาดบริเวณศาล งานปัดกวาดเช็ดถูไม่ใช่สาระสำคัญของภารกิจศาลยุติธรรม ไม่ใช่การบริการสาธารณะ จึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่ง สัญญาที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค เช่น สัญญาจ้างเอกชนวางท่อประปา สัญญาก่อสร้างถนน เป็นสัญญาทางปกครอง สัญญาให้แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ที่จะหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้คือรัฐ ซึ่งเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของส่วนรวม การที่รัฐจะมอบให้เอกชนแสวงหาประโยชน์ได้ โดยเอกชนให้ค่าตอบแทนแก่รัฐ เป็นสัญญาทางปกครอง

สัญญาอุปกรณ์ของสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญาจ้างก่อสร้างถนน เป็นสัญญาทางปกครอง ส่วนสัญญาประกันการก่อสร้างโดยธนาคารเข้ามาประกันว่าจะต้องก่อสร้างให้เสร็จเป็นสัญญาอุปกรณ์ สัญญาอุปกรณ์เป็นสัญญาทางแพ่ง แต่คณะกรรมการชี้ขาดฯ ให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง

...

ถ้าเป็นสัญญาทางปกครองตามหลักดังกล่าวข้างต้น
หน่วยงานของรัฐสามารถ กระทำการตาม ที่จขกท.โพสต์มาได้ทุกประการครับ

แต่ถ้าเป็นสัญญาทางแพ่ง คือ หน่วยงานของรัฐยอมตนลงมาเท่ากับฝ่ายเอกชน เช่น สมมุตินะครับว่า สถานีตำรวจไปสั่งซื้อข้าวผัดร้านข้างโรงพักมาเลี้ยงเจ้าหน้าที่ในสถานี ๑๐๐ ห่อ แล้วเบี้ยวไม่จ่าย ต้องใช้หลักสัญญาทางแพ่งธรรมดาครับ เจ้าของร้านฟ้องทางแพ่งได้ตามสัญญาทุกประการ ทางสถานีฯจะอ้างอำนาจเหนือไม่ได้เป็นต้น ถ้าเป็นกรณีดังนี้ฝ่ายบริษัท ก.สามารถอ้างสิทธิตามสัญญาได้ครับ



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:48:33 น. 0 comments
Counter : 1440 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.