ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
หนี้สาธารณะกับหนี้ภาษีอากรแตกต่างกันอย่างไร

นิยามหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะ คือ หนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น และต้องอาศัยเงินงบประมาณซึ่งได้มาจากภาษีอากรของประชาชนในการชำระหนี้คืน ประกอบไปด้วย
1.หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง (Government Debt) ซึ่งมีผลผูกพันต่อรัฐบาลในการชำระคืนจากงบประมาณแผ่นดินและเป็นภาระของประชาชนในฐานะผู้เสียภาษีอากร
2.หนี้รัฐวิสาหกิจ คือเงินกู้ที่รัฐบาลค้ำประกัน หรือเงินกู้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ซึ่งรัฐวิสาหกิจได้มีบทบาทในการก่อหนี้เพื่อลงทุนในโครงการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ
3.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือเงินที่กู้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงิน

อย่างไรก็ตามก็มีข้อสังเกตว่าหนี้สาธารณะอาจจะสูงเกินกว่าความเป็นจริง เนื่องจากหากรัฐบาลกู้เงินและนำมาปล่อยกู้ต่อให้แก่รัฐวิสาหกิจจะทำให้มีการนับซ้ำในหนี้สาธารณะ ซึ่งการประเมินถึงสถานะหนี้สาธารณะที่แท้จริงจะต้องดูถึงหนี้สาธารณะสุทธิ ซึ่งจะแสดงถึงภาระที่รัฐจะต้องนำเอาภาษีที่จัดเก็บได้จากประชาชนมาชำระคืน

ที่มา- //74.125.153.132/search?q=cache:Ivf4wXDBDTkJ:www.scb.co.th/LIB/th/article/mof/mof4710-2.html+%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

ส่วนหนี้ภาษีอากร ตามความเห็นส่วนตัว คือ หนี้ที่รัฐมีสิทธิเรียกเก็บจากพลเมืองของรัฐ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองของรัฐต้องเสียให้แก่รัฐ ทั้งนี้ตามที่กฏหมายกำหนด

ซึ่งประเทศไทยเรามีบัญญัติถึงหน้าที่ในการเสียภาษีไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนี้

///

มาตรา 73
บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัย พิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

///

ส่วนจะเสียภาษีเท่าใดอย่างไร ต้องไปดูรายละเอียดในกฏหมายรองลงมา เช่น ประมวลรัษฎากร พรบ.ภาษีป้าย ฯลฯ


กล่าวโดยสรุป ข้อแตกต่างระหว่าง หนี้สาธารณะกับหนี้ภาษีอากร ในความเห็นส่วนตัว

คือ หนี้สาธารณะเป็นหนี้ของรัฐที่รัฐก่อขึ้นและต้องใช้คืน หนี้ภาษีอากรเป็นหนี้ที่ประชาชนต้องชำระให้รัฐตามที่กฏหมายกำหนด

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 12:30:04 น. 0 comments
Counter : 1037 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.