ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
13 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
หลักในการใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตร

อยากทราบเรื่องการฟ้องร้องค่าเลี้ยงดูบุตรครับ


เรื่องของญาตินะครับ
หญิงคนหนึ่งแต่งงานกับชายคนหนึ่ง(ไม่จดทะเบียน)
มีงานแต่ง แขกเหรื่อพยานมากมาย มีรูปถ่าย วีดีโองานแต่ง
มีลูกกันหนึ่งคน ฝ่ายชายไปเซ็นรับรองในสูติบัตรว่าเป็นพ่อตอนเด็กเกิด
ตอนหลังเลิกกัน ฝ่ายชายมีหญิงอื่นประปราย (ตั้งแต่ตอนฝ่ายหญิงตั้งท้อง)
เลิกอยู่ด้วยกันตอนเด็กอายุ 10 เดือน
พ่อเด็กให้ค่าเลี้ยงดูเดือนละ 4000 ทุกเดือน
ตอนนี้เด็กอายุ 2 ขวบแล้ว
อยากถามครับ
ว่าเราสามารถเรียกค่าเีลี้ยงดูได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายได้มากน้อยแค่ไหน
และนานแค่ไหน หลักฐานที่มีเพียงพอหรือไม่ที่จะเรียกเพิ่ม เพราะตอนนี้ฝ่ายหญิงทำงานคนเดียว ต้องรับภาระค่าเลี้ยงดูลูกทุกอย่างเลย

ปล พ่อเด็กมีรายได้เดือนละประมาณ 1 แสนบาทไม่รวมโบนัส 2-3 เดือน

ขอบคุณครับ

จากคุณ : TN.TNP
เขียนเมื่อ : 13 ก.พ. 54 10:00:18



ความคิดเห็นที่ 3


ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์

มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534 แจ้งแก้ไขข้อมูล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38 และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตรจำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย.

///////////////////



จากกฏหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น การกำหนดค่าเลี้ยงดู ศาลจะใช้ดุลยพินิจโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี



พ่อเด็กมีเงินเดือนๆละหนึ่งแสนบาท น่าจะมีความสามารถให้เงินค่าเลี้ยงลูก ๑ คนได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ ๑ หมื่นบาท(คห.ส่วนตัว) ทั้งนี้ต้องดูข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มด้วยเช่น ฝ่ายหญิงมีฐานะอย่างไร มีการกีดกันไม่ให้ไปมาหาสู่ลูกไหมเป็นต้น



อย่างไรก็ตาม คห.ส่วนตัวเห็นว่ากรณีตามกระทู้น่าจะเรียกได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๑ หมื่นบาทจนถึง-ลูกบรรลุนิติภาวะ ครับ



ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ


จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 13 ก.พ. 54 17:06:48


//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10235509/U10235509.html#3


Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2554 17:15:29 น. 0 comments
Counter : 1489 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.