ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
สมรสซ้อน

หัวข้อสนทนา : มีเรื่องกฎหมายครอบครัวมาถามค่ะ
คือ A (ชาย)จดทะเบียนสมรสกับ B ต่อมา 1 เดือน A ไปจดกับ C โดยยังไม่ไปจดทะเบียนอย่ากันกับ B แล้วต่อมา 1 ปี B ไปจดทะเบียนกับ D ผ่านไปสิบปี ทั้งสองครอบอยู่กินกันอย่างเปิดเผย มีลูกทั้งสองครอบครัว (เหตุเกิดขึ้นระหว่างปี 2511)

และประเด็นที่จะถามค่ะ

1.การสมรส A กับ B ขาดจากกันหรือไม่
2.การสมรสของ A กับ C สมบูรณ์หรือไม่
3.การสมรสของ D กับ B lมบูรณ์หรือไม่

ช่วยกรุณาตอบทีค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
จากคุณ : เด็กน้อยถามหน่อย -
ความคิดเห็นที่ 1
1.การสมรสิ้นสุดลงโดย การตาย หย่า ศาลพิพากษา
ดังนั้นยังไม่ขาด
2.การสมรสเป็นโมฆะเพราะ จดทะเบียนสมรสกับคนหนึ่งแล้ว แต่ไปจดกับอีกคนนึงภายหลังโดยการสมรสกับคนแรกยังไม่สิ้นสุดลงเป็นสมรสซ้อน
3.ก็โมฆะเช่นเดียวกาน
จากคุณ : พยายามตอบละ ผิดอย่าว่ากันนะจ๊ะ - [17 มิ.ย.52 16:47]

ความคิดเห็นที่ 2
ตาม คห. 1 ค่ะ การสิ้นสุดแห่งการสมรส มี 3 กรณี
คือ ตาย หย่า ศาลพิพากษาให้เพิกถอน

ถ้าไม่เข้า 3 กรณีนี้การสมรสก็ยังคงสมบูรณ์
ตามข้อเท็จจริง เมื่อA จดทะเบียนสมรสกับBแล้ว
การที่ Aไปจดทะเบียนสมรสกับ C ทั้งๆยังมิได้หย่าขาดกับ B เป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนต้องห้ามตามกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ
เช่นเดียวกัน B ไปจดทะเบียนสมรสกับ D ก็เป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน ตกเป็นโมฆะ

สรุป
1.การสมรส A กับ B ยังสมบูรณ์อยู่ตามกฎหมาย
2.การสมรสของ A กับ C ตกเป็นโมฆะ
3.การสมรสของ D กับ B ตกเป็นโมฆะ


จากคุณ : นาโน - [17 มิ.ย.52 17:06]

ความคิดเห็นที่ 4
คือ A (ชาย)จดทะเบียนสมรสกับ B ต่อมา 1 เดือน A ไปจดกับ C โดยยังไม่ไปจดทะเบียนอย่ากันกับ B แล้วต่อมา 1 ปี B ไปจดทะเบียนกับ D ผ่านไปสิบปี ทั้งสองครอบอยู่กินกันอย่างเปิดเผย มีลูกทั้งสองครอบครัว (เหตุเกิดขึ้นระหว่างปี 2511)
^
^

เหตุเกิด พ.ศ. ๒๕๑๑ ซึ่งยังใช้บรรพ ๕ เดิมอยู่(๑ ตค. ๒๔๗๘-๑๖ ตค. ๒๕๑๙) สมัยนั้นเค้าน่าจะยอมให้มีการจดทะเบียนซ้อนได้นะครับ

ลองค้นดูนะนาโน ดูในคำบรรยายก้อได้ครับ
ถ้ากฏหมายสมัยนั้น(พ.ศ.๒๕๑๑)ยอมรับเรื่องจดทะเบียนซ้อน คำตอบน่าจะเปลี่ยนไปนะครับ

ความคิดเห็นที่ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545 แจ้งแก้ไขข้อมูล

ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ต่อมาผู้ร้องจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 และจดทะเบียนหย่าจากกันเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2526 จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทยังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นที่บัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย

"""

ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นที่บัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ
^
^

ผมมองว่าสมัยก่อนเขายอมรับนะครับว่าจดทะเบียนซ้อนได้

และเพิ่งจะมาแก้ห้ามจดทะเบียนซ้อนในภายหลังเป็นบรรพ๕ ใหม่ ในปี ๒๕๑๙

เมื่อเหตุเกิดใน พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งใช้บรรพ ๕ เดิม ซึ่งม.๑๔๙๕ เดิม บัญญัติให้คำพิพากษาศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ ดังนั้นแม้กรณีตามปัญหาเขาจะจดทะเบียนซ้อนก้อตาม ก้อต้องถือว่าการสมรสนั้นยังสมบูรณ์อยู่จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าเป็นโมฆะครับ

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:24:21 น. 0 comments
Counter : 1018 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.