ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การถอนการยึดทรัพย์

หัวข้อสนทนา : การถอนการยึดทรัพย์
คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน โดยเจ้าหนี้ได้คัดสำเนาโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาถูกต้องในวันที่ ๑๗ กพ. ๒๕๕๒ และเป็นชื่อของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดให้ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้ให้ในวันนั้นและได้ดำเนินการแจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบโดยชอบแล้ว

ต่อมาวันที่ ๑๕ มีค. ๒๕๕๒ นาย ก.ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ว่าที่ดินดังกล่าวลูกหนี้ได้โอนขายให้ตนโดยชอบแล้วเมื่อวันที่ ๒๐ กพ. ๒๕๕๒ โดยนำต้นฉบับโฉนดที่ปรากฏว่าได้มีการโอนดังกล่าวก่อนทำการยึดจริง ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าว

ดังนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร

จากคุณ : ถามเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้รู้ - [03 ก.ค.52 13:21]


ความคิดเห็น
กรณีตามปัญหามีประเด็นที่จะต้องพิจารณาคือ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ถอนการยึดที่ดินแปลงพิพาทหรือไม่ ซึ่งมีหลักกฏหมายที่เกี่ยวข้องคือ

ปวพ. มาตรา ๒๙๕
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ถอนการบังคับคดี ในกรณีต่อไปนี้
(๑) เจ้าพนักงานบังคับคดี ถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือ ถอนโดยคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี เมื่อ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้วางเงิน ต่อศาล หรือ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวน พอชำระหนี้ ตามคำพิพากษา พร้อมทั้ง ค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือ ค่าธรรมเนียม ในการบังคับคดี หรือ ได้หาประกัน มาให้ จนเป็นที่พอใจ ของศาล สำหรับจำนวนเงิน เช่นว่านี้
(๒) ถ้า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้แจ้งไปยัง เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหนังสือว่า ตนสละสิทธิ ในการบังคับคดีนั้น
(๓) ถ้า คำพิพากษา ในระหว่างบังคับคดี ได้ถูกกลับ ในชั้นที่สุด หรือ หมายบังคับคดี ได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดี ได้ส่งคำสั่ง ให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้า คำพิพากษา ในระหว่างบังคับคดีนั้น ได้ถูกกลับ แต่เพียงบางส่วน การบังคับคดี อาจดำเนินต่อไป จนกว่าเงิน ที่รวมได้นั้น จะพอชำระ แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา


จากหลักกฏหมายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าจากข้อเท็จจริงตามปัญหาเจ้าหนี้ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์โดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุตามปวิพ.ม.๒๙๕ ที่จะให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องมีคำสั่งยกคำร้องของนาย ก.

กรณีดังกล่าวตามปัญหา นาย ก.ควรยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว ตาม ปวิพ.ม.๒๘๘ ต่อไปครับ

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2537 แจ้งแก้ไขข้อมูล

เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดทรัพย์สินที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. เพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้วอันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 วรรคแรก แม้จะปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ อ. ไปก่อนแล้วก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไป เพราะหากอ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเนื่องจากได้รับการยกให้จากจำเลย อ. ก็ต้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 เมื่อ อ. มิได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุผลใดมาอ้างเพื่อเพิกถอนการยึด เพราะการมีชื่อใน น.ส.3 ก. ดังกล่าวมิได้หมายความว่า อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

...

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:20:11 น. 0 comments
Counter : 5302 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.