ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
ปัญหาความไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการบังคับใช้พรบ.วีดีทัศน์ ๒๕๕๑

คุกมีไว้ขังคนจน คำๆนี้ยังจริงเสมอมา vote ติดต่อทีมงาน

2หนูน้อยร่ำไห้กอดแม่-หลัง"พงศพัศ"จ่ายค่าปรับช่วยพ้นโทษ คดีขายซีดี

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 พ.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมคณะ

เดินทางมาที่ศาลจังหวัดลพบุรี เพื่อเสียค่าปรับให้กับ นางนันทนา น้อยบุญมา อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาที่ถูกตำรวจ สภ.เพนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี จับกุมตัวดำเนินคดีในข้อหา พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551
จากนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ พร้อมนายณรงค์ชัย น้อยบุญมา อายุ 36 ปี

สามีนางนันทนา ด.ช.ภูวดล น้อยบุญมา อายุ 11 ปี ด.ญ.จีรนันท์ น้อยบุญมา อายุ 10 ปี ลูกชายและลูกสาวของนางนันทนา เดินขึ้นไปบนศาลจังหวัดลพบุรี ทำการเสียเงินค่าปรับแทนให้กับนางนันทนา ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกลางจังหวัดลพบุรี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 99,600 บาท ได้ลด 400 บาท เพราะนางนันทนาถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 2 วัน หลังเสียค่าปรับ พล.ต.อ.พงศพัศ พร้อมทั้งนายณรงค์ชัย ด.ช.ภูวดล และ ด.ญ.จีรนันท์ ได้เดินทางต่อไปที่เรือนจำกลางจังหวัดลพบุรี เพื่อรับตัวนางนันทนาต่อทันที


เมื่อเดินทางไปถึงเรือนจำกลางลพบุรี เจ้าหน้าที่นำตัวนางนันทนาออกมา หลังนายณรงค์ชัยสามีพร้อมทั้งลูกชายและลูกสาวเห็นหน้านางนันทนา ก็โผเข้ากอดพร้อมส่งเสียงร้องไห้ดังลั่น


ด้านพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เพนียด จับกุมตัวนางนันทนาในข้อหา ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ (วิซีดี) จำนวน 10 แผ่น โดยทำเป็นธุรกิจวางขายในตลาดนัดสี่แยกวังเพลิง จ.ลพบุรี และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาต จากนั้นจึงนำตัวส่งฟ้องศาล โดยพนักงานอัยการจังหวัดลพบุรี เป็นโจทก์


ขณะที่ นางนันทนา กล่าวว่า ตนประกอบอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า และในช่วงเวลาดังกล่าวว่างงาน จึงนำซีดีเก่าที่หาซื้อมาดูออกขายที่ตลาดนัด

โดยไม่ทราบว่ามีความผิด ทำให้ถูกตำรวจจับ ต่อมาทราบข่าวทางทีวีว่า พล.ต.อ.พงศพัศ ท่านเป็นคนที่มีคุณธรรมชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก จึงเดินทางเข้าไปพบ เมื่อเดือนมี.ค. 2554 และท่านก็รับปากว่าจะช่วยเหลือ และท่านก็ช่วยเหลือจริงๆ ซึ่งนับว่าเป็นความเมตตาอย่างใหญ่หลวงสำหรับตนและครอบครัวต่อไปตนจะตั้งหน้าตั้งตาทำ​งานเพื่อที่จะหาเงินเลี้ยงลูกส่งเสียให้เรียนหนังสือให้จบการศึกษาระดับสูง เพื่อที่จะได้เป็นคนดีของสังคมต่อไป

เนื้อหา ข่าวสด




กรณีตามข่าว เข้าใจว่า จำเลย คงกระทำผิดฝ่าฝืน พรบ.วีดีทัศน์ 2551


มาตรา 38 ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจาหน่ายภาพยนตร์โดยทาเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
ใบอนุญาตนั้นให้ออกสาหรับสถานที่ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจาหน่ายภาพยนตร์แต่ละแห่ง
การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 54 ห้ามผู้ใดประกอบกิจการ ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจาหน่ายวีดิทัศน์ โดยทาเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
ใบอนุญาตนั้นให้ออกสาหรับสถานที่ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจาหน่ายวีดิทัศน์แต่ละแห่ง
การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 วรรคหนึ่ง หรือประกอบกิจการดังกล่าวในระหว่างถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 200,000-1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่




//////////////////


เพราะฉะนั้น จากพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ข้างต้น จะเห็นว่า มาตรา 38 มีความหมายว่า ผู้ใดก็ตามที่ต้องการจะประกอบธุรกิจให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจาหน่ายภาพยนตร์ก็ต้องมาขอ​ใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน

ถ้าไม่มีใบอนุญาตแล้วไปขาย ก็จะมีความผิดระวางโทษปรับตามนัยมาตรา 79 คือ ปรับตั้งแต่ 2 แสน- 1 ล้านบาท นั่นเองครับ

ในความเห็นส่วนตัว เห็นว่า ถ้อยคำในกฏหมายนี้น่าจะยังคลุมเครือ ดูไม่ชัดเจน และ น่าจะไม่เป็นธรรมเท่าใดนักครับ

เพราะ คำว่า "ผู้ประกอบกิจการ" ตามนัย ม.38 น่าจะต้องถึงขนาด ทำธุรกิจเป็นล่ำเป็นสัน แต่กรณีตามข่าว จำเลยเธอเพียงเอาของเก่าที่บ้านไปขายตามตลาดนัดเป็นครั้งเป็นคราว ของกลางเท่าที่ฟังข่าวก็เพียง 10 แผ่น จะถือว่าเธอเป็นผู้ประกอบกิจการตามม.38 เลยเชียวหรือ??

ถึงแม้ตาม พรบ.ฯ จะไม่มีโทษจำคุกก็จริง แต่โทษปรับก็อัตราสูงมากๆ ชาวบ้านหาเช้ากินค่ำคงไม่มีปัญญาจ่ายแน่ๆ จึงต้องถูก"กักขังแทนค่าปรับ" ตามข่าวนั่นเองครับ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเกิดกรณีมาแล้ว ซัก 2 ปีก่อนมั้งครับ

.
.
.

คดีอาญาหมายเลขดาที่ 3060/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุรัตน์ มณีนพรัตน์สุดา เป็นจาเลย ในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจานาภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ที่ศาลอาญา วันที่ 16 สิงหาคม 2553 และศาลได้มีคาพิพากษาว่า นายสุรัตน์ กระทาผิดตามฟ้องให้ปรับ 200,100 บาท แต่นายสุรัตน์ เคยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน คงลดโทษให้เหลือปรับ 133,400 บาท ถ้าไม่จ่ายค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับ นายสุรัตน์ฟังคาพิพากษาแล้ว ขอยื่นประกันตัวในวงเงิน 100,000 บาท ก่อนยื่นอุทธรณ์คาพิพากษาต่อไป

(เครดิตเนื้อหาจากกูเกิ้ล)




จะเห็นได้ว่า ศาลพิพากษาในคดีก่อน ก็ ผลคล้ายกับคดีตามข่าวของกระทู้นี้เลยทีเดียวครับ

น่าจะถึงเวลาเอากฏหมายฉบับนี้ มาพิจารณาแก้ไขเสียใหม่หรือยัง อาจจะนิยามความหมายของคำว่า "ผู้ประกอบการ" หรือ ให้อำนาจดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจ-อัยการ-ศาล ที่จะไม่ดำเนินคดีหรือลงโทษปรับสูงๆขนาดนั้น กฏหมายก็น่าจะเป็นธรรมยิ่งขึ้นครับ


ไม่งั้น คำว่า คุกมีไว้ขังคนจนเท่านั้น ก็คงจะเป็นจริงตลอดไปครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 4 พ.ค. 55




Create Date : 11 พฤษภาคม 2555
Last Update : 11 พฤษภาคม 2555 15:26:46 น. 1 comments
Counter : 3578 Pageviews.

 
ความคิดเห็นที่ 16
คดีตามข่าวไม่มีโทษจำคุก มีแต่โทษปรับ ๒ แสน- ๑ ล้าน

ศาลคงใช้ดุลยพินิจ ลดโทษต่ำสุดแล้ว คือ ลงโทษปรับ ๒ แสน จำเลยรับสารภาพ ลดครึ่งเหลือปรับ ๑ แสน

ปัญหาคือ จำเลยไม่มีเงินเสียค่าปรับ จึงต้องถูกกักขัง(ติดคุกนั่​นแหละ)แทนค่าปรับ

จะอย่างไรก็ตาม คดีนี้ ถ้าจำเลยปฏิเสธ โดยอ้างว่า ไม่ใช่"ผู้ประกอบการ" คงต้องสู้ถึงฎีกา เลยทีเดียวครับ

ปัญหาคือ จำเลยคงไม่มีเงินจ้างทนายด้​วย เลย รับๆไป แล้วผล ก็อย่างที่เห็นครับ


ซึ่งกรณีคดีนี้ จำเลยรับสารภาพครับ ศาลเลยต้องตัดสินลงโทษตามนั้นครับ

กฏหมายบ้านเรามันมีข้อจำกัด​ดุลยพินิจอยู่ว่า กรณีจำเลยสารภาพให้ศาลตัดสิ​นไปได้เลย ไม่ต้องสืบพยาน เว้นแต่ คดีโทษจำคุก ๕ ปีขึ้นไป โจทก์จะต้องสืบให้ศาลเห็นว่​าเขาผิดจริง ศาลจึงจะลงโทษได้

กรณีตามข่าว โทษมันแค่ปรับ (ตั้ง ๒ แสน- ๑ ล้าน) เมื่อ จำเลยสารภาพ ศาลจึงตัดสินได้เลย

อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นว่า ศาลควร"กล้า"ที่จะฉีกแนวคิด​บ้าง ไม่ใช่รอแต่ฎีกาๆ

ถ้าท่านกล้าจะฉีกแนวคิดว่า เจตนารมณ์กฏหมายต้องการเอาผ​ิดผู้ประกอบการ หาใช่ ประชาชนตาดำๆเช่นนี้ แล้วยกฟ้องไป น่าจะได้รับการยกย่องจากสัง​คมครับ

พอเป็นข่าวแล้วเป็นไง ใครๆก็ต้องพิศวงครับ



////////////////////




กรณีความผิดต่อพระราชบัญญัต​ิภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ซึ่งห้ามผู้ใดประกอบกิจการใ​ห้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป​็นธุรกิจหรือได้ผลประโยชน์ต​อบแทน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายท​ะเบียน หากฝ่าฝืนก็อาจได้รับโทษตาม​มาตรา 79 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สอง​แสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาในทาง​ปฏิบัติ เพราะโทษปรับเริ่มต้นในจำนว​นที่สูงมาก ความผิดตามพระราชบัญญัติภาพ​ยนตร์และวีดีทัศน์ไม่ใช่ควา​มผิดอาญาพื้นฐานเหมือนการก่​ออาชญากรรมทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นความผิดที่เห็นได้ใ​นตัวเองหรือ Male in se แต่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห​้าม หรือ Mala prohibita โอกาสที่ประชาชนระดับชาวบ้า​นทั่วไปจะทราบถึงข้อห้ามตาม​กฎหมาย ดังกล่าวก็อาจจะมีน้อย ทำให้กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่​ถึงการณ์ และต้องพบกับโทษปรับที่รุนแ​รงดังกล่าว กรณีจึงเป็นปัญหาในทางปฏิบั​ติหรือการบังคับใช้กฎหมายที​่ควรจะต้องพิจารณาแก้ไขต่อไ​ป

สุพิศ ปราณีตพลกรัง หมายเหตุท้ายฎีกา ๖๕๗๖/๒๕๕๑

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 4 พ.ค. 55 22:44:14


//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P12047914/P12047914.html


โดย: อุบลแมน วันที่: 11 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:27:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.