ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การนัดส่วนตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 312

หัวข้อสนทนา : ถามเรื่องการนัดส่วนตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 312
คือหน่วยงานดิฉันเป็น อบต. แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดี มีหนังสืออายัดเงินประกันสัญญาที่ ผู้รับจ้าง/จำเลย มีสิทธิเรียกร้องอยู่ ปรากฏว่าขณะนั้น ยังไม่พ้นข้อผูกพันตามสัญญา เลยยังไม่ได้จ่ายเงินนั้นให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไป แต่ต่อมาเมื่อพ้นข้อผูกพันแล้ว ผู้รับจ้าง/จำเลยได้มาขอรับเงินนั้น ส่วนการคลังบกพร่องจ่ายเงินนั้นให้แก่ผู้รับจ้าง/จำเลยไป โดยไม่จ่ายให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ทาง อบต. ได้มีหนังสือชี้แจงไปยังเจ้าพนักงานบัคคับคดีว่า ได้จ่ายเงินให้จำเลยโดยผิดพลาดไปแล้ว หลังจากนั้นเกือบปี ศาลได้มี หมายคำสั่งเรียกนาก อบต. ให้ไปไต่ส่วน ดิฉันเลยโทรถาม นิติกร ที่อยู อบต.ข้างเคียงเขาบอกว่า ศาลนัดไต่สวนตาม ป.แพ่ง มาตรา 312 ให้รีบติดต่ออัยการช่วยแก้ต่างให้ ดังนี้ อยากเรียนถามหผู้รู้ว่า
1. การที่นายก อบต.ถูกเรียกไปไต่สวนเช่นนี้ ถือว่าอยูในฐานะเป็นคู่ความตาม ป.วิแพ่ง อันจะต้องตั้งทนาย หรือให้อัยการแก้ต่างให้แล้วหรือ?
2. การที่ศาลนัดไต่สวนกรณีเช่นนี้ อยู่ในบังคับที่ต้องดำเนินไปเสมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างคู่ความ ที่ต้องวินัจฉัยถูกผิดเลยหรือไม่
และศาลมีอำนาจออกคำบังคับให้ปฏิบัติได้เลยหรือไม่
3. การที่ศาลนัดไต่สวนตามมาตรานี้ โดยหลักแล้ว ผลจะเป็นประการใด

ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นายก ขอเลื่อนนัดการไต่ส่วน ไปแล้วก่อนถึงวันนัด ศาลสั่ง ว่าไว้รอสั่งในวันนัด นายก สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ อบต.ไปฟังแทนได้หรือไม่ ขอบคุณ คะ
จากคุณ : เจ้าหน้าที่ อบต. - [25 ม.ค.53 13:20]

ความคิดเห็นที่ 1 :
กรณีมีข้อกฏหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

มาตรา 312 ถ้าบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธ หรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน ศาลอาจทำการไต่สวนและ (1) ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ก็ให้มีคำสั่งให้บุคคล ภายนอกปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หรือ (2) ถ้าศาลเห็นว่ารูปเรื่องจะ ทำให้เสร็จเด็ดขาดไม่ได้สะดวกโดยวิธีไต่สวน ก็ให้มีคำสั่งอย่างอื่นใด ในอันที่จะให้เรื่องเสร็จเด็ดขาดไปได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไม่มีการคัดค้าน หรือศาลได้มีคำสั่งรับรอง ดัง กล่าวแล้ว และบุคคลภายนอกมิได้ปฏิบัติตามนั้น เจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้น และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของบุคคลภายนอก เนื่องจากการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้นั้น
/////////

จากข้อกฏหมายข้างต้น ทาง อบต.(ผู้ได้รับคำสั่งอายัด) มีสิทธิดังนี้

1.ปฏิเสธ หรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลไปก่อน หรือ ภายในวันนัด ทั้งนี้ ต้องระบุว่า ไม่มีสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไป หรือ ตนไม่ต้องรับผิดเพราะอะไร แต่จากข้อเท็จจริงที่เล่ามา น่าจะเป็นความผิดพลาดของทาง อบต.เอง คงใช้ทางนี้ไม่ได้แล้วละครับ

2.ไปศาลตามนัด แล้วแถลงให้ศาลเข้าใจ ว่าเพราะอะไรจึงจ่ายเงินไป ขอให้ศาลเรียกลูกหนี้มาเพื่อคืนเงิน ฯลฯ ทั้งนี้ตามตัวบทม.312 ให้ศาลมีอำนาจ 2 ประการคือ

2.1 (1) ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ก็ให้มีคำสั่งให้บุคคล ภายนอกปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หรือ

2.2 (2) ถ้าศาลเห็นว่ารูปเรื่องจะ ทำให้เสร็จเด็ดขาดไม่ได้สะดวกโดยวิธีไต่สวน ก็ให้มีคำสั่งอย่างอื่นใด ในอันที่จะให้เรื่องเสร็จเด็ดขาดไปได้ตามที่เห็นสมควร

กรณีตามกระทู้ ที่จะต้องไปศาล คงเพื่อแถลงขอให้ศาลมีคำสั่ง ตามข้อ 2.2 นั่นเอง คงออกในทำนองว่า ให้เรียกลูกหนี้มาเพื่อคืนเงินนั้นๆ เป็นต้น

3.หากเฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย หรือไปไต่สวนแล้วศาลให้ส่งเงินแต่ไม่ส่ง " เจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้น และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา" คือ ขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์ของ อบต. เพื่อชำระหนี้ เท่ากับมูลค่าแห่งสิทธิเรียกร้องนั้น (ในกระทู้นี้ คือ เงินประกันสัญญา)

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ที่ จขกท.ถามมา

1. การที่นายก อบต.ถูกเรียกไปไต่สวนเช่นนี้ ถือว่าอยูในฐานะเป็นคู่ความตาม ป.วิแพ่ง อันจะต้องตั้งทนาย หรือให้อัยการแก้ต่างให้แล้วหรือ?

^
^

กรณีจะมีการกระทบสิทธิ ของ อบต และ อบต อาจต้องเสียหายจากการถูกออกหมายยึดทรัพย์ จึงน่าจะถือว่าเป็นคู่ความ และ ตั้งทนายได้แล้วครับ

2. การที่ศาลนัดไต่สวนกรณีเช่นนี้ อยู่ในบังคับที่ต้องดำเนินไปเสมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างคู่ความ ที่ต้องวินัจฉัยถูกผิดเลยหรือไม่
และศาลมีอำนาจออกคำบังคับให้ปฏิบัติได้เลยหรือไม่
3. การที่ศาลนัดไต่สวนตามมาตรานี้ โดยหลักแล้ว ผลจะเป็นประการใด

^
^

ลองอ่านตามที่แสดงความเห็นไว้ข้างต้น คงพอได้นะครับ


ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นายก ขอเลื่อนนัดการไต่ส่วน ไปแล้วก่อนถึงวันนัด ศาลสั่ง ว่าไว้รอสั่งในวันนัด นายก สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ อบต.ไปฟังแทนได้หรือไม่

^
^

มอบอำนาจได้ครับ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

//////////

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ


จากคุณ : พลายงาม - [25 ม.ค.53 14:27]


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 12:39:17 น. 0 comments
Counter : 2745 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.