ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ล้มละลายแล้วชีวิตเป็นไง...

คนใกล้ล้มละลาย ช่วยคลายความทุกข์ด้วย

1. เรื่องเงินกู้ ไปกู้ธนาคารแห่งหนึ่ง โดยมีพี่สาวและผมเป็นผู้กู้ร่วม

2. ธุรกิจไปไม่ดี มีการขอประนีประนอมเรื่องหนี้ตลอดมา สุดท้ายก็ไปไม่รอด ก็เลยหยุด ทางธนาคารก็ฟ้องศาลล้มละลาย ทางศาลล้มละลายกลาง นัดผมและพี่สาว ไปในปลายเดือนหน้ากุมภาพันธ์

3. พี่สาวเป็นจำเลยที่ 1 ผมเป็นจำเลยที่ 2

เรื่องที่สอบถาม

1. ผมคงไม่มีปัญญาจ่ายเงินหรอก 10 กว่าล้าน ขั้นตอนของศาลล้มฯมีอะไรบ้าง ถูกศาลสั่งล้มฯ กี่ปีถึงหลุดครับ

2. 3 ปี มานี้ผมได้ทำงานประจำแห่งหนึ่ง มีผลกระทบหรือเปล่า

3. เงินเดือนโอนเข้าธนาคารทุกเดือน

3.1 ยังมีบัตรเครดิต ยังใฃ้ได้อยู่ สินเชื่อเงินสดอีก 2 แห่ง ที่กำลังผ่อนอยู่

3.2 มีบัตรเครดิตอีก 1ใบถูกระงับใช้ แต่ผมก็ยังผ่อนอยู่ทุกเดือน ประมาณ 2 ปีถึงหมด
3.3 ผมเป็นตัวแทนประกันภัยและประกันชีวิตด้วย

ข้อ 3 ทั้งหมดมีผลกระทบ หรือไม่เมื่อศาลสั้งล้มฯ

ขอบพระคุณอย่างสูง

คนใกล้ล้มฯ

จากคุณ : อาเว้ง
เขียนเมื่อ : 18 ม.ค. 53 14:42:23

ความคิดเห็นที่ 5

ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

เรื่องที่สอบถาม

1. ผมคงไม่มีปัญญาจ่ายเงินหรอก 10 กว่าล้าน ขั้นตอนของศาลล้มฯมีอะไรบ้าง ถูกศาลสั่งล้มฯ กี่ปีถึงหลุดครับ

- บุคคลธรรมดาที่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายจะ ปลดล้มละลายทันทีเมื่อครบ 3 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ตามหลักใน พรบ.ล้มละลายดังนี้ครับ

มาตรา 81/1 ภายใต้บังคับ มาตรา 81/2 บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันที ที่พ้นกำหนดระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่
(1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษา ให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ครั้งหลัง ให้ขยายระยะเวลาเป็นห้าปี
(2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม (3) ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนดสิบปีตามคำขอ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้
(3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด อันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี
ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว
ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 76 มาตรา 77 และ มาตรา 78 มาใช้บังคับกับการปลดจากล้มละลายตามมาตรานี้โดยอนุโลม
//////////


2. 3 ปี มานี้ผมได้ทำงานประจำแห่งหนึ่ง มีผลกระทบหรือเปล่า

- หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีหนังสือถึงนายจ้าง จขกท. ให้ส่งรายได้ทั้งหมดของ จขกท. มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมจ่ายให้บรรดาเจ้าหนี้ต่อไป ดังนี้ครับ

มาตรา 121 ถ้าลูกหนี้เป็นข้าราชการ เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิรับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือเงินในทำนองเดียวกันนี้ของลูกหนี้จากเจ้าหน้าที่ เพื่อรวบรวมแบ่งให้แก่ เจ้าหนี้ได้ แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้และ ครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป
บทบัญญัติในวรรคก่อนให้ใช้บังคับในกรณีที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับเงินจากบุคคล หรือองค์การอื่นที่มิใช่รัฐบาลด้วย

- ทั้งนี้ จขกท. สามารถขอรับค่าเลี้ยงชีพจากเงินดังกล่าวจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ (ปกติเขาจะให้ ร้อยละ 70/เดือน ของรายได้แต่ละเดือน) ตามนี้ครับ

มาตรา 67 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลายแล้ว และยังไม่ได้สั่งปลดจากล้มละลาย
(1) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงิน เพื่อ ใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปโดยเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่าย จากเงินที่ลูกหนี้ได้มาในระหว่าง ล้มละลาย และลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้นแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดพร้อมด้วยบัญชี รับจ่าย

////////////

3. เงินเดือนโอนเข้าธนาคารทุกเดือน

3.1 ยังมีบัตรเครดิต ยังใฃ้ได้อยู่ สินเชื่อเงินสดอีก 2 แห่ง ที่กำลังผ่อนอยู่

3.2 มีบัตรเครดิตอีก 1ใบถูกระงับใช้ แต่ผมก็ยังผ่อนอยู่ทุกเดือน ประมาณ 2 ปีถึงหมด
3.3 ผมเป็นตัวแทนประกันภัยและประกันชีวิตด้วย

ข้อ 3 ทั้งหมดมีผลกระทบ หรือไม่เมื่อศาลสั้งล้มฯ

- มีผลแน่นอนครับ คือ จขกท.จะไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ เช่นนั้นได้อีกต่อไป โดยอำนาจ(เขาเรียกว่าการจัดการทรัพย์สิน) จะตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งหมด ตามนี้ครับ

มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) จัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้ กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่ง ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้

มาตรา 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

//////////

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

ปล. การขอฟื้นฟูกิจการ ตาม คห.4 จะใช้เฉพาะ ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้นครับ กรณีบุคคลธรรมดา ต้องขอประนอมหนี้อย่างเดียวเลยครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 18 ม.ค. 53 17:59:30



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 12:43:18 น. 0 comments
Counter : 2250 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.