ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
คลองคอดกระ

คลองคอดกระ คือ การที่เราจะขุดคลองเชื่อมระหว่าง ฝั่งอันดามัน กับ อ่าวไทย โดย น่าจะเป็นที่ระนอง-ชุมพร เพราะเป็นส่วนที่แคบที่สุด
ดังที่มีการให้ข้อมูลไว้ในหลายๆเม้นข้างต้น

การกระทำดังกล่าวนั้น มีผลอย่างแน่นอนครับ ต่อวิถีชีวิตคนไทยและประชาคมโลก
วิถีชีวิตคนไทย จะเปลี่ยนไปในฐานะ เมืองท่าที่สำคัญแทบจะอันดับต้นๆในโลก การสร้างงานและคนต่างชาติมากมาย น่าจะหลั่งไหลเข้ามา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ฯลฯ เป็นสิ่งที่เราคงต้องเผชิญครับ
ประชาคมโลก ต้องเปลี่ยนวิถีเขาเช่นกันครับ หากโครงการดังกล่าวสำเร็จ จะต้องมีการเพิ่มแผนที่การเดินเรือ คอคอดกระ ไว้ในแผนที่โลกอย่างแน่นอน และ จะส่งผลกระทบมากมายครับ ผมเชื่อเช่นนั้น

ปัญหาสำคัญที่ผมมองคือ โครงการดังกล่าว มันระดับอภิมหาบิ้กโพรเจค เพราะส่งผลกระทบอย่างที่ผมสมมุติฐานไว้ข้างต้น ซึ่งการจะดำเนินการได้คงต้องกระทำโดยใช้อำนาจรัฐเท่านั้นครับ จึงจะดำเนินการต่อไปได้ เพราะมันมีผลกระทบหลายๆอย่างเช่น ดินแดน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อต้องใช้อำนาจรัฐเข้าดำเนินการ การกระทำใดๆของรัฐ ต้องมีกฏหมายให้อำนาจ จึงจะดำเนินการได้ (ต่างกับเอกชน หากจะทำอะไรก้อทำได้ถ้าไม่มีกฏหมายห้าม หรือ การกระทำนั้นไม่ผิดกฏหมาย หรือขัดความสงบเรียบร้อยของประชาชน)

กฏหมายที่จะให้อำนาจรัฐในการเข้าทำโครงการดังกล่าว ผมมองว่าคงต้องใช้กฏหมายระดับพระราชบัญญัติเข้าช่วยจึงจะประสบความสำเร็จครับ

การตราพระราชบัญญัติตาม รธน.๒๕๕๐ ทำได้ตามข้อกฏหมายดังนี้ครับ

มาตรา ๑๔๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
(๑) คณะรัฐมนตรี
(๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
(๓) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและ
กฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
(๔) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา ๑๖๓
ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่ประชาชนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติใดตาม (๔) แล้ว หากบุคคลตาม (๑) หรือ (๒)ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นอีก ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๓วรรคสี่ มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วย
ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน
ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งต้องมีบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของ
ร่างพระราชบัญญัติเสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย
ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบและให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัตินั้นได้โดยสะดวก

ปัญหาที่สำคัญคือเราจะนำ พรบ.เกี่ยวกับการขุดคลองคอดกระเข้าสภาได้อย่างไรละครับในภาวะการเมืองขณะนี้

ถ้าเข้าไปในสภาจริง ร่าง พรบ.นี้ จะต้องตอบโจทย์หลายๆข้อในช่วงที่ต้องแปรญัติโดยกรรมาธิการก่อนให้ สส.ลงคะแนนครับ เช่น
๑.จะเป็นการแบ่งแยกดินแดนหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัด รธน.๒๕๕๐ ที่ว่า
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
..จากข้อกฏหมายข้างต้น พรบ.นั้นๆอาจหงายเก๋งแค่ยกแรกครับ ยิ่งมีการก่อการร้ายที่ทางใต้ น้ำหนักยิ่งน่าฟังครับ(สำหรับคนที่ต้องการค้าน)
๒.จะให้ใครมารับผิดชอบทำ เห็น ว่ามีต่างชาติสนใจจะลงทุนให้ แต่ช้าก่อน คุณต้องมีการทำสัญญาระหว่างรัฐกับต่างชาติ ซึ่ง ข้อกฏหมายที่สำคัญที่เราคงจำได้เรื่องเขาพระวิหารไงครับ อาจมีการมองว่าจะทำให้ไทยเสียดินแดนได้ ทั้งนี้ตาม รธน.ที่ว่า
มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตาม
วรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรม
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา
ดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้
นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

เอาแค่ ๒ ปัญหาข้างต้น และ ในภาวะปัจจุบัน การขุดคลองคอคอดกระ จึงน่าจะยังเป็นฝันอยู่ต่อไป นอกจากจะได้รัฐบาลที่เข้มแข็งครับ


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:31:43 น. 0 comments
Counter : 974 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.