ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
วิชาอายัดแบบง่ายๆ

หัวข้อสนทนา : อยากทราบว่าเราสามารถตั้งเรื่องอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่เป็นอบต.หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้มั้ยคะ
กรณีที่รายได้รวมต่อเดือนของลูหนี้เกิน 10,000 บาท ซึ่งลูกหนี้ได้รับจากต้นสังกัดเท่านั้นนะคะ ไม่เกี่ยวกับรายได้ที่บุคคลภายนอกอื่นๆให้กับลูกหนี้ค่ะ
จากคุณ : ใครช่วยตอบขอบคุณล่วงหน้าค่ะ - [01 ก.พ.53 16:17]

ความคิดเห็นที่ 6 :
หัวข้อสนทนา : ถามเรื่องการอายัดทรัพย์
มีท่านผู้ใดพอที่จะอธิบายกระบวนการในการอายัด การคัดค้าน ตั้งแต่เริ่มอายัดจนจบได้บ้างครับ
จากคุณ : ขอบคุณมาก - [09 ต.ค.52 09:32]


ความคิดเห็นทั้งหมด 1 ความคิดเห็น แสดงหน้าที่ 1/1


ความคิดเห็นที่ 1 :
ความคิดเห็นที่ 6 :
ขอแสดงความเห็นดังนี้

๑.ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากประสงค์จะบังคับคดี เช่น จะยึดหรืออายัด ต้อง ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ทั้งนี้ตามปวิพ.ที่ว่า
ปวพ. มาตรา ๒๗๑
ถ้า คู่ความ หรือ บุคคล ซึ่ง เป็นฝ่าย แพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความ หรือ บุคคล ซึ่ง เป็นฝ่าย ชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดี ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง นั้น ได้ภายใน สิบปี นับแต่ วันมี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง โดยอาศัย และ ตาม คำบังคับ ที่ออกตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง นั้น

๒.เมื่อศาลออกหมายตามข้อ๑.แล้ว เจ้าหนี้ต้องไปตั้งเรื่องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ กรณี หนี้เงิน ก้อจะมีการบังคับชำระหนี้ โดยการยึดหรืออายัดทรัพย์ ทั้งนี้ตามหลักใน ปวิพ.ที่ว่า
ปวพ. มาตรา ๒๘๒
ถ้า คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ใด กำหนดให้ ชำระเงิน จำนวนหนึ่ง ภายใต้บังคับ แห่งบทบัญญัติ ห้ามาตรา ต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี ย่อมมีอำนาจ ที่จะ รวบรวมเงิน ให้พอชำระ ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง โดยวิธี ยึด หรือ อายัด และ ขาย ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามบทบัญญัติ ในลักษณะนี้ คือ
(๑) โดยวิธี ยึด และ ขายทอดตลาด สังหาริมทรัพย์ อันมีรูปร่าง และ อสังหาริมทรัพย์
(๒) โดยวิธี อายัด สังหาริมทรัพย์ อันมีรูปร่าง และ อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้ง สิทธิ ทั้งปวง อันมีอยู่ ใน ทรัพย์ เหล่านั้น ซึ่ง บุคคลภายนอก จะต้องส่งมอบ หรือ โอนมายัง ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในภายหลัง และ เมื่อ ได้ส่งมอบ หรือ โอนมาแล้ว เอา ทรัพย์สิน หรือ สิทธิ เหล่านั้น ออกขาย หรือ จำหน่าย ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจจะ ยึด บรรดาเอกสาร ทั้งปวง ที่ให้ สิทธิ แก่ลูกหนี้ ในอันที่จะ ได้รับส่งมอบ หรือ รับโอน ทรัพย์สิน หรือ สิทธิ เช่นว่ามานั้น
(๓) โดยวิธี อายัด เงิน ที่บุคคลภายนอก จะต้องชำระให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในภายหลัง แล้วเรียกเก็บ ตามนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจที่จะ ยึด บรรดาเอกสาร ทั้งปวง ที่ให้ สิทธิ แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในอันที่จะ ได้รับชำระเงิน เช่นว่านั้น
(๔) โดยวิธี ยึด เอกสารอื่นๆ ทั้งปวง เช่น สัญญากระทำการงานต่างๆ ซึ่ง ได้ชำระเงิน ทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนแล้ว ซึ่ง การบังคับ ตามสัญญา เช่นว่านี้ อาจทวี จำนวน หรือ ราคา ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และ เพื่อที่จะ นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา ๓๑๐ (๔) มาใช้บังคับ
เพื่อประโยชน์ แห่งมาตรานี้ ทรัพย์สิน ที่เป็นของ ภรรยา หรือ ที่เป็นของ บุตรผู้เยาว์ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่ง ตามกฎหมาย อาจถือได้ว่า เป็น ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ เป็น ทรัพย์สิน ที่อาจบังคับเอา ชำระหนี้ ตามคำพิพากษาได้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี อาจยึด หรือ อายัด และ เอาออกขายได้ ตามที่บัญญัติไว้ ข้างบนนี้
...
กรณีของจขกท.เป็นการอายัด จขกท.จึงมีหน้าที่ต้องแถลงว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องประเภทใด พร้อมเอกสารประกอบ เช่น ใบรับรองเงินเดือน หนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้าง ทะเบียนบ้านลูกหนี้เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งอายัด

๓.เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาหลักฐานของ จขกท.แล้วเห็นว่าครบถ้วนและสามารถอายัดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะสั่งอายัด เงินดังกล่าวให้ ทั้งนี้ตามหลักใน ปวิพ.ที่ว่า
ปวพ. มาตรา ๓๑๐ ทวิ
ถ้า ลูกหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิเรียกร้อง ต่อบุคคลภายนอก ให้ชำระเงิน จำนวนหนึ่ง หรือ เรียกให้ส่งมอบ สิ่งของ นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๓๑๐ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี อายัดและจำหน่ายไป ตามที่บัญญัติไว้ ในห้ามาตรา ต่อไปนี้
ปวพ. มาตรา ๓๑๑
สิทธิเรียกร้อง ซึ่ง ระบุไว้ใน มาตรา ๓๑๐ ทวิ นั้น ให้อายัดได้ โดยคำสั่งอายัด ซึ่ง ศาลได้ออกให้ ตามที่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้ยื่น คำขอ โดยทำเป็น คำร้องฝ่ายเดียว และ เจ้าหนี้ ได้นำส่ง ให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และ บุคคล ซึ่ง ต้องรับผิด เพื่อการชำระเงิน หรือ ส่งมอบ สิ่งของนั้น
เมื่อ ศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ใน หมายบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ อายัด สิทธิเรียกร้องตาม มาตรา ๓๑๐ ทวิ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่า คำสั่งอายัด ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นคำสั่งอายัด ของศาล
คำสั่งอายัดนั้น อาจออกให้ได้ ไม่ว่าหนี้ของ บุคคลภายนอกนั้น จะมีข้อโต้แย้ง หรือ มีข้อจำกัด หรือ เงื่อนไข หรือว่า ได้กำหนดจำนวน ไว้แน่นอน หรือไม่
คำสั่งนั้น ต้องมีข้อห้าม ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้งดเว้น การจำหน่าย สิทธิเรียกร้อง ตั้งแต่ขณะที่ ได้ส่งคำสั่งนั้นให้ และ มีข้อห้าม บุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงิน หรือ ส่งมอบสิ่งของ ให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ชำระ หรือ ส่งมอบ ให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ณ เวลา หรือ ภายในเวลา ตามที่กำหนดไว้ ในคำสั่ง
...
เอาแค่มาตราสำคัญๆพอ เดี๋ยวขี้เกียจอ่าน
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะออกคำสั่งอายัดเป็นหนังสือไปถึงนายจ้างของลูกหนี้ ให้หักเงินตามอายัดมาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต่อไปครับ
เมื่อได้เงินมาพอสมควร(ปัจจุบันประมาณ ๑ หมื่นบาทขึ้นไป)เจ้าพนักงานบังคับคดี จะทำบัญชีจ่ายเงินต่อไป

๔.มีข้อจำกัดการอายัดหรือไม่? อันนี้ต้องตอบว่ามีครับ ดังนี้
๔.๑ ตามปวิพ. ที่ว่า
ปวพ. มาตรา ๒๘๖
*ภายใต้บังคับ บทบัญญัติ แห่งกฎหมายอื่น เงิน หรือ สิทธิเรียกร้อง เป็นเงิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต่อไปนี้ ไม่อยู่ใน ความรับผิด แห่ง การบังคับคดี
(๑) เบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่ง กฎหมายกำหนดไว้ และ เงินรายได้ เป็นคราวๆ อันบุคคลภายนอก ได้ยกให้ เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวน รวมกันไม่เกินเดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ศาล เห็นสมควร
(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และ เบี้ยหวัด หรือ รายได้อื่นในลักษณะเดียวกัน ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือ ลูกจ้าง ในหน่วยราชการ และ เงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือ บำเหน็จ ที่หน่วยราชการ ได้จ่าย ให้แก่ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของบุคคลเหล่านั้น
(๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือ รายได้อื่น ในลักษณะเดียวกัน ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือ คนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้าง จ่ายให้แก่ บุคคลเหล่านั้น หรือ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวน รวมกันไม่เกิน เดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ศาล เห็นสมควร
(๔) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ที่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับ อันเนื่องมาแต่ ความตาย ของบุคคลอื่น เป็นจำนวน ตามที่จำเป็น ในการดำเนินการ ฌาปนกิจศพ ตามฐานะ ของผู้ตาย ที่ศาล เห็นสมควร
*ในกรณีที่ศาลเป็นผู้กำหนด จำนวนเงินตาม (๑) และ (๓) ให้ศาลกำหนดให้ ไม่น้อยกว่า อัตราเงินเดือน ขั้นต่ำสุด ของข้าราชการพลเรือน ในขณะนั้น และ ไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ของข้าราชการพลเรือน ในขณะนั้น โดยคำนึงถึง ฐานะในทางครอบครัว ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และ จำนวน บุพการี และ ผู้สืบสันดาน ซึ่ง อยู่ในความอุปการะ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ด้วย
ในกรณีที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ ออกคำสั่ง อายัด ตาม มาตรา ๓๑๑ วรรคสอง ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ กำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) (๓) และ (๔) และ ให้นำความ ในวรรคสอง มาใช้บังคับ แก่การกำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) และ (๓) โดยอนุโลม แต่ถ้า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ บุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดี ไม่เห็นด้วย กับจำนวนเงิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดี กำหนด บุคคลดังกล่าว อาจยื่น คำร้อง ต่อศาล ภายใน สิบห้าวัน นับแต่ วันที่ได้ทราบถึง การกำหนด จำนวนเงิน เช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาล กำหนด จำนวนเงิน ใหม่ได้
ในกรณีที่ พฤติการณ์แห่ง การดำรงชีพ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคล ตามวรรคสาม จะยื่น คำร้อง ให้ศาล หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) และ (๓) ใหม่ ก็ได้
คำสั่งของ ศาล ที่เกี่ยวกับ การกำหนด จำนวนเงิน ตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ได้ และ คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด
...
จากม.๒๘๖ พอจะเอาหลักสำคัญๆคือ
- ถ้าลูกหนี้รายได้ไม่ถึง ๑ หมื่นบาท จะอายัดไม่ได้ จะอายัดได้เฉพาะส่วนที่เกิน ๑ หมื่นบาทขึ้นไป
- ลูกหนี้ที่เป็น ขรก. จะอายัดเงินเดือนหรือรายได้ที่ได้จากทางราชการไม่ได้
-ลูกหนี้ที่๔ ถูกอายัดหากเดือดร้อนเงินไม่พอใช้อย่างไรอาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดจำนวนเงินอายัดใหม่ได้ เช่น อายัดไปเดือนละ ๒ หมื่น ขอลดเหลือเดือนละหมื่น เป็นต้น
๔.๒ จากระเบียบคำสั่งของกรมบังคับคดีเอง ซึ่ง ก้อมีที่มาจากม.๒๘๖นั่นแหละครับ
คือ เงินเดือนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะอายัดให้ตามเจ้าหนี้ขอ แต่ไม่เกิน ๓๐ เปอร์เซนต์ของเงินเดือนเป็นต้น

จขกท.ควรไปดำเนินการตามขั้นตอนที่ผมแสดงความเห็นมานะครับ ส่วนจะมีผิดถูกประการใดก้อขออภัยไว้นะครับ

และต้องดูด้วยนะครับว่ารพ.ของลูกหนี้ เป็นส่วนราชการหรือไม่ ถ้าเป็นคุณจะอายัดเงินเดือนเขาไม่ได้ตามม.๒๘๖(๒) ส่วนกรณีเงินปันผลนั้นอายัดได้และได้เต็มจำนวนครับ


ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : พลายงาม - [26 ก.พ.52 16:42]
จากคุณ : พลายงาม - [09 ต.ค.52 09:52]



ปล. กรณีตามกระทู้ สมาชิกอบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นข้าราชการการเมือง ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 วินิจฉัยว่า เจ้าหนี้สามารถอายัด เงินค่าป่วยการ ประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม ของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการการเมือง(ในฎีกานั้น คือ เทศมนตรี)ได้ครับ

ทางปฏิบัติ ก็ได้อายัดมาแล้วมากมายครับผม

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ
จากคุณ : พลายงาม - [01 ก.พ.53 17:37]


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 12:35:41 น. 0 comments
Counter : 3679 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.