ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
การตีความกฏหมายเบื้องต้น

การตึความในกฏหมาย vote ติดต่อทีมงาน

ภาษากฏหมายบางทีอ่านแล้วเข้าใจยาก
ทำไมไม่เขียนให้อ่านเข้าใจง่าย ๆ
และทำไม่ไม่ดูเจตนารมณ์ของกฏหมายแต่ละมาตรา
ต้องมาตีความกันตลอดไป
เดี๋ยวนี้พวกที่เป็นศรีธนนชัยมีมากเหลือเกิน

จากคุณ : วันเสาร์เดือนเจ็ดปีระกา
เขียนเมื่อ : 8 มิ.ย. 55 11:42:33

ความคิดเห็นที่ 4 ติดต่อทีมงาน

การตีความกฏหมาย  เป็นเรื่องแรกๆที่ต้องเรียนกันเลยทีเดียวครับในการศึกษากฏหมาย

สมัยผมเรียนเมื่อ 20 ปีก่อน  เขาเรียกว่า วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป  ท่าน อ.ปรีดี เกษมทรัพย์ เป็นอาจารย์ผู้สอน

ก็จะมีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมาย  ความชอบธรรมในการออกกฏหมาย การบังคับใช้

เบื้องต้นแล้ว  การตีความกฏหมาย  เราต้องดูหลักใน ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบท บัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆ
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

////////////////

จาก ม.4 วรรคแรก  จึงอาจจะตีความกฏหมายได้ 2 ทาง  คือ  ตาม  ลายลักษณ์อักษร หรือ ตามความมุ่งหมาย(เจตนารมณ์)  ของกฏหมายนั้นๆ

การตีความตามลายลักษณ์อักษร  ก็คือ  อ่านตามตัวอักษรที่เขียนมานั่นแหละ  ได้ความอย่างไร  ก็ต้องเป็นไปตามนั้น  (ทั้งนี้  อาจแบ่งแยกการตีความไปอีก เช่น ภาษาที่สามัญชนทั่วๆไปใช้กันเข้าใจ - ภาษาวิชาการ เช่นพวกภาษาทางแพทย์ - ศัพย์กฏหมาย เช่น คำว่า นิติกรรม โมฆะ โมฆียะ)

การตีความตามความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์  ก็คือ ถ้าอ่านตามตัวอักษรแล้ว  ยังไม่เคลียร์ ไม่ชัดเจน  ว่าจะเป็นอย่างไร  เราจึงไปค้นหาเจตนารมณ์ว่า "ผู้ร่างกฏหมาย"  เขาประสงค์จะให้เป็นเช่นไร   เจตนารมณ์ของผู้ร่างฯ อาจหาได้จาก  การบันทึกการประชุมอภิปรายของผู้ร่างกฏหมายฉบับนั้นๆ เป็นต้น

ส่วน ม.4 วรรคสอง เป็นกรณีที่ ไม่มีกฏหมายที่บัญญัติไว้จะมาใช้บังคับได้  การจะตัดสินหรือวินิจฉัยคดี  จึงต้องไปหา  จารีตประเพณี-กฏหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง-หลักกฏหมายทั่วไป


จากที่กล่าวมาข้างต้น  หลักการใช้กฏหมายเบื้องต้น  จึงอยู่ที่ ม.4  โดยต้องตีความตามตัวอักษร หรือ เจตนารมณ์ ตามวรรคแรก  กรณีไม่มีกฏหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นจึงไปใช้ ม.4 วรรคสอง


สาเหตุที่ต้องมีการตีความกฏหมาย  ก็เพราะ  สังคมเรามันมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา  ถ้าจะกำหนดกรอบเพียงแต่ว่า  ต้องเป็นไปตามตัวอักษร เป๊ะๆ  การวินิจฉัยหรือตัดสินคดี  ก็จะไม่เป็นธรรมหรืออาจจะล้าสมัยไม่ทันโลก    ดังนั้น  กฏหมายจึงต้องให้หลักในการตีความไว้นั่นเองครับ  ทั้งนี้  ก็เพื่อความยุติธรรมกับประชาชนครับ


smile

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 8 มิ.ย. 55 14:24:34
//www.pantip.com/cafe/social/topic/U12208485/U12208485.html




Create Date : 08 มิถุนายน 2555
Last Update : 8 มิถุนายน 2555 18:27:05 น. 0 comments
Counter : 3053 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.