ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ถ้าเมืองไทยมีกฏหมายให้"บุคคลธรรมดา"ร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้จะเป็นอย่างไร

พอดีแวะไปเห็นข่าวนี้ครับ

ตัวเลขคนล้มละลายในสหรัฐฯพุ่งทะลุ 1.5 ล้าน คาดแนวโน้มปีนี้ยังสูงต่อเนื่องวันที่ 04 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:07:04 น.
แบ่งปันข่าวนี้บน facebook Share


จำนวนผู้ยื่นขอล้มละลายในสหรัฐในปี 2553 เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ 1.53 ล้านคน



ซีเอ็นเอ็นมันนี่รายงานว่า จากข้อมูลของสถาบันการล้มละลายแห่งอเมริกา (ABI) และศูนย์วิจัยการล้มละลายแห่งชาติระบุว่า ตัวเลขผู้ยื่นเรื่องล้มละลายเพิ่มขึ้นทุกปีนับจากปี 2548 ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลาย


ทาง ABI มองว่าจำนวนผู้ขอล้มละลายในปี 2553 ซึ่งแซงปี 2552 ที่มีจำนวน 1,407,788 คนเป็นผลมาจากภาระหนี้สินเกินตัวและสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เฉพาะเดือนธันวาคมมีผู้ขอยื่นเรื่องถึง 118,146 ราย สูงกว่าเดือนพฤศจิกายน 3%


ซามูเอล เจอร์ดาโน ผู้อำนวยการบริหาร ABI กล่าวว่า "เราคาดว่าตัวเลขผู้ยื่นขอล้มละลายจะยังคงสูงต่อเนื่องในปี 2554

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294142665&grpid=&catid=06&subcatid=0600



ตามหลักแล้วในกฎหมายไทย ให้ช่องทางลูกหนี้หรือผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สามารถร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้เหมือนกัน แต่ กฏหมายอนุญาตให้แต่เพียงเฉพาะ ลูกหนี้หรือผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่มีสถานะเป็น "นิติบุคคล" เท่านั้น เช่น

พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 88 ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนห้างหุ้น ส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นนอกจากเจ้าหนี้จะฟ้องขอให้ล้มละลาย ได้ตามความในหมวด 1 แล้ว ผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้น ๆ อาจยื่นคำร้อง ขอต่อศาลขอให้สั่งให้นิติบุคคลนั้นล้มละลายได้ ถ้าปรากฏว่าเงินลงทุนหรือเงิน ค่าหุ้นได้ใช้เสร็จหมดแล้วสินทรัพย์ก็ยังไม่พอกับหนี้สิน
เมื่อศาลได้รับคำร้องขอแล้ว ให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นเด็ด ขาดโดยทันที และให้ที่ประชุมเจ้าหนี้แต่งตั้งเจ้าหนี้คนหนึ่งขึ้น ให้มีสิทธิและ หน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์


หรือในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ก็เช่นกัน จะอนุญาตให้ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้นขอฟื้นฟูกิจการ
มาตรา 90/1 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือ นิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง


/////////////////

จากข้อกฏหมายข้างต้น จึงชัดเจนว่า ตามกฏหมายไทย อนุญาตให้ลูกหนี้หรือ ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวที่เป็น"นิติบุคคล"เท่านั้น ร้องขอให้ตนเองล้มละลายหรือฟื้นฟูกิจการ(ซึ่งจะทำให้มีภาวะเกือบๆเหมือนล้มละลาย คือ ขาดสภาพคล่อง)

ข้อเสียของการล้มละลายตามกฏหมายไทยคือ ลูกหนี้จะต้องถูกควบคุมตัวเช่นห้ามออกนอกประเทศและจำกัดสิทธิบางอย่าง เช่น การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์ และหากมีทรัพย์สินใดๆที่ได้มาระหว่างถูกร้องขอให้ล้มลาย-ปลดล้มละลาย จะต้องถูก ยึด-อายัด เพื่อ ชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้

ข้อดีของการล้มละลาย คือ ลูกหนี้มีโอกาสชำระหนี้คืนให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของเขา โดยมีฝ่ายรัฐเข้ามาควบคุมไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ(ในที่นี้คือ ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)อย่างเป็นธรรม และ ลูกหนี้มีโอกาสหลุดพ้นจากการล้มละลายได้ โดย การประนอมหนี้ หรือ ปลดล้มละลายโดยผลของกฏหมาย(คือ เมื่อครบ 3 ปีนับแต่ศาลพิพากษาให้ปลดลูกหนี้จากการล้มละลาย ตาม ม.81/1)

หลายๆท่านคงสงสัยว่า แล้ว อยู่ดีๆ ทำไมคนที่เป็นลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จะร้องขอให้ตัวเองล้มละลายไปทำไม คำตอบ ก็คือ หากไม่มีช่องทางให้เขาร้องขอฯตรงนั้นได้ เขาก็จะต้องผูกพันกับ"หนี้ล้นพ้นตัว"ที่เขาน่าจะไม่มีทางชำระได้หมดสิ้นไปเป็นเวลาร่วม 10 ปี และ บรรดาเจ้าหนี้ของเขา ก็จะได้รับความเสียหายไปด้วย คือ อาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ใดๆจากเขาเลย เพราะ ลูกหนี้อาจหลบหนี(บางคนอาจถึงขั้นหนีไปโลกหน้า) หรือ อาจมีการให้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น เจ้าหนี้ที่มีอิทธิพลอาจบีบบังคับเอาหนี้จากลูกหนี้ไปหมดก่อน เป็นต้น

ดังนั้น หากกฏหมายไทยเรา เปิดช่องทางให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวที่เป็น"บุคคลธรรมดา"ร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้ อาจมีข้อดี คือ ให้ลูกหนี้เขาได้เข้าสู่กระบวนการในระบบที่ถูกต้อง และ เอาทรัพย์สินของเขาที่มีมาตีชำระหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ของเขาหรือให้มีการตกลง"ในระบบ"อย่างเป็นธรรม ฝ่ายลูกหนี้จะได้อยู่อย่างไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ ทั้ง เขายังจะมีโอกาสหลุดพ้นจากการล้มละลายได้ โดยอาจเป็นช่องทาง การประนอมหนี้ หรือ การปลดล้มละลาย...ให้เขาไปมีชีวิตใหม่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสีย นั่นคือ หากมีการเปิดช่องให้"บุคคลธรรมดา" สามารถร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้เช่นนั้น อาจทำให้ประชาชน"ไม่มีวินัยทางการเงิน" คือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย พอหนี้มากเข้าๆ ก็ขอให้ตนเองล้มละลาย เพื่อ ชำระบัญชีตนเอง พอหลุดพ้นแล้ว ก็มาก่อหนี้อีกไม่จบสิ้นหรือไม่ หรือ คนที่ไม่สุจริตอาจใช้ช่องทางนี้ไป โกงหรือยืมเงินฝ่ายเจ้าหนี้ แล้วเจตนาหาทางไม่ชำระ เพื่อ เข้าสู่กระบวนการขอให้ตนเองล้มละลายแล้ว หวังจะได้รับการ ปลดจากล้มละลายในภายหน้าหรือไม่


ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ในช่วงต้น ว่า กฏหมายไทยเรายังไม่มีช่องทางให้ ลูกหนี้ที่เป็น"บุคคลธรรมดา"ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้ แต่ในขณะที่หลายๆประเทศเขามีกฏหมายรองรับตรงนี้

ซึ่งคงต้อง วิเคราะห์-วิจัย ถึง ข้อดี/ข้อเสีย ว่าสมควรให้มีหรือไม่เพียงใดต่อไปครับ

ในความเห็นส่วนตัว เห็นว่า ควรมีกฏหมายเช่นนั้น แต่คงต้องหาทาง"อุดช่องโหว่"ของข้อเสียที่กล่าวถึงข้างต้น และ ภาครัฐ(ในที่นี้คือ ศาล เจ้าพักงานพิทักษ์ทรัพย์)จะต้องเข้มแข็งมากๆครับ

พอดีเห็นข่าวตามกระทู้เลยแวะเอามาแปะเพื่อแชร์กัน

ว่าแต่...เพื่อนสมาชิกเห็นอย่างไรบ้างครับตามหัวข้อ "ถ้าเมืองไทยมีกฏหมายให้"บุคคลธรรมดา"ร้องขอให้ตนเองล้มละลายได้จะเป็นอย่างไร"






จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 5 ม.ค. 54 10:01:54

//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10096621/U10096621.html


Create Date : 05 มกราคม 2554
Last Update : 5 มกราคม 2554 10:19:26 น. 0 comments
Counter : 2638 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.