ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สัญญาต้องเป็นสัญญา แต่ ข้อสัญญาต้องมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณี

แต่เดิม แนวคิดในการทำสัญญาของเอกชน

จะอยู่ภายใต้หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา(pacta sunt servanda) คือ หากคู่สัญญาตกลงเข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและข้อสัญญานั้นๆไม่ขัดต่อกฏหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจะต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้นๆอย่างเคร่งครัด

พูดง่ายๆคือ "สัญญาต้องเป็นสัญญา" นั่นเอง

อย่างไรก็ตามต่อมามีแนวคิดถึง ความสามารถในการเข้าต่อรองต่างๆของคู่สัญญาในเรื่องข้อสัญญาต่างๆ มักจะไม่เท่าเทียมกัน ดังเช่น การทำสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกัน ขายฝาก ฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับซื้อฝาก มักจะกำหนดข้อสัญญาให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องรับ"ภาระ"เกินสมควร

จึงได้มีแนวคิดเรื่องข้อยกเว้นของหลัก"สัญญาต้องเป็นสัญญา" ซึ่งในประเทศไทยเราได้ปรากฏในกฏหมายดังนี้ครับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
มาตรา 5 ข้อตกลงจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การงาน หรือการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ ซึ่งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระ มากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
ในการวินิจฉัยว่าข้อตกลงตามวรรคหนึ่งทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือ เสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้หรือไม่ ให้พิเคราะห์ถึง ขอบเขตในด้านพื้นที่และระยะเวลาของการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ รวมทั้ง ความสามารถและโอกาสในการประกอบอาชีพการงานหรือการทำนิติกรรม ในรูปแบบอื่นหรือกับบุคคลอื่นของผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ ประกอบกับ ทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของคู่สัญญาด้วย

////////

จากหลักกฏหมายข้างต้น จึงเห็นได้ว่ากฏหมายประสงค์จะให้รัฐ(ในที่นี้คือศาล)เข้ามาควบคุมเรื่องเสรีภาพในการเข้าทำสัญญา(freedom to contract)ของคู่สัญญาให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น

นั่นคือ แม้คู่สัญญาจะตกลงในข้อสัญญากันไว้อย่างไร แต่หากเกิดปัญหาและมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล ข้อสัญญานั้นๆหากเป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระ มากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ศาลอาจตีความให้ข้อสัญญานั้นๆมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณี ตามม.5 ข้างต้นนั่นเองครับ

เช่น

//////////////////

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2552 แจ้งแก้ไขข้อมูล

ข้อตกลงในสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์เป็นเวลา 3 ปี มิฉะนั้นต้องเสียเบี้ยปรับ 3 เท่า ของจำนวนค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น จำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกเอาได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนโจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า จึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน (รวมวันเดินทาง 2 วัน) โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 300,000 บาท โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไป 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี จึงทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในขอบเขตซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 บัญญัติไว้ และศาลแรงงานกลางได้ลดอัตราให้เหลือร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ

///////

จากตัวอย่างข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่ศาลตีความข้อสัญญาระหว่างโจทก์-จำเลย ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับใช้ได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 นั่นเองครับ


พอดีแวะไปเห็นมาและเห็นว่าน่าสนใจ เลย เอามาแชร์กันครับ




จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 27 ธ.ค. 53 09:14:23

//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10068687/U10068687.html




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 27 ธันวาคม 2553 9:25:53 น.
Counter : 10003 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.