Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
2 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

อยู่กับฟันปลอมอย่างมีสุข



ธรรมชาติแล้วคนเราเกิดมามีฟันเพียง 2 ชุดเท่านั้นคือ ฟันน้ำนม และฟันแท้
หากวันหนึ่ง...คุณต้องใช้ฟันชุดที่ 3 คุณจะยอมเลือกสิ่งนี้ไหม

ฟันปลอม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าฟันเทียม เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทันตแพทย์ทำขึ้น เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
การมีฟันปลอมมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว
ป้องกันการล้มเอียงของฟันข้างเคียงและการยื่นยาวของฟันคู่สบ
ช่วยการออกเสียงให้ชัดเจน และยังเพิ่มความมั่นใจเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย

ประเภทฟันปลอม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ฟันปลอมติดแน่น

1.1 ฟันปลอมติดแน่น เป็นฟันปลอมถาวรที่ยึดแน่นในช่องปาก
โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่าง เป็นหลักในการยึดฟันปลอม
ฟันปลอมชนิดนี้ผู้ที่ใส่ไม่สามารถถอดออกมา เพื่อทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้

ดังนั้น ถ้าไม่เอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ
ฟันธรรมชาติที่เป็นฟันหลักอาจผุ และไม่สามารถใช้งานเป็นหลักยึดฟันปลอมต่อไปได้
หรืออาจจะต้องถอนฟันเพิ่ม

ฟันปลอมติดแน่นจะไม่ขยับหรือหลวมหลุด ในขณะที่ผู้ป่วยพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้ผู้ที่ใส่มีความมั่นใจ
และเนื่องจากขนาดชิ้นฟันปลอมที่ค่อนข้างเล็ก จึงไม่ค่อยก่อให้เกิดความรำคาญ
มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวค่อนข้างสูง
โดยแรงจากการบดเคี้ยวจะถูกถ่ายทอดไปสู่ฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง ที่ใช้เป็นหลักยึดฟันปลอมโดยตรง

อย่างไรก็ตามฟันปลอมชนิดนี้ มีข้อเสียที่สำคัญมาก ได้แก่
การสูญเสียเนื้อฟันของฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียง ที่จะต้องถูกกรอแต่งเพื่อให้มีขนาดเล็กลง
เพื่อใช้เป็นฟันหลักสำหรับยึดฟันปลอม


1.2 ฟันปลอมชนิดรากเทียม เป็นฟันปลอมชนิดถาวรติดแน่นอีกชนิดหนึ่ง ที่จะยึดแน่นในช่องปากเช่นกัน
โดยการยึดกับกระดูกภายใต้ช่องว่างที่จะใส่ฟัน
การใส่ฟันชนิดนี้จะคล้ายคลึงกับการปลูกฟันธรรมชาติ ที่สูญเสียไปขึ้นมาใหม่
เนื่องจากจะเป็นการจำลองลักษณะของฟันเดิม ทั้งในส่วนของตัวฟันและรากฟัน
ฟันปลอมชนิดนี้จะมีความสวยงาม และประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมาก
เมื่อผู้ป่วยออกแรงเคี้ยวอาหารแรงบดเคี้ยว จะถูกถ่ายทอดไปสู่กระดูกขากรรไกร ที่อยู่ข้างใต้โดยตรง

นอกจากนี้แล้วฟันปลอมชนิดนี้ค่อนข้างจะมีความคงทนแข็งแรง
ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อฟันธรรมชาติและเหงือกที่อยู่โดยรอบ เนื่องจากไม่ต้องมีการกรอแต่งฟันธรรมชาติข้างเคียง

ข้อเสียของฟันปลอมชนิดนี้ จะใช้เวลาทำนานกว่าฟันปลอมชนิดอื่น
เนื่องจากต้องรอให้กระดูกโดยรอบ ยึดกับรากเทียมอย่างเต็มที่ก่อนที่ทันตแพทย์ จะใส่ฟันปลอมส่วนที่เป็นตัวฟัน

ส่วนค่าใช้จ่ายของการทำรากเทียมนั้นจะสูงกว่า แต่ไม่สามารถใส่ได้ในผู้ป่วยทุกราย เช่น
ผู้ที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบางชนิด
ผู้ป่วยที่เคยถูกฉายรังสีรักษาในบริเวณใบหน้า ตลอดจนผู้ที่มีโรคทางระบบบางโรค
และผู้ที่สูบบุหรี่ อาจส่งผลเสียต่อการยึดติดของรากเทียมได้
ดังนั้นการพิจารณาผู้ที่เหมาะสมกับฟันปลอมชนิดนี้ จึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา
และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคุยปรึกษาแผนการรักษากับ ผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำ


2. ฟันปลอมถอดได้

เป็นฟันปลอมสามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดข้างนอกช่องปากได้
มีทั้งชนิดชั่วคราวที่ทำด้วยพลาสติกและชนิดถาวรที่ทำด้วยโลหะ
ข้อดีของฟันปลอมชนิดนี้ ช่วยให้ผู้ที่ใส่สามารถดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย
ขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยาก มีการกรอแต่งสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติน้อย ไม่เสียเวลามาก
และมีค่าใช้จ่ายในการทำที่ค่อนข้างต่ำกว่าฟันปลอมชนิดอื่น ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามการบดเคี้ยว

1. แรงจากการบดเคี้ยวกระจายลงสู่ซี่ฟันทั้งหมด
ฟันปลอมประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าฟันปลอมถอดได้ประเภทอื่นๆ

2. แรงบดเคี้ยวจะกระจายลงสู่สันเหงือกที่รองรับฟันปลอมทั้งหมด
เหมาะสำหรับผู้ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่ในช่องปากเลย

3. แรงบดเคี้ยวบางส่วนกระจายลงสู่ซี่ฟันธรรมชาติบ้าง
และบางส่วนกระจายลงสู่สันเหงือกที่รองรับฐานฟันปลอม

อย่างไรก็ตาม รูปร่างและขนาดของฟันปลอมถอดได้ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะการสูญเสียฟันของผู้ป่วย
และฟันธรรมชาติที่ใช้เป็นหลักยึดตะขอฟันปลอม
เมื่อเปรียบเทียบกับฟันปลอมติดแน่น ฟันปลอมถอดได้จะสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่า

นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาเรื่องความสวยงาม
เนื่องจากต้องมีส่วนตะขอของฟันปลอมไปโอบเกี่ยวกับฟันธรรมชาติ ที่เหลืออยู่
และเมื่อใช้งานฟันปลอมไปนาน ๆ ก็อาจมีปัญหาเรื่องการหลวมขยับหรือหลุดของฟันปลอมขณะใช้งานได้
ดังนั้นเมื่อใส่ฟันปลอมไปแล้ว ผู้ป่วยควรกลับมาพบทันตแพทย์
เพื่อตรวจและปรับแต่งแก้ไขฟันปลอมให้อยู่ในสภาพ ที่ดีพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ

ช่วงแรกที่ใส่ฟันปลอมใหม่ ๆ
ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายเวลาเคี้ยว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของการใส่ฟันปลอม
แต่จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อในช่องปากรวมทั้งกล้ามเนื้อ กระพุ้งแก้มและลิ้นจะค่อย ๆ ปรับตัวและเคยชิน

ดังนั้นช่วงแรกๆ ของการใส่ฟันปลอม
ทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ จนกว่าจะชินกับฟันปลอม
ส่วนการระคายเคืองหรือมีน้ำลายออกมากผิดปกติ เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกๆ เช่นกัน
ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงและหายในที่สุดเมื่อช่องปากสามารถปรับตัวเข้ากับฟันปลอม


ดูแลฟันปลอม
การรักษาความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกวิธีมีความสำคัญมาก
ขณะที่เรานอนหลับการไหลของน้ำลายจะน้อยกว่าเมื่อเวลาตื่น
การชะล้างภายในช่องปากตามธรรมชาติก็จะลดลง
ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องถอดฟันปลอมออกเวลานอน เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ
และให้โอกาสเหงือกได้พักหลังจากที่ได้รับแรงกดทับมาตลอดทั้งวัน
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสะสมของคราบอาหาร และคราบจุลินทรีย์บนฟันปลอม
ผู้ป่วยควรใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงไม่แข็งเกินไป ทำความสะอาดฟันปลอมกับน้ำสะอาดจนไม่เหลือคราบ

ควรแยกแปรงสีฟันที่ใช้ออกจากแปรงสีฟันธรรมชาติ
และยาสีฟันที่ใช้แปรงฟันธรรมชาติ สามารถนำมาใช้สำหรับทำความสะอาดฟันปลอมได้
แต่ควรเลือกยาสีฟันชนิดที่ไม่มีผงขัด

หากไม่สามารถกำจัดคราบสีหรือคราบหินปูนออกจากฟันปลอมได้
ไม่ควรนำฟันปลอมไปแช่ในน้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
แต่ควรทำความสะอาดฟันปลอมด้วยเม็ดยาแช่ฟันปลอม ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด
หรือสอบถามวิธีการที่ถูกต้องจากทันตแพทย์

ขณะที่ทำความสะอาดฟันปลอม ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะฟันปลอมสามารถแตกหักได้
และถ้าเกิดการแตกหักของฟันปลอม ผู้ป่วยไม่ควรซ่อมฟันปลอมด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ฟันปลอมเสียรูป

ขณะที่ไม่ได้สวมใส่ฟันปลอม ควรแช่ฟันปลอมในน้ำสะอาดเพื่อความชุ่มชื้นตลอดเวลา
และควรเปลี่ยนน้ำที่ใช้แช่ฟันปลอมทุกวัน

ขณะเดินทางไม่ควรใส่ฟันปลอมไว้ในกระเป๋าเสื้อ หรือในที่ที่ฟันปลอมอาจเกิดการตกหล่น การถูกกดทับ
แต่ควรเก็บฟันปลอมไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหาย

เพียงเท่านี้ฟันปลอมก็จะอยู่กับคุณไปนานทีเดียว


ที่มา ://women.thaiza.com


สารบัญ บทความ สุขภาพ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2553
1 comments
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2553 13:37:57 น.
Counter : 1119 Pageviews.

 


Never stand back and let time waste you.
- -- Anonymous

จงอย่ายึดติดกับอดีต และปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไป

 

โดย: Elbereth 4 กุมภาพันธ์ 2553 17:22:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.