ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
คุณอยากให้บ้านและที่ดินราคาถูกลงมากๆ ไหม?

คุณอยากให้บ้านและที่ดินราคาถูกลงมากๆ ไหม?

คนมากหลายไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินมาเป็นของตนและครอบครัวได้ตลอดทั้งชีวิตเพราะราคาแพงเกินกำลังของเขา
แต่เชื่อไหม ว่าเราสามารถทำให้ที่ดินมีราคาเป็นศูนย์ได้ หรือไม่ก็แทบไม่มีราคาเลยในการซื้อขายกัน คนซื้อที่ดินและบ้านก็จะจ่ายแทบจะเฉพาะราคาบ้านเท่านั้น บ้านเองจะมีราคาถูกลง รวมทั้งสินค้าอื่นๆ มิหนำซ้ำค่าแรงเงินเดือนและผลตอบแทนการลงทุนก็สูงขึ้น เรียกได้ว่าเข้ายุคพระศรีอารยเมตไตรยกันทีเดียว

แต่เรื่องใหญ่ๆ กระทบคนจำนวนมากมายอย่างนี้ ควรค่อยทำค่อยไป น่าจะใช้เวลา ๒๐–๓๐ ปี
วิธีการนั้นง่ายมาก คือให้รัฐยกเลิกภาษีอื่นๆ ทั้งสิ้นพร้อมกันไปกับการเก็บ ‘ภาษีที่ดิน’ อย่างเดียว แต่เก็บในอัตราที่สูงเท่ากับค่าเช่าแบบที่เอกชนเขาทำกัน

แต่ถ้าภาษีที่ดิน รวมทั้งค่าสัมปทาน ค่าภาคหลวงทรัพยากรธรรมชาติ ยังน้อยไป ไม่เพียงพอกับรายจ่ายของรัฐ ผมก็ยังเห็นว่าต้องเก็บเป็นอันดับแรก แลัวถึงยังต้องมีเก็บภาษีอย่างอื่นบางอย่างด้วยบ้างก็ไม่เห็นเป็นไร แต่ถือว่ารัฐบาลต้องพยายามตัดค่าใช้จ่ายให้พอดีกับรายรับที่ชอบธรรมของรัฐ (คือภาษีที่ดินกับค่าทรัพยากรนั่นละ ซึ่งถือว่าเป็นของทุกคนเท่ากัน แล้วยินยอมยกให้เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาล) ส่วนการทำงานและการลงทุนที่จริงไม่ควรถูกเก็บภาษี

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ๓ ท่านพูดไว้ดังนี้ (จาก //www.schalkenbach.org/library/SaratogaBatt.pdf )
๑. Franco Modigliani: เป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาค่าเช่า [ภาษี] ที่ดินไว้เป็นแหล่งรายได้แหล่งหนึ่งของรัฐ บางคนที่สามารถจะใช้ประโยชน์ที่ดินได้เป็นเลิศอาจไม่สามารถหาเงินได้มากพอสำหรับราคาซื้อ การเก็บค่าเช่า [ภาษี] เป็นรายปีจะช่วยให้ผู้ที่มีขีดจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อสามารถเข้าถึงที่ดินได้
๒. Robert Solow: ผู้ใช้ที่ดินไม่ควรได้สิทธิ์ที่ไม่จำกัดระยะเวลาเพียงเพราะการจ่ายเงินครั้งเดียว เพื่อประสิทธิภาพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ และเพื่อความยุติธรรม ผู้ใช้ที่ดินทุกคนควรจะต้องจ่ายเป็นรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเท่ากับมูลค่าของค่าเช่าในขณะนั้นสำหรับที่ดินซึ่งเขาทำให้ผู้อื่นหมดสิทธิที่จะใช้
๓. William Vickrey: มัน [ภาษีมูลค่าที่ดิน] เป็นสิ่งประกันว่าจะไม่มีผู้ใดพรากสิทธิของเพื่อนพลเมืองด้วยกันโดยการแสวงหาส่วนแบ่งที่มากเกินควรในสิ่งที่ธรรมชาติได้จัดเตรียมไว้ให้แก่มนุษยชาติ

ผลร้ายของระบบภาษีปัจจุบัน (เก็บภาษีที่ดินน้อยไป เก็บภาษีอื่นๆ มากไป) คือ
๑. ผิดศีลข้ออทินนาทาน เอาจากกลุ่มอื่นไปให้แก่กลุ่มเจ้าของที่ดินด้วยวิธีการภาษี โดยภาษีและกิจกรรมของส่วนรวมไปทำให้สังคมมีความน่าอยู่และปลอดภัยขึ้น ที่ดินก็เลยแพง โดยฉะนี้ถึงได้มีการเก็งกำไรแสวงหาครอบครองที่ดินกันในวงกว้างทั่วไป ที่ดินก็ยิ่งแพงขึ้น คนยากคนจนหรือจะแข่งขันด้วยได้ จำใจต้องยอมเป็นผู้เช่า จ่ายทั้งค่าเช่าที่ดิน ทั้งภาษีอื่นๆ
๒. ภาษีปัจจุบันเป็นตัวถ่วง แทนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูตัวอย่างสหรัฐฯ เขากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีลดภาษีอื่นๆ มาหลายต่อหลายหนแล้ว
๓. การไม่เก็บภาษีที่ดินหรือเก็บน้อยไปก็กลับเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจซ้ำเข้าไปอีก เพราะที่ดินถูกเก็งกำไรเก็บกักกันไว้เฉยๆ มากมาย หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ทำให้การจ้างงานน้อย และค่าแรงต่ำ ผลตอบแทนต่อการใช้ทุนเครื่องทุ่นแรงก็ต่ำ
๔. ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร พวกนี้ไปลดรายได้จริงของคนทำงานและผู้ลงทุน
๕. ภาษีทางอ้อมจำพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีขาเข้า ไปทำให้ของแพง และทำให้ความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศลด ไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือนฮ่องกง สิงคโปร์
๖. ราคา/ค่าเช่าที่ดินและบ้านแพงกว่าที่ควร แฟลต/คอนโดในเมืองก็มีน้อย เกิดปัญหาต้องเดินทางเช้าเข้าเมืองเย็นกลับออกนอกเมืองติดขัดอัดแอเสียเวลามาก เกิดปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมหรือชุมชนแออัดในเมือง การย้ายบ้านก็ยากเพราะต้องใช้เงินมาก
๗. เพราะที่ดินมีราคา จึงมีคดีที่ดินเป็นภาระแก่ศาลยุติธรรมมากมาย คนจำนวนมากต้องเสียเงินเสียเวลาขึ้นศาลกันนานๆ ระหว่างนั้นที่ดินก็อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์
๘. สังคมมีความแตกต่าง เกิดการแตกแยก ส่วนหนึ่งเพราะความไม่เป็นธรรมด้วยวิธีการภาษีดังข้อ ๑.

ถ้ารัฐประเมินเก็บภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าแบบที่เอกชนเขาคิดกัน ราคาที่ดินจะเป็นศูนย์หรือเกือบศูนย์ คนเราจะเลือกซื้อขายที่ดินได้ง่าย รวมทั้งผู้ลงทุนสร้างบ้านขายพร้อมที่ดิน แม้ราคาที่ดินจะเป็นศูนย์ เอาเป็นหลักทรัพย์ค้ำกู้ไม่ได้ แต่การซื้อขายที่ดินเองก็คงแทบไม่ต้องกู้แล้ว และก็จะทำให้คนเรากู้หนี้เพื่อลงทุนอย่างอื่นเกินตัวได้ยาก ถือว่าถูกหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่การลงทุนอย่างอื่นก็ยังคงมีวิธีทำได้ด้วยการเสนอโครงการที่ดีเป็นที่ยอมรับแก่ผู้ให้กู้ เช่น ธนาคาร การใช้เครื่องจักรกลหรืออาคารเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน การร่วมทุนกัน การเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น และศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และประชาชน (ศงป.) //www.sfac.or.th ก็พร้อมช่วยเหลือ

หลายคนมีความเห็นค้านเพราะคิดว่าที่ดินลดความสำคัญลงเรื่อยๆ เราสามารถสร้างตึกสูงเป็นคอนโดมิเนียมหลายสิบชั้นซ้อนกันขึ้นไปให้ผู้คนเข้าอาศัยอยู่ได้จำนวนมาก เทคโนโลยีเจริญก้าวไกล บริษัทผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแบบไมโครซอฟต์ทำเงินได้มหาศาล ไม่เห็นจะต้องใช้ที่ดินมากเลย ก็ถูกครับ แต่ถูกเป็นบางส่วน เทคนิคการสร้างตึกสูงทำให้ใช้ที่ดินน้อยลงได้ แต่มันก็ต้องใช้ต้นทุนสูงคุ้มเฉพาะกับที่ดินราคาแพงย่านชุมชนหนาแน่นเท่านั้น ซ้ำยังทำให้ราคาที่ดินย่านนั้นสูงขึ้นไปอีก ส่วนซอฟต์แวร์นั้นคนก็กินแทนข้าวปลาไม่ได้ ของกินของใช้ยังต้องอาศัยที่ดินผลิตขึ้นมา โดยการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าก็กลับไปเพิ่มความสามารถสนองความต้องการทางวัตถุให้แก่มนุษย์มากขึ้นดีขึ้น คนมีอันจะกินก็ต้องการการพักผ่อน ท่องเที่ยว ผจญภัย หาความสำราญมากขึ้น ต้องการเครื่องเล่น สวนสนุก บ้านที่สอง เรือสำราญ เรือยอช์ต รถนอนหรือบ้านเคลื่อนที่ เครื่องบินส่วนตัว บัลลูน เดี๋ยวนี้ก็ถึงขั้นขึ้นอวกาศกันแล้ว ซึ่งทั้งหลายที่ว่านี้ล้วนใช้ที่ดินและทรัพยากรสิ้นเปลืองเพิ่มขึ้นทั้งนั้น

อัจฉริยบุคคลมักเห็นแย้งกัน แต่ในปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดปัญหาหนึ่งของมนุษย์ – จะแบ่งที่ดินอย่างไรให้ยุติธรรม – มีบางท่านได้ข้อยุติเหมือนกัน:- ผู้ใช้เสียค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่หมดสิทธิการใช้ พวกเขาได้ข้อยุตินี้ด้วยเหตุผลจากลักษณะพิเศษเฉพาะของที่ดิน เจ้าของที่ดินบางคนยังไม่ใช้ที่ดิน เพื่อรอราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ที่ดินมีราคาสูงยิ่งขึ้นไปอีก

การมีสิทธิในที่ดินต่างกับสิทธิในทรัพย์สินอื่น (จาก //www.progress.org/geonomy/thinkers.html)
๑. ผู้ควรได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคือผู้ที่ลงแรงลงทุนผลิตมัน แต่ไม่มีใครในพวกเราผลิตที่ดิน
๒. การลงทุนซื้อบางสิ่งจากผู้ผลิตหรือเจ้าของที่ชอบธรรมทำให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ แต่ที่ดินไม่มีผู้ผลิตหรือเจ้าของที่ชอบธรรมมาก่อน
๓. สินค้าและบริการเมื่อแพงขึ้นเพราะมีผู้ต้องการเพิ่ม ก็สามารถผลิตเพิ่มทำให้ราคากลับสู่ดุล แต่สถานที่หรือทรัพยากรผลิตเพิ่มไม่ได้ เมื่อความต้องการเพิ่ม ราคาจึงเพิ่ม
๔. ถ้าเราต้องการทรัพย์สินชิ้นหนึ่ง เราก็จำเป็นต้องมีที่ดิน อันเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิตและทรัพย์สิน ถ้ามีการกักตุนสินค้า แม้จะเป็นจำนวนมาก ผู้อื่นสามารถผลิตเพิ่ม แต่ถ้ากักตุนทรัพยากร – แหล่งที่มาของทรัพย์สิน – และที่ดิน – สถานที่ซึ่งใช้ทำงาน – จะเป็นการกีดกันผู้อื่นมิให้ทำงานผลิต

Karl Marx “จากมุมมองของรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นของสังคม การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง แม้แต่สังคมหนึ่ง หรือแม้แต่ทุกสังคมรวมกัน ก็ไม่ใช่เจ้าของแผ่นดินโลก พวกเขาเป็นเพียงผู้ครอบครอง ผู้ใช้แผ่นดินโลก และจะต้องส่งต่อไปยังชนรุ่นหลังๆ ในภาวะที่ดีขึ้น เสมือนบิดาที่ดีของครอบครัว” (Das Kapital, vol. III, p. 901-2 อ้างโดย //www.progress.org/geonomy/thinkers.html)

Winston Churchill กล่าวไว้ว่า (จาก //www.earthsharing.org.au/winston.html)
“การผูกขาดที่ดินมิใช่การผูกขาดเพียงชนิดเดียวที่มีอยู่ แต่ก็เป็นการผูกขาดที่ใหญ่หลวงที่สุด – เป็นการผูกขาดตลอดกาล และเป็นต้นกำเนิดของการผูกขาดอื่นๆ ทุกรูปแบบ . . . .
“ที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งที่มาแห่งทรัพย์สินทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งมีตำบลที่ทางภูมิศาสตร์คงที่ – ที่ดิน ข้าพเจ้าขอกล่าว แตกต่างจากทรัพย์สินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งมวล . . . .
. . . . . . . . . . . . . . .
“ . . . ข้าพเจ้าหมายถึงกระบวนการมากกว่าตัวเจ้าของที่ดินแต่ละคน ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังชนชั้นหนึ่งชั้นใดขึ้น ข้าพเจ้ามิได้คิดว่าผู้ที่หาเงินจากส่วนเพิ่มของราคาในที่ดิน อันมิใช่เกิดจากการลงทุนลงแรง นั้น เลวกว่าบุคคลอื่นที่หากำไรเท่าที่อาจจะหาได้ในโลกที่มีความลำบากนี้โดยไม่เป็นการผิดกฎหมายและเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันทั่วไป ที่ข้าพเจ้าโจมตีนั้นไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบ ไม่ใช่บุคคลเลว แต่เป็นกฎหมายต่างหากที่เลว ที่ควรจะถูกติเตียนนั้นไม่ใช่บุคคลผู้กระทำการอันกฎหมายได้อนุญาตไว้และผู้อื่นก็กระทำกัน แต่ควรจะเป็นรัฐที่ถูกตำหนิหากไม่หาทางปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขการปฏิบัติ เราไม่ต้องการจะลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย”

ครับ และเจ้าของที่ดินปัจจุบันก็มักจะมิใช่มีฐานะเจ้าของที่ดินเพียงฐานะเดียว บางทีก็เป็นผู้ลงแรงด้วย บางทีก็เป็นผู้ลงทุนด้วย บางทีก็เป็นทั้ง ๓ ฐานะเลย ดังนั้นพวกเขาคงไม่เดือดร้อนมากถ้ามีการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีดังกล่าว พวกเขาส่วนใหญ่อาจดีขึ้นอีกด้วยซ้ำ ถึงกระนั้นรัฐก็ควรมีการสวัสดิการไว้รองรับผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ไว้ด้วย.

จาก //geocities.com/utopiathai



Create Date : 09 กันยายน 2549
Last Update : 23 กันยายน 2549 23:11:24 น. 4 comments
Counter : 1113 Pageviews.

 
ถามตอบท้ายบทความเดียวกัน ซึ่งลงใน //www.pantip.com/cafe/silom/topic/B2914906/B2914906.html

ความคิดเห็นที่ 1
ผมไม่เห็นด้วยครับ การคิดมูลค่าที่ดินอย่างนั้น เป็นการทำลายความมั่นคงทางจิตใจ เกิดความกลัว เพราะมีรายจ่ายตลอดชีพ คนแก่จะอยู่อย่างไร รัฐไม่สนับสนุนโอกาสในการสร้างอาชีพ เพราะไม่มีผลประโยชน์ อาชีพเกษตรกรรมเสียเปรียบ จะตายเพราะอดข้าวกันหละครับ
จากคุณ : Hunkeak - [ 16 ก.ค. 47 15:58:02 ]

ความคิดเห็นที่ 2
น่าสนใจ แต่ยังไม่เห็นทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเชื่อว่าเป็นไปได้ยากมาก ที่เมืองไทยจะมีการออกกฎหมายนี้ เพราะผู้ออกกฎหมาย แทบจะทั้งสภา และผู้สนับสนุกพรรคการเมืองทั้งหลาย คือ ราชาที่ดินตัวจริง ของประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างที่น่าศึกษาอีกมาก เช่น ภาคเกษตรกรรม จะทำอย่างไร ที่ดินที่ให้ผลผลิตต่ำจะทำอย่างไร ที่ดินในเมืองจะทำอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องเทคนิค

ความคิดนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกที่ว่ามา โดยส่วนตัวผมว่าแทบจะรับฟังไม่ค่อยได้ ในแง่การจัดสรรที่ดินแบบเมืองไทย เพราะนักคิดตะวันตก ในยุคก่อนนั้น เขาเอาพื้นฐาน การคิดเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดิน มาจากความคิดของ ฟิวดัลด์ลอร์ด คือ ขุนนางเจ้าของผืนดินขนาดใหญ่ และแพลนเตชั่น ไร่การค้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ในยุโรป อเมริกาบางส่วน อาฟริกา แต่ไม่ใช่ในเมืองไทย

ที่ดินในเมืองไทยมีการตกทอดกันมาแบบครอบครัว ตะกูลชาวสวนชาวนา ไม่ใช่ระบบฟิวดัลด์ลอร์ด ที่ชาวนาไม่มีสิทธิในที่ทำกิน ไม่เหมือนในรัสเซีย ในอังกฤษ หรือที่อื่นๆ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ก็ยิ่งจะทำให้ชาวนา ชาวสวน ขายที่ดินมากขึ้น และที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุนมากขึ้น ชาวนา ชาวสวนจะกลายมาเป็นกรรมกรในเมือง ที่ต้องจ่ายค่าเช่าต่อหน่วยสูงขึ้น สังคมจะแออัดมากขึ้น หากผืนดินนั้นทำประโยชน์ไม่คุ้มกับค่าภาษีต่อหน่วย หรือราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ เพราะอัตราภาษี ไม่ได้มาจากรายได้ แต่มาจากปริมาณการถือครองที่ดิน

เชอร์ชิล พูดแบบนั้น เพราะหกสิบปีก่อน ชาวนา ชาวไร่ ในอังกฤษแทบไม่ได้เป็นเจ้าของผืนดินทำกินเลย เลยต้องใช้วิธีแบบที่ว่า หรือคาร์ล มาร์กซ์ มองแบบนั้น ก็เพราะได้ความคิดแย้งระบบคลาสสิค ของ อดัมส์ สมิทธิ์ ที่มองว่าที่ดินเป็นทุนประกอบการ ที่คนชั้นแรงงาน ไม่มีทางลงทุนเลย แต่ในเมืองไทย คนชั้นแรงงานในเมือง อาจมีที่ดินต่างจังหวัด ให้พ่อแม่ทำนาอยู่บ้าน หรือให้คนอื่นเช่านา ก็ได้ ซึ่งมันตรงข้ามกัน

มอดิกลิอานีนั้น มองว่า ไลฟ์ ไซเคิล ของชีวิตคนฝรั่งนั้น ไม่ต้องเก็บเงินให้ลูกหลาน ดังนั้น ที่ดินไม่มีบริบทในด้าน การมอบให้ลูกหลานเป็นมรดกอยู่แล้ว ตายแล้วก็ขาย แบบฝรั่งทั่วไป คือใช้เงินตอนแก่ให้หมด เก็บออมเพื่ออนาคตของตัวเอง ไม่ใช่ลูกหลาน

ทฤษฎีที่ว่ามาทั้งหมด มีจุดอ่อนมากมายในการนำมาใช้กับประเทศตะวันออก ที่มีค่านิยม และประวัติศาสตร์แตกต่างกัน การจัดการเรือ่งที่ดินนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นเรื่องทั้งรัฐศาสตร์ และนิติปรัชญา มันเกี่ยวพันกับกฏหมาย และที่มาของกฏหมายอีกมาก ไม่ใช่แค่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สองสามทฤษฎีแล้วจะอธิบายความเป็นไปทั้งสังคมได้

ประเทศไทยออกโฉนดที่ดิน แก่ชาวบ้านทั่วไปมาร่วมร้อยปีแล้ว ก่อนหลายประเทศด้วยซ้ำ จริงอยู่ที่การจัดการยังไม่ดี แต่ก็ยังไม่เห็นด้วยว่าการแก้ปัญหาตรงไปตรงมา แบบกำปั้นทุบดิน แค่เพิ่มอัตราภาษี แล้วจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ เพราะทำแบบนั้น คนรวยบนยอด ก็ยังจ่ายได้ เพราะใช้การถัวเฉลี่ยจากที่ดินที่ทำรายได้ หรืออาจใช้วิธีแบบปัจจุบัน คือ ออกกฎหมายหรือความคุ้มครองนายทุนออกมา แต่คนจน จะจ่ายไม่ไหว เพราะกลายเป็นภาษีทางตรง และต้องเช่าที่ดิน หรือเช่าบ้านแทน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าเช่าสูง และค่าเช่านั้นจะตกกับเจ้าของที่ดินรายใหญ่อยู่ดี การกระจายรายได้ ก็ไม่เกิดขึ้น และน่าจะลำบากมากขึ้น รวมศูนย์มากขึ้น
จากคุณ : De Burgh - [ 17 ก.ค. 47 04:43:01 ]

ความคิดเห็นที่ 3
กรณีซื้อย้าน หรืออสังหามือสอง
ค่าโอนกับค่าภาษีเฉพาะ(ถ้าคนขายซื้อมาไม่เกิน5ปี)แพงจังครับ
ราคาประเมินจากแบ็งค์ให้ต่ำ กว่าราคาประเมินกรมที่ดินมากแถมยังให้กู้แค่ 70-80%ของราคาที่แบ็งค์ประเมินอีก(ถ้าไม่ใช่ข้าราชการก.บ.ข.) และ คนขายมักบวกเพิ่มให้คุมกับที่ต้องเสียภาษี และคนซื้อต้องเพิ่มเงินส่วนต่างมากขึ้น ทำให้คนจนได้ที่อยู่ยากขึ้น
จากคุณ : ThaiHomeMart.com (ยุ่น) - [ 17 ก.ค. 47 15:09:41 ]

ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณทั้งสามท่านที่มาร่วมให้ข้อคิดเห็นครับ

ที่ดินปัจจุบันราคา/ค่าเช่าสูงเกินจริงเพราะปัจจัยของการเก็งกำไร ภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะที่ดินที่ใช้ไม่คุ้มค่าจะถูกขายออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป

นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดิน

ภาษีที่ดินไม่ได้คิดตามปริมาณที่ดินอย่างเดียวครับ ต้องคูณด้วยราคาที่ดินต่อหน่วยด้วย คือคิดตาม ราคา ของที่ดินในครอบครอง

ที่ดินซึ่งการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผลปกติราคาก็น่าจะต่ำ ภาษีที่ดินก็จะต่ำด้วยอยู่แล้ว ราคาที่ดินในเมืองแพงกว่าที่ดินไร่นาในชนบทมากมายเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่า ดังนั้นในเมืองต้องเสียภาษีที่ดินแพงกว่าเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่าด้วย

คนจนด้อยโอกาสนั้นต้องเช่าเขาทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน พวกเขาเป็นคนส่วนใหญ่ที่เป็นฐานรากขั้นต่ำสุดของสังคม เช่านาเขาทำหรือเป็นลูกจ้างทำไร่นาสวน หรือไม่ก็เป็นผู้ใช้แรงงานในอาชีพอื่นๆ ทั้งในเมืองและชนบท เราต้องนึกถึงพวกนี้เป็นหลัก ถ้าคนมีที่ดินบ่นว่าลำบากแล้ว พวกนี้มิยิ่งลำบากมากกว่าหรือ?

ถ้าค่าเช่าที่ดินถูกเก็บโดยชุมชนหรือรัฐ มันก็ใช้แทนภาษีอื่นๆ ทำให้ยกเลิกภาษีอื่นๆ ได้ การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินก็หมดไป ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็ต่ำลง คนยากคนจนก็ไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ เขาก็จะซื้อของได้ถูกลงด้วย ภาษีเงินได้สำหรับแรงงานทุกระดับไปจนถึงระดับแรงงานสมองไม่ต้องเสีย การลงทุนผลิตที่แท้ก็ไม่ต้องเสียภาษี

การซื้อที่ดินเพื่อสืบต่อสิทธิเรียกเอาส่วนหนึ่งจากผลตอบแทนการผลิตของแรงงานและทุนไปเป็นของตนนั้น ไม่ใช่การลงทุนผลิตที่แท้

เจ้าของที่ดินทำอะไรที่ทำให้ที่ดินในครอบครองของตนมีคุณค่าขึ้นมา? ถ้าทำเขาก็ทำ มิใช่ในฐานะเจ้าของที่ดิน แต่ในฐานะผู้ใช้แรงงาน หรือ ผู้ลงทุน ซึ่งก็ย่อมจะได้รับผลตอบแทนในฐานะทั้งสองนี้
โดยไม่ควรได้ในฐานะเจ้าของที่ดิน

เพราะที่ดินมีราคาขึ้นมาได้ก็โดยการรวมตัวกันเป็นชุมชน เพราะการทำงานของส่วนรวมร่วมกัน คือต่างทำในสิ่งที่ถนัดหรือเห็นช่องทาง แล้วเอาผลผลิต/บริการมาแลกเปลี่ยนกัน ฝ่ายปกครองชุมชนหรือรัฐเรียกเก็บภาษีเอาไปบริหาร/บริการอำนวยความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชน ราคาที่ดินที่มีระดับสูงสุดอยู่ในย่านที่ประชากรหนาแน่นและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนผลผลิต (คือการซื้อขายในปัจจุบัน) เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

ราคาที่ดินเช่นนี้เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำให้เกิด แต่ได้รับไป เพราะระบบภาษีของเราและแทบทุกประเทศมันเข้าข้างเจ้าของที่ดิน คือเก็บภาษีที่ดินน้อยไป และเก็บภาษีอื่นๆ มาก

เราเคยชินอยู่กับระบบภาษีเช่นนี้มานาน เลยไม่ได้คิดกันถึงว่าแรงงานและผู้ลงทุนต้องรับภาระอุ้มชูเจ้าของที่ดินอยู่ คือปล่อยให้มีชนชั้นหนึ่งได้อยู่สบายโดยไม่ทำงานผลิตเป็นการแลกเปลี่ยนกับส่วนที่ได้ไป เราพากันคิดว่าภาษีอื่นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อย เราเกรงว่าเจ้าของที่ดินซึ่งเพิ่งจ่ายเงินซื้อหาที่ดินมาใหม่ๆ จะขาดทุน ก็เลยปล่อยให้ระบบภาษีเช่นนี้คงอยู่ต่อไป

แต่ผมเห็นว่าเราควรค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดินและค่อยๆ เลิกภาษีอื่นๆ ใช้เวลาสัก ๒๐-๓๐ ปี เพื่อจะได้ไม่ต้องมีใครไปอุ้มใคร แต่ถ้ามีคนที่ยังต้องให้อุ้มอยู่เพราะไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ซึ่งมีแต่ผู้ลงแรงและผู้ลงทุนที่แท้แล้ว โดยเฉพาะคนชรา คนพิการ ก็ควรให้ความช่วยเหลือด้วยการสวัสดิการตามควร

คุณความคิดเห็นที่ ๓ น้นผมเห็นด้วยครับ ที่ดินและบ้านอาคารควรให้ซื้อง่ายขายคล่องเพราะจะช่วยคนจำนวนมากซึ่งต้องการย้ายด้วยเหตุผลต่างๆ กัน ไม่ควรเก็บภาษีกำไร หรือค่าธรรมเนียมการขายหรือโอนสูง และควรให้รวดเร็วมากๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นคนซื้อคนขายก็เสียหาย ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มระหว่างรอบ้านอาคารใหม่ ที่ดินผืนใหม่
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 17 ก.ค. 47 22:58:46 ]

ความคิดเห็นที่ 5
สุดยอดมากๆๆๆๆ
ความมั่นคงหายวัตถุจะลดลง เหลือแต่ฝีมือ ทุกคนต้องทำงาน
จากคุณ : อาเล่อ - [ 18 ก.ค. 47 00:15:01 ]

ความคิดเห็นที่ 6
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 2 ครับ
ความคิดจากทางตะวันตกที่ยกตัวอย่างมานั้นใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน แม้กระทั่งประเทศจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันรัฐบาลยังสนับสนุนให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน
การเก็บ ‘ภาษีที่ดิน’ อย่างเดียว แต่เก็บในอัตราที่สูง ในทางปฏิบัติภาระจะตกอยู่กับผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้น้อยเหมือนเดิม
พวกราชาที่ดินซึ่งถือครองที่ดินในรูปของบริษัทก็ยังสามารถนำเอาภาระภาษีที่ดินไปหักออกจากกำไรสุทธิได้.....ก่อนเสียภาษีรายได้นิติบุคคล และถ้าพวกราชาที่ดินถือครองในรูปบุคคลธรรมดาก็ยังสามารถผลักภาระให้ผู้เช่าได้ตามความเห็นที่ 2

ถามว่าคนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากหรือที่เรียกว่า "ราชาที่ดิน" นั้น.....มีจำนวนเท่าไหร่ในประเทศไทย ผมว่าน้อยกว่า 0.1% ถ้าเราออกภาษีในลักษณะนี้ถามว่าใครเดือดร้อน......คนอีก 99.9% ของประเทศจะต้องเดือดร้อน

ผมว่า
1. ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แพงมากเพราะการเก็งกำไร ถ้าเราพยายามป้องกันการเก็งกำไรได้ ราคาที่ดินก็จะไม่เพิ่มขึ้นมาก
ผมเห็นด้วยในการเก็บภาษีการโอน และภาษีเฉพาะสำหรับผู้ขายที่ซื้อสินทรัพย์มาไม่เกิน 5 ปี จริงๆ เราต้องเพิ่มภาษีประเภทนี้......มากกว่าการเพิ่มภาษีที่ดินแบบเหวี่ยงแหให้คนเดือดร้อนกันไปทั่วประเทศ

ถามว่าคนไทยในชีวิตนึงย้ายบ้านกันกี่ครั้งครับ บางคนอยู่ที่เดียวตั้งแต่เกิดจนตาย
คนที่ย้ายข้ามจังหวัด (เช่นอพยพจากที่อื่นมาอยู่กรุงเทพฯ) เมื่อซื้อบ้านแล้วก็ไม่ขายภายใน 5 ปี
คนรายได้ปานกลางซื้อบ้านมา 15 ปี ยังผ่อนไม่หมดเลยครับ
พวกที่ซื้อแล้วขายภายในระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี......เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายเก็งกำไร

2. ในความเป็นจริงราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถลดลงได้มากนักและไม่มีทางเป็นศูนย์ แต่ถ้าเราป้องกันไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นได้ อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลงในแต่ละปี จะทำให้มีคนจำนวนมากขึ้นสามารถครอบครองที่ดินและที่พักอาศัยได้

3. พื้นที่แต่ละแห่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน ควรเพิ่มภาษีบำรุงท้องที่ในพื้นที่ๆ รัฐเห็นว่าใช้ที่ดินไม่คุ้มกับมูลค่า

4. การทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง.....ทำได้จากการเพิ่ม Supply ในตลาด....ไม่ใช่การขึ้นภาษี
สังเกตได้จากช่วงหลังฟองสบู่แตก อาคารสำนักงานมี Supply ล้นตลาดถึงกว่า 1 ล้านตารางเมตร ทำให้ราคาค่าเช่าต่อตารางเมตรลดลงมากในช่วงปี 1997-1999 นี่ยังไม่รวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ในโครงการพักอาศัยอย่างแฟลตปลาทองหรือคอนโดที่เมืองทองธานี ซึ่งลดลงมากในช่วงเดียวกัน
นอกจากนี้โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติสามารถช่วยเพิ่ม Supply ได้
อย่างเช่น แฟลตของการเคหะฯ สูงแค่ 4-5 ชั้น ต้องทุบทิ้งให้หมดเพราะปัจจุบันการใช้ประโยชน์ไม่คุ้มมูลค่าและมีปัญหาความสะอาด ความปลอดภัยในชุมชน
ต้องสร้างใหม่ให้สูง 20-30 ชั้น เพื่อให้สามารถรองรับคนจำนวนมากขึ้น...โดยไม่เพิ่มราคาค่าเช่ามากนัก (ไม่เกิน 10%) เพื่อให้คนรายได้น้อยสามารถจ่ายได้
หากมีปริมาณ Supply ในตลาดมากๆ การเก็งกำไรก็จะลดลง ราคาอสังหาริมทรัพย์ก็จะลดลงด้วย

ขอบคุณคุณสุธนที่ช่วยจุดประกายความคิดในห้องสีลมครับ
จากคุณ : academician - [ 18 ก.ค. 47 03:42:37 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 7
ผมก็ขอบคุณที่ให้ความสนใจครับ

เอ! ผมว่าภาษีที่ดินที่ผมเสนอเก็บเท่าค่าเช่าที่ดินตามที่ประเมินว่าควรเป็นเท่าไรก็เก็บเท่านั้นนี่ เก็บทั้งนั้นไม่ว่าใครครอบครอง คือทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล ซึ่งรวมทั้งบริษัทด้วย และไม่ว่าจะให้เช่าหรือไม่ก็ตาม ก็เก็บทั้งนั้น

ต้องแยกค่าเช่าที่ดินออกต่างหาก ค่าเช่าอาคารคือผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งผมเสนอไม่ให้เก็บภาษีครับ

ภาษีที่ดินไม่สามารถผลักภาระได้ (ตรงข้ามกับภาษีอื่นๆ) เพราะ
ภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา (ไม่ว่ารายใหญ่หรือรายเล็ก) การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะคนอื่นซึ่งใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าจะขายที่ดินออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป

นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดินครับ

ภาษีกำไรของบริษัทผมก็เสนอให้ยกเลิก เมื่อเก็บภาษีที่ดินเต็มที่แล้ว
(ค่อยๆ เลิก/ลดภาษีอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดินจนเต็มที่โดยใช้เวลา ๒๐-๓๐ ปี) เพราะกำไรก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนเกิดผลผลิตและบริการซึ่งนำไปแลกเปลี่ยน (ซื้อขาย) กับผู้อื่นโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย เป็นการเอื้อประโยชน์กันตามหลักการแบ่งงานอยู่แล้ว

ในระบบภาษีใหม่ที่ผมเสนอ มีแต่ภาษีที่ดิน ไม่มีภาษีอื่นๆ หรือภาษีการลงแรงและการลงทุนครับ (ภาษีที่ดินหมายรวมถึงค่าภาคหลวงจากการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกนำขึ้นมาจากผืนแผ่นดินด้วย และยังมีค่าการให้สัมปทานชนิดที่เป็นการให้สิทธิพิเศษหรือค่อนข้างจะเป็นการผูกขาดด้วย)
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 18 ก.ค. 47 12:48:06 ]

ความคิดเห็นที่ 8
ความคิดดีแต่ เมืองไทยคงเกิดยาก
จากคุณ : 3N - [ 18 ก.ค. 47 18:04:33 ]

ความคิดเห็นที่ 9
รับรองว่า ทำหมัน ทำแท้ง
ไม่ต้องมีลูก เดี๋ยวลูกออกมา ก็ต้องทำงาน
เพื่อเสียภาษี ลูกเกิดมาเพื่อคนอื่น
อยากให้ลูกได้สบายๆ เก็บค่าเช่าที่ทำสวน
ขืนไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแก่มาก็ฆ่าตัวตาย
เพราะจะเอาแรงที่ไหนไปทำงานเสียภาษีที่ดินเป็นที่ซุกหัวนอน
เอาแค่ค่ายาก็จะตายอยู่แล้ว
จากคุณ : โลหการ4 - [ 19 ก.ค. 47 03:54:52 ]

ความคิดเห็นที่ 10
ตามความคิดนี้เท่ากับทุกคนมีความเป็นเจ้าของที่ดินเท่ากัน และใครใช้หรือครองที่ดินคิดเป็นค่าเช่าเท่าไรต่อปีก็เสียค่าเช่าเท่านั้น โดยท้องถิ่นหรือรัฐเป็นผู้เก็บค่าเช่า (ซึ่งเรียกว่าภาษีที่ดิน) แต่แทนที่จะเอาไปแจกให้ทุกคนเท่ากันในฐานะที่ทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของที่ดิน ก็ให้นำไปใช้บริหาร/บริการท้องถิ่นและประเทศ แทนที่จะต้องเก็บภาษีอื่นๆ อย่างในปัจจุบัน

กำลังนี้คนจนด้อยโอกาสจำนวนมากซึ่งเป็นฐานรากชั้นต่ำสุดของสังคม รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา ไม่มีที่ดิน ที่ดินต้องเช่าเขา แถมต้องเสียภาษีอื่นๆ พวกเขาไม่ลำบากยากแค้นกว่าครอบครัวของคุณโลหการ4 หรือครับ

ในระบบภาษีใหม่ที่มีแต่ภาษีที่ดินอย่างเดียว การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหมดไป ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและผู้ลงทุนจะไม่ต้องถูกบังคับให้อุ้มชนชั้นเจ้าของที่ดินเอาไว้ รายได้ของเขาจะดีกว่าปัจจุบัน และจะหางานทำได้ง่ายกว่าปัจจุบัน การต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐจะน้อยลง ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องอาศัยสวัสดิการรวมทั้งการรักษาพยาบาลของรัฐจริงๆ จะลดจำนวนลงมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับความช่วยเหลือทั่วถึงดีขึ้น รวมทั้งคนแก่ที่ไม่รู้จักเก็บออมตั้งแต่ตอนยังอยู่ในวัยทำงานด้วยครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 06:47:14 ]

ความคิดเห็นที่ 11
1. มีคนไทยเพียงไม่ถึง 50% (เป็นข้าราชการและลูกจ้างบริษัท) ที่จ่ายภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้แก่รัฐบาล
อีกกว่า 50% มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ เป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ ร้านค้าโชวห่วย หาบเร่ แผงลอย ขายของตลาดนัด ทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งรัฐไม่บังคับให้เสียภาษี
2. มีชนชั้นแรงงาน ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ และชนชั้นกลางจำนวนมากที่มีรายได้น้อย แต่เป็นเจ้าของที่ดินในต่างจังหวัด
แรงงานและชนชั้นกลางในเมือง ให้คนรู้จักเช่าที่ดินในราคาถูกมาก (ไร่ละไม่ถึงพันบาทต่อปี)
3. ชนชั้นแรงงานส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา เพราะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์
4. คนที่อุ้มคนทั้งประเทศคือคนเพียงไม่ถึงครึ่งประเทศที่เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา คือข้าราชการและลูกจ้างบริษัท....ที่ถูกหักภาษีทุกเดือนก่อนได้รับเงินเดือน ไม่ใช่ชนชั้นแรงงาน ไม่ใช่ชาวนา ไม่ใช่ชนชั้นล่าง

อย่างที่ความเห็นที่สองบอกครับ
".....การเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ก็ยิ่งจะทำให้ชาวนา ชาวสวน ขายที่ดินมากขึ้น และที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุนมากขึ้น ชาวนา ชาวสวนจะกลายมาเป็นกรรมกรในเมือง ที่ต้องจ่ายค่าเช่าต่อหน่วยสูงขึ้น สังคมจะแออัดมากขึ้น....."
".....ทำแบบนั้น คนรวยบนยอด ก็ยังจ่ายได้ เพราะใช้การถัวเฉลี่ยจากที่ดินที่ทำรายได้ หรืออาจใช้วิธีแบบปัจจุบัน คือ ออกกฎหมายหรือความคุ้มครองนายทุนออกมา แต่คนจน จะจ่ายไม่ไหว เพราะกลายเป็นภาษีทางตรง และต้องเช่าที่ดิน หรือเช่าบ้านแทน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าเช่าสูง และค่าเช่านั้นจะตกกับเจ้าของที่ดินรายใหญ่อยู่ดี การกระจายรายได้ ก็ไม่เกิดขึ้น และน่าจะลำบากมากขึ้น....."
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 11:33:42 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 12
นอกจากพวกกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ เด็กเลี้ยงควาย ฯลฯ แล้ว

................คนขับ Taxi คนขับสามล้อเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถสองแถว ลูกจ้างในร้านซักอบรีด ร้านถ่ายเอกสาร ร้านทำผม ร้านเสริมสวย ร้านตัดเสื้อปากซอย ช่างตัดผม ลูกจ้างยืนขายของตามแผงเช่าต่างๆ แม่ค้าขายข้าวแกง-ข้าวมันไก่-บะหมี่เกี๊ยว ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้าง(พนักงาน)บริษัท ไม่เคยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรัฐไม่สามารถบังคับให้เสียภาษีได้เพราะไม่มีหลักฐานรายได้ที่แน่นอน

คนเหล่านี้...หลายคนมีบ้าน...มีที่ดินในต่างจังหวัด หากต้องมีภาระภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น คงจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น อาจต้องขายบ้าน ขายที่ดินเพราะไม่สามารถจ่ายภาษีที่ดินได้

ร้านอาหาร/ร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้า/ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม....ก็ไม่ต้องเสียภาษี

ร้านอาหารที่จดทะเบียนการค้า ก็สามารถจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชา เพื่อให้การประเมินรายได้ต่ำกว่าที่เป็นจริงมาก......เพื่อเลี่ยงภาษี......และถ้าจ่ายก็จ่ายน้อยกว่าความเป็นจริง แต่เจ้าของและลูกจ้างในร้านเหล่านี้ก็ไม่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คนที่อุ้มคนทั้งประเทศเอาไว้......มีไม่ถึงครึ่งนึงครับ อย่างที่บอกไปแล้ว
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 12:35:27 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 13
เราต้องเปลี่ยนหัวให้ทันแนวความคิดใหม่นะครับ อย่าเผลอเอาระบบเก่าบางเรื่องมาคิดกับระบบใหม่ด้วย ระบบใหม่ไม่มีภาษีอื่นๆ แล้ว นอกจากภาษีที่ดิน

ปัจจุบัน สมมตว่าคนจนได้ค่าแรงเดือนละ 5,000 บาท รวมทั้งปี 60,000 บาท รายได้เท่ารายจ่ายพอดี ภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไปแล้ว 4,200 บาท แล้วภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิตหรือภาษีการผลิต ที่ผู้ผลิตผลักภาระมาให้อีก รวมแล้วอาจมากกว่าปีละหมื่น ถ้าทำงานสองคนทั้งสามีภรรยา ก็อาจเสียภาษีสองหมื่น ถ้าเป็นระบบใหม่เขาไม่ต้องเสีย

ท่านเองล่ะ? รวมภรรยาด้วย จ่ายภาษีเงินได้ปีละเท่าไร? ภาษีอย่างข้างบนนั่นอีกเท่าไร?

สำหรับที่ไร่นาในชนบท ก็อย่างที่บอกไปแล้ว คือ ราคาที่ดินในเมืองแพงกว่าที่ดินไร่นาในชนบทมากมายเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่า ดังนั้นในเมืองต้องเสียภาษีที่ดินแพงกว่าเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่าด้วย

อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า ภาษีที่ดินไม่สามารถผลักภาระได้ (ตรงข้ามกับภาษีอื่นๆ) เพราะภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา (ไม่ว่ารายใหญ่หรือรายเล็ก) การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะคนอื่นซึ่งใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าจะขายที่ดินออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป

นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดินครับ

พอถึงระบบใหม่เราต้องเลิกคิดแล้วครับถึงการจะได้เงินฟรีๆ สำหรับการเป็นเจ้าของที่ดิน เพราะว่ามันเป็นเสมือนชุมชนและรัฐเป็นเจ้าของที่ดินแทนแล้ว เป็นแทนทุกคน คือทำให้ทุกคนไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ เพราะได้ภาษีที่ดินเท่าค่าเช่ามาแทน

ไม่ต้องห่วงแล้วที่จะต้องเสียที่ดินไป

ถ้านายทุนสามารถซื้อที่ดินได้มากๆ โดยจ่ายภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าได้ ก็ปล่อยให้เขาได้ที่ดินไปเถิด เพราะว่าเขาจะทำประโยชน์ให้แก่สังคมสองต่อ คือจ่ายภาษีที่ดินอย่างหนึ่ง อย่างที่ ๒ คือ เขาต้องทำประโยชน์ได้คุ้ม นั่นคือต้องมีการผลิต มีการใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานก็ได้รับประโยชน์ จะเป็นในเมืองหรือชนบทก็ตาม

ไม่ต้องเกรงหรอกครับว่าเก็บภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าแล้ว คนจนในชนบทจะต้องเข้ามาหากินในเมืองกันหมด ก็คนจนในชนบทไม่มีที่ดินก็มีอยู่มากที่เขาเป็นลูกมือในฟาร์มบ้าง รับจ้างทำนาบ้าง เช่านาเขาทำบ้าง แล้วก็ต้องจ่ายภาษีด้วย (ภาษีทางอ้อมพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิต อย่างที่กล่าวแล้ว)

ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินเป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่ง ผมจำไม่ได้แล้วที่มาลงทะเบียนไว้กับรัฐบาลไม่กี่เดือนมานี้ กรณีที่ดินที่ลำพูนก็แสดงถึงปัญหานี้ แต่ก็เห็นเสนอกันให้เก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ตานี้ในกรณีบริษัทหรือนิติบุคคลเป็นเจ้าของที่ดิน เขาจะคิดยังไงครับว่าที่ดินเกินเท่าไรถึงจะเก็บภาษีก้าวหน้่า คนเดียวกันมีที่ดินของตัวเองด้วย มีที่ดินในอีก 5-6 บริษัทด้วย ยอมได้หรือ? คิดได้หรือ?

เรื่องออกกฎหมายคุ้มครองนายทุนที่ดิน (เจ้าของที่ดิน) ถ้าพวกเราประชาชนยอมเขา ก็คงต้องยอมครับ ก็แปลอยู่แล้วว่า เรายอมเขาอยู่แล้วทุกอย่าง เรื่องอื่นๆ ก็เลิกพูดได้
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 13:24:25 ]

ความคิดเห็นที่ 14
หึ หึ บ้านผมทุกคนเสียภาษีถูกต้องทุกรายการครับ ขอบคุณครับที่เป็นห่วง

ผมจ่ายภาษีมากกว่าที่รัฐบาลต้องการด้วยซ้ำ.....ผมไม่ได้ขอคืนภาษีมาหลายปีแล้วครับ
และภาษีที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า ผมเองก็ไม่เดือดร้อนครับ เพราะผมก็ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ที่ผมแสดงความเห็นข้างบน เพราะกลัวคนส่วนใหญ่จะเดือดร้อน ไม่ใช่ว่าผมคัดค้านนะครับ เพียงแต่ให้ข้อเท็จจริง

ความคิดที่แตกต่าง ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกันเสมอไปนะครับ

คนไทย "เปลี่ยนหัวให้ทันแนวความคิดใหม่" อย่างที่คุณคิดได้ .....จะมีกี่คนนะครับ ในห้องสีลม และในประเทศไทย
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 14:25:32 A:130.18.158.202 X: ]


โดย: สุธน หิญ วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:22:36:01 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 15
ขออภัยที่ทำให้เข้าใจผิดครับ
ผมมิได้หมายความว่าจะหาว่าท่านหลีกเลี่ยงภาษีเลย มันต่อมาจากย่อหน้าข้างบนครับ
ผมหมายถึงว่าในระบบใหม่ท่านจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอะไรๆ ต่อๆ ไปนั้น รวมทั้งภรรยา ลองคิดดูว่าเป็นเงินเท่าไร แล้วลองเทียบกับภาษีที่ดินที่จะต้องเสียเต็มที่เท่าค่าเช่า โดยเฉลี่ยแล้ว จะเสียน้อยลงครับ ผู้ที่จะต้องเสียมากขึ้นคือผู้ที่มีฐานะความเป็นเจ้าของที่ดินมากกว่าฐานะผู้ใช้แรงงาน (รวมทั้งแรงสมอง) และฐานะผู้ลงทุน เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ทั่วไป อย่างนั้นครับ

เรื่องเปลี่ยนหัวให้ทันแนวคิดใหม่ก็เหมือนกัน ผมหมายถึงว่าอย่าเผลอเอาระบบเก่าบางเรื่องมาคิดปนกับระบบใหม่ด้วย เท่านั้นเองครับ

ผมเห็นด้วยครับที่ว่าความคิดที่แตกต่าง ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกันเสมอ เราคนมีปัญญาแล้วย่อมสามารถถกปัญหากันอย่างสร้างสรรค์เป็นมิตรกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเวลาคิดก่อนเขียนหรือพิมพ์ โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากันแย่งกันพูดออกความเห็นของตน ผมดีใจด้วยซ้ำไปที่มีคนถามบ้าง หนุนบ้าง ค้านบ้าง ที่หนุนนั้นผมก็ไม่ต้องอธิบายเพิ่มนอกจากจะเห็นว่าเข้าใจผิดบางอย่าง ส่วนที่ถามหรือค้านก็ถือเป็นผู้แทนของอีกหลายๆ คนที่อาจรู้สึกอย่างเดียวกัน แต่ไม่ได้แสดงออก เขาจะได้เข้าใจไปด้วย และถ้าเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตรกันขึ้นก็ต้องถือว่าผมเองเป็นฝ่ายล้มเหลวในการจูงใจให้เห็นความดีความยุติธรรมของระบบภาษีใหม่นี้ (ซึ่งความจริงเก่ามากแล้ว Henry George อธิบายมา 125 ปีก่อนแล้ว แต่กลับน่าจะเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขตามนั้นมากยิ่งขึ้นทุกที แทนที่จะล้าสมัยไป)

ผมอยากเพิ่มเติมว่าในระบบใหม่ การประเมินภาษีที่ดินควรทำเป็นแผนที่ติดให้ดูทุกอำเภอ แล้วก็ให้ร้องเรียนได้ว่าประเมินสูงเกินไปหรือต่ำไปตรงไหนบ้าง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม จะได้ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น

ขอบคุณครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 15:32:19 ]

ความคิดเห็นที่ 16
อ้าว! ขออภัย มาเห็นความเห็นที่ 12 ของคุณ academician ทีหลัง ก็เลยขอเสริมว่า นี่ละครับภาษีอื่นๆ นั้นมันมีทางรั่วไหลได้มาก ประเมินผิดพลาดก็ได้ เลี่ยงก็ได้ คนที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ลอยนวลไป เราต้องการให้ราษฎรส่วนใหญ่อยู่ดีกินดี แต่พอเขาลงแรงบ้าง ลงทุนผลิตบ้าง เอาสินค้าหรือสิ่งดี (goods) มาแลกเปลี่ยนกันโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลาง ซึ่งเป็นการช่วยกันในการแบ่งงานในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพสูง เรากลับปรับเขาด้วยภาษีราวกับว่าเขาทำสิ่งไม่ดี

แต่ราคา/ค่าเข่าที่ดินเกิดจากความมีอยู่ของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมของคนในสังคม และภาษีที่ท้องถิ่น/รัฐเก็บไปบริหาร/บริการให้แก่ประชาชน มิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดิน ในฐานะเจ้าของที่ดิน กลับปล่อยไปเข้ามือเอกชนเจ้าของที่ดิน ไม่นำกลับคืนมาให้แก่สังคม

จึงได้ว่าระบบภาษีของเราและแทบทุกประเทศมันวิปริต สังคมก็เลยวิปริตไปด้วย
- ใครๆ ที่พอมีเงินก็ซื้อหาเก็บกักที่ดินกันไว้
- ที่ดินกลายเป็นของแพง เพราะภาษีที่ดินถูกเก็บน้อยไป (เก็บภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าประเมิน ราคาที่ดินจะเป็นศูนย์)
- ของกินของใช้ รวมทั้งบ้านก็แพง เพราะภาษีอื่นๆ ถูกเก็บมากไป
- ที่ดินในเมืองว่างๆ อยู่ก็มากหลาย บ้างก็ใช้ประโยชน์น้อยไป ผู้คนทำงานในเมืองแต่ต้องหาที่อยู่นอกเมือง
- เช้าเย็นคนก็เลยใช้เวลาติดกันอยู่ในถนนเป็นเวลานานๆ กลายเป็นคนเร่งร้อน ไม่เอื้อเฟื้อ ครอบครัวก็แตกแยก
- คนจนที่ฝืนทนอยู่ในเมืองก็ต้องมีที่อยู่เป็นสลัม เพราะเงินน้อย
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 16:10:06 ]

ความคิดเห็นที่ 17
ผมเห็นคุณสุธน โพสเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วนี่ครับ การเก็บภาษีที่ดิน เป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ความเห็นคุณสุธนในเรื่องการปฏิบัติ สุดโต่งไปนิด กับมองความเป็นไปได้อยู่ด้านเดียว มองแต่ผลดีที่จะได้ จริง ๆ คนบางคนฉลาดแกมโกงกว่าที่คุณคิด บางคนที่เสนอความเห็นบางด้านมา อ่านดูก็มีความเป็นไปได้ ที่มันจะไม่เป็นอย่างคุณสุธนคิดน่ะ
จากคุณ : kazama - [ 19 ก.ค. 47 19:46:39 ]

ความคิดเห็นที่ 18
ขอบคุณคุณ kazama ที่สังเกตครับ ผมเอาความคิดเห็นหรือบทความมาลงในเว็บบอร์ดอยู่เรื่อยๆ ครับ หลายๆ แห่งคงจะสัก ๒๐ ได้ ในพันทิปนี่ก็มักเป็นที่ห้องราชดำเนิน สาขาเศรษฐกิจ นอกนั้นก็ที่เว็บบอร์ดของ ThaiNGO, นสพ.ผู้จัดการ มติชน กรุงเทพธุรกิจ เนชันแชนเนล รัฐสภา กรมประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดไทย ตั้งนโม นอกกรอบ สถานอุดมศึกษา 5-6 แห่ง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน //www.thai.net/econ_buu (คุณกฤตณบวรมีน้ำใจเอาหนังสือแปล "ความก้าวหน้ากับความยากจน" ของ Henry George และหนังสือ "ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม - เศรษฐศาสตร์ที่ลงถึงราก" ของผมขึ้นเว็บให้ฟรี)
www.Geocities.com/lungcan2000, //www.rimpingfunds.com และ //www.nidambe11.net/link_econ1.htm สามแห่งนี้กรุณาทำ link โยงกับ //www.thai.net/econ_buu/suthon ซึ่งผมก็ต้องขอขอบคุณท่านที่เกี่ยวข้องในเว็บสี่แห่งนี้อย่างมาก

ความคิดของ Henry George นี้ Karl Marx เรียกว่า ที่มั่นด่านสุดท้ายหรือการต่อสู้ดิ้นรนเฮือกสุดท้ายของลัทธินายทุน (Capitalism’s Last Ditch) และเขียนจดหมายตอบ Friedrich Adolph Sorge เมื่อ ๒๐ มิ.ย.๒๔๒๔ วิจารณ์ว่า “Henry George เป็นคนล้าหลังอย่างสิ้นเชิง . . . . คำสอนหลักของเขา [Henry George] คือทุกสิ่งจะเรียบร้อยถ้ามีการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้แก่รัฐ ท่าน [Sorge] จะเห็นได้ว่าการจ่ายค่าเช่าที่ดินแบบนี้มีอยู่แล้วในบรรดามาตรการ ‘ช่วงเปลี่ยนผ่าน’ ที่เขียนไว้ใน The Communist Manifesto . . . . ”

แต่พวกทุนนิยมจำนวนมากกลับเรียกว่าเป็น “สังคมนิยม” ส่วน Henry George เองกล่าวไว้ในคำนำของหนังสือ Progress and Poverty ว่าสิ่งที่ท่านได้พยายามกระทำนั้นนับว่าได้ก่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกันระหว่างอุดมคติของฝ่ายเสรีนิยมในเรื่อง "เสรีภาพ" และ "ปัจเจกนิยม" (Individualism) กับจุดประสงค์ของฝ่ายสังคมนิยมในเรื่อง "ความยุติธรรม" ทางเศรษฐกิจ "เป็นการเชื่อมสัจจะตามความคิดของสำนัก Smith และ Ricardo กับสัจจะตามความคิดของสำนัก Proudhon และ Lasalle ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"

สำหรับผม เมื่อเห็นแล้วว่าระบบภาษีของเราและแทบทั่วโลกมันเป็นระบบถ่ายเทเงินเข้ากระเป๋าเจ้าของที่ดินโดยเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำอะไรให้ที่ดินของตนมีคุณค่าขึ้นมา (ถ้าทำก็ทำในฐานะผู้ใช้แรงงานหรือผู้ลงทุน ซึ่งก็ได้รับผลตอบแทนไปในฐานะนั้นๆ) ส่วนการซื้อที่ดินมิใช่การลงทุนที่แท้ แต่เป็นการซื้อสืบต่อสิทธิบังคับเรียกเอาผลตอบแทนของแรงงานและทุนไปเป็นของตน โดยตนเองมิได้มีส่วนร่วมในการผลิต สิทธินี้เกิดมีเพราะความลำเอียงของระบบภาษี ข้อสรุปก็ย่อมออกมาว่าต้องนำค่าเช่าที่ดิน ซึ่งมีได้เพราะส่วนรวม กลับมาเป็นของส่วนรวม คือชุมชนท้องถิ่นและรัฐบาล

แต่การเปลี่ยนแปลงปุบปับย่อมก่อความเดือดร้อน จึงควรค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลา ๒๐-๓๐ ปี
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 22:07:39 ]

ความคิดเห็นที่ 19
ถ้าคุณ kazama เ็ห็นว่ามันสุดโต่งไป ก็ลองเสนอสิครับ ว่าควรทำแค่ไหน และเรื่องฉลาดแกมโกงกับเรื่องที่อาจไม่เป็นไปอย่างที่ผมคิด ยังมีอะไรอยู่บ้าง ที่ถึงกับทำให้ต้องแก้ไขวิธีการไป

คือผมเห็นว่าวิธีของจอร์จนั้นตรงไปตรงมาที่สุด ง่ายที่สุด และตรวจสอบก็ง่าย เลี่ยงก็ยาก ผิดกับภาษีอื่นๆ ทั้งหลาย ซึ่งยังก่อผลร้ายด้วย ตามที่ผมเขียนไว้แล้วในตัวกระทู้
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 22:29:43 ]

ความคิดเห็นที่ 20
ผมเห็นด้วยกับประเด็นการเสียภาษีเวลาขายที่ดินของคุณ acedemician ซึ่งก็มีกฏหมายบัญญัติอยู่เหมือนกัน แต่คงเพราะเขตกับสรรพากรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกันมากเท่าที่ควรเลยทำให้มีคนไม่รู้ และไม่เสียภาษีตรงนี้
อันนี้กรณียกเว้น
//www.rd.go.th/publish/2502.0.html
อันนี้กรณีเสีย
//www.rd.go.th/publish/3554.0.html

การเก็บภาษีที่ดินแบบคิดมูลค่าที่ดินผสมกับอัตราก้าวหน้าของการถือครองที่ดิน โดยยกเว้น ที่ดินเพื่อการเกษตรและที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น มูลค่าของผลผลิตต้องเหมาะสมกับราคาที่ดิน ส่วนที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย คิดจากจำนวนคนที่อยู่ต่ออัตราที่ดิน
ที่ดินทั้งสองประเภท ถ้ามูลค่าผลผลิต(ราคาขาย)ไม่เหมาะสมหรือจำนวนที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเกินจำนวนที่เหมาะสม ต้องคิดภาษีในส่วนที่เกิน

อันนี้ตามความคิดของผมนะ เพราะผมว่า การตรงไปตรงมาน่ะ มันกระทบคนหมู่มาก ที่เป็นคนจนมากเกินไป

ไม่ใช่ว่าความคิดคุณสุธนไม่ดีนะ เพียงแต่ว่าถ้าคุณอ่านข้อเสนอแนะของคุณ De Burgh กับคุณ academician เอามาปรับหน่อย จะเข้าทีกว่านี้ ผมเองอ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะ
จากคุณ : kazama - [ 19 ก.ค. 47 23:39:13 ]

ความคิดเห็นที่ 21
เท่าที่อ่านคุณสุธน ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องภาษีเท่าไหร่ จากความคิดเห็นที่ 13
คนทำงานธรรมดา ไม่เกี่ยวอะไรกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ต่าง ๆ นั้น เพราะถือเป็นผู้บริโภคสุดท้ายต้องรับภาระตรงนี้ไปอยู่แล้ว

อะไรที่ทำให้ผมบอกว่าคุณสุธนสุดโต่งกับความคิดแนวนี้เกินไป คือการบอกว่าให้ยกเลิกภาษีทั้งหมด เก็บแต่ภาษีที่ดิน อันนี้แหล่ะครับ สุดโต่งมาก คิดง่าย ๆ แค่ยกเลิกภาษีนิติบุคคล อันนี้ก็วุ่นวายที่สุดแล้วครับ แล้วภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ อากรต่าง ๆ ภาษีนำเข้า โอย ผมนึกตาม ยังนึกภาพไม่ออกเลยครับ
ระบบภาษีน่ะ คิดค้นโดยคนที่เรียกได้ว่าระดับที่เป็นมันสมองของประเทศ ผ่านการใช้มาหลายสิบปี มีการปรับเปลี่ยนแก้ไข ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคน อยู่ดี ๆ จะยกเลิก ใช้เพียงภาษีที่ดิน ผมว่ามันเป็นแนวความคิดที่ง่ายเกินไปหน่อย
จากคุณ : kazama - [ 19 ก.ค. 47 23:49:54 ]

ความคิดเห็นที่ 22
สวัสดีคุณ kazama ครับ
ผมไม่รู้จริงๆ ว่ายกเลิกภาษีนิติบุคคลแล้วจะวุ่นวายได้ยังไง น่าจะหมดความยุ่งยากมากกว่านะครับ

ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนบ้านและที่ดินผมกลับเห็นว่าไม่ควรมีหรือมีก็ควรต่ำๆ เพื่อทำให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง และควรให้รวดเร็วด้วย เพราะมันเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ของแต่ละคน ช้าไปหน่อยมันก็เสียหาย ดอกเบี้ยขึ้นบานแล้ว

คนจนจริงๆ ซึ่งมีอยู่มากมายไม่มีที่ดิน ถ้าใช้ระบบภาษีใหม่ซึ่งเก็บแต่ภาษีที่ดินแล้วพวกเขาจะเดือดร้อนยังไงผมก็มองไม่ออกเหมือนกัน นึกได้แต่ว่าเขาจะสบายขึ้นเพราะไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ

ถึงพวกมีที่ดิน ถ้าเขามีฐานะความเป็นเจ้าของที่ดินน้อยกว่าฐานะการเป็นผู้ลงแรงและผู้ลงทุน เขาก็จะสบายขึ้นเหมือนกัน

เรื่องที่เสนอกันให้เก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้านั้น ผมเรียนแล้วว่าในกรณีบริษัทหรือนิติบุคคลขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างไม่เท่ากันเป็นเจ้าของที่ดิน เขาจะคิดยังไงครับว่าที่ดินเกินเท่าไรถึงจะเก็บภาษีก้าวหน้่า คนเดียวกันมีที่ดินของตัวเองด้วย มีที่ดินในอีก 5-6 บริษัทด้วย จะคิดอย่างไร

ส่วนที่คุณ kazama สงสัยในความคิดเห็นที่ 13 ตอนต้นๆ ผมก็คิดให้ดูว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่กำลังนี้เก็บอยู่ 7% คนจนต้องเสียเท่าไรในปัจจุบัน เพราะของกินของใช้ที่ขายกันเป็นทอดๆ มาตั้งแต่ผู้ค้ารายใหญ่ลงมาถึงผู้ค้ารายย่อยนั้นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีขาเข้า (ถ้าเป็นสินค้าจากต่างประเทศ) มาแล้ว ผมรู้อย่างเดียวว่าภาษีมูลค่าเพิ่มคิด 7% ตอนนี้ ภาษีอื่นๆ มันมีมากมายหลายอัตรา ผมก็เลยไม่คำนวณให้ดู แต่ทั้งหมดมันมารวมอยู่ในราคาสินค้าแล้ว (สินค้าบางอย่างอาจยกเว้นภาษีบางอย่าง) ก็เลยสมมตว่าคนจนได้ค่าแรงเดือนละ 5,000 บาท รวมทั้งปี 60,000 บาท (สมมตรายจ่ายเท่ารายได้พอดี) ภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไปแล้ว 4,200 บาท แล้วภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิตหรือภาษีการผลิต ที่ผู้ผลิตผลักภาระมาให้อีก รวมแล้วอาจมากกว่าปีละหมื่น ถ้าทำงานสองคนทั้งสามีภรรยา ก็อาจเสียภาษีสองหมื่น (ถ้าเป็นระบบใหม่เขาไม่ต้องเสีย เพราะไม่มีภาษีแล้ว นอกจากภาษีที่ดินซึ่งโดยธรรมชาติไม่สามารถผลักภาระได้)

ครับคนทั่วไปเข้าใจแบบเดียวกับคุณ kazama ว่าระบบภาษีปัจจุบันที่มีเก็บมากมายหลายประเภท อย่างนั้นนิด อย่างนี้หน่อย (แต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีกำไรของบริษัทก็ไม่หน่อย) นั้น คิดกันมาดีแล้ว นั่นเป็นเพราะการทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ที่เรียกว่าความเชื่อถือเกิดขึ้นจากความยาวนานของกาลเวลานั้นหละครับ

เขาก็ต้องกระจายกันไปหลายๆ อย่างเพื่อมิให้เกิดความรู้สึกว่าต้องเสียภาษีมาก แบบระวัง ถอนขนห่านไม่ให้ร้อง การต้องแก้ไขบ่อยๆ บางทีสมาคมผู้ผลิตบ้าง ผู้ค้าบ้าง ด้านต่างๆ ก็ร้องว่าภาษีสูงไปในสินค้าฝ่ายของตน ถ้ามีเหตุผลดีหรือมีอิทธิพลหรือเป็นพรรคพวกกัน ก็แก้ให้ได้ เรื่องภาษีขาเข้ารถยนต์ประเภทต่างๆ ก็เห็นมีปัญหากันมาตลอด สมัยก่อนสัก ๓๐ ปีมาแล้วก็ร้องกันว่ามีอุปสรรค 2 อย่างต่อการลงทุน คือ ที่ดินแพง และ ภาษีต่างๆ สูง ซึ่งเข้าล็อกความคิดของ Henry George พอดี สามสี่วันมานี้ ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ (เข้าใจว่าเคยเป็น ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ก็กล่าวว่าภาษีทรัพย์สินของไทยยังเก็บต่ำมาก ควรเพิ่มขึ้นเพื่อความเป็นธรรม

ดร.สมชัยบอกด้วยว่าภาษีทรัพย์สินไม่ควรมีการลดหย่อนหรือยกเว้น เช่น ให้เป็นที่พักอาศัยหรือที่ทำกิน ซึ่งผมสนับสนุน เพราะสำหรับผม ควรเลิกภาษีอื่นๆ เป็นการชดเชยให้แล้ว

ภาษีทรัพย์สินนี้ผมเห็นด้วยว่าควรเพิ่มในส่วนที่ดิน แต่ไม่เห็นด้วยในส่วนทรัพย์สินอื่นๆ เหตุผลก็เท่าที่ผมพูดมาตั้งแต่ต้นเลย คือ เราต้องแยกความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้

ที่ดินเป็นสิ่งที่มีมาก่อนตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์มิได้สร้างหรือผลิตขึ้นมา คุณค่าของมันก็มิได้เกิดจากเจ้าของที่ดินแต่ละคน เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติบ้าง ที่สำคัญคือที่ดินที่มีราคาสูงนั้น คุณค่าของมันอยู่ที่การเป็นชุมชนเมืองขึ้นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระทำของสังคมส่วนรวม ไม่ใช่ของเจ้าของที่ดิน

นอกจากที่ดินซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพย์สินอื่นๆ เป็นสิ่งที่ผลิตด้วยการลงแรงและการลงทุนของมนุษย์ ซึ่งแต่ละคนควรมีสิทธิเต็มที่ในผลแห่งการลงแรงและการลงทุนของเขา เขาไม่ควรต้องถูกบังคับให้แบ่งแก่คนอื่น

ดังนั้นเมื่อมีค่าเช่าที่ดินซึ่งควรเป็นของส่วนรวมอยู่ ก็ไม่ควรเก็บภาษีจากรายได้แห่งการลงแรงและการลงทุน

ในสหรัฐฯ นั้น ท้องถิ่นใดเก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินมาก เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนอื่นๆ น้อย เศรษฐกิจก็คึกคัก และมีการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนมาก ซึ่งตรงข้ามกับท้องถิ่นที่กระทำตรงข้าม

เท่าที่กล่าวมานี้ ก็พยายามให้เห็นความดีความยุติธรรมของภาษีที่ดินและผลร้ายของภาษีอื่นๆ น่ะครับ มิใช่ตั้งใจค้านความเห็นของคุณ kazama เลย เป็นความสัตย์จริงครับ

จากคุณ : สุธน หิญ - [ 20 ก.ค. 47 08:19:13 ]

ความคิดเห็นที่ 23
คุณ สุธน หิญ ทำงานหรือเป็นเจ้าของธุรกิจ อะไรครับ..
จากคุณ : wbj - [ 20 ก.ค. 47 09:55:57 ]

ความคิดเห็นที่ 24
ผมเป็นข้าราชการบำนาญครับ
มีตึกแถวใหัเช่าอยู่นิดหน่อยในที่ดินของผมเอง
และผมก็พลอยทำอย่างคนอื่นๆ ที่พอมีเงิน คือ ซื้อหาที่ดินไว้ด้วย
แต่ผมก็เห็นว่าภาษีปัจจุบันมันเ็ป็นระบบที่ไม่ดี ถ่ายเทเงินเข้ากระเป๋าเจ้าของที่ดิน ครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 20 ก.ค. 47 10:47:00 ]

ความคิดเห็นที่ 25
การยกเลิกภาษีนิติบุคคลวุ่นวายแน่ครับ เพราะจะเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม ยกตัวอย่างง่าย ๆ
บริษัท A เป็นบริษัทผลิตสินค้า คือโรงงาน ใช้พื้นที่ในการดำเนินงานมาก สมมุติว่า 10 ไร่ขึ้น ต้องเสียภาษีที่ดินในอัตรา 10 ไร่
บริษัท B เป็นบริษัทที่ทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการ พื้นที่ออฟฟิทน้อยมาก พนักงานออกบริการข้างนอก หรือจะคิดถึงพวกบริษัท consult หรือ ธนาคารต่างชาติที่กฏหมายกำหนดให้มีได้แค่สาขาเดียว พื้นที่ดำเนินการก็มีแค่ที่เราเห็น อาจจะไม่กี่ไร่ ในบริษัทขนาดใหญ่ หรือ ไม่กี่ร้อยตารางเมตรในบริษัทขนาดเล็กลงมา
รายได้ของ A กับ B นั้น B มากกว่า A อย่างน้อยหลายสิบเท่าแน่นอน อาจจะหลายพัน แต่ B กลับใช้พื้นที่น้อยกว่า A
บริษัท A เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ทำให้เกิดการผลิตอย่างแท้จริง กลับถูกเก็บภาษีในอัตราที่เรียกได้ว่าสูงมาก ตามความคิดของคุณสุธน เพราะภาษีอื่น ๆ ถูกยกเลิกหมด ทำให้ภาษีที่ดินนั้นต้องเสียในอัตราที่สูงมาก ทำให้อาจจะขาดทุนได้ง่าย ๆ และอาจจะเจ๊ง แต่ B นั้น กำไรมหาศาลแต่เสียภาษีในอัตราน้อยมาก ผมจึงบอกว่า การคิดภาษีแบบนี้ไม่เป็นธรรม และจะทำให้วุ่นวาย คนที่ผลิตสินค้าหมดกำลังใจ

การยกเลิกภาษีอื่น ๆ ก็เหมือนกัน ง่าย ๆ คือ พวกอากร ถ้ายกเลิก พวกสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ จะยิ่งถูกลง ภาษีนำเข้า จะทำให้สินค้าจากต่างประเทศถูกลง สินค้าไทยจะถูกตีตลาดในบ้านตัวเอง บริษัทหลายบริษัทจะยิ่งเจ๊งแน่นอน

เรื่องความเชื่อทางด้านภาษี ผมเรียนบัญชีมาครับ ดังนั้น ผมไม่ได้เชื่อตาม ๆ กันมา แต่เรียนและคิดตาม ทำให้รู้ว่าระบบการจัดเก็บภาษีนั้น เหมาะสม และคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป รัฐบาลก็จะออกกฏหมายใหม่เพื่อให้การเก็บภาษีนั้นเป็นธรรมอยู่เรื่อย ๆ

เรื่องการให้เช่าที่ดินนั้น คุณสุธนอาจจะมองว่าเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์อย่างเดียว แต่การให้เช่านั้น ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี เข้า 40(5)
ส่วนการไม่เสียภาษีในเรื่องรายได้การเช่าที่ดินนั้น หรือเสียไม่ถูกต้องนั้น กรมสรรพากรก็มีกฏระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้
//www.rd.go.th/publish/2620.0.html
แต่เพราะเจ้าหน้าที่สรรพากรยังมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้การปฏิบัติยังไม่ถูกต้องครบถ้วน ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจเรื่องภาษีผิด ๆ

เรื่องความคิดเถียงกันนั้น ผมไม่ติดใจโกรธครับ เพราะต่างคนต่างได้ความรู้ ได้รู้ถึงความคิดมุมมองของอีกคน จริง ๆ ควรจะเป็นผมมากกว่าที่ต้องขอโทษคุณสุธน เพราะอายุมากกว่าผมหลายสิบปี ผมควรต้องเป็นฝ่ายเคารพมากกว่า และคำพูดผมดูจะแรงกว่าคุณสุธนอีก คุณสุธนมาพูดยังนี้ก่อน ผมยิ่งอายเลย

เรื่องการเก็บภาษีที่ดินนั้น ผมบอกว่าผมเห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวการปฏิบัติของคุณสุธน แนวการปฏิบัติที่ผมเห็นสมควรคือคล้าย ๆ กับความคิดเห็นที่ 20 ของผมครับ
จากคุณ : kazama - [ 20 ก.ค. 47 14:18:52 ]

ความคิดเห็นที่ 26
แหม เครียดกันจังครับ ผมว่าอย่างนี้ก็ดีแล้วครับ คนเราทำงานมาทั้งชีวิต ต้องการความมั่นคงในชีวิตบ้าง ต้องการเก็บผลากการทำงานมาบ้าง ถ้าตอนแก่ ไม่มีรายได้ แล้วยังต้องจ่ายเงินแพงๆ คือผมว่าคนจะเครียดไปหนะครับ ถ้าภาษีนี้ออก คนที่ได้ประโยชน์คือ นักลงทุนครับ ต้นทุนต่ำลงมา การเคลื่อนย้ายสถานที่สดวก หรือไม่รักษาสภาพดิน เสมือนพื้นที่นี้ไม่ใช่ของเรา ตอนแก่ก็กินเงินดอกผลจากการลงทุน ผมว่าแทนที่จะลดช่องว่างกลับ เพิ่มช่องว่าง พื้นที่และทรัพยากรเสีย เพราะไม่มีความรู้สึกส่วนร่วมการเป็นเจ้าของ คล้ายๆชนเผ่าเร่ร่อนหนะครับ แล้วกฎหมายถ้าออกโดยนักลงทุน ยังไงก็เอื้อให้นักลงทุนอยู่แล้วครับ ทำใจล่วงหน้าได้เลย เพราะความยุติธรรมในอาชีพ ไม่ได้อยู่ที่กฏหมายครับ ถูกผิดประการใด ขออภัยด้วยครับ
จากคุณ : Hunkeak - [ 20 ก.ค. 47 15:37:27 ]

ความคิดเห็นที่ 27
ที่จริงผมไม่อยากตอบเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าไม่ตอบก็อาจรู้สึกเสียไมตรีกันน่ะครับ

ต้องขออภัยด้วยที่เสียเวลาอยู่นานเพราะคอมพิวเตอร์ของผมเกิดเกขึ้นมา คงเป็นเพราะเก่าเต็มทีแล้ว

เรื่องมาร่วมให้ความคิดเห็นกันในเว็บบอร์ดไม่ควรต้องมานึกถึงเรื่องเด็กผู้ใหญ่ หรือใครมีความรู้มากรู้น้อย ขอให้มีเหตุผลก็แล้วกัน
อ๋อ! รู้แล้วครับ ที่คุณ kazama บอกว่าเลิกเก็บภาษีนิติบุคคลแล้วจะยุ่งยากนั้น ที่จริงหมายถึงถ้าเก็บภาษีที่ดินแรงๆ แล้วจะไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจที่ต้องใช้ที่ดินมากๆ ทางแก้ก็ต้องหาทางใช้ที่ดินน้อยๆ หรือที่ซึ่งมีราคาต่ำ หรือเปลี่ยนอาชีพไปทำด้านที่ให้กำไรดีโดยไม่ต้องใช้ที่ดินมากๆ อย่างที่คนอื่นเขาได้กำไรไป ก็การปรับตัวอย่างนี้ได้ทำกันอยู่แล้ว อาจต้องการเวลานานบ้าง

แล้วระบบภาษีใหม่ผมก็เรียนแล้วว่าควรค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดิน ค่อยๆ เลิก/ลดภาษีอื่นๆ ใช้เวลา ๒๐–๓๐ ปี ซ้ำก่อนถึงเวลาเริ่มใช้ระบบใหม่ก็จะต้องมีการเผยแผ่ความคิดให้เป็นที่รู้กันทั่วไปให้เป็นที่ยอมรับกันก่อนตามวิถีประชาธิปไตยเสียงข้างมาก ซึ่งต้องกินเวลา อาจร้อยปีก็ยังไม่สำเร็จ ถ้าสำเร็จก็หมายถึงคนส่วนใหญ่รู้ก่อนแล้ว ก็จะหาทางปรับตัว อาจเปลี่ยนอาชีพ หรือรีบขายที่ดินออกไปก่อน แต่ก็อีก จะมีกลุ่มต่อต้าน โดยบริสุทธิ์ใจก็มี โดยเพื่อรักษาประโยชน์ตนก็มาก ซึ่งเขาก็ต้องพยายามใช้ทุกวิถีทางที่จะรักษาประโยชน์เอาไว้

รายได้จากการให้เช่าที่ดินต้องเสียทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน (กำลังรวมกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) และภาษีเงินได้อยู่แล้วก็จริง แต่ผลประโยชน์ก็ยังเหลือเป็นของเจ้าของที่ดินอยู่มาก (ไม่นับรวมอาคารบ้านเรือนที่เจ้าของที่ดินมีไว้ให้เช่าพร้อมกันไปนะครับ เพราะนี่คือการลงทุนที่แท้ซึ่งสร้างผลผลิตขึ้นมา ควรได้รับผลตอบแทนเต็มที่ ไม่ควรถูกหักภาษี)

เรื่องไม่มีภาษีขาเข้าแล้วสินค้าไทยจะขายแข่งสู้เขาไม่ได้ ก็อย่าวิตกหรือหมิ่นฝีมือคนไทยด้วยกันเลยครับ ใช่ครับ อาจมีบางอย่างที่สู้เขาไม่ได้ แต่สินค้าเราก็ไปสู้เขาในต่างประเทศได้มากมาย ทั้งที่ต้องเสียภาษีหลายอย่างในปัจจุบัน ถ้าไม่มีภาษีเหล่านี้ สินค้าจะถูกลงอีก ต้นทุนการผลิตของไทยจะลดต่ำลง ต้นทุนทางราคา/ค่าเช่าที่ดินก็ต่ำเพราะปัจจัยเก็งกำไรหมดไป

ส่วนปัญหาอื่นๆ ผมคิดว่าพูดไปก็ซ้ำกับที่พูดมาแล้ว ถ้าติดใจกรุณากลับไปดูตั้งแต่เริ่มตัวกระทู้ก็แล้วกันนะครับ ถึงอธิบายไปแล้วทุกคนก็มีสิทธิไม่เชื่อ เรื่องอย่างนี้ทุกคนมีสิทธิใช้ดุลยพินิจของตนเองเต็มที่ครับ

สำหรับความคิดเห็นที่ 26 ของคุณ Hunkeak นั้น อย่าเครียดเลยครับ คนที่เครียดมากคือคนจนด้อยโอกาสครับ ความต้องการให้เกิดความมั่นคงส่วนตัวโดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์นั้น ผมคิดว่าที่ดินมันควรเป็นหลักทรัพย์ที่มั่นคงของทุกคนร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ทุกคนไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ เสียแต่ค่าเช่าหรือภาษีที่ดินตามแต่มูลค่าของที่ดินที่ใช้ เราควรคิดถึงคนจนด้อยโอกาสซึ่งในระบบปัจจุบันเขาไม่สามารถหาซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ ต้องเสียทั้งค่าเช่า เสียทั้งภาษีทางอ้อมต่างๆ สำหรับคนที่โชคดีกว่านี้ แม้ต้องเสียภาษีที่ดินมาก แต่เขาก็ได้รับชดเชยจากการไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ ที่เคยเสีย และการเสียภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าไม่ทำให้คนหมดกำลังใจปรับปรุงที่ดิน ก็คนที่เช่านาเขาทำเขาก็ใส่ปุ๋ย ซ่อมคันนา ขอให้เขาแน่ใจว่าเขาเสียค่าเช่าแล้วเขามีสิทธิในผลประโยชน์จากที่ดินนั้นก็พอ ในระบบภาษีที่ดินเท่าค่าเช่า กรรมสิทธิ์ก็ไม่ถูกบั่นทอน อยู่ได้ยืนยาวดีกว่าระบบเช่าในปัจจุบันซึ่งผู้เช่าก็ยังต้องเสียภาษีอื่นๆ ด้วย
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 21 ก.ค. 47 01:03:03 ]

ความคิดเห็นที่ 28
มัววุ่นวายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เลยมีตกๆ หล่นๆ ครับ
ขอพูดเรื่องเดียวก็แล้วกัน คือที่คุณ kazama บอกว่าเห็นด้วยกับความคิดของภาษีที่ดิน
เพียงเท่านี้ผมก็ดีใจแล้วครับ ทางปฏิบัติ (ถ้าได้ทำ) จะลดลงบ้างจากการเก็บภาษีแรงๆ ก็ยังดีกว่าไม่เพิ่มเลย
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 21 ก.ค. 47 01:18:03 ]

ความคิดเห็นที่ 29
อีตา Henry George นี่เป็นขวัญใจของชนชั้นกรรมาชีพเลยนะครับเนี่ย (มีคนยกย่องอย่างนั้นจริงๆ อ่านประวัติดูก็ได้ //www.henrygeorge.org/chp27.htm)

หนังสือ Progress & Poverty ที่แกเขียน (//www.henrygeorge.org/pplink.htm) บรรยายความอยุติธรรมของนายทุนที่มีต่อชนชั้นกรรมาชีพเอาไว้ทั้งเล่มเลย

ในบทที่ 18 (//www.henrygeorge.org/chp17&18.htm)
แกบอกว่า "No one can be rightfully entitled to the ownership of anything which is not the produce of his labor... and the recognition of private property in land is a wrong. "

พูดง่ายๆ คือ แกบอกให้ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชนทั้งหมด


โดย: สุธน หิญ วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:22:45:19 น.  

 
คุณสุธนเองก็แปลไว้ใน (//www.thai.net/econ_buu/suthon/book7.doc) ว่ามันจะเกิดความวุ่นวาย คนส่วนใหญ่จะคัดค้าน เพราะคนยังยึดกับ "ความคิดผิดๆ" แบบเดิมๆที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเสียเปรียบ

ความคิดของอีตา Henry Geroge (เกิดสมัยศตวรรษที่18) นี่ใช้ได้เฉพาะกับในรัสเซียสมัยสตาลิน ในอิตาลีสมัยมุโสลินี ในเยอรมันสมัยฮิตเลอร์เท่านั้นนะครับ

อ้อ......อย่าลืมว่าธงไตรรรงค์ยังมี 3 สี นะครับ
จากคุณ : academician - [ 21 ก.ค. 47 02:48:31 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 30
คุณสุธนบอกว่า "ในสหรัฐฯ นั้น ท้องถิ่นใดเก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินมาก เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนอื่นๆ น้อย เศรษฐกิจก็คึกคัก และมีการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนมาก ซึ่งตรงข้ามกับท้องถิ่นที่กระทำตรงข้าม"

อันนี้ Logic ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงนะครับ

ที่เป็นความจริงคือ
ท้องถิ่นใดที่มีการปลูกสร้างบ้านเรือนมาก ทำให้มีคนเข้าไปอยู่มาก รัฐบาลมีภาระต้องเข้าไปดูแลคนเหล่านั้นมากขึ้น
ต้องสร้างโรงเรียนเพิ่ม
ต้องเพิ่มจำนวนตำรวจ พนักงานดับเพลิง
ต้องพัฒนาถนนสาธารณะ ต้องซื้ออุปกรณ์กวาด Snow และเครื่องโรยเกลือ ต้องจ้างคนงานเพิ่ม
ดังนั้นรัฐบาลท้องถิ่นจึงเก็บภาษี Property Tax มากขึ้นครับ

เอาง่ายๆ ถ้าใช้ Logic ที่คุณสุธนพูดก็คือ

ถ้าเมื่อไหร่รัฐบาลเก็บภาษีที่ดินที่ทุ่งกุลาร้องไห้มากขึ้น แล้วยกเว้นภาษีอื่นๆ ทุกคนจะย้ายเข้าไปสร้างอาคารบ้านเรือนในนั้น
จากคุณ : academician - [ 21 ก.ค. 47 03:02:48 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 31
ผมอ่านบทความของคุณสุธนเรื่อง "ผสมสองทฤษฎี Geo-Austrian สกัดเศรษฐกิจฟองสบู่"

คุณสุธนบอกว่าเราต้องพยายามหยุด/ชะลอ Business Cycle โดย "การให้รัฐหรือประชาคมเก็บค่าเช่าที่ดินเป็นภาษี และใช้ระบบการธนาคารเสรี"

และคุณสุธนอธิบายว่า ".......การใช้ระบบการธนาคารเสรี ....ให้ธนาคารเอกชนมีสาขาได้ไม่จำกัด และออกธนบัตรได้เอง......"

สรุปว่าการเก็บค่าที่ดินเป็นภาษีก็คือ ที่ดินทั้งหมดตกเป็นของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินใช่หรือเปล่าครับ??

ถ้าไม่ใช่ ถ้าเอกชนยังเป็นเจ้าของที่ดินได้อยู่ ......ผมพยายามคิดตามคุณสุธน แล้วมองเห็นภาพต่อไปนี้
1. ประชาชนไทยส่วนใหญ่ถูกบีบให้ขายที่ดินและต้องเข้าไปอยู่กันอย่างแออัดบนสลัมลอยฟ้า เหมือนคอนโดที่ฮ่องกง
2. คนที่เป็นเจ้าของที่ดินคือ บริษัท/กิจการต่างชาติ ไม่ได้พูดถึงคนเข้ามาใหม่นะครับ เอาแค่บริษัทที่เข้ามาแล้วหลายพันบริษัท (แค่บริษัทอเมริกันก็มีเกิน 1 พันบริษัทแล้ว : ข้อมูลหอการค้าอเมริกัน)
3. ธนาคารพาณิชย์ซึ่งปัจจุบันเป็นของต่างชาติหมดแล้ว จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งค่าธรรมเนียมการฝากเงิน ค่ารักษาบัญชี(กรณีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว)จะเพิ่มมากขึ้น เรื่องดอกเบี้ยคงไม่ต้องพูดถึง เพราะปัจจุบันก็แย่อยู่แล้ว
4. การปั่นค่าเงินบาททำได้ง่ายมากขึ้น เพราะธนาคารเอกชน(ต่างชาติถือหุ้น)มีสิทธิออกธนบัตรได้เอง เงินบาทไม่มีเสถียรภาพ......ไม่มีค่า
จากคุณ : academician - [ 21 ก.ค. 47 05:57:17 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 32
อย่างที่ผมเขียนไว้ในความคิดเห็นที่ 6 ว่าเราต้องป้องกันการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์

ผมจึงไม่เข้าใจ Logic คุณสุธนในความเห็นที่ 22 ที่ว่า
"......ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนบ้านและที่ดินผมกลับเห็นว่าไม่ควรมีหรือมีก็ควรต่ำๆ เพื่อทำให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง และควรให้รวดเร็วด้วย เพราะมันเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ของแต่ละคน ช้าไปหน่อยมันก็เสียหาย ดอกเบี้ยขึ้นบานแล้ว......."

ผมเห็นด้วยกับการเพิ่มภาษีที่ดิน แต่ไม่ใช่
1.การทำให้คนทั้งประเทศเดือดร้อนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
2. ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอ
3. กระทำในสิ่งที่อาจเป็นอันตรายความจงรักภักดีหรือเกิดความเคลือบแคลงต่อสถาบัน
.........และ 4. เอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติ
จากคุณ : academician - [ 21 ก.ค. 47 06:18:14 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 33
ขอบคุณคุณ academician มากเลยครับที่ให้ความสนใจในเรื่องภาษีที่ดิน ขอชมเชยว่าค้นคว้าได้รวดเร็วดีมากครับ

ตอบความคิดเห็น ๒๙ - หนังสือ Progress and Poverty ฉบับนี้เป็นฉบับย่อเหลือราว 40% ส่วนที่ผมแปลเป็นฉบับเต็มครับ
ประวัติของ Henry George อยู่ใน Appendix I ตอนท้ายของบทที่ 27 และตอนท้ายของประวัติซึ่งคุณ academician กล่าวถึงการยกย่องว่าเป็นขวัญใจของชนชั้นกรรมาชีพนั้น มีดังนี้ (รวมทั้งที่ Henry George ตอบด้วย)

At one the chairman introduced him as "the great friend of labour." George was no demagogue. He played neither to the gallery nor to the boxes. Coming feebly forward, his voice gaining power, however, and expanding till it filled the hall, he exclaimed: "I have never claimed to be a special friend of labour. Let us have done with this call for special privileges for labour. Labour does not want special privileges. I have never advocated nor asked for special rights or special sympathy for working men. What I stand for is the equal rights of all men."

เราต้องแยกความแตกต่างระหว่างนายทุนกับเจ้าของที่ดิน ส่วนที่อยุติธรรมต่อชนชั้นแรงงาน (และผู้ลงทุนด้วย) คือ การปล่อยให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน และสรุปรวมแล้ว Henry George เสนอให้เก็บภาษีเท่าหรือเกือบเท่าค่าเช่าที่ดิน ส่วนกรรมสิทธิ์ไม่แตะต้องครับ และเลิกภาษีอื่นๆ

สำหรับ อิตาลีสมัยมุโสลินี เยอรมันสมัยฮิตเลอร์ ผมขอไม่ตอบเพราะไม่เกี่ยวข้อง ส่วนรัสเซีย แม้ไม่เกี่ยว ก็น่าจะตั้งข้อสังเกตว่า เขาบังคับเฉลี่ยรายได้/ทรัพย์สิน ราษฎรก็เลยหมดกำลังใจทำงาน แม้จะบังคับให้ทำงานก็ไม่ค่อยได้ผลผลิต เพราะมันผิดธรรมชาติมนุษย์ปัจจุบันที่ต้องแบ่งรายได้/ทรัพย์สินให้คนอื่น

ตอบความเห็นที่ ๓๐ - ภาษีทรัพย์สินของสหรัฐฯ นี่ก็ต้องแบ่งเป็น ๒ ส่วน ซึ่งเก็บอัตราแตกต่างกันได้ และผมบอกว่า ท้องถิ่นที่เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินมาก เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนอื่นๆ น้อย เศรษฐกิจก็คึกคัก

ทุ่งกุลาร้องไห้ก็น่าจะดีขึ้นบ้าง แต่ถ้ามันแห้งแล้งโดยธรรมชาติ ก็ต้องไม่หวังมากถึงขนาดที่คุณ academician บอกครับ และภาษีที่ดินก็ย่อมต่ำตามคุณค่าของที่ดิน

ตอบความเห็นที่ ๓๑ - ถูกแล้วครับ เอกชนยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่
ข้อ ๑. จะแออัดหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับประชากรมากไหม เป็นแหล่งรวมธุรกิจมากแค่ไหนด้วยครับ ส่วนที่ว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่ถูกบีบให้ขายที่ดินนั้น น่าจะเป็นเฉพาะคนมีที่ดินมูลค่ามากๆ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มกับภาษีที่ดินตามระบบใหม่ ถ้ามีที่ดินน้อยสามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มกับการลงแรงลงทุนก็ไม่น่าต้องขาย เพราะขนาดปัจจุบันต้องเสียภาษีอื่นๆ ด้วยแท้ๆ เขายังยินดีเช่าที่ดินทำมาหากินกันเลยครับ ถ้าไม่มีภาษีอื่นๆ น่าจะยิ่งอยากใช้ที่ดินทำมาหากินกันมากขึ้นซ้ำไป

ข้อ ๒. กฎหมายเราไม่อนุญาตให้ต่างด้าวเป็นเจ้าของที่ดินไม่ใช่หรือครับ แต่ถ้าเขาเป็นเจ้าของได้ เขาจะยอมจ่ายภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าหรือครับถ้ามีที่ดินเกินที่จะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า

ข้อ ๓. ผมยังมองไม่ออกว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าจะมีผลต่อเรื่องนี้ยังไงครับ
ข้อ ๔. การออกธนบัตรต้องมีทุนสำรองอยู่เท่ามูลค่าเงินตราที่ธนาคารออกไปครับ แต่เรื่องนี้ผมไม่ค่อยมีความรู้นักครับ ก็แค่แปลเขามาตามที่ขอร้องกันในเว็บบอร์ดหลังจากที่แนะนำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษให้

ตอบความเห็นที่ ๓๒ - ถ้าเก็บภาษีที่ดินสูงเท่าหรือเกือบเท่าค่าเช่าแล้ว ก็ไม่มีการเก็งกำไรที่ดินแล้ว ภาษีอื่นๆ เลิกได้
ขอบคุณครับที่เห็นด้วยกับการเพิ่มภาษีที่ดิน
ข้อ ๓. ผมพยายามเลี่ยงอยู่แล้วครับ
ข้อ ๑, ๒, ๔. อธิบายมากแล้ว สรุปอีกครั้งก็แล้วกัน
ผลร้ายของระบบภาษีปัจจุบัน (เก็บภาษีที่ดินน้อยไป เก็บภาษีอื่นๆ มากไป) คือ
๑. ผิดศีลข้ออทินนาทาน เอาจากกลุ่มอื่นไปให้แก่กลุ่มเจ้าของที่ดินด้วยวิธีการภาษี โดยภาษีและกิจกรรมของส่วนรวมไปทำให้สังคมมีความน่าอยู่และปลอดภัยขึ้น ที่ดินก็เลยแพง โดยฉะนี้ถึงได้มีการเก็งกำไรแสวงหาครอบครองที่ดินกันในวงกว้างทั่วไป ที่ดินก็ยิ่งแพงขึ้น คนยากคนจนหรือจะแข่งขันด้วยได้ จำใจต้องยอมเป็นผู้เช่า จ่ายทั้งค่าเช่าที่ดิน ทั้งภาษีอื่นๆ
๒. ภาษีปัจจุบันเป็นตัวถ่วง แทนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูตัวอย่างสหรัฐฯ เขากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีลดภาษีอื่นๆ มาหลายต่อหลายหนแล้ว
๓. การไม่เก็บภาษีที่ดินหรือเก็บน้อยไปก็กลับเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจซ้ำเข้าไปอีก เพราะที่ดินถูกเก็งกำไรเก็บกักกันไว้เฉยๆ มากมาย หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ทำให้การจ้างงานน้อย และค่าแรงต่ำ ผลตอบแทนต่อการใช้ทุนเครื่องทุ่นแรงก็ต่ำ
๔. ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร พวกนี้ไปลดรายได้จริงของคนทำงานและผู้ลงทุน
๕. ภาษีทางอ้อมจำพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีขาเข้า ไปทำให้ของแพง และทำให้ความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศลด ไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือนฮ่องกง สิงคโปร์
๖. ราคา/ค่าเช่าที่ดินและบ้านแพงกว่าที่ควร แฟลต/คอนโดในเมืองก็มีน้อย เกิดปัญหาต้องเดินทางเช้าเข้าเมืองเย็นกลับออกนอกเมืองติดขัดอัดแอเสียเวลามาก เกิดปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมหรือชุมชนแออัดในเมือง การย้ายบ้านก็ยากเพราะต้องใช้เงินมาก
๗. เพราะที่ดินมีราคา จึงมีคดีที่ดินเป็นภาระแก่ศาลยุติธรรมมากมาย คนจำนวนมากต้องเสียเงินเสียเวลาขึ้นศาลกันนานๆ ระหว่างนั้นที่ดินก็อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์
๘. สังคมมีความแตกต่าง เกิดการแตกแยก ส่วนหนึ่งเพราะความไม่เป็นธรรมด้วยวิธีการภาษีดังข้อ ๑.

ขอบคุณมากครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดให้ผู้อ่านได้ทราบด้วย
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 21 ก.ค. 47 08:52:16 ]

ความคิดเห็นที่ 34
คุณสุธนครับ ที่ชาวนาใส่ปุ๋ยหละครับ เพราะเขาต้องทำนา และไม่มีทางเลือกมากนัก แต่ถ้าเป็นกฏหมายแบบคุณสุธนหนะครับ พวกโรงงาน อุตสาหกรรม หละครับ พวกนี้ทุนหนา จะทำในที่หนึ่งโดยไม่ต้องเสียการติดตั้งที่บำบัด เพราะพอทรัพยากรเสียไปถึงจุดหนึ่ง ก็ย้ายที่ เหลือที่ให้คนที่ไม่มีทางเลือกมากนัก (เพราะพอที่ดินด้อยค่าภาษีก็ถูกลง ) เข้ามาอยู่ในมลพิษหรือครับ เพราะจริงๆกฏหมายตอนนี้ก็ช่วยเรื่องนี้ไม่ได้อยู่แล้ว
จากคุณ : Hunkeak - [ 21 ก.ค. 47 14:57:00 ]

ความคิดเห็นที่ 35
ครับ เห็นด้วยครับ เราก็ต้องช่วยกันทำให้กฎหมายสิ่งแวดล้อมรัดกุมขึ้นและให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดตรงไปตรงมา เรื่องอะไรๆ ก็ต้องอาศัยภาคประชาชนช่วยกันเข็นผู้แทนฯ หรือไม่ก็แสดงเองบ้าง
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 22 ก.ค. 47 00:05:13 ]

ความคิดเห็นที่ 36
ขอเชิญดู ตัวอย่างสาธิตการเกิดชุมชนเมืองและอารยธรรม
จาก Progress and Poverty โดย Henry George, A. W. Madsen ย่อ, สุธน หิญ แปล
www.henrygeorge.org/pplink.htm
ที่บอร์ดมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนwww.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=midnightuniv&topic=2415 ครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 22 ก.ค. 47 13:26:50 ]

ความคิดเห็นที่ 37
"....ตอบความเห็นที่ ๓๐ - ภาษีทรัพย์สินของสหรัฐฯ นี่ก็ต้องแบ่งเป็น ๒ ส่วน ซึ่งเก็บอัตราแตกต่างกันได้ และผมบอกว่า ท้องถิ่นที่เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินมาก เก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนอื่นๆ น้อย เศรษฐกิจก็คึกคัก"

" .......๒. ภาษีปัจจุบันเป็นตัวถ่วง แทนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูตัวอย่างสหรัฐฯ เขากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีลดภาษีอื่นๆ มาหลายต่อหลายหนแล้ว......"

บางทีเราอาจจะต้องศึกษาระบบภาษีของสหรัฐฯ ก่อนจะเชื่อพวกสื่อมวลชนไทยที่ยกคำกล่าวอ้างลอยๆ

สหรัฐฯ ลดภาษีเพียงชนิดเดียว(หลายครั้ง)ในรอบหลายๆปีที่ผ่านมา........คือภาษีรายได้
........ที่ลดภาษีนี้ก็เพื่อดึงคะแนนเสียงทางการเมือง
1. สหรัฐฯ ไม่เคยลดภาษี Property Taxes ของที่ดินหรือในส่วนอื่นๆ
และ 2. สหรัฐฯก็ไม่ได้ลดภาษีประเภทอื่นๆ นอกจาก Income Taxes

สหรัฐฯยังเก็บภาษีอื่นๆในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศไทย
คนอเมริกันทั่วๆไป จ่ายภาษีโดยร่วมแล้วประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ (เมื่อรวมภาษีทุกประเภทเข้าด้วยกัน)

อ่านเพิ่มดูก็ได้ครับ
//www.retirementliving.com/RLtaxes.html

ที่ Web เดียวกันนี้ยังกล่าวถึง Property Taxes ไว้ดังนี้

"Property Taxes

Taxes on land and the buildings on it are the biggest source of revenue for local governments. They are not imposed by states but by the tens of thousands of cities, townships, counties, school districts and other assessing jurisdictions. .........."

สังเกตว่า Property Taxes คือ biggest sources of revenue นะครับ

Property Taxes เก็บในรูปของ school taxes, local taxes, county taxes, district taxes ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในพื้นที่ที่ใช้บริการของรัฐมากแค่ไหน.......ไม่ใช่เพียงแค่มูลค่าที่ดิน
ประชาชนเสียภาษีในอัตราที่สูงถ้า
1. พื้นที่นั้นมีประชากรเยอะ (local taxes, county taxes, district taxes)
ใช้บริการสาธารณะเยอะ เช่น ต้องมี ตำรวจ พนักงานดับเพลิง รถเก็บขยะ รถกวาดหิมะ ฯลฯ มากกว่าที่อื่น
2. พื้นที่นั้นมีโรงเรียนดีๆ เยอะ และโรงเรียนต้องการงบประมาณมาก (School Taxes)
ถ้ามีโรงเรียนดีๆ อย่างโรงเรียนสวนกุหลาบ(ที่คุณสุธนเรียน) โรงเรียนเตรียมอุดมฯ และ ฯลฯ อยู่ในพื้นที่ที่คุณอยู่ คุณก็ต้องจ่ายภาษีแพงกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีโรงเรียนตั้งอยู่
3. อสังหาริมทรัพย์ที่คุณเป็นเจ้าของมีราคาแพง มีมูลค่าจากราคาประเมินสูงกว่าคนอื่น

ถ้าอ่านต่อไปจะพบว่า Property Taxes โดยเฉลี่ยแล้วทั้งประเทศคิดเป็นประมาณ 1.25% ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

ภาษีมีสองส่วนคือ Federal Taxes กับ State Taxes

Federal Taxes คิดในอัตราเดียวกันสำหรับทุกคนไม่ว่าคุณอยู่ในพื้นที่ไหนๆ
State Taxes คิดตามแต่ละรัฐ

เราจะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ ยังเก็บภาษีในหลายๆ รูปแบบ ตัวอย่างเช่น.....
//www.taxadmin.org/fta/rate/ind_inc.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/corp_inc.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/sales.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/sale_vdr.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/sl_sales.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/motor_fl.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/cigarett.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/otp.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/liquor.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/wine.html
//www.taxadmin.org/fta/rate/beer.html

จะเห็นได้ว่า
1. รัฐบาลสหรัฐฯ ยังเก็บภาษียุบยับไปหมด
2. รัฐที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากอย่าง California, New York เก็บภาษีมาก.........ไม่ใช่เก็บภาษีน้อยแล้วเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตกันยกใหญ่....อย่างที่คุณสุธนกล่าวอ้าง
จากคุณ : academician - [ 23 ก.ค. 47 05:11:50 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 38
"๕. ภาษีทางอ้อมจำพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีขาเข้า ไปทำให้ของแพง และทำให้ความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศลด ไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือนฮ่องกง สิงคโปร์"

อันนี้ความจริงคือ ระบบภาษีปัจจุบันไม่ได้ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง
สินค้าและวัตถุดิบทั้งหมดที่นำเข้ามาเพื่อผลิตและส่งออกได้รับการยกเว้นภาษี 100 % ครับ กรณีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
และกรณี(ส่วนน้อย)ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนก็สามารถขอคืนภาษีนำเข้าได้ 100% เช่นกัน

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ของฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอางค์ ฯลฯ และผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถผลิตได้ภายในประเทศ (เราผลิตได้ทุกอย่างอยู่แล้วนี่ครับ) ควรจะต้องเสียภาษีราคาแพงเพื่อสนับสนุนให้คนประหยัดและใช้ของผลิตภายในประเทศ

สิงคโปร์และฮ่องกงเป็นเกาะเล็กๆ นะครับ เค้าต้องการนักท่องเที่ยวเข้าไป Shopping เท่านั้นเอง ประเทศเค้าไม่มีมีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีหาดทรายสวยๆ ไม่มีโบราณสถานอย่างประเทศอื่นๆ นี่ครับ เค้าถึงต้องดึงนักท่องเที่ยวเข้าไป Shopping ของฟุ่มเฟือย

"ข้อ ๓. ผมยังมองไม่ออกว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าจะมีผลต่อเรื่องนี้ยังไงครับ"

ถ้าคุณส่งเสริมให้เก็บภาษีที่ดินในราคาเท่าค่าเช่า(จากการประเมิน) คุณจะทำยังไงกับ
1. ที่ดินที่เป็นธรณีสงฆ์ ที่ดินวัดและศาสนสถานต่างๆ
2. ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้เช่าที่ดินในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมาก เช่น ตึกแถวบางแห่งจ่ายค่าเช่าเพียงปีละ 400 บาท
1. ถ้าต้องเสียภาษีแพงขึ้น ก็ต้องเก็บค่าเช่ามากขึ้นหรือต้องหันไปทำประโยชน์อื่นๆเพื่อให้คุ้มกับภาษี ต้องงดต่อสัญญากับผู้อาศัยในปัจจุบัน ประชาชนจะต้องเดือดร้อน
2. ถ้าให้ยกเว้นภาษี ประชาชนก็จะมองว่าไม่ยุติธรรม เอาเปรียบสังคม

"...ข้อ ๒. กฎหมายเราไม่อนุญาตให้ต่างด้าวเป็นเจ้าของที่ดินไม่ใช่หรือครับ แต่ถ้าเขาเป็นเจ้าของได้ เขาจะยอมจ่ายภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าหรือครับถ้ามีที่ดินเกินที่จะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า...."

กฎหมายเราอนุญาตมานานแล้วครับ และต่างชาติก็เป็นเจ้าของที่ดินมาก่อนเราอนุญาตเสียอีก

ก่อนที่เราจะอนุญาต เราเคยบอกว่าบริษัทที่มีหุ้นไทย 51% ขึ้นไปถือเป็นบริษัทไทยและถือครองที่ดินได้ครับ บริษัท/บุคคลต่างด้าวจะถือครองที่ดินโดยใช้ nominee ครับ

ปัจจุบันเราอนุญาตให้ต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการแล้วครับ....มีข้อแม้เพียงว่าถ้าเลิกกิจการก็ต้องขาย........แต่ไม่มีประวัติใครเลิกกิจการง่ายๆ หรอกครับ
ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติจำนวนมากที่มีหุ้นต่างชาติ 100% ครับในเมืองไทย

ภาษีทุกชนิดมีที่มาที่ไปนะครับ มีเหตุผลเฉพาะของแต่ละประเภท เราใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่แล้วครับ
การที่เราอยู่ดีๆ จะไปยกเลิกภาษีทุกประเภทง่ายๆ ตามความคิดของคนที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยอย่างนาย Henry George ......ผมว่ามันไม่เหมาะกับยุคและสมัยครับ
จากคุณ : academician - [ 23 ก.ค. 47 05:40:43 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 39

อันนี้คือที่คุณสุธนแปลนะครับ

//www.thai.net/econ_buu/suthon/book7.doc

"เมื่อมีการเสนอให้ยกเลิกกรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดิน ปัญหาประการแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือเรื่องความยุติธรรม ความรู้สึกในความยุติธรรมนั้นถึงแม้จะแปรเปลี่ยนไปด้วยนิสัยความเคยชิน ความเชื่อผิด ๆ และความเห็นแก่ตัวอยู่บ่อย ๆ ทำให้ผิดเพี้ยนไม่ตรงตามความจริงอย่างที่สุดก็ตาม แต่ก็ยังเป็นหลักมูลแห่งจิตใจของมนุษย์ และข้อโต้แย้งใด ๆ ที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึกรุนแรงขึ้นมาก็ตาม ก็จะเป็นที่แน่ใจได้ว่าความขัดแย้งจะออกมาในรูปของคำถามที่ว่า “จะเป็นการถูกต้องหรือ?” ยิ่งกว่าที่จะเป็น “จะเป็นการฉลาดละหรือ?”"

จะบอกว่า "ส่วนกรรมสิทธิ์ไม่แตะต้องครับ" ได้อย่างไร?
จากคุณ : academician - [ 23 ก.ค. 47 05:50:49 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 40
"....๑. ผิดศีลข้ออทินนาทาน เอาจากกลุ่มอื่นไปให้แก่กลุ่มเจ้าของที่ดินด้วยวิธีการภาษี โดยภาษีและกิจกรรมของส่วนรวมไปทำให้สังคมมีความน่าอยู่และปลอดภัยขึ้น ที่ดินก็เลยแพง......."

ถ้าสังคมไม่น่าอยู่ ไม่ปลอดภัยแล้วเราจะอยู่กันยังไงละครับ
การเก็บภาษีทุกประเภท ก็เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีงบประมาณไปใช้ในการทำให้สังคมน่าอยู่ เห็นได้ว่างบประมาณหลักๆ คือ ด้าน การศึกษา สาธารณสุข การป้องกันประเทศ ฯลฯ
เราเก็บอากรสุรา ไพ่ บุหรี่ ฯลฯ เพราะมันก่อให้เกิดปัญหาสังคม และปัญหาสุขภาพของประชาชน
เราเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ เพราะมันก่อให้เกิดมลภาวะ เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพประชาชน
เราเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีเงินได้.....อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน.......แล้วรัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนไปพัฒนาประเทศละครับ
ภาษีที่เก็บได้ก็ไม่ได้นำไปให้เจ้าของที่ดินนะครับ รัฐบาลนำไปเป็นงบประมาณเพื่อส่งเสริมความอยู่ดี กินดี ของคนทั้งประเทศ

ผมเห็นด้วย...บางส่วน....กับข้อนี้
"๓. การไม่เก็บภาษีที่ดินหรือเก็บน้อยไปก็กลับเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจซ้ำเข้าไปอีก เพราะที่ดินถูกเก็งกำไรเก็บกักกันไว้เฉยๆ มากมาย หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่"

อย่างที่บอกไปแล้ว ผมเห็นด้วยว่าเราควรเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีการโอน/ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์.....จากผู้ขายที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่า 5 ปี

ในความเป็นจริงไม่มีใครอยากเก็บที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างไว้เฉยๆ หรอกครับ ให้เช่าได้ก็ให้เช่า.....เหมือนคุณสุธนแหละครับ
ใครจะอยากปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่นานๆ ญาติผมเคยเสียที่ดินให้คนอื่นไปแล้วเพราะไม่ได้ไปดูแลกว่า 20 ปี คนอื่นเลยได้สิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินโดยที่ไม่ต้องเสียเงินให้ญาติผมแม้แต่บาทเดียว

อีกประการนึงที่คุณสุธนย้ำบ่อยๆ คือภาษีที่ดินนั้นผลักภาระไม่ได้

ในความเป็นจริงผลักภาระได้ครับ ผมเห็นกับตา..ในสัญญาเช่าบ้านของเพื่อน ซึ่งระบุให้ผู้เช่าต้องจ่ายภาษีโรงเรือนและที่ดินครับ
จากคุณ : academician - [ 23 ก.ค. 47 08:09:12 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 41
ก็ต้องขอชมคุณ academician อีกทีครับ ว่าขยันค้นคว้ามาก

ในความเห็นที่ ๓๗ ซึ่งคุณชี้ให้เห็นคำพูดของผมว่า “ดูตัวอย่างสหรัฐฯ เขากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีลดภาษีอื่นๆ มาหลายต่อหลายหนแล้ว” ต้องขออธิบายว่า “ภาษีอื่นๆ” ในที่นี้ผมใช้เรียกภาษีทุกอย่างที่ไม่ใช่ภาษีที่ดิน และขอบคุณที่คุณบอกมาว่ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ ลดภาษีอย่างเดียวคือภาษีเงินได้ และรัฐบาลกลางก็คงไม่ลด property tax เพราะภาษีนี้เป็นเรื่องของท้องถิ่น

ขอบคุณที่ยกเหตุผลที่ใครจะต้องเสีย property tax มากเพราะอะไร (บริการสาธารณะที่มากตามส่วนกับประชากร, การมีโรงเรียนดีๆ, อสังหาฯ ในครอบครองมีมูลค่าสูง) ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการของการคิดภาษีที่ดิน ยกเว้นแต่ท้องถิ่นต่างๆ ของสหรัฐฯ เขาคิดจากมูลค่าที่ดินด้วย และ จากมูลค่าสิ่งปลูกสร้างด้วย ไม่ได้คิดแต่มูลค่าที่ดินเพียงอย่างเดียวแบบที่ Henry George เสนอ

ที่คุณว่าต้องเก็บภาษีมากจึงจะเจริญมาก โดยยกตัวอย่างรัฐ California, New York และบอกว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ยังเก็บภาษียุบยับไปหมด ก็ถือเป็นความเชื่อโดยมีเสรีภาพเต็มที่ของคุณ แต่ผมก็ยังพอใจที่ในความเห็นที่ ๔๐ คุณบอกไว้ว่า คุณเห็นด้วย...บางส่วน....กับข้อที่ว่า การไม่เก็บภาษีที่ดินหรือเก็บน้อยไปก็กลับเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจซ้ำเข้าไปอีก เพราะที่ดินถูกเก็งกำไรเก็บกักกันไว้เฉยๆ มากมาย หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่

อยากขอร้องให้ดูเพียงแค่สรุปของ Joint Economic Committee, U.S.Congress ซึ่งทำ study เรื่อง Tax Reduction and the Economy เมื่อ July 1999 มี Executive Summary ดังนี้



โดย: สุธน หิญ วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:22:53:36 น.  

 
(www.house.gov/jec/fiscal/tax/reduce2.htm)
The current tax system is counterproductive and biased against saving and investment. The tax system imposes large losses on the economy that reduce the economic welfare of households and businesses. The current level of taxation imposes additional costs of about 40 cents at the margin for each dollar collected in revenue. A reduction in the burden imposed by the tax system would make a significant improvement in the economic well-being of American households. Furthermore, if this surplus revenue is not returned to the taxpayers, it appears likely that most of it will be absorbed in federal spending increases.
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 23 ก.ค. 47 20:25:47 ]

ความคิดเห็นที่ 42
สำหรับความเห็นที่ ๓๘ คุณพูดถึงแต่ภาษีสินค้าเข้า โดยงดไม่กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการผลิต (ภาษีสรรพสามิต)

การขอคืนภาษีขาเข้า เดี๋ยวนี้คงได้คืนรวดเร็วนะครับ ก่อนนี้ผู้ผลิตบ่นกันจังว่าเงินของเขาที่ต้องจ่ายไปก่อนน่ะเสียดอกเบี้ยไปเยอะกว่าจะได้ต้นคืน ไม่กล่าวถึงค่าเบี้ยใบ้รายทาง

เรื่องของฟุ่มเฟือยหรือไม่ฟุ่มเฟือยนี่ก็มีปัญหาว่ารัฐควรหรือไม่ควรเก็บ เพราะมันเป็นการควบคุมการใช้จ่ายของประชาชนราวกับเขาเป็นเด็กที่ขอเงินพ่อแม่ใช้ ผมคิดว่ารัฐเองควรควบคุมงบประมาณของตนเองไม่ให้ขาดดุลก็พอ เพราะราษฎรส่วนใหญ่เขาก็น่าจะรู้จักรักษาดุลของเขาเอง ดุลการค้าจะแกว่งกวัดไปบ้างก็คงไม่มาก ส่วนที่เป็นปัญหาอยู่กำลังนี้ก็มี คือ ผลิตภัณฑ์ด้านถ่ายภาพและภาพยนตร์ซึ่งถูกเร่งเร้าให้ลดภาษีขาเข้าอยู่ อนึ่ง ถ้าเราตั้งกำแพงภาษีเอากับสินค้าฟุ่มเฟือย แล้วไม่ห้ามผลิตสินค้าอย่างเดียวกันในไทย ก็ไม่มีต่างชาติคอยช่วยกดราคาเอาไว้ไม่ให้คนไทยขายโก่งราคา และเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศด้วย แทนที่จะส่งเสริมการผลิตสินค้าที่จำเป็น

สำหรับการเก็บภาษีเอากับของที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพก็มีบางส่วนเห็นว่าควรห้ามนำเข้า ห้ามผลิตเลย ถ้ามันปรากฏผลร้ายชัดเจน เช่น บุหรี่

แต่กำลังนี้ภาษีขาเข้าก็ลดลงเรื่อยๆ แล้ว โดยกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก และการทำสัญญาการค้าเสรีระหว่างประเทศต่างๆ

เรื่องของสิงคโปร์ ฮ่องกงก็อาจมีเหตุผลอย่างที่คุณบอกอยู่ด้วย แต่รายได้จำนวนไม่น้อยนั้นทางหนึ่งมาจากการเป็นชุมทางเดินเรือ ที่หนาแน่นของเอเชีย สภาพของเขาตามธรรมชาติเป็นที่จอดเรือได้มาก บังคลื่นลมได้ดี ได้งานได้เงินทั้งจากการเป็นแหล่งจอดเรือ ขนสินค้าขึ้นลง ซ่อมเรือ และต่อเรือ แล้วก็ค่าใช้จ่ายของลูกเรือขณะจอดและขึ้นบกที่นั่น การเป็นศูนย์การค้าทางเรือระหว่างประเทศเช่นนี้และยังเป็นศูนย์ธุรกิจอีกหลายๆ อย่าง ทำให้มีคนเข้าไปประกอบอาชีพกันหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ (ยกเว้นตอนฮ่องกงกลัวถูกคืนให้แก่จีนคอมมิวนิสต์) ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการผลิตและการค้าขายแลกเปลี่ยนสูงกว่าตำบลที่อื่นๆ อีกมาก ซึ่งก็มีปัญหาไปอีกแบบหนึ่ง

ที่ผมตอบว่า "ข้อ ๓. ผมยังมองไม่ออกว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าจะมีผลต่อเรื่องนี้ยังไงครับ" นั้นเป็นการตอบข้อ 3. ในความเห็นที่ 31 ของคุณที่ว่า “ธนาคารพาณิชย์ซึ่งปัจจุบันเป็นของต่างชาติหมดแล้ว จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งค่าธรรมเนียมการฝากเงิน ค่ารักษาบัญชี(กรณีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว)จะเพิ่มมากขึ้น เรื่องดอกเบี้ยคงไม่ต้องพูดถึง เพราะปัจจุบันก็แย่อยู่แล้ว”

สำหรับที่ธรณีสงฆ์และที่ทรัพย์สินนั้น ผมยังไม่อยากพิจารณาในขณะนี้ ซึ่งเป็นขั้นเผยแผ่ให้รู้ถึงความยุติธรรมและผลดีของภาษีที่ดิน และผลดีของการเลิก/ลดภาษีอื่นๆ ขั้นนี้ก็คงนานอาจถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เมื่อเกิดจะใช้ระบบภาษีที่ดินขึ้นมา คนเดียวอย่างผมก็คิดอะไรเองไม่ไหวครับ ต้องแก้ปัญหารายละเอียดอีกมาก ซึ่งก็ต้องอาศัยกลไกของรัฐและท้องถิ่นนั่นละครับ รวมทั้งการเชิญหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญ

ขอบคุณที่อธิบายเรื่อง nominee ครับ แต่ผมก็ยังเห็นอยู่ว่า ถ้าต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ ในระบบภาษีที่ดินใหม่ เขาก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินที่จะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เพราะจะเสียภาษีที่ดินมากกว่าประโยชน์ที่จะได้ แล้วถึงตอนนั้นที่ดินก็หาได้ง่าย ราคาถูก เพราะไม่มีการเก็งกำไรแล้ว

เรื่องภาษีทุกชนิดมีที่มาที่ไปหรือคือมีเหตุผลดีนั้น ผมขอให้ลองดู //www.house.gov/jec/fiscal/tax/reduce2.htm ดังที่ตอบความเห็นที่ ๓๗ แล้ว

ที่คุณว่า “การที่เราอยู่ดีๆ จะไปยกเลิกภาษีทุกประเภทง่ายๆ ตามความคิดของคนที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยอย่างนาย Henry George ......ผมว่ามันไม่เหมาะกับยุคและสมัยครับ” นั้น ผมคิดว่าเท่าที่คุณอุตสาหะค้นคว้ามานี้ คุณน่าจะรู้ว่า George ศึกษาด้วยตนเองได้ดีแค่ไหน เขาตั้งคำจำกัดความในเรื่องเศรษฐศาสตร์ใหม่ให้ช้ดเจนไม่ซ้อนทับกัน เช่นคำว่า ทุน, ที่ดิน, ค่าเช่าที่ดิน, เศรษฐทรัพย์, การผลิต เขาโต้แย้งทฤษฎีประชากรกับเครื่องยังชีพของ Malthus ทฤษฎีกองทุนค่าแรงของ John Stuart Mill ตามที่ปรากฏในหนังสือ Progress and Poverty และศาสตราจารย์และด็อกเตอร์ ผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากก็สนับสนุน George เพราะเขาพิจารณาสาเหตุลงลึกถึงรากฐาน เสนอวิธีแก้ที่จะทำให้ได้ผลคือความเสมอภาค ความยุติธรรม ตามจุดประสงค์ของลัทธิสังคมนิยม แต่ไม่บั่นทอน ซ้ำกลับเสริมสร้างเสรีภาพ และจะทำให้ลัทธิทุนนิยมดีขึ้น กลายเป็นแรงงาน-ทุนนิยม ดูที่คำนำของผู้แปลใน “ความก้าวหน้ากับความยากจน” ก็ได้ ที่ //cepa.newschool.edu/het/profiles/george.htm ก็ได้ ที่ผมคิดว่าคุณก็คงดูแล้วอีกเหมือนกันคือหน้าแรกของ //www.askhenry.com และคงทราบแล้วว่ามีองค์การอยู่มากหลายที่ช่วยกันเผยแผ่ความคิดของ George อยู่

เรื่องความเหมาะกับยุคและสมัยนั้น คุณก็คงได้ดูบทความเรื่อง Progress and Poverty Today โดย Kris Feder, Ph.D., Professor of Economics, Bard College, Annandale-on-Hudson, NY (www.schalkenbach.org/library/federintro.html) ซึ่งผมแปลลงเว็บบอร์ดหลายแห่ง เช่นที่ //board.dserver.org/m/mbe11/00000450.html
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 23 ก.ค. 47 20:36:16 ]

ความคิดเห็นที่ 43
ในความเห็นที่ ๓๙ เรื่องไม่แตะต้องกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น ต้องดูต่อไปใน book8 ครับ บทที่ 2 วิธีทำให้เกิดสิทธิเท่าเทียมกันในที่ดิน หน้า 405 ซึ่งมีดังนี้

ข้าพเจ้าไม่เสนอให้ซื้อหรือริบกรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดิน กรณีแรกจะเป็นการไม่ยุติธรรม กรณีที่สองไม่เป็นสิ่งจำเป็น จงปล่อยให้บุคคลที่ยึดถือที่ดินอยู่ขณะนี้ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งที่เขาพอใจจะเรียกว่าที่ดิน “ของเขา” ต่อไปถ้าเขาต้องการ ปล่อยให้เขาเรียกมันต่อไปว่าเป็นที่ดิน “ของเขา” ปล่อยให้เขาซื้อขายและให้เป็นมรดกและทำพินัยกรรมยกให้กันได้ เราอาจจะปล่อยให้พวกเขาเก็บเปลือกไว้ได้โดยไม่มีอันตรายถ้าเราเอาเนื้อในออกมาแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องริบที่ดิน จำเป็นแต่เพียงจะต้องริบค่าเช่าเท่านั้น
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 23 ก.ค. 47 20:41:16 ]

ความคิดเห็นที่ 44
ในความเห็นที่ ๔๐ เรื่องบุหรี่ เหล้า สินค้าฟุ่มเฟือย ตอบไปแล้ว เรื่องสิ่งที่ก่อมลภาวะก็น่าจะทำให้ตรงจุดคือเก็บค่าที่ส่วนรวมหรือรัฐจะต้องใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาอย่างที่เรียกว่า Polluter Pays Principle ถ้าถือว่าควรเก็บเป็นภาษีก็น่าจะได้ แต่ควรให้รู้ว่านี่คือส่วนไหน

ผมมีบทความเรื่อง ภาษี – ระบบถ่ายเทเงินไปสู่เจ้าของที่ดิน อยู่ที่ //www.rimpingfunds.com/writing/Suthon/2.htm ซึ่งคุณจามรได้อนุเคราะห์นำขึ้นเว็บไว้ครับ การไม่เก็บภาษีที่ดินให้สูงพอ แต่กลับมาเก็บภาษีอื่นๆ นั่นละครับ คือการทำให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ไป ทั้งที่ภาษีและกิจกรรมของส่วนรวมไปทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น ซึ่งไปทำให้ที่ดินมีราคา/ค่าเช่าสูงขึ้น

คุณเห็นด้วยบางส่วนผมก็ขอบคุณครับ

คุณยืนยันได้ครับว่าควรเก็บภาษีการโอน/ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์.....จากผู้ขายที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่า 5 ปี เพราะคนเราต่างความเห็นกันได้

ครับ ผมเห็นด้วยที่คงไม่มีใครอยากปล่อยที่ดินไว้เฉยๆ แต่ก็ปรากฏอยู่แล้ว ว่าที่ดินที่มีเจ้าของถูกปล่อยรกร้างไว้มาก ซึ่งผมคิดว่าเป็นเพราะเขาคิดว่าทิ้งไว้เฉยๆ ก็ยังดี ราคามันคงจะขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ซื้อหากันไว้หรือหาทางเบียดบังที่ดินจำพวกป่าสงวน ฯลฯ ไว้เกินกว่าที่จะทำประโยชน์ได้ เพราะภาษีเรามันเอื้อต่อการนี้ครับ

ก็จริงอย่างคุณพูด มันผลักภาระได้ในระบบปัจจุบัน ซึ่งเก็บภาษีที่ดินน้อยไป แต่มันเป็นวิธีถ่ายเทความเสี่ยง ซึ่งผู้เช่าก็คงเห็นว่าถ้าให้เจ้าของที่ดินรับความเสี่ยงเอง เขาอาจต้องจ่ายค่าเช่าแพงมากก็ได้

ขอบคุณครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 23 ก.ค. 47 20:43:34 ]

ความคิดเห็นที่ 45
การได้ประโยชน์ของบุคคลอันมิใช่จากการลงแรงและการลงทุนของเขาควรเป็นเป้าหมายอันดับแรกที่ท้องถิ่นและรัฐจะเก็บภาษี ซึ่งมีดังนี้
ก. การได้เอกสิทธิ์และสัมปทานต่างๆ
ข. การนำทรัพยากรธรรมชาติขี้นมาใช้หมดเปลืองไป
ค. การได้สิทธิในที่ดิน ซึ่งได้ประโยชน์ดังนี้
๑. ความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินซึ่งทำให้ที่ดินมีราคา
๒. ประชากรเพิ่ม ราคาที่ดินก็สูงขึ้น
๓. เทคโนโลยีก้าวหน้า สามารถผลิตของกิน ของใช้ ของโชว์ ของเล่นคลายเครียดเพิ่มความสุขสนุกสำราญได้ประณีตพิสดารขึ้น (ล้วนต้องมาจาก “ที่ดิน” ทั้งสิ้น) ยิ่งเพิ่มความกระหายขึ้นสำหรับผู้มีโอกาสมีความสามารถ ราคาที่ดินก็สูงขึ้น
๔. เมื่อคนเราทำงานมากขึ้นเป็นการทั่วไป (รวมทั้งแม่บ้านออกทำงานด้วยจากเดิมที่พ่อบ้านทำงานคนเดียว) ก็เกิดผลเช่นเดียวกัน คือ ราคาที่ดินสูงขึ้น
๕. การมารวมกันเป็นชุมชนเมือง ประชากรหนาแน่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้การร่วมมือกันด้วยการแบ่งงานผลิตสินค้าและบริการแล้วเอามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเป็นไปโดยรวดเร็ว ที่ดินก็แพงขึ้น (ข้อนี้น่าจะเป็นเหตุให้ราคาที่ดินสูงขึ้นมากที่สุด)
๖. ราษฎรเสียภาษีให้รัฐเอาไปใช้ดูแลความสงบเรียบร้อยปลอดภัยไร้โจร คอยป้องกันอัคคีภัย สร้างถนน ท่อระบายน้ำเสีย มีพนักงานเก็บกวาด ตรวจตราป้องกันการก่อมลพิษ และบริการประชาชนด้านอื่นๆ อีก ก็ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นหรือแม้เพียงดำรงความน่าอยู่เดิมไว้ ราคาที่ดินก็สูงขึ้นหรือดำรงราคาเดิมอยู่ได้
๗. การเก็งกำไรสะสมที่ดินเป็นการทั่วไปก็ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 24 ก.ค. 47 08:38:04 ]

ความคิดเห็นที่ 46
คุณสุธน
ผมนับถือที่คนอายุนำหน้าด้วยเลข 7 แล้วยังมีความสนใจในการช่วยคิดพัฒนาบ้านเมือง

อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า ความคิดไม่ตรงกันไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ตรงกันข้าม

ผมยังมีภารกิจอื่นๆ อีกมากมาย จึงขอยุติความคิดเห็นในกระทู้นี้แต่เพียงเท่านี้เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านอื่นได้แสดงความคิดเห็นบ้าง
จากคุณ : academician - [ 24 ก.ค. 47 10:20:27 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 47
ขอบคุณครับ
ขอให้โชคดีมีสุขมากๆ ครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 24 ก.ค. 47 11:46:55 ]

ความคิดเห็นที่ 48
ขอบคุณครับ

ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ : ภาษีที่ดินความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตย
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2547 14:30 น.
//www.manager.co.th/weekly/ViewNews.aspx?NewsID=4737833143472
จากคุณ : academician - [ 24 ก.ค. 47 13:57:41 A:130.18.158.202 X: ]

ความคิดเห็นที่ 49
ขอบคุณครับ ผมเพิ่งตอบปัญหาเรื่องนี้ (พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับท้องถิ่นที่พยายามจะให้ใช้ต้นปี ๒๕๔๘) กับ“ข่าวการประชุม ครม.” ๓มิย๔๖ เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินของชาติ เมื่อ ๑๘ ก.ค.นี่เอง ที่
//webboard.nationgroup.com/swb/view.php?rid=6&tid=4635
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 24 ก.ค. 47 23:05:04 ]

ความคิดเห็นที่ 50
ถืงผมจะเป็น Landlord แต่ก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะแนวคิด Landlord ไม่ได้กระตุ้นให้ผมใช้สติปัญญาไปพัฒนาที่ดิน
เพราะคิดเสมอว่าเวลามันเจริญก็ค่อยขายออกไป แต่ระหว่างนั้นก็ไม่ได้คิดที่จะไปทำประโยชน์ใด ๆ เพราะที่ดินเป็นมรดกตกทอดมา และอยู่ไกลจากที่อยู่

และผมเห็นตามหมู่บ้าน บางทีจะมีบ้านร้างอยู่ประปราย ใครอยู่ได้ก็อยู่กันไป ลองนึกสภาพว่าถ้าบ้านคุณอยู่ติดกับบ้านร้างล่ะ ?

ปัญหานี้ก็น่าจะเกิดมาจากการเอาบ้านไปขอกู้เพื่อมาทำโครงการ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ควรเอาอสังมาค้ำโครงการ แต่ควรเอาตัวโปรเจ็คของโครงการนั้นเองที่มาค้ำ ก็คือออกแนวแปลงสินทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา สัมปทาน ให้เป็นทุน
ความเชื่อมั่นควรเกิดจากประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้ขอกู้ ไม่ใช่มูลค่าอสังหาที่ผู้ขอกู้มีอยู่

ตัวอย่างที่เห็นกันง่าย ๆ และดัง ๆ ก็มีอยู่ ที่ทักษิณมีสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่มูลค่ามหาศาลอยู่ในมือ แต่ไม่สามารถขอกู้ได้เพราะไม่มีอสังหามาค้ำ

ฟังดูแล้วตลกดี

จากคุณ : pt IP ADDRESS : 58.64.40.25 , [19/10/2006 , 03:20:23]


โดย: สุธน หิญ วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:23:07:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com