happy memories
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
22 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๙๗




ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี







ภาพจาก tuckonly.wordpress.com


"หลักเมือง ภูมิมหานครราชธานีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์”


วันที่ ๒๗ มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ ๑๐๓ ปีของกรมศิลปากร หน่วยงานหลักของรัฐที่ทำหน้าที่ทำนุบำรุง รักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์และสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนอย่างสง่างาม ซึ่งจัดงานวันสถาปนากันทุกปีณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่เราร็จักกันในอดีตว่าคือ วังหน้าของกรุงรัตนโกสินทร์ อาทิตย์นี้ขอตามหา ภูมิสถานสำคัญแห่งนี้ในอดีตว่า ก่อนจะเป็นพิพิธภัณฑสานแห่งชาติพระนครนั้นมีเรื่องราวอย่างไร วังหน้าแห่งนี้เดิมเรียกพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งอยู่ที่เขตพระนครกรุงเทพมหานคร ในอดีตเป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ผู้สถาปนานั้นคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ผู้ดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และโปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมมหาราชวังเมื่อพ.ศ.๒๓๒๕การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขึ้นไปจนถึงคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลจึงทำให้พระราชวังบวรสถานมงคลแห่งนี้กว้างขวางมาก






ต่อมาได้มีการตัดส่วนหน้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวงและถนน จึงเหลือหมู่ราชมณเฑียรและพระที่นั่งไว้ เมื่อแรกสร้างนั้นเป็นเครื่องไม้ทั้งสิ้น มีพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน เป็นท้องพระโรงที่ถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังหลวงอยุธยา หมู่พระราชมณเฑียรนั้น สร้างเป็นพระวิมาน๓ หลังเรียงติดกัน ได้แก่ พระที่นั่งวสันตพิมาน,พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ,พระที่นั่งพรหมเมศรังสรรค์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังพระวิมานนั้น สร้างเป็นพระราชมณเฑียรขวางตลอดแนวพระวิมานทั้งสามหลัง โดยด้านหน้าพระวิมานถัดจากพระที่นั่งวายุสถานอมเรศนั้น มุขหน้าเป็นท้องพระโรงหน้า เรียกว่า พระที่นั่งพรหมพักตร์ ส่วนมุขหลังเป็นท้องพระโรงหลัง โดยมี พระที่นั่งบูรพาภิมุข พระที่นั่งทักษิณาภิมุข พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข และพระที่นั่งอุตราภิมุข ล้อมรอบพระราชมณเฑียรทั้ง๔ด้าน โดยชื่อพระที่นั่งทั้งสี่องค์ นั้นมีขึ้นในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ





ท้องพระโรงวังหน้า



เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระราชวังบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๓๓๐เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่ได้อัญเชิญลงมาหลังจากเสด็จขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่บริเวณด้านเหนือของพระราชวังนั้น พระองค์ได้โปรดให้สร้าง "วัดหลวงชี" ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จำศีลของนางชีนามว่า นักนางแม้น เป็นมารดาของนักองอี ผู้เป็นพระธิดาในสมเด็จพระอุไทยราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นพระสนมเอกในพระองค์ด้วย พระองค์ทรงสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลด้วยความประณีต ด้วยตั้งพระราชหฤทัยว่า เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสวรรคต ถึงเวลาพระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติ จะเสด็จประทับอยู่พระราชวังบวรฯ ตามแบบอย่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่เสด็จลงมาอยู่วังหลวงครั้นเมื่อพระองค์ทรงพระประชวรใกล้สวรรคตนั้น พระองค์มีรับสั่งว่า พระราชมณเฑียรสถานได้ทรงสร้างไว้ใหญ่โตมากมายเป็นของประณีตบรรจง ประชวรมาช้านานไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นให้รอบคอบ จะใคร่ทอดพระเนตรให้สบายพระราชหฤทัย





พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในอดีต



ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้เชิญพระองค์ขึ้นทรงพระเสลี่ยงบรรทมพิงพระเขนยไปโดยรอบพระราชมณเฑียร การเสด็จในครั้งนั้นกล่าวกันว่า พระองค์ทรงรำพึงว่า "ของนี้อุตส่าห์ทำขึ้นด้วยความคิดและเรี่ยวแรงเป็นนักหนา หวังว่าจะได้อยู่ชมให้สบายนานๆ ก็ครั้งนี้จะไม่ได้อยู่แล้ว จะได้เห็นวันนี้เป็นที่สุด ต่อนี้ไปก็จะเป็นของท่านผู้อื่น"และมีความเล่าต่อว่าพระองค์ได้มีรับสั่งว่า "ของใหญ่ของโตดีดีของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุนให้แรง ก็สร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครมิใช่ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง ขอให้ผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข" ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงทำให้ต้องเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติและเป็นภูมิศักดิสิทธิ์แห่งศิลปวิทยาการของแผ่นดินจนทุกวันนี้





พระบรมรูปสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล





พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสมัยแรก





สนามหลวงกับด้านหน้าวังหน้า





หมู่ราชมณเฑียรวังหน้า



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com













สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการ
'หูท่ง เอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองปักกิ่ง'


พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ การประพันธ์ และการแปล ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นที่ประจักษ์ชัด ดังเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ และพระราชนิพนธ์แปลมากมาย ล่าสุดกับพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาจีนเรื่อง “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” เป็นพระราชนิพนธ์แปลประเภทนวนิยาย สะท้อนค่านิยมและคุณธรรมของโลกยุคเก่ากับโลกยุคใหม่ เป็นการเผยแพร่พระอัฉริยภาพให้เป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้น บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด จึงร่วมกับบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จัดนิทรรศการ “หูท่ง เอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองปักกิ่ง” ขึ้น ในการนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการ และทรงบรรยายแนะนำพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาจีนเรื่อง “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” โดยมีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ประธานกรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, นางสุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ตลอดจนคณะผู้บริหาร เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น ๑ สยามดิสคัฟเวอรี่






สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระกรุณาบรรยายแนะนำพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” ความว่า การที่เราศึกษาประเทศในประเทศหนึ่งนั้น นอกจากที่เราจะศึกษาได้จากหนังสือตำราที่มีผู้เขียนไว้ เอกสารชั้นต้นในด้านต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ วิธีที่เราจะศึกษาได้อีกด้านหนึ่งคือ จากวรรณกรรมที่เขียนไว้ในลักษณะนวนิยาย การอ่านนวนิยายนั้นก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับความจริงทีเดียว ทุก ๆ อย่างเกิดจากจินตนาการของผู้เขียน ที่อาจจะเอาเรื่องจริงมาเป็นแบ็กกราวด์ และอาจจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เรื่องนั้นน่าสนใจ เป็นไปตามที่ผู้เขียนต้องการ ผู้เขียนเป็นคนจีนคนหนึ่ง ทำให้เราได้เห็นคนจีน สังคมคนจีน ผ่านสายตาของคุณ ‘เถี่ยหนิง’ ซึ่งมีผลงานเป็นที่รู้จักทั่วประเทศและแปลมาแล้วหลายภาษา แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่แปลเป็นภาษาไทย






นอกจากเราจะได้เนื้อหาความเพลิดเพลินแล้ว เราจะได้อารมณ์ความรู้สึกของคนจีนกลุ่มหนึ่ง มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตและประเพณีของสังคมจีน ผู้เขียนใช้กลวิธีการประพันธ์ที่น่าสนใจ เพราะคนเล่าเรื่องคือ ‘ฉัน’ ไม่ระบุชื่อแซ่ รู้เพียงแต่เป็นพี่สาวที่สนิทสนมกับนางเอก ในฐานะผู้แปล ข้าพเจ้าก็พยายามไปเสาะหาสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในนวนิยาย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างถูกต้อง เช่น ลูกลิ้น เสาะหาจนพบว่าเป็นลูกบ๊วยชนิดหนึ่ง นำมาทำเป็นหวานเย็น หรือแชมพูไข่






สมเด็จพระเทพฯ ทรงบรรยายอีกว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเวลายาวยาวนานตั้งแต่สมัยที่จีนปฏิวัติวัฒนธรรม โดยตัวเอกของเรื่องอายุ ๑o ปี เป็นคนที่มีลักษณะพิเศษ คือเป็นคนดีที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่นึกถึงตนเอง ซึ่งอาจจะทำให้ตัวเขามีปัญหา เพราะคนที่ช่วยแต่คนอื่น เอาคนอื่นเป็นหลัก ก็มักจะถูกเอารัดเอาเปรียบบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ก็ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่เขาไม่เคยรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบเลย รู้สึกสบายใจ มีความสุขที่ทำให้ผู้อื่น ซึ่งก็เป็นแกนของเรื่อง จนกระทั่งเมื่อโตขึ้น ทำงานก็ใช้ได้ดี แต่ไม่โชคดีเรื่องความรักนัก เวลาที่คิดว่าจะได้รับความรักก็มีอันเป็นไปทุกกรณี โดยยุคหลังเป็นเรื่องสมัยใหม่ ที่คิดว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑o ปีที่ผ่านมา ซึ่งจีนเปิดประเทศ เป็นเหมือนประเทศทั่ว ๆ ไป คนที่มั่งมี เกิดมาร่ำรวย มีการศึกษาดี ก็จะถูกดูถูกจนกระทั่งตัวเองต้องอับอาย ส่วนคนที่หาเงินได้น้อยถือเป็นคนที่น่ายกย่องและได้รับความช่วยเหลือ เรื่องนี้ได้มีการให้ปัญญาชนได้ออกไปยังถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้เข้าใจความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างหนึ่งที่หลาย ๆ คนไม่มีโอกาส






"ในฉากนั้น เรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นในหูท่ง ซึ่งเป็นตรอกเล็ก ๆ สองข้างเป็นเรือน ๔ ด้านเตี้ย ๆ ต่อมาเป็นบ้านเมืองเจริญขึ้น ก็มีแรงดึงดูดที่คนจะเข้ามาในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะปักกิ่ง จำนวนคนมากขึ้นจึงมีการสร้างที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ต้องรื้อเรือนเตี้ย ๆ ออกไป สร้างตึกสูง เหมือนกับเรื่องที่ปรากฏในเรื่องนี้"


ทรงบรรยายอีกว่า ปัจจุบันก็ยังมีหูท่งที่เหลือไว้เป็นการอนุรักษ์ ผู้อาศัยอยู่ที่มีทั้งหูท่งคนรวยและหูท่งคนจน ซึ่งได้มีการปรับเป็นเขตการค้า เขตท่องเที่ยว มีการขายของแปลก ๆ ประหลาด ๆ มีของกินลักษณะเฉพาะร้านอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหูท่ง ให้พยายามไปและสั่งตรงมาจากปักกิ่ง






ภายหลังจากที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงบรรยายแนะนำพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” จบแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการ “หูท่ง เอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองปักกิ่ง” โดยทรงลงพระนามาภิไธยเป็นภาษาจีนที่หนังสือจำลองขนาดใหญ่ จากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นด้วยการจำลองตัวอย่างของหูท่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ได้ใช้หูท่งเป็นฉาก (หูท่ง คือคำเรียกถนนขนาดเล็ก และตรอก ซอย ในเมืองปักกิ่ง) การจำลองบรรยากาศร้านขายของชำซึ่งจำหน่ายสินค้าและอาหารต่าง ๆ ที่ได้มีการกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์แปล เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นและสัมผัสบรรยากาศในงานนี้ด้วย เช่น เสียวตู่ (xiaodu) ลักษณะคล้ายกุนเชียง, บ๊วยแดง, เครื่องกระป๋องต่าง ๆ, น้ำมัน, เกลือ, ซีอิ๊ว และจิ๊กโฉ่ว ขนมเปี๊ยะ และขนมจันอับ เป็นต้น






นางสุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งด้านอักษรศาสตร์ พระราชนิพนธ์แปลด้านวรรณกรรมจีนที่ทรงคุณค่าหลายเรื่องล้วนเป็นประจักษ์พยานแห่งพระอัจริยภาพด้านการประพันธ์และการแปล อีกทั้งพระราชนิพนธ์แปลเล่มล่าสุด เรื่อง “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” ของเถี่ยหนิง นักเขียนหญิงในแวดวงวรรณกรรมจีนร่วมสมัยใหม่ เป็นพระราชนิพนธ์แปลจากพระวิริยภาพอีกเล่มหนึ่ง ที่ผู้อ่านจะได้ซึมซาบทั้งอรรถรสความงามด้านภาษา และความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีของสังคมจีนยุคปัจจุบัน ผ่านเรื่องราวของตัวละครหลักนาม “ไป๋ต้าสิ่ง” ผู้มีชีวิตโลดแล่นอยู่ในหูท่งสายหนึ่ง อันเป็นชุมชนย่านตรอกซอยดั้งเดิมของกรุงปักกิ่ง ซึ่งกำลังถูกค่านิยมของสังคมสมัยใหม่รุกไล่ เฉกเช่นเดียวกับคุณธรรมของสังคมยุคเก่าที่ถูกท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพ้นพรรณนา เป็นเกียรติประวัติและสิริพิพัฒน์มงคลยิ่งที่สำนักพิมพ์จักเทิดทูนรำลึกไว้มิรู้ลืม.







ภาพและข้อมูลจากเวบ
mcot.net
thaipost.net














"เผยโฉมสุดยอดมหรสพสมโภช ๒๓๒ กรุงรัตนโกสินทร์”


ท่าทางการฟ้อนร่ายรำด้วยลีลาอันอ่อนช้อยของการแสดงโขน ละครนอก ลิเก หุ่นละครเล็ก และหุ่นกระบอก อันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติไทยที่รังสรรค์มาจากประเพณี วิถีชีวิต พิธีกรรมที่สืบทอดมายาวนาน พรั่งพร้อมด้วยความงดงาม มีเสน่ห์ และเอกลักษณ์โดดเด่น บ่งบอกให้รู้ว่านี่คือศิลปะการแสดงประจำชาติ คนไทยและคนต่างชาติจะได้สัมผัสศิลปะการแสดงทั้งหมดนี้ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)


บรรยากาศมหรสพสมโภชแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์จะเต็มไปด้วยความรื่นเริงอีกครั้งเมื่อย่างเข้าสู่ท้องสนามหลวง สถานที่ที่มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ รวมถึงพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน ดร.ปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ๒๓๒ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ วธ.ได้ร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” เพื่อย้อนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ และทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕


"งานน้อมรำลึกถึงองค์พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี ในปีนี้จะร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทรงเป็นองค์วิศิษฏศิลปิน โดยมีความพิเศษกว่าทุกปี เนื่องจาก วธ.ได้จัดเตรียมสุดยอดการแสดงที่เป็นศิลปะการแสดงของไทย โดยนำทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้าใจให้กับคนในชาติด้วยเทคนิคที่ทันสมัย เน้น แสง สี เสียง อย่างสวยงามอลังการ จะให้ส่องสว่างไปทั่วท้องฟ้ากลางท้องสนามหลวง" ปลัด วธ.กล่าว


ด้าน อาจารย์นิภา โสภาสัมฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพราะได้จัดสุดยอดของการแสดงมาร่วมเฉลิมฉลอง ๒๓๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์สนองงานสำคัญของสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ปีนี้เตรียมของขวัญพิเศษด้วยการแสดงที่สื่อความเป็นมรดกของชาติเพื่อสร้างความสุขให้กับผู้ชม ด้วยนักแสดงกว่า ๓oo คน อาทิ ละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า สุดยอดวรรณคดีไทยที่มีเรื่องราวสนุกสนาน และสร้างเสียงหัวเราะทุกครั้งที่รับชม จากตัวละครเด่นคือ “นางแก้วหน้าม้า” ที่มีฟันเหยิน และหน้าตาที่สุดแสนจะอัปลักษณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดนเด่น เนื้อเรื่องก็น่าสนใจและแฝงด้วยข้อคิดเรื่องการไม่มองคนเพียงแค่รูปร่างหน้าตา แต่ให้มองคนที่จิตใจจะนำมาแสดงเพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งการร้องและการรำ รับรองว่าชมแล้วต้องเป็นที่ชื่นชอบอย่างแน่นอน


นอกจากละครนอกแล้ว อาจารย์นิภาให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า มีชุดการแสดงอีกหลากหลาย ทั้งการแสดงแสงเงาและสื่อผสม “ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์” การแสดงชุดภิรมย์รำเพย สมัยรัชกาลที่ ๕ มหรสพตั้งแต่ยุครัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙ การแสดงโขน รวมถึงการแสดงลิเกคณะไชยา มิตรชัย หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก เพลงพื้นบ้าน วงดนตรีลูกทุ่งชิงช้าสวรรค์ การแสดงของสภาวัฒนธรรม กทม. การแสดงศิลปะเพื่อเยาวชน ๔ ภาค หากใครชื่นชอบฟังดนตรีเตรียมชมคอนเสิร์ตทั้งจากศิลปินแห่งชาติ สุนทราภรณ์ และศิลปินเดอะสตาร์ จึงอยากเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนคนไทย อุ้มลูก จูงหลาน พาพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ให้เข้ามาร่วมงานฉลองพระนครครั้งนี้


ด้าน วราพรรณ แสงทิพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ คณะศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป บอกว่า เป็นอีกความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมงานครั้งนี้ ตนเองร่วมแสดงชุดระบำไทยพระราชนิยมเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของชุดไทยพระราชนิยมแบบต่าง ๆ ที่มีความงดงามและมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ฉลองพระองค์เป็นแบบอย่างในโอกาสงานสำคัญ


"รู้สึกปลื้มปีติและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการงานมหรสพสมโภช ๒๓๒ รัตนโกสินทร์ ฝากให้คนไทยช่วยกันสนับสนุน รักษาและสืบทอดศิลปะการแสดงที่เป็นสมบัติของชาติให้คงอยู่อย่างยาวนาน และขอเชิญชวนให้มาเที่ยวงานนี้กันเยอะ ๆ" นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกล่าว


อรรถรสจากการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งนี้ ยังมีชุดการแสดงนานาชาติสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์จาก ๔ ประเทศ ทั้งจีน อินโดนีเซีย อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมประจำชาติต่าง ๆ ผ่านท่ารำและเสียงดนตรี เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย


ภายในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยอันดีงาม และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้จากอดีตจนถึงปัจจุบันมาจัดแสดง ได้แก่ ริ้วขบวนและวัฒนธรรม ๙ ยุค ๙ รัชกาล รถขบวนโบราณ ๒o คัน วงดุริยางค์ทหารบกเต็มวง ขบวนรถอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ ๙ รัชกาล ประกวดกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์


สนามหลวงกับว่าวเหมือนของคู่กัน ในงานจึงมีการละเล่นว่าวกีฬาพื้นบ้านของไทย ตลอดจนชวนประชาชนท่องเที่ยวเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ทั้งทางบกและทางน้ำ หรือจะไปเพลิดเพลินกับนิทรรศการและการสาธิตของดีบ้านฉัน ทั้งส่วนของกรุงเทพฯ และ ๗๖ จังหวัด อาทิ อาหารพื้นบ้าน การแสดงพื้นเมือง ประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนการแสดงแบบผ้าไทยและเครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์มีอย่างครบครัน เพื่อเพิ่มสีสันและสร้างบรรยากาศภายในงานด้วย


สนใจร่วมหวนรำลึกถึงวันวานของกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีต พร้อมกับตื่นตาตื่นใจกับสุดยอดการแสดง สัมผัสเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติไปด้วยกันในวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน ระหว่างเวลา o๙.oo-๒๒.oo น. ที่ท้องสนามหลวง รอบเกาะรัตนโกสินทร์.






ภาพและข้อมูลจากเวบ
thaipost.net
เฟซบุคกรมศิลปกร














นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ ๓ “บ้านเรา”


นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ ๓ หัวข้อ “บ้านเรา” โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของศิลปินที่มีความสามารถทางศิลปะอันโดดเด่น ในรูปแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative) โดยแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ไม่จำกัดเทคนิคและวัสดุ กระบวนการสร้างสรรค์ หรือรูปแบบของผลงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินได้แสดงออกถึงทักษะและแนวความคิดได้โดยอิสระ โดยมีรางวัลสูงสุด คือรางวัลช้างเผือก ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล ๑,ooo,ooo บาท และรางวัลอื่น ๆ รวม ๑๙ รางวัล พร้อมผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงรวมกว่า ๕o ผลงาน โดยผ่านการคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราจารย์กำจร สุนพงษ์ศรี,ศาสตราจารย์สันติ เล็กสุขุม, ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง, คุณบุญชัย เบญจรงคกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง, อาจารย์นิติกร กรัยวิเชียร และ รองศาสตราจารย์อริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์



ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com














"ประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ ๓๖”


มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ขอเชิญศิลปินร่วมส่งภาพจิตรกรรมเข้าร่วมการประกวด "จิตรกรรมบัวหลวง" ครั้งที่ ๓๖ ประจำปี ๒๕๕๗ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๑,ooo,ooo บาท พร้อมทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะต่างประเทศ และเหรียญรางวัล

หลักเกณฑ์ในการส่งผลงานเข้าประกวด

งานจิตรกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องมีลักษณะโดยรวมเป็น ๒ มิติ มีขนาดผลงานไม่เกิน ๑๕o x ๒oo ซม. และติดอุปกรณ์ให้เรียบร้อย พร้อมที่จะแสดงในงานนิทรรศการได้
สามารถส่งผลงานเข้าประกวดคนละไม่เกิน ๓ ภาพ โดยผลงานนั้นต้องไม่เคยเข้าประกวดที่ใดมาก่อน

แนบประวัติส่วนตัวพร้อมชื่อ-ที่อยู่ของผู้ส่งผลงาน รวมทั้งกรอกรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงานจิตรกรรมลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ ติดไว้ด้านหลังของงานที่ส่งเข้าประกวด
เวลาและสถานที่ในการส่งผลงานเข้าประกวด

ส่งผลงานระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๔ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๙.oo – ๑๖.oo น. ณ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม ชั้น ๒๙
สอบถามได้ที่ โทร. (๖๖) o-๒๒๓o-๒๕๖o หรือ (๖๖) o-๒๒๓o-๒๕๖๒

คัดเลือกและตัดสินผลงานในวันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗

โดยจะประกาศผลการตัดสินทางเว็บไซต์ธนาคาร //www.bangkokbank.com และเว็บไซต์หอศิลป์ฯ //www.queengallery.org

พิธีมอบรางวัลและงานนิทรรศการประมาณเดือนสิงหาคม – กันยายน ๒๕๕๗ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติพระบรมราชินีนาถ ถ.ราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ


คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินรางวัล

คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ประธานกรรมการ
นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ กรรมการ
นายถวัลย์ ดัชนี กรรมการ
ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง กรรมการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี กรรมการ
นายประเทือง เอมเจริญ กรรมการ
ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ กรรมการ
นายธงชัย รักปทุม กรรมการ
นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กรรมการ
ศาสตราจารย์เดชา วราชุน กรรมการ
นายปัญญา วิจินธนสาร กรรมการ
นายอภิชาต รมยะรูป เลขานุการคณะกรรมการ
นายพยงค์ คชาลัย ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ
นายวีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ
รางวัล

ประเภทจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
รางวัลที่ ๓ เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท


ประเภทจิตรกรรมไทยแนวประเพณี
รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
รางวัลที่ ๓ เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท


ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัย
รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
รางวัลที่ ๓3 เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท


หมายเหตุ:

คำตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินรางวัลสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาที่จะเพิ่มหรืองดรางวัลใดก็ได้ตามแต่เห็นสมควร

งานจิตรกรรมที่ได้รับรางวัลทุกประเภทเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ และมูลนิธิฯ มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงาน

ขอรับผลงานคืนได้ที่ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม ชั้น ๒๙ โดยติดต่อขอรับผลงานที่ไม่ได้ร่วมแสดงนิทรรศการคืนได้ตั้งแต่วันที่ ๒ - ๓o มิถุนายน ๒๕๕๗ โทรศัพท์นัดหมายล่วงหน้าได้ที่ (๖๖) o-๒๒๓o-๒๕๖o หรือ (๖๖) o-๒๒๓o-๒๕๖๒ หากไม่มารับผลงานคืนภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่าเจ้าของผลงานสละสิทธิ์ในการรับผลงานคืน และยินดีมอบผลงานให้ มูลนิธิฯ ดำเนินการตามเห็นสมควร สำหรับผลงานที่ได้ร่วมแสดง ทางมูลนิธิจะแจ้งให้ทราบภายหลังเมื่อจบนิทรรศการจิตรกรรมสัญจร



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














"ประกวดงานศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ปีนี้ครั้งที่ ๓๑”


มหาวิทยาลัยศิลปกร ขอเชิญเยาวชนไทย ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดงานศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ปีนี้ครั้งที่ ๓๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ชิงรางวัลมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๕oo,ooo บาท พร้อมเหรียญ "ศิลป์ พีระศรี"


ประเภทผลงานศิลปกรรม
ผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ ที่มีความคิดและเทคนิคอิสระ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม หรือทัศนศิลป์อื่นๆ


ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าแสดง

เยาวชนสัญชาติไทย
เยาวชนต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า ๒ ปี
อายุระหว่าง ๑๖-๒๕ ปี
กำหนดเวลา

ส่งผลงาน วันที่ ๑- ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗
ตัดสินผลงาน ๑o พฤษภาคม ๒๕๕๗
ประกาศผลการตัดสิน ๒o พฤษภาคม ๒๕๕๗
การแสดงนิทรรศการ ๑ - ๒o สิงหาคม ๒๕๕๗

ส่งผลงานที่
หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














"นิทานคุณหนูและศิลปะประดิษฐ์สัญจร ครั้งที่ ๒ ”


กิจกรรม 'นิทานคุณหนูและศิลปะประดิษฐ์' สัญจร ครั้งที่ ๒ โดย ห้องสมุดศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในบ่าย ๒๖ เมษายนนี้ ยกขบวนไปที่ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เขตบางรัก พร้อมกับนิทานอาเซียนเรื่อง 'กระจงน้อยกับจระเข้'


ว่าด้วยเรื่องราวของลูกกระจงน้อยแสนฉลาดอาศัยอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง วันหนึ่งลูกกระจงน้อยมองเห็นผลไม้น่ากินที่อีกฝั่งแม่น้ำ จึงอยากจะข้ามแม่น้ำไปเพื่อหาผลไม้กิน แต่ว่าในแม่น้ำนั้นมีจระเข้ตัวใหญ่ตัวหนึ่งคอยจ้องจะจับลูกกระจงน้อยกินเป็นอาหาร


ลูกกระจงน้อยจะคิดแผนข้ามแม่น้ำได้สำเร็จหรือไม่ ติดตามได้ตั้งแต่ ๑๔.oo น.เป็นต้นไป สอบถาม โทร. o-๒๒๑๔-๖๖๓o-๘ ต่อ ๑๒๖ และ ๑๒๗



ภาพและข้อมูลจากเวบ
nationweekend.com














"ศิลปะแห่งสถาปัตยกรรม”


นิทรรศการ‘ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์: ศิลปะแห่งสถาปัตยกรรม’ จะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน จนถึงวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นนิทรรศการสัญจรครั้งแรกในเมืองไทยที่จะมีการแสดงผลงานโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายมากที่สุดของบริษัทที่ได้รับการกล่าวขวัญยกย่องอย่างสูงหลังการจัดแสดงที่ประเทศจีนและมาเลเซียมาแล้ว


นิทรรศการครั้งนี้จะนำเสนอเนื้อหาการออกแบบก่อสร้างภายใต้หัวข้อโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสูงระฟ้า ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้งหมดเป็นการออกแบบในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน จากผลงานที่นำมาแสดงจะเห็นได้ว่าบริษัทได้ทำการออกแบบสถาปัตยกรรมมากมายหลายโครงการ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สำคัญๆ อาทิ สะพานมีโย (Millau Viaduct) ในฝรั่งเศส หนึ่งในสะพานรถวิ่งข้ามหุบเขาที่สูงที่สุดในโลก และอาคารสูงระฟ้าระบบนิเวศ 30 St Mary Axe หรือที่เรียกกันว่า‘เกอร์คิน (Gherkin) และอาคารสนามบินนานาชาติปักกิ่ง หนึ่งในอาคารใหญ่ที่สุดในโลก


ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การออกแบบเชิงบูรณาการอันเป็นกระบวนการออกแบบร่วมกันโดยทีมงานสถาปนิก วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญในบริษัทที่ทำงานเคียงข้างกันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ต้นจนจบ และหลักการออกแบบตามแนวทางความยั่งยืนอันเป็นรากฐานที่สำคัญของทุกโครงการ และการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ในกระบวนการออกแบบ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนโฉมการทำงานของนักออกแบบในปัจจุบัน แต่การเขียนแบบและการสร้างแบบจำลองยังคงมีบทบาทที่สำคัญอยู่ นิทรรศการ ‘ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์: ศิลปแห่งสถาปัตยกรรม’ จะนำเสนอกระบวนการออกแบบที่สำนักงานของบริษัท เพื่อให้ผู้ชมได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนการทำงานผ่านทางภาพสเก็ตช์ แบบจำลอง ภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหว และชิ้นงานแสดงพิเศษ เริ่มตั้งแต่การนัดพบพูดคุยกับลูกค้าไปจนถึงการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ และการวิจัยเพื่อประเมินอาคารภายหลังการเข้าครอบครองพื้นที่


เดวิด เนลสัน พาร์ทเนอร์อาวุโสและหัวหน้าฝ่ายออกแบบของบริษัทฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ได้กล่าวชี้แจงว่า “เรายึดถือแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบ และเชื่อว่าสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดเกิดจากการสร้างความสมดุลระหว่างของเก่ากับของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเมืองเก่า หรือการสร้างสรรค์ชุมชนใหม่ที่ยั่งยืน” เขากล่าวต่อไปว่า “โครงการต่างๆ ที่นำมาแสดงจะช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานของเราที่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลกในช่วง ๔o ปีที่ผ่านมา และถึงแม้ว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เรายังคงยึดมั่นคุณค่าดั้งเดิมอันเป็นรากฐานในการออกแบบของเราอยู่เสมอในทุกๆ โครงการ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก คุณภาพเป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งสำหรับเรา” เดวิดกล่าวปิดท้ายว่า ”นิทรรศการครั้งนี้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของทีมงานฝ่ายต่างๆ ในบริษัท – และทำให้รู้ว่าในเรื่องของนวัตกรรมและการออกแบบ แนวคิดแบบบูรณาการได้สร้างความแตกต่างให้กับฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์อย่างไร”


ในช่วงการแสดงนิทรรศการ ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ แม็กโนเลียและเพอมาสตีลลิซา ได้วางแผนที่จะจัดงานส่งเสริมการศึกษาควบคู่ติดต่อกันไป โดยความร่วมมือกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ บริติช เคานซิล และคณะสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการบรรยายพิเศษจากเดวิด เนลสัน พาร์เนอร์อาวุโสและหัวหน้าฝ่ายการออกแบบของฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ ผู้ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชสถาบันสถาปนิกอังกฤษ (RIBA) จะมาแบ่งปันความคิดในการออกแบบ ’แบบบูรณาการ’ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นที่จะมาร่วมบรรยายพิเศษได้แก่ Toby Blunt สถาปนิกและพาร์ทเนอร์จากบริษัทจะมาบรรยายเกี่ยวกับหัวข้อการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังยืน และ สรรพล ศรกุล สถาปนิกและแอสโซซิเอทจะมาพูดเรื่อง ‘การออกแบบเมืองที่ดีขึ้น’



ภาพและข้อมูลจากเวบ
เฟซบุคนิทรรศการ














"นิทรรศการผลงานคณาจารย์ สาขาวิชาออกแบบอุสาหกรรม
คณะสถาปัตยกรรมมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นล”


นิทรรศการผลงานคณาจารย์ สาขาวิชาออกแบบอุสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒o - ๓o เมษายน ๒๕๕๗ และจะมีพิธีเปิดในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๗ กวลา ๑๗.oo น. ณ หอศิลป์ต้นตาล : TonTann ArtSpace and Gallery



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














"Moscow Attitude”


ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมอยู่กรุงเทพ ทำให้ผมระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับเมืองที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดี ผมเติบโตขึ้นมาในกรุงโตเกียวในช่วง ค.ศ. ๑๙๘o เป็นช่วงเวลาสำคัญที่มีการคิดถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น


หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา ช่วงครึ่งปีหลังของค.ศ. ๑๙๘o ได้มีการจารึกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นยุคใหม่ เมื่อวัยรุ่นในโตเกียวริเริ่มคิดค้นสไตล์ของตัวเองที่ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและอเมริกันเข้าด้วยกัน พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ของวัยรุ่นเหล่านี้ทำให้กรุงโตเกียวมีสีสัน ซึ่งเห็นเด่นชัดในสังคมวัตถุนิยมที่แฟชั่นและศิลปะได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกัน มันสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการอันลึกซึ้งของการเปลี่ยนมุมมองทางสังคม สิ่งที่ตามมาคือ คนรุ่นหลังได้พัฒนากระแสใหม่ ๆ ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง






กรุงมอสโกก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่ผมคิดถึง ผมใช้เวลาหลายปีที่นั่น และมีความรู้สึกพิเศษที่เกิดขึ้นผ่านกลุ่มเด็กวัยรุ่นบนท้องถนนของกรุงมอสโก มันทำให้ผมรู้สึกหลงใหล และนึกไปถึงกรุงโตเกียวยุค ๘o ที่เด็กวัยรุ่นญี่ปุ่นถูกเลี้ยงดูภายใต้กฎระเบียบที่ครอบครัววางไว้อย่างเคร่งครัด ในขณะที่วัยรุ่นในมอสโกเติบโตด้วยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมของรัสเซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งค่อย ๆ พัฒนาจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมสร้างผลงานศิลปะภาพถ่ายของวัยรุ่นในกรุงมอสโกที่ผมได้พบเห็นมา


คล้ายๆ กันกับกรุงมอสโก กรุงเทพในปัจจุบันมีกลิ่นอายของ ค.ศ. ๑๙๘o ผมมองว่าวัยรุ่นในกรุงเทพได้รับอิทธิพลจากอเมริกันและญี่ปุ่นเป็นจุดที่พวกเขาจะแสดงมุมมองและรูปแบบของตัวเองออกมา พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเอง และมีแรงผลักดัน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาค่านิยมแบบเก่าไว้ได้ ผมยังมองเห็นช่วงเวลาเก่า ๆ ที่ดีในเมืองไทย แต่ในกรุงโตเกียวนั้นอยู่ในจุดที่เศรษฐกิจได้พัฒนาไปถึงช่วงที่วัฒนธรรมเก่า ๆ ได้สูญหายไปแล้ว






ผมวางตัวเองไว้ระหว่างกรุงเทพและกรุงมอสโก สองเมืองนี้ทำให้ความทรงจำของผมหวนย้อนไปถึงโตเกียวใน ค.ศ. ๑๙๘o ผมเน้นประเด็นไปที่กลุ่มวัยรุ่น มุมมองและทัศนคติของพวกเขาเปรียบเสมือนการเชื่อมต่ออดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสามารถสะท้อนภาพทิศทางของอนาคตได้


นิทรรศการ : ภาพถ่าย Moscow Attitude
ศิลปิน : เคนโกะ โอทาเขะ
วันที่ : ๒ เมษายน – ๓o เมษายน ๒๕๕๗
สถานที่ : ผนังโค้ง ชั้น ๓ – ๔ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสำนักงานหอศิลปกรุงเทพฯ : o๒-๒๑๔-๖๖๓o–๘



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














"เสียงเพรียกจากขุนเขา”


เรื่องของความรักระหว่างหม้ายสาวทามิโกะ กับชายแปลกหน้าชื่อโคซากุ ชายผู้นี้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานในฟาร์มของเธอ และต่อมาได้สารภาพว่าเขาได้ฆ่าชายคนหนึ่งเนื่องจากชายผู้นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ภรรยาของเขาฆ่าตัวตาย ทามิโอะตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการรอคอยการกลับมาของเขาหลังจากที่เขารับโทษเป็นเวลาสี่ปี


วันและเวลา : ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๓o น.
สถานที่ : ห้องสัมมนา เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ















ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com














"กราฟิก พาสปอร์ท อิน แบงคอก”


พบกับตัวแทนพลังสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อน “โตเกียว” มหานครที่รุดหน้าอย่างไม่หยุดยั้งด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคและการหลอมรวมทางวัฒนธรรม และกรุงเทพฯ เมืองที่อุตสาหกรรมออกแบบกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยอัตลักษณ์ที่แตกต่างอย่างท้าทาย ในงาน Graphic Passport in Bangkok โดย TCDC, นิตยสารด้านการออกแบบสื่อสาร +81 และ Japan Foundation Bangkok เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสในการเชื่อมโยงโลกด้วยความคิดสร้างสรรค์


• Symposium
๒๖ เมษายน ๒๕๕๗, ๙.๓o – ๑๙.oo, ห้องนิทรรศการ ๒ TCDC
๖ นักออกแบบชั้นนำ ในแวดวงกราฟิกดีไซน์ ภาพถ่าย เทคโนโลยีและอินเตอร์แอคทีฟดีไซน์ จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิด "HI-FI DESIGN" ในหลากแง่มุมที่กว้างกว่าความเป็นแอนะล็อกและดิจิตอล พร้อมบอกเล่าแรงบันดาลใจ ที่มา และกระบวนการทำงานสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเด่น ตลอดจนถ่ายทอดสไตล์การออกแบบและแนวคิดที่แตกต่างของดีไซเนอร์ญี่ปุ่นและไทย


o Rhizomatiks
Satoshi Horii จาก Rhizomatiks
ศิลปินด้าน Visual Art และโปรแกรมเมอร์จากสตูดิโอออกแบบ Rhizomatiks ผู้ออกแบบโปรแกรมแนว Dynamic Computerized ที่ใช้สร้างผลงานอินเตอร์แอคทีฟน่าทึ่ง จนได้ไปจัดแสดงที่เมืองคานส์


วันและเวลา : ๒๖ เมษายน - ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗
-
สถานที่ : ทีซีดีซี ศูยน์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ชั้น ๖



ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com














นิทรรศการภาพถ่าย หัวข้อ "งดงามตามวิถีโลก"


เครือข่ายคณบดีและหัวหน้าภาควิชาทางด้านนิเทศศาสตร์และสื่อมวลชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุนทรียภาพในการดำรงอยู่ร่วมกันของมวลมนุษยชาติโดยมิติของความงามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อาจจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของประเพณี วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนสภาพทางธรรมชาติที่เอื่อให้โลกใบนี้เป็นที่น่าอยู่สำหรับสิ่งมีชีวิต อีกทั้งตระหนักว่าภาพถ่ายเป็นสื่อที่ทรงพลังในการเล่าเรื่องราวที่เปี่ยมด้วยสาระและสุนทรียภาพ จึงได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายหัวข้อ “งดงามตามวิถีโลก” โดยนำเสนอมิติมุมมองทางประเพณี ศิปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภูมิศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิต ที่สะท้อนถึงความงดงามของโลก ที่เราทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ เพื่อให้ความงามเหล่านี้คงอยู่ไปถึงคนรุ่นใหม่


นิทรรศการภาพถ่าย Beautiful World ‘งดงามตามวิถีโลก’


เพราะเชื่อว่า “บนโลกใบนี้มีอีกหลายสรรพสิ่งที่งดงามและรอคอยการค้นหา ” เครือข่ายนิเทศศาตร์ได้ตระหนักถึงคาวมสำคัญของการอยู่ร่วมกันบนโลกที่สวยงาม เปี่ยมด้วยหัวใจที่เป็นสุขของมวลมนุษยชาติ ทั้งยังตระหนักว่าภาพถ่ายเป็นสื่อที่ทรงพลังในการเล่าเรื่องที่ให้ทั้งสาระและสุนทรียภาพ เครือข่ายฯ จึงได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายในหัวข้อ งดงามตามวิถีโลก โดยนำเสนอในมิติมุมมองที่สื่อความหมายถึงความงามของธรรมชาติและมนุษยชาติจากทั่วโลก ถ่ายทอด อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และจินตนาการผ่านเลนส์เพื่อส่งต่อความงดงามในจิตใจไปยังสังคม เครือข่ายฯ ตระหนักว่าพลังแห่งความรักและความสุขที่ถูกถ่ายทอดผ่านทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จะสร้างรอยยิ้มไปสู่คนทั้งโลกและจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติต่อไป


วันและเวลา : ๒๒-๒๔ เมษายน ๒๕๕๗
สถานที่ : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร



ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com














"นิทรรศการ PLAY”


นิทรรศการ PLAY ผลงานจิตรกรรมโดยธวัชชัย สมคง (Tawatchai Somkong) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒๑ เมษายน - ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และจะมีพิธีเปิดในวันจันทร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๓o น. ณ ARDEL Gallery of Modern Art : หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล


นิทรรศการ PLAY นำเสนอผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยมีต้นแบบจากหน้าปกนิตยสาร PLAYBOY ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งเด่นเรื่องจุดยืนของบรรณาธิการที่เป็นอิสระ (Liberal editorial stance) ในยุคต้นทศวรรษ ๑๙๖o ภายในนิทรรศการนอกจากจะมีการแสดงผลงานจิตรกรรมของธวัชชัย สมคง แล้ว ยังเปิดพื้นที่ให้ศิลปินรับเชิญ ร่วมสร้างสรรค์ผลงานผ่านมุมมองที่มีต่อธวัชชัย ในฐานะบรรณาธิการนิตยสาร PLAY มีการรวบรวมภาพกิจกรรม รวมถึงบทความจากนักเขียนรับเชิญเพื่อสร้างเป็นนิตยสารจำลอง ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์แบบทดลองทางศิลปะด้วย


พิเศษ! ร่วมถ่ายรูปคู่กับนางแบบสุดเซ็กซี่ในวันเปิดงาน
จันทร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๓o น.
ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล (ถนนบรมราชชนนี)















ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ




บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




Create Date : 22 เมษายน 2557
Last Update : 22 เมษายน 2557 22:04:46 น. 0 comments
Counter : 2326 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.