Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ยุวชนคนเกษตร ..เรียนฟรี ได้พัฒนาตน ได้เครือข่าย เรียนจบแล้วทำงานได้



"...มากกว่า ได้โอกาสได้เรียนต่อ คือโอกาสในการ พัฒนาตน ฝึกฝนจากการ ลงมือทำ สร้างทักษะผู้นำ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน..."

เปิดรับนักเรียน ศึกษาต่อ โครงการยุวชนคนเกษตร
หลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่
มุ่งเน้นการปฏิบัติ รู้ลึก รู้จริง ทำจริง ครบวงจรเกษตร ทั้งเรื่องพืช ผลไม้ สัตว์ ประมง เทคโนโลยีการเกษตร และธุรกิจการเกษตร

ขอเพียงผู้สมัครมีความตั้งใจจริง มีความซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย และพร้อมจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรกรรม พัฒนาตนเอง และเติบโตไปพัฒนาชุมชนหรือสังคมต่อไป...

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ #ยุวชนคนเกษตร

น้องๆ คนไหนสนใจอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุวชนคนเกษตร สามารถทำได้ง่ายๆ...

 1. อ่านข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ ที่เว็บไซต์ ยุวชนคนเกษตร
(พิมพ์ //www.ยุวชนคนเกษตร.com หรือคลิก https://www.xn--12cfr0crb3do3az2n3d.com/ )

เข้าไปที่เมนู  “รายละเอียดของโครงการ และ คำถามที่พบบ่อย”
และกดติดตามแฟนเพจ  ยุวชนคนเกษตร

2.ชมVDO Re-play Open House 👇https://fb.watch/aueF_f02Wv/
รายละเอียดโครงการแบบจัดเต็ม ในรายการ “บ่ายนี้มีคำตอบ” ตอน สร้างผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ "ยุวชนคนเกษตร"   https://fb.watch/aDbTnbdGBk/

3. กรอกใบสมัคร ได้ที่เว็บไซต์ "ยุวชนคนเกษตร"

4. รอนัดสัมภาษณ์

เพียงทำตามขั้นตอนนี้ น้องๆ ก็จะได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการยุวชนคนเกษตรแล้วนะคะ 🥰🥰

“สร้างคนดี คิดเป็น ทำเป็น”
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
 ที่มาโครงการ: https://fb.watch/6vXokOej2j/
☎️ สนใจสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณต่าย โทร. 092-452-0499

#ยุวชนคนเกษตร
https://www.facebook.com/Empirical.learning.Essence.of.life/posts/336968628430527

#มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
https://www.facebook.com/BCLgroup
https://www.bcl.or.th/




......................................................






บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

โครงการ ยุวชนคนเกษตร
" มากกว่า ได้โอกาสเรียนต่อ คือโอกาสในการพัฒนาตนฝึกฝนจากการลงมือทำ สร้างทักษะผู้นำ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน "
 
1. การกำหนดภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
    ใช้ตามปฏิทินการศึกษาของสถาบันการศึกษาที่มีความร่วมมือกับโครงการ ​​ตลอดระยะเวลาการศึกษา นักศึกษาจะต้องพักอาศัยในศูนย์การเรียนรู้ที่ทางโครงการกำหนดให้ สามารถลากลับบ้านได้ โดยนักศึกษาปี 1 ลาได้ปีละ 1 ครั้ง นักศึกษาปี 2 - 3 ลาได้ปีละ 2 ครั้ง (ให้นอนค้างที่บ้านได้ครั้งละ 2 คืน ไม่รวมเวลาเดินทาง)
    เนื่องจากเป็นหลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ มุ่งเน้นการปฏิบัติ รู้ลึก รู้จริง ทำจริง ครบวงจรเกษตร เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเสมือนชีวิตจริงของเกษตรกรที่จะต้องดูแลพืชและสัตว์ อย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีการปิดเทอม ไม่มีวันหยุด (จะมีวันพักผ่อนที่มีกิจกรรมการเกษตรบ้างอาทิตย์ละ 1 วัน)
​​
2. กำหนดการสำหรับการเรียน และภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
    กระบวนการเรียนรู้แบบการใช้กิจกรรมปฏิบัติ (Active Learning) และการโค้ช (Coaching) โดยใช้เวลาเรียนรู้ พัฒนาทักษะจากการปฏิบัติจริงประมาณ 80% และเรียนรู้พัฒนาโดยผ่านกระบวนการอื่นๆ 20% เช่น การเยี่ยมชมดูงาน การทำเวิร์กชอป การเรียนในห้องเรียน การสะท้อนการเรียนรู้ เป็นต้น ภายใต้การแนะนำ ให้คำปรึกษาโดย คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาในความร่วมมือ และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายธุรกิจในเครือข่ายของมูลนิธิฯ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอาชีพที่ถูกต้องเหมาะสม
​​
3. ค่าใช้จ่ายในการเรียนเป็นเท่าไหร่
ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และค่าอาหาร สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นส่วนตัวจะได้รับเป็นวงเงิน 500 บาทต่อเดือนเพื่อใช้ชื้อของผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโครงการ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับการสำรองจ่ายจากเงิน   ในกองทุนที่มูลนิธิฯ เมื่อมีรายได้จากผลผลิต เงินดังกล่าวจะถูกนำมาคืนมูลนิธิฯ เพื่อขยายทุนให้รุ่นน้อง และ   จะปันผลบางส่วนให้นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา
​​*** นักศึกษาและผู้ปกครอง จะต้องทำสัญญารับทุนการศึกษานี้ หากนักศึกษายุติการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จะต้องชดเชยเงินทุนตามจำนวนที่มูลนิธิฯ ได้จ่ายไป (ถ้าเรียนจบตามหลักสูตร ไม่ต้องใช้เงินคืน​​ไม่มีข้อผูกมัด) ไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้เงินเรียนและไม่อนุญาตให้นักศึกษาขอเงินจากผู้ปกครอง

4. ตัวอย่างตารางเรียนแต่ละวันเป็นอย่างไร
ในช่วงของการสร้างพื้นฐานและการบ่มเพาะคุณลักษณะของเกษตรกร ตื่นนอนเวลา 4:00 น.และเริ่มทำกิจกรรม ตั้งแต่ 05:00-17:00 น. (รวมเวลารับประทานอาหารและเวลาพัก) เวลา 19:00-20:00 น. จะเป็นการสะท้อนการเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงเป็นเวลาส่วนตัวจนถึงเวลา 21:30 น. จึงเข้านอน
​ในช่วงของการเรียนรู้ภายหลังจากผ่านการสร้างพื้นฐานและการบ่มเพาะ จะถูกกำหนดโดยกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละศูนย์เป็นหลัก และมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของกิจกรรมที่รับผิดชอบ ตามแบบของผู้ประกอบการจริง
​5. ทางโครงการวางแผนรับนักเรียนปีละกี่คน (จำนวนนักศึกษาที่จะรับในปี 2565)
ระดับปริญญาตรี 60 คน (ม.สงขลานครินทร์ มทร.อีสานสกลนคร)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 100 คน (มทร.อีสานสกลนคร ว.เกษตรกำแพงเพชร)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 500 คน (มทร.อีสานสกลนคร ว.เกษตรอุบลราชธานี ว.เกษตรกำแพงเพชร)
 
6. สถานที่เรียนคือที่ไหนบ้าง
ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ภูตะวันออแกนิคฟาร์ม        จังหวัดอำนาจเจริญ
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ยโสธรออแกนิก                จังหวัดยโสธร
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ปันสุข                           จังหวัดสระบุรี
ศูนย์การเรียนรู้ สวนนันประภา                    จังหวัดพัทลุง
สถานีวิจัย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
​​   
***หมายเหตุ ในปี พ.ศ.2556 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร น่าจะได้เป็นศูนย์บ่มเพาะแห่งที่ 2 และจะเป็นวิทยาลัยเกษตรต้นแบบของวิทยาลัยเกษตรทั่วประเทศ (เปลี่ยนหลักสูตรการเรียนเป็นแบบ BCL 100%)
 
7.เริ่มเรียนที่ไหน และจะเดินทางอย่างไร
เริ่มเรียนที่ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ที่ทางมูลนิธิฯกำหนด ปัจจุบันคือ ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน จังหวัดสกลนคร ประมาณ3-4 เดือน จึงจะมีการย้ายไปยังศูนย์การเรียนรู้อื่นๆ
การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากภูมิลำเนาจะรับผิดชอบโดยนักศึกษาและผู้ปกครอง
​​การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อการไปเรียนรู้ในแต่ศูนย์ จะรับผิดชอบโดยมูลนิธิฯ
 
8. กำหนดเวลาการรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2565 เป็นอย่างไร
เปิดรับสมัคร  เปิดรับทุกเดือน เดือนละ 100 คน หรือจนกว่าจะเต็มจำนวน (ที่ระบุไว้ในข้อ5)
จะมีการสัมภาษณ์ทั้ง “ผู้ปกครองและนักศึกษา” ในสถานที่(จะระบุภายหลัง) หรือ ทางโทรศัพท์
 
9. ข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครเรียนเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ใด
https://www.ยุวชนคนเกษตร.com/
https://www.facebook.com/Empirical.learning.Essence.of.life/
Line OA ยุวชนคนเกษตร https://lin.ee/UJAGMoo
สนใจสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณต่าย โทร. 092-452-0499
 
#มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
https://www.facebook.com/BCLgroup    
https://www.bcl.or.th/

 




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2565   
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2565 20:24:29 น.   
Counter : 1519 Pageviews.  

เก็บตก งานเสวนา หัวข้อ " มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ "



เก็บตก ความคิดเห็นของผมที่เสนอในงานเสวนา หัวข้อ " มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ "  เมื่อวันที่ ๓๐กย.๖๓  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

***** ความหมาย ‘ประชาสังคม’ (civil society) จะมีความหมายที่แปรเปลี่ยนและถูกใช้อย่างแตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อม
ประกอบด้วย สามส่วน
1. ประชาชน บุคคลหรือกลุ่ม  บางครั้งใช้คำว่า “ภาคที่สาม” (third sector) แทน ซึ่งหมายถึง ภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลและธุรกิจ หรือ พรรคการเมือง หากแต่เป็นภาคอิสระ (independent sector) กลุ่ม อินดี้ หรือ ภาคประชาชน  
- NGO (non-goverment organization) ซึ่งอาจรู้สึกในทางลบ จึงมีผู้ใช้คำว่า NPO (non-profit organization) แทน

2. มีเป้าหมาย ความเชื่อ ทำกิจกรรม ร่วมกัน (ร่วมคิด ร่วมทำ) อย่างสมัครใจ
ในเชิงพัฒนา สร้างสรรค์ ทำประโยชน์

3. ผลลัพท์ เพื่อ สังคม สาธารณะ (ไม่ใช่เพื่อตนเอง-ครอบครัว) ไม่แสวงหาอำนาจ ไม่แสวงหากำไร

***** การเปลี่ยนแปลง
อดีต  เริ่มด้วย รัฐ (ราชการ) ให้การสนับสนุน กลุ่มใหญ่ (เน้นเป็นพื้นที่ ทั้งจังหวัดหรือประเทศ) เป้าหมายความต้องการของราชการ
ปัจจุบัน เริ่มด้วย ประชาชน กลุ่มเล็ก เน้นประเด็น เป้าหมายตอบสนองความต้องการเฉพาะประเด็น ไม่จำกัดด้วยพื้นที่(สถานที่) ใช้สื่อสังคมออน์ไลน์

***** รัฐบาล บทบาทต่อ ประชาสังคม
เป็นได้ทั้ง การส่งเสริม สนับสนุน ใช้ประโยชน์ หรือ ทำลาย ขึ้่นอยู่กับ ความต้องการ เหมือนหรือต่างกัน (อุดมการณ์ร่วม เป้าหมายร่วม ประโยชน์ร่วม)
ถ้าเป้าหมายเหมือนกัน ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย รัฐบาลก็จะส่งเสริม สนับสนุน  แต่ ถ้าเป็นการต่อต้านก็อาจทำลายหรือทำให้แตกแยก เช่น การใช้กฏหมายมาควบคุม
อาจแบ่งรูปแบบ ประชาสังคม เป็นแบบ ต้านรัฐ ร่วมรัฐ พึ่งรัฐ

***** ปัจจัยหนุนเสริม หรือ ขัดขวาง
1. ภายในกลุ่ม สมาชิก + กิจกรรม + ผล   โดยเฉพาะเรื่อง แนวคิดการทำงาน เป้าหมาย ความเชื่อ และ เงิน
2. ภายนอก เช่น
- ผู้บริหาร ภาคราชการ อปท. ว่ามีแนวคิดอย่างไร ถ้าเข้าใจ เปิดพื้นที่ให้พูดคุยปรึกษา ก็ช่วยเสริมกัน
- สื่อ ปชส. ให้สาธารณะชนได้เข้าใจภาคประชาสังคม รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ซึ่งจะส่งผลต่อ ความสนับสนุน

***** ตัวอย่าง
1. ระดับประเทศ เช่น อสม.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ กลุ่มชมรมที่ขึ้นด้วย อาสา
2. ระดับจังหวัด เช่น ศพม. ศปจ. สวัสดิการสังคม สภาเกษตร รักบริสุทธิ์( pure love ) ศิลป์ในสวน รักษ์กำแพง ตลาดย้อนยุคนครชุม

***** แนวโน้ม
จำนวนกลุ่มเพิ่มขึ้น แต่ จำนวนสมาชิกในกลุ่ม น้อยลง
กลุ่มที่ร้องเรียน ปัญหาความเดือดร้อน มากขึ้น แต่ กลุ่มที่สร้างสรรค์ น้อยลง

***** ลักษณะของประชาสังคมที่ดี
- เป้าหมายชัดเจน เกิดขึ้นจากความต้องการของ ตนเอง - กระบวนการจัดการ อย่างสร้างสรรค์ พัฒนา
- อิสระ (อินดี้) ไม่พึ่งพิงรัฐหรือเอกชนมากเกินไป
- ประสาน เชื่อมโยง สร้างเครือข่าย  เช่น ราชการ-เอกชน-วิชาการ(เช่น มรภ.กพ)-สื่อ
 
***** ทิศทางการขับเคลื่อน
- ประชาสังคม ไม่เกี่ยวกับ อายุ ฐานะ อาชีพ นักศึกษาก็ทำกิจกรรมประชาสังคมได้ เช่น สโมสรนักศึกษา ออกค่ายพัฒนาชุมชน
- ความสนใจ เปิดพื้นที่ และ เชื่อมโยง กับ ราชการ วิชาการ

***** การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- เปิดพื้นที่ เปิดเวที พูดคุยเจรจา
- ข้อมูล ข้อเท็จจริง
- แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
- เปิดใจ แก้ไขด้วย ความรัก
- เน้นผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน (สาธารณะ)

***** ข้อคิดก่อนกลับบ้าน
1. อยากทำอะไรที่คิดว่า ดี  ลงมือทำเลย ไม่ต้องรอ  ทำเท่าที่เราทำได้ ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น
2. การเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องมีผลกระทบ ถ้าอยากเปลี่ยน ก็ต้องยอมรับผลที่จะตามมา
ต้องคิดก่อนทำ แล้วว่า ผลกระทบที่แย่ที่สุด คืออะไร และ เรายอมรับได้ หรือไม่ ?
3. งานประชาสังคม เป็น งานอาสา (งานบุญ) ผลตอบแทนคือความสุขใจ .. ดังนั้น ถ้าทำแล้ว เบียดเบียนตนเองครอบครัว ทำแล้วทุกข์มาก ก็ไม่ควรทำ

******************************************
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.กพ.
https://www.facebook.com/HusoKpru/posts/2881799088587418
  ·
📣วันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา 13.00-16.00 น.  ณ ห้องประชุมพุทธชาด ชั้น 2 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
👉โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนา หัวข้อ มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ 21
ซึ่งได้รับเกียรติท่านวิทยากร
⭐️ดร.สุรศักดิ์ บุญเทียน ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาสังคม
⭐️นายแพทย์พนมกร  ดิษฐสุวรรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญออร์โธปิติกส์ อาชีวเวชกรรม เวชศาสตร์การกีฬา
🔰จัดโดย นักศึกษาโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชั้นปีที่ 3
📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://huso.kpru.ac.th/h-publicad/?page_id=80
...
🍀#https://www.kpru.ac.th🍀
🍀#https://huso.kpru.ac.th🍀
🍀#https://huso.kpru.ac.th/h-publicad/🍀

****************************************************




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2563   
Last Update : 1 ตุลาคม 2563 15:37:10 น.   
Counter : 1912 Pageviews.  

แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง

แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง

03.09.2017

HIGHLIGHTS

01.00   แชร์ลูกโซ่กับความเสี่ยงในการลงทุน

02.50   หน้ากากที่เปลี่ยนไป

09.29   เคสคุณครูกู้หมดวงเงินมาลงแชร์

14.12   Venture Capital ที่มักถูกแอบอ้าง

18.39   เคสกูรูขายโปรแกรมการลงทุน

23:00  เคสกูรูอสังหาฯ กับการพาไปเชือดถึงที่

25.17   วิธีสังเกตแชร์ลูกโซ่

27.38   เคสนี้สอนให้รู้ว่า

     อะไรทำให้ ‘แชร์ลูกโซ่’ ไม่เคยหายไปจากเมืองไทย ฟังกลไกแบบละเอียด จนเห็นถึงกระบวนการ พร้อมเคสตัวอย่างที่โดนทิ้งไว้กลางทาง และเรื่องราวอีกหลายคดีที่กูรูมาเป็นคนทำแชร์ลูกโซ่เสียเอง  

 


 

01.00

  • มันนี่โค้ชได้ยินคำว่า ‘แชร์ลูกโซ่’ ครั้งแรกในปี 2520 แชร์ที่ดังที่สุดในตอนนั้นคือ แชร์แม่ชม้อย
  • กลไกของแชร์คือ คนที่ทำแชร์จะนำเสนอการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และมีการรับประกันผลตอบแทน
  • แต่ถ้าเราลงทุนในตลาดที่มีการรับรองจริงๆ เช่นตลาดหุ้น ผลตอบแทนที่เป็นไปได้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี แต่ตลาดหุ้นก็ไม่กล้าออกมารับประกันอยู่ดี เพราะมีความผันผวน เนื่องจากบางปีหุ้นก็ขึ้นไป 30-40% บางปีก็ตก 20-30% เพราะฉะนั้นการลงทุนจริงๆ จะไม่ค่อยมีการรับประกัน
  • ‘การลงทุนมีความเสี่ยง’ คำว่า ความเสี่ยง ในทางการเงิน หมายความว่า โอกาสในการได้รับผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ดังนั้น ได้น้อยไปหรือมากไปก็เรียกว่า เสี่ยง เช่น เราคาดหวัง 10% แต่กลับได้ออกมา 15% ก็คือเสี่ยง เพราะว่ามันมีความผันผวน

 

02.50

  • ลักษณะของการลงทุนที่เป็นแชร์ลูกโซ่จะไม่มีตัวการลงทุนจริงๆ อยู่ เป็นการระดมทุนที่ไม่ได้เอาเงินไปใส่ในสินทรัพย์ แต่มีการจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อน ซึ่งนำไปสู่การบอกต่อ จนได้มวลเงินใหญ่ประมาณหนึ่ง ก็จะจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อนไม่ไหว  ก็จะทำการปิดกองรวบเงินหายไป
  • ในปี 2560 รูปแบบก็ยังเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเดียวคือ หน้ากาก นั่นคือรูปแบบการลงทุนที่เอามาใช้โฆษณามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้คนที่ลงทุนในเรื่องนั้นจริงๆ เกิดปัญหา อย่างเช่น เรื่องของค่าเงิน กลุ่มแชร์ลูกโซ่เอาค่าเงินมาผูกว่า ระดมทุนกันเพื่อไปลงทุนค่าเงินในหุ้นต่างประเทศ หรือ ร่วมทุนกันเพื่อลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เรียกว่าเป็น Venture Capital ซึ่งกลุ่ม VC มีการลงทุนแบบนี้จริงๆ แต่กลุ่มของการแชร์ลูกโซ่รู้ว่า อะไรกำลังนิยม ก็จะหาของใหม่ๆ มาแทนได้เสมอ

 

04.37

  • ในปี 2548 มันนี่โค้ชก่อตั้งชมรมเพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเงิน ชื่อว่า ‘ชมรมพ่อรวยสอนลูกแห่งประเทศไทย’ ซึ่งมีสมาชิกเป็นหมื่นคนในเว็บบอร์ด ก็มีสมาชิกบางคนซึ่งเป็นคนดังของกลุ่มตั้งกระบวนการแชร์ลูกโซ่เพื่อระดมทุนกัน
  • ในยุคนั้นรูปแบบเครื่องมือยังไม่เยอะ ก็จะใช้การลงทุนที่เรียกว่า ‘หุ้น’ ประมาณว่า มีคนติดตามหลายๆ คนก็เลยเริ่มตั้งตัวเป็นกูรู คนพวกนี้จะพูดเก่ง พูดคล่อง จากนั้นก็จะเริ่มมีการส่งสัญญาณกันหลังไมค์ว่า ใครอยากให้เขาลงทุนให้ ก็เอาเงินมาลงทุนกัน
  • แชร์ลูกโซ่ ไม่สามารถเกิดจากฝั่งที่นำเสนอฝั่งเดียวได้ ผู้ที่ลงเงินต้องมีความโลภและความมักง่ายประกอบกันด้วย

 

“มนุษย์เราเมื่อมีความไม่รู้ + ความโลภ + ความมักง่าย = หายนะทางการเงิน”

 

06.38

  • คนที่เข้ามาศึกษาเรื่องการเงินแล้วไม่อดทน เมื่อมีคนมานำเสนอว่า “เอาไหม เขาลงทุนให้ และจะให้ผลตอบแทน 10% ต่อเดือน” คนฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้น ลองคิดว่าถ้าเราเป็นคนที่ทำงานมาสักระยะ มีเงินเก็บ 200,000 บาท เราเอาเงินไปฝากเขาได้เดือนละ 20,000 บาท 10 เดือนก็เท่าทุน และคิดว่าถ้าลงทุนต่อก็จะได้มากขึ้นอีก

 

07.27

  • วิธีการของกลุ่มแชร์ลูกโซ่ คือ พอประกาศไปก็จะมีคนที่ขี้เกียจ โลภและมักง่าย ส่งเงินเข้าไป ในเคสปี 2548 บางคนเอาเงินเกษียณที่เป็นเงินบำเหน็จทั้งก้อนโยนใส่ลงไป 2 ล้านบ้าง 3 ล้านบ้าง จากกลุ่มคนหนึ่งหมื่นกว่าคน แค่มีคนเข้ามาลงทุนเพียงหลักร้อย แต่ร้อยคนนั้นลงทุนกัน สองสามแสน ล้านสองล้าน วงนั้นแป๊บเดียวก็ขึ้นมาเป็นหลัก 30 ล้านได้

 

08.09

  • การบริหารจัดการแชร์ลูกโซ่ ก็คือ เมื่อได้เงินตรงกลางมา 30 ล้าน เขาก็จะเริ่มจ่ายให้พวกเราเพื่อหลอกล่อให้ลงทุนต่อ สมมติมีคนมาลงทุน 200,000 บาท ได้เงินเดือนละ 20,000 บาท ถ้าตั้งโจทย์ระดมทุนสัก 6 เดือน ก็จ่ายเดือนที่ 1 ให้น้องคนแรก 20,000 บาท เขาก็จะรู้สึกตื่นเต้นดีใจว่าการลงทุนแบบนี้มีจริง
  • เวลาที่มีคนสงสัยว่าการลงทุนนี้มีจริงหรือไม่ ก็จะเกิดเป็นมีวิวาทะเถียงกันว่า การลงทุนนี้เป็นลูกโซ่หรือเปล่า แต่คนที่ลงเงินไปแล้วจะบอกว่าไม่ใช่ เถียงกันไปก็เสียเวลาไร้ประโยชน์ เพราะคนที่ลงทุนไปแล้วได้เงินจริงๆ เขาจะไม่ฟัง นี่คือกลไก

 

09.29

  • มีอยู่เคสหนึ่งเป็นคุณครู ไปกู้ออมสินดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 6 ต่อปี มาเอาร้อยละ 10 ต่อเดือน (จากแชร์ลูกโซ่) เท่ากับจะได้ร้อยละ 120 ต่อปี คิดยังไงก็คุ้ม เลยไปกู้หมดวงเงิน เพราะครูจะมี ‘เงินตาย’ หรือเงิน ‘ฌาปนกิจ’ ซึ่งจะได้เมื่อเสียชีวิต ก็เลยเอาเงินตรงนี้ไปเป็นหลักทรัพย์แล้วกู้เงินออกมาลงทุน
  • คนเราตื่นเต้นจะเกิดอาการ 2 อย่าง หนึ่ง ลงเพิ่ม สอง จะเก็บข่าวดีไว้ไม่ไหว เริ่มบอกเพื่อนและคนใกล้ชิด ว่าฝากเงินธนาคาร 1% ต่อปี น้อย อันนี้ดีกว่าเยอะ ชักชวนเพื่อนเข้ามา และเพื่อนก็ได้เงินนั้นจนวงเงินมันใหญ่พอ คนที่ทำแชร์ลูกโซ่ก็พร้อมจะล่อด้วยเงินประมาณหนึ่ง ภาษาในวงการเรียกว่า ‘เงินทอน’ สมมติเราจ่ายไป 200,000 คนทำแชร์ลูกโซ่ก็กัดฟันจ่ายไป 5 เดือน แล้วเขาก็ปิดตัวไป ได้เงินแสนของเราไป โดยที่เราหาเขาไม่เจอแล้ว
  • เรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2520 ก็แบบหนึ่ง 2548 ก็อีกแบบหนึ่ง แต่โครงสร้างเหมือนกันทุกอย่าง หลักคิดก็เหมือนกัน คือการระดมทุนที่ไม่ได้มีการลงทุนจริงๆ จากนั้นก็กินเงินเข้าไป

 

11.46

  • อีกเคสหนึ่งเป็นกูรูที่เริ่มดัง เขาบอกว่าไม่ได้ตั้งใจโกง แต่ตั้งใจอยากจะช่วยลงทุนให้จริงๆ คนเราพอเริ่มลงทุนไปสักพักหนึ่งจะเริ่มมั่นใจในฝีมือ แล้วคิดว่าเราไปรับผิดชอบชีวิตคนอื่นเค้าได้ ก็เลยเริ่มเปิดลงทุนให้คนอื่นด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะทำได้
  • กูรูบางคนเกิดขึ้นมาในช่วงที่ตลาดหุ้นเติบโต ตอนนั้นจะซื้อหุ้นอะไรก็โต เพียงแต่โตมากโตน้อยเท่านั้นเอง เวลาที่หุ้นเฟื่องฟูมันน่ากลัว เพราะจะทำให้คนเรารู้สึกว่าเป็นคนเก่งและมั่นใจเกินจนรับเงินคนอื่นมาลงทุน แล้วทำไม่ได้แก้ไม่ได้ สุดท้ายก็เกิดเป็นปัญหา

 

13.34

  • ยุคนี้จะมีการใช้เครื่องมือทางการเงินที่คนไม่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น Forex ทั้งๆ ที่ในตลาดเป็นการลงทุนจริงๆ แต่คนที่ทำกำไรได้ต้องเป็นคนมีฝีมือ และมีความเสี่ยงมากขนาดที่ว่าต่อให้ได้กำไรมาหลายครั้ง แต่ถ้าพลาดครั้งเดียวก็คือหมดตัว

 

14.12

  • Venture Capital คือการร่วมลงทุนกัน จนเป็นกองทุน กองทุนนี้จะมองหาการลงทุนดีๆ ในธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะฉะนั้นเวลาจะลงทุนใน VC เค้าจะระดมทุนจากนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องมีเงินพอสมควรและพร้อมจะเสีย
  • แต่แชร์ลูกโซ่ไม่ใช่แบบ VC ซึ่งจะรวมเงินกัน ทำเสมือนว่าจะไปลงทุนแล้วมีโฆษณามาให้ดู ว่าเงินที่ระดมทุนมาจะเอาไปลงทุนในบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา มีภาพโชว์ตัวเลขผลประกอบการ ซึ่งคนไม่รู้เรื่องก็ไม่เข้าใจ แต่โลภ อยากได้ จึงยอมเสียเงินเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ
  • คนที่ไม่รู้เรื่องก็จะเข้า process แบบเดิมคือ เอาภาพการลงทุนใหญ่ๆ มาบังหน้า ล่อลวงด้วยผลตอบแทนสูงๆ จูงคนเข้ามา เริ่มจ่ายตังทอนเพื่อให้คนเข้ามาตอนแรกๆ ไปชวนต่อ พอคนเข้ามาเยอะมากพอก็ปิด แล้วก็ยกเงินหนีไป

 

15.57

  • เดี๋ยวนี้ระบบทำได้สวยงามมาก ทำเป็นเว็บไซต์ มีแอ็กเคานต์ส่วนบุคคล ตั้งชื่อโปรเจกต์เร้าใจ เช่น แบงก์ 50 แลกแบงก์ 1,000 คนก็จะตื่นเต้นแล้วฝากเงินเข้าไป ถามว่าถอนได้เมื่อไหร่ ก็บอกถอนไม่ได้จนกว่าจะครบ 3 ปี
  • ใจความหลักก็คือถ้าคุณเจอการลงทุนในประเภทนี้ให้ถามเขาเลยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้การคุ้มครองหรือเปล่า ถ้าอยู่นอกเหนือก็อย่าไปยุ่งเด็ดขาด

 

18.39

  • กูรูบางคนจะเปิดคอร์สสัมมนา แล้วตอนจบก็จะนำไปสู่การลงทุน เริ่มจากเปิดภาพโชว์ความสำเร็จตัวเอง ให้คนเข้ามาติดตาม เราก็จะอยากได้เงินอย่างที่เขาบอก แต่เราฟังแล้วมันยาก เราไม่น่าจะทำได้เหมือนเขา กูรูก็จะรู้ใจและจะเริ่มขายโปรแกรมการลงทุน “ถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นไปได้ น่าสนใจ แต่ทำเองไม่ได้เพราะความรู้คุณยังไม่พอ เรามีโปรแกรมให้คุณมาร่วมลงทุนกับเรา พร้อมดูแลบริหารงานโดยปรมาจารย์”
  • เมื่อเรานั่งฟังเราก็เชื่อเขา ก็ต่อแถวซื้อโปรแกรม จากนั้นจะมีเพจลับ กลุ่มลับเพื่อสื่อสารกับพวกคุณ แล้วเขาก็จะเลี้ยงไข้ บางที่ใครที่เข้ามาก่อน ครบ 1 เดือนจ่ายเลย บางที่มีข้อผูกมัดต่อว่าต้องอยู่ครบ 6 เดือนถึงจะเริ่มทยอยจ่ายคืน บางที่ล็อกไว้ 3 ปีเต็มๆ แล้วพอคนได้เงินทอน บางคนจะเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ จากนั้นพอระดมทุนได้สักพักหนึ่งพวกนี้ก็จะเริ่มปิดบัญชีหายไป

 

21.16

  • คำถามคือถ้ามันมีคนโดนเยอะแล้ว ทำไมเรื่องแบบนี้ยังเกิดขึ้นได้? เพราะ 1) เหยื่อรายใหม่ยังเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เปลี่ยนเครื่องมือไปเรื่อยๆ มีตลาดใหม่เสมอ 2) เรื่องนี้ไม่ค่อยถูกเผยแพร่ เพราะกลุ่มที่โดนหลอกเขาอายไม่กล้าเปิดตัว ทุกอย่างก็จมหายไป
  • ในปัจจุบันรูปแบบพวกนี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะไม่ใช่การหลอกเงินโดยตรง แต่เป็นการหลอกให้ไปติดกับดักเยอะแยะเลย

 

23.00

  • อีกกลุ่มหนึ่งคือ กูรูอสังหาริมทรัพย์ กูรูกลุ่มนี้จะทำการติดต่อกับคอนโดฯ ต่างๆ ไว้ ว่าถ้าเกิดพาคนไปซื้อเยอะๆ จะต้องได้ค่านายหน้าพิเศษ และวงจรก็เหมือนเดิมคือจะเปิดเพจสอน แล้วก็เปิดคอร์สพิเศษพาไปลงพื้นที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสมมติโค้ชสอนและพาทุกคนไปดูพื้นที่ แล้วบอกแค่ว่าที่นี่โค้ชก็ซื้อ และอยากให้ทุกคนมีไว้คนละหลัง เท่านั้นแหละ จบ ยอดจองระเนระนาด เขาได้คอมมิชชันก้อนโต คุณได้ทรัพย์ที่มันลงทุนไม่ได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้คุณติดกับดักไปอีกนาน เพราะอสังหาริมทรัพย์มันใหญ่ คุณต้องกู้ซื้อและผ่อนไปอีกนาน

 

“นี่คือเรื่องราวที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนที่เข้ามานำเสนอ คนเราก็จะรู้สึกว่ามันใหม่อยู่ตลอด”

 

25.17

วิธีดูว่าอะไรที่มีความเสี่ยงและต้องสงสัยว่าจะเป็นการแชร์ลูกโซ่

  1. เป็นการลงทุนที่ง่าย และได้ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง เช่น ถ้าได้สูงระดับ 5-10% ต่อเดือนโดยที่ไม่ต้องทำอะไร
  2. เป็นการลงทุนประเภทที่ถ้าเราไปชักชวนเพื่อนเข้ามาลงทุนเพิ่ม เราจะได้ผลประโยชน์ผลตอบแทนเพิ่มด้วย
  3. มีการรับประกันผลตอบแทนว่าได้เงินเท่าไหร่ เพราะการลงทุนทุกอันมีความเสี่ยง ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะไม่ทำ

 

27.38

  • สุดท้ายจะฝากพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือลงทุนอะไรก็ควรพอประมาณ มีเหตุผล สอบถามว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นเอาไปทำอะไร มันจริงหรือไม่อย่างไร หัดค้นหาข้อมูล และมีภูมิคุ้มกัน ต้องหัดคิด เอะใจ หัดสงสัย
  • การลงทุนนั้นไม่ได้มีแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว มีอีกด้านคือความเสี่ยงอยู่ด้วย ให้ถามตัวเองทุกครั้งว่าถ้าลงทุนไปสิ่งที่ลงทุนมันไม่ใช่ มันจะส่งผลเสียกับการเงินในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และจะทำให้สถานะทางการเงินของเรานั้นมีปัญหาหรือไม่
  • ถ้าเรารู้จักมันมากขึ้น มีความรู้ และไม่โลภจนเกินไป เข้าใจว่าการลงทุนที่ดีต้องให้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอกับเครื่องมือ และสุดท้ายไม่มักง่าย

 

“รวยเร็วเป็นไปได้ รวยง่ายๆ ไม่มีจริง”


 

Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2562   
Last Update : 18 ธันวาคม 2562 22:32:13 น.   
Counter : 1861 Pageviews.  

ถุงพลาสติก ใช้แล้ว ส่งต่อที่ไหนได้บ้าง ??? ... เครดิต FB@Akekajit Chimmorvai




ที่บ้านพยายามแยกพลาสติกออก
จากขยะที่ย่อยสลายได้มาซักพัก
แล้วเกิดสงสัยว่า มันเอาไปทำอะไรต่อได้หว่า..
มีโอกาสได้ไปเจอหน่วยงานที่รับบริจาคถุงพวกนี้ เลยถือโอกาสเอามาแชร์ต่อนะคะ(เผื่อมีคนสงสัยเหมือนกัน555)

1.โครงการ Green Road รับบริจาคถุงพลาสติกใช้แล้ว ไปทำบล็อกปูถนน (1 ตร.ม ใช้ถุงพลาสติกประมาณ 4,000 ใบ) สามารถส่งไปที่อยู่ด้านล่างนี้ โดยต้องเป็นถุงพลาสติกที่ล้างแล้วนะคะ
"ผศ.ดร. เวชสวรรค์ หล้ากาศ เลขที่ 22 ซ.7 ถ.หมื่นด้ามพร้าคต ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300"
Credit : https://www.cm108.com/w/4157/

2.Trash Hero Thailand : Ecobricks นำพลาสติกชิ้นเล็กๆยัดใส่ขวดพลาสติก อัดให้แน่นที่สุด (โดยชิ้นส่วนต้องไม่เปียก ไม่เน่า) นำไปสร้างโรงเรียน Bamboo School ซึ่งจะเป็นสิ่งก่อสร้างจากขวดพลาสติกอัดขยะครั้งแรกในประเทศไทย
ส่งมาที่ แบมบูสคูล (Bamboo School)
234 ซ.แมม แคท หมู่บ้านบ้องตี้ล่าง
ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
Credit : https://www.baanlaesuan.com/64033/design/lifestyle/trash-hero-thailand
-How to turn plastic pollution into a plastic solution
https://www.youtube.com/watch?v=1hT8e2N_AcQ

2.1 ผึ้งน้อยนักสู้ รับ Ecobricks อีกช่องทางนะคะ เอาไปให้เด็กๆทำบ้านดิน สามารถส่งมาที่
1/778 อาคารการ์เด้นโฮมพลาซ่าโซน 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130
Credit : https://www.facebook.com/LittleBeeHero/

3.WON : รับถุงพลาสติกกลับมารีไซเคิล เพื่อให้พลาสติกหมุนเวียนอยู่ในระบบ ลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะออกสู่สิ่งเเวดล้อม โดยเก็บถุงหูหิ้วหรือฟิล์มพลาสติกหุ้มบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่สะอาดและแห้ง (ข้อสังเกตคือเอานิ้วจิ้มแล้วพลาสติกยืดออก เช่นถุงขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ ฟิล์มห่อนมกล่อง กระดาษชำระ ฟิล์มห่อขวดน้ำต่างๆ) นำไปส่งตามจุดรับของโครงการ ตามลิงค์นี้
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1Hou6zIAknlmolTrHaf9SDFvugeSTujFy&ll=13.781026395113814%2C100.41428576465614&z=8
หรือ ส่งไปที่ โครงการ "วน" บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)
42/174 ม.5 ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
Credit : https://www.facebook.com/wontogether/
**ถุงและฟิล์มพลาสติกที่บริจาคเข้ามา ทุก 1 กก.=5 บาท โดยจะนำไปบริจาคให้มูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อมด้วยนะ

***UPDATE***
มีหลายท่านแจ้งเข้ามาเพิ่ม สำหรับหน่วยงานอื่นๆที่รับขยะพลาสติกประเภทอื่น ตามนี้เลยค่ะ
1.โครงการหลังคาเขียว/กล่องวิเศษ รับบริจาคกล่องนม กล่องเครื่องดื่ม เอามาทำเป็นหลังคา โต๊ะ-เก้าอี้ โดยนำมาแกะ ล้าง เก็บ นำไปส่งได้ที่จุดรับบริจาค Big C สาขาใหญ่ๆใกล้บ้าน หรือส่งมาที่
บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด
(เขียนที่หน้ากล่องว่า ร่วมโครงการหลังคาเขียวฯ)
30/11 หมู่ที่ 11 วัดบางเสาธง บางนา-ตราด บางเสาธง บางเสาธง สมุทรปราการ 10570
Credit : https://www.facebook.com/Thaigreenroof/

2.Precious Plastic : รับฝาขวดน้ำ ขวดนม กล่องพลาสติกใส่อาหารที่ล้างสะอาดแล้ว(พลาสติกประเภท HDPE & PP) เอามารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
มีจุดรับอยู่ 21 จุดทั่วกรุงเทพ หรือส่งไปที่
Dominic Chakrabongse
(Precious Plastic Bangkok)
จักรพงษ์วิลล่า 396/1 ถ.มหาราช
แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
Credit : https://www.facebook.com/PreciousPlasticBKK/

3.Tesco Lotus : เครื่องรีไซเคิลขวดพลาสติก นำขวดน้ำและกระป๋องอลูมิเนียมมาหย่อนลงตู้ เพื่อนำไปรีไซเคิล (แลก greenpoint ได้ด้วยนะ) จำกัด 10 ขวด/กระป๋องต่อวัน โดยมีจุดรับที่ Tesco lotus 12 สาขาทั่วกรุงเทพ
Credit : https://www.facebook.com/493144784034219/posts/2652161944799148/

4.จีวรรีไซเคิล วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ : รับบริจาคขวดน้ำสะอาด มาแปรรูปเป็นเส้นด้าย และเอาไปเย็บเป็นจีวรนาโน โดยขวดพลาสติก 15 ใบ นำมาทำเป็นจีวรได้ 1 ผืน
สามารถส่งไปได้ที่
วัดจากแดง ซอยวัดจากแดง ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 หรือติดต่อคุณแอน 066-159-9558 กรณีอยู่ใกล้พื้นที่ เพื่อนัดแนะเจ้าหน้าที่เข้าไปรับขวดพลาสติกได้ค่ะ
Credit : https://news.thaipbs.or.th/content/281691

5. YOLO - Zero Waste Your Life : รับรีไซเคิลฝาขวด ขวดนม ช้อนส้อมมีดพลาสติก หลอด บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกแบบบาง แก้วน้ำพลาสติก เเละบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบหลอดและรีฟิล ล้างให้สะอาด ตัดพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นพลาสติกชิ้นเล็ก ส่งมาที่
บจก. ซีโร่ เวสท์ โยโล 432 ถ. พรานนก-พุทธมณฑล แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กทม. 10170
เบอร์โทรศัพท์ 061-5365514
Credit : https://www.facebook.com/zerowasteyolo/

6.Environplast - รับบริจาคโฟม EPS เพื่อการรีไซเคิล (บรรจุภัณฑ์อาหาร โฟมกันกระแทกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ) นำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล โดยทำความสะอาด รวบรวมลงกล่อง (ตัดเป็นชิ้นเล็กๆได้) ส่งมาที่
บริษัท เอ็นไวรอนพลาสต์ จำกัด
29/1 หมู่ 9 ถ.วงแหวนรอบนอกตะวันตก, ปากเกร็ด นนทบุรี 11120
เบอร์โทรศัพท์ 080-4408788 02-1926496
Credit : https://m.facebook.com/EVP.Environplast/

- ถ้าใครมีช่องทางอื่นอีกหรือมีอะไรแนะนำบอกด้วยนะคะ
- ถ้าพวกเราช่วยกันหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกันคนละนิดก็จะดีมากๆเลยน้าาาา

The greatest threat to our planet is the belief that someone else will save it - Robert Swan


ที่มา  FB@Akekajit Chimmorvai

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1291359354379605&set=a.103006259881593&type=3&theater




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2562   
Last Update : 19 สิงหาคม 2562 14:33:06 น.   
Counter : 2816 Pageviews.  

ส่องอัตราผู้ป่วยรายจังหวัด ปี 2561 อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร



อันตรายจากสารเคมี ส่องอัตราผู้ป่วยรายจังหวัด ปี 2561
The Number of Pesticide Effect on Farmers by Provinces 2018
.
ต้องยอมรับว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร
เป็นสิ่งที่แพร่หลายมานานจนถึงในปัจจุบัน
.
ทำให้เกิดปัญหาเกษตรกรได้รับผลกระทบทางสุขภาพ
จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้โดยตรงจากการใช้งาน
ทั้งในรูปแบบเฉียบพลันและสะสม
.
จากข้อมูลพบว่า ในปี 2561
มีผู้ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6,081 ราย อัตราการป่วยต่อแสนประชากร : 13%
แบ่งออกเป็น ป่วยจากสารกำจัดแมลง จำนวน 2,952 ราย
ป่วยจากสารกำจัดวัชพืช จำนวน 1,345 ราย
ป่วยจากสารกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ จำนวน 1,784 ราย
.
โดยจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด 7 อันดับ มีดังนี้
.
1. ร้อยเอ็ด
จำนวนผู้ป่วย 485 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร : 51
.
2. อุตรดิตถ์
จำนวนผู้ป่วย 130 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 39
.
3. ลำปาง
จำนวนผู้ป่วย 216 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 38
.
4. บุรีรัมย์
จำนวนผู้ป่วย 371 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 34
.
5. พิจิตร
จำนวนผู้ป่วย 125 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 33
.
6. มหาสารคาม
จำนวนผู้ป่วย 234 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 31
.
7. อ่างทอง
จำนวนผู้ป่วย 35 ราย
อัตราการป่วยต่อแสนประชากร: 31
.
ที่มา:
รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561
ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC)


เครดิต FB@ โรครว้ายๆวัยทำงาน
https://www.facebook.com/strongworkers/photos/a.2321619421455504/2382852555332190/?type=3&theater

*********************************


 




 

Create Date : 19 เมษายน 2562   
Last Update : 19 เมษายน 2562 14:27:38 น.   
Counter : 2598 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]