Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง

แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง

03.09.2017

HIGHLIGHTS

01.00   แชร์ลูกโซ่กับความเสี่ยงในการลงทุน

02.50   หน้ากากที่เปลี่ยนไป

09.29   เคสคุณครูกู้หมดวงเงินมาลงแชร์

14.12   Venture Capital ที่มักถูกแอบอ้าง

18.39   เคสกูรูขายโปรแกรมการลงทุน

23:00  เคสกูรูอสังหาฯ กับการพาไปเชือดถึงที่

25.17   วิธีสังเกตแชร์ลูกโซ่

27.38   เคสนี้สอนให้รู้ว่า

     อะไรทำให้ ‘แชร์ลูกโซ่’ ไม่เคยหายไปจากเมืองไทย ฟังกลไกแบบละเอียด จนเห็นถึงกระบวนการ พร้อมเคสตัวอย่างที่โดนทิ้งไว้กลางทาง และเรื่องราวอีกหลายคดีที่กูรูมาเป็นคนทำแชร์ลูกโซ่เสียเอง  

 


 

01.00

  • มันนี่โค้ชได้ยินคำว่า ‘แชร์ลูกโซ่’ ครั้งแรกในปี 2520 แชร์ที่ดังที่สุดในตอนนั้นคือ แชร์แม่ชม้อย
  • กลไกของแชร์คือ คนที่ทำแชร์จะนำเสนอการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และมีการรับประกันผลตอบแทน
  • แต่ถ้าเราลงทุนในตลาดที่มีการรับรองจริงๆ เช่นตลาดหุ้น ผลตอบแทนที่เป็นไปได้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี แต่ตลาดหุ้นก็ไม่กล้าออกมารับประกันอยู่ดี เพราะมีความผันผวน เนื่องจากบางปีหุ้นก็ขึ้นไป 30-40% บางปีก็ตก 20-30% เพราะฉะนั้นการลงทุนจริงๆ จะไม่ค่อยมีการรับประกัน
  • ‘การลงทุนมีความเสี่ยง’ คำว่า ความเสี่ยง ในทางการเงิน หมายความว่า โอกาสในการได้รับผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ดังนั้น ได้น้อยไปหรือมากไปก็เรียกว่า เสี่ยง เช่น เราคาดหวัง 10% แต่กลับได้ออกมา 15% ก็คือเสี่ยง เพราะว่ามันมีความผันผวน

 

02.50

  • ลักษณะของการลงทุนที่เป็นแชร์ลูกโซ่จะไม่มีตัวการลงทุนจริงๆ อยู่ เป็นการระดมทุนที่ไม่ได้เอาเงินไปใส่ในสินทรัพย์ แต่มีการจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อน ซึ่งนำไปสู่การบอกต่อ จนได้มวลเงินใหญ่ประมาณหนึ่ง ก็จะจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อนไม่ไหว  ก็จะทำการปิดกองรวบเงินหายไป
  • ในปี 2560 รูปแบบก็ยังเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเดียวคือ หน้ากาก นั่นคือรูปแบบการลงทุนที่เอามาใช้โฆษณามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้คนที่ลงทุนในเรื่องนั้นจริงๆ เกิดปัญหา อย่างเช่น เรื่องของค่าเงิน กลุ่มแชร์ลูกโซ่เอาค่าเงินมาผูกว่า ระดมทุนกันเพื่อไปลงทุนค่าเงินในหุ้นต่างประเทศ หรือ ร่วมทุนกันเพื่อลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เรียกว่าเป็น Venture Capital ซึ่งกลุ่ม VC มีการลงทุนแบบนี้จริงๆ แต่กลุ่มของการแชร์ลูกโซ่รู้ว่า อะไรกำลังนิยม ก็จะหาของใหม่ๆ มาแทนได้เสมอ

 

04.37

  • ในปี 2548 มันนี่โค้ชก่อตั้งชมรมเพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเงิน ชื่อว่า ‘ชมรมพ่อรวยสอนลูกแห่งประเทศไทย’ ซึ่งมีสมาชิกเป็นหมื่นคนในเว็บบอร์ด ก็มีสมาชิกบางคนซึ่งเป็นคนดังของกลุ่มตั้งกระบวนการแชร์ลูกโซ่เพื่อระดมทุนกัน
  • ในยุคนั้นรูปแบบเครื่องมือยังไม่เยอะ ก็จะใช้การลงทุนที่เรียกว่า ‘หุ้น’ ประมาณว่า มีคนติดตามหลายๆ คนก็เลยเริ่มตั้งตัวเป็นกูรู คนพวกนี้จะพูดเก่ง พูดคล่อง จากนั้นก็จะเริ่มมีการส่งสัญญาณกันหลังไมค์ว่า ใครอยากให้เขาลงทุนให้ ก็เอาเงินมาลงทุนกัน
  • แชร์ลูกโซ่ ไม่สามารถเกิดจากฝั่งที่นำเสนอฝั่งเดียวได้ ผู้ที่ลงเงินต้องมีความโลภและความมักง่ายประกอบกันด้วย

 

“มนุษย์เราเมื่อมีความไม่รู้ + ความโลภ + ความมักง่าย = หายนะทางการเงิน”

 

06.38

  • คนที่เข้ามาศึกษาเรื่องการเงินแล้วไม่อดทน เมื่อมีคนมานำเสนอว่า “เอาไหม เขาลงทุนให้ และจะให้ผลตอบแทน 10% ต่อเดือน” คนฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้น ลองคิดว่าถ้าเราเป็นคนที่ทำงานมาสักระยะ มีเงินเก็บ 200,000 บาท เราเอาเงินไปฝากเขาได้เดือนละ 20,000 บาท 10 เดือนก็เท่าทุน และคิดว่าถ้าลงทุนต่อก็จะได้มากขึ้นอีก

 

07.27

  • วิธีการของกลุ่มแชร์ลูกโซ่ คือ พอประกาศไปก็จะมีคนที่ขี้เกียจ โลภและมักง่าย ส่งเงินเข้าไป ในเคสปี 2548 บางคนเอาเงินเกษียณที่เป็นเงินบำเหน็จทั้งก้อนโยนใส่ลงไป 2 ล้านบ้าง 3 ล้านบ้าง จากกลุ่มคนหนึ่งหมื่นกว่าคน แค่มีคนเข้ามาลงทุนเพียงหลักร้อย แต่ร้อยคนนั้นลงทุนกัน สองสามแสน ล้านสองล้าน วงนั้นแป๊บเดียวก็ขึ้นมาเป็นหลัก 30 ล้านได้

 

08.09

  • การบริหารจัดการแชร์ลูกโซ่ ก็คือ เมื่อได้เงินตรงกลางมา 30 ล้าน เขาก็จะเริ่มจ่ายให้พวกเราเพื่อหลอกล่อให้ลงทุนต่อ สมมติมีคนมาลงทุน 200,000 บาท ได้เงินเดือนละ 20,000 บาท ถ้าตั้งโจทย์ระดมทุนสัก 6 เดือน ก็จ่ายเดือนที่ 1 ให้น้องคนแรก 20,000 บาท เขาก็จะรู้สึกตื่นเต้นดีใจว่าการลงทุนแบบนี้มีจริง
  • เวลาที่มีคนสงสัยว่าการลงทุนนี้มีจริงหรือไม่ ก็จะเกิดเป็นมีวิวาทะเถียงกันว่า การลงทุนนี้เป็นลูกโซ่หรือเปล่า แต่คนที่ลงเงินไปแล้วจะบอกว่าไม่ใช่ เถียงกันไปก็เสียเวลาไร้ประโยชน์ เพราะคนที่ลงทุนไปแล้วได้เงินจริงๆ เขาจะไม่ฟัง นี่คือกลไก

 

09.29

  • มีอยู่เคสหนึ่งเป็นคุณครู ไปกู้ออมสินดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 6 ต่อปี มาเอาร้อยละ 10 ต่อเดือน (จากแชร์ลูกโซ่) เท่ากับจะได้ร้อยละ 120 ต่อปี คิดยังไงก็คุ้ม เลยไปกู้หมดวงเงิน เพราะครูจะมี ‘เงินตาย’ หรือเงิน ‘ฌาปนกิจ’ ซึ่งจะได้เมื่อเสียชีวิต ก็เลยเอาเงินตรงนี้ไปเป็นหลักทรัพย์แล้วกู้เงินออกมาลงทุน
  • คนเราตื่นเต้นจะเกิดอาการ 2 อย่าง หนึ่ง ลงเพิ่ม สอง จะเก็บข่าวดีไว้ไม่ไหว เริ่มบอกเพื่อนและคนใกล้ชิด ว่าฝากเงินธนาคาร 1% ต่อปี น้อย อันนี้ดีกว่าเยอะ ชักชวนเพื่อนเข้ามา และเพื่อนก็ได้เงินนั้นจนวงเงินมันใหญ่พอ คนที่ทำแชร์ลูกโซ่ก็พร้อมจะล่อด้วยเงินประมาณหนึ่ง ภาษาในวงการเรียกว่า ‘เงินทอน’ สมมติเราจ่ายไป 200,000 คนทำแชร์ลูกโซ่ก็กัดฟันจ่ายไป 5 เดือน แล้วเขาก็ปิดตัวไป ได้เงินแสนของเราไป โดยที่เราหาเขาไม่เจอแล้ว
  • เรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2520 ก็แบบหนึ่ง 2548 ก็อีกแบบหนึ่ง แต่โครงสร้างเหมือนกันทุกอย่าง หลักคิดก็เหมือนกัน คือการระดมทุนที่ไม่ได้มีการลงทุนจริงๆ จากนั้นก็กินเงินเข้าไป

 

11.46

  • อีกเคสหนึ่งเป็นกูรูที่เริ่มดัง เขาบอกว่าไม่ได้ตั้งใจโกง แต่ตั้งใจอยากจะช่วยลงทุนให้จริงๆ คนเราพอเริ่มลงทุนไปสักพักหนึ่งจะเริ่มมั่นใจในฝีมือ แล้วคิดว่าเราไปรับผิดชอบชีวิตคนอื่นเค้าได้ ก็เลยเริ่มเปิดลงทุนให้คนอื่นด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะทำได้
  • กูรูบางคนเกิดขึ้นมาในช่วงที่ตลาดหุ้นเติบโต ตอนนั้นจะซื้อหุ้นอะไรก็โต เพียงแต่โตมากโตน้อยเท่านั้นเอง เวลาที่หุ้นเฟื่องฟูมันน่ากลัว เพราะจะทำให้คนเรารู้สึกว่าเป็นคนเก่งและมั่นใจเกินจนรับเงินคนอื่นมาลงทุน แล้วทำไม่ได้แก้ไม่ได้ สุดท้ายก็เกิดเป็นปัญหา

 

13.34

  • ยุคนี้จะมีการใช้เครื่องมือทางการเงินที่คนไม่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น Forex ทั้งๆ ที่ในตลาดเป็นการลงทุนจริงๆ แต่คนที่ทำกำไรได้ต้องเป็นคนมีฝีมือ และมีความเสี่ยงมากขนาดที่ว่าต่อให้ได้กำไรมาหลายครั้ง แต่ถ้าพลาดครั้งเดียวก็คือหมดตัว

 

14.12

  • Venture Capital คือการร่วมลงทุนกัน จนเป็นกองทุน กองทุนนี้จะมองหาการลงทุนดีๆ ในธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะฉะนั้นเวลาจะลงทุนใน VC เค้าจะระดมทุนจากนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องมีเงินพอสมควรและพร้อมจะเสีย
  • แต่แชร์ลูกโซ่ไม่ใช่แบบ VC ซึ่งจะรวมเงินกัน ทำเสมือนว่าจะไปลงทุนแล้วมีโฆษณามาให้ดู ว่าเงินที่ระดมทุนมาจะเอาไปลงทุนในบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา มีภาพโชว์ตัวเลขผลประกอบการ ซึ่งคนไม่รู้เรื่องก็ไม่เข้าใจ แต่โลภ อยากได้ จึงยอมเสียเงินเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ
  • คนที่ไม่รู้เรื่องก็จะเข้า process แบบเดิมคือ เอาภาพการลงทุนใหญ่ๆ มาบังหน้า ล่อลวงด้วยผลตอบแทนสูงๆ จูงคนเข้ามา เริ่มจ่ายตังทอนเพื่อให้คนเข้ามาตอนแรกๆ ไปชวนต่อ พอคนเข้ามาเยอะมากพอก็ปิด แล้วก็ยกเงินหนีไป

 

15.57

  • เดี๋ยวนี้ระบบทำได้สวยงามมาก ทำเป็นเว็บไซต์ มีแอ็กเคานต์ส่วนบุคคล ตั้งชื่อโปรเจกต์เร้าใจ เช่น แบงก์ 50 แลกแบงก์ 1,000 คนก็จะตื่นเต้นแล้วฝากเงินเข้าไป ถามว่าถอนได้เมื่อไหร่ ก็บอกถอนไม่ได้จนกว่าจะครบ 3 ปี
  • ใจความหลักก็คือถ้าคุณเจอการลงทุนในประเภทนี้ให้ถามเขาเลยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้การคุ้มครองหรือเปล่า ถ้าอยู่นอกเหนือก็อย่าไปยุ่งเด็ดขาด

 

18.39

  • กูรูบางคนจะเปิดคอร์สสัมมนา แล้วตอนจบก็จะนำไปสู่การลงทุน เริ่มจากเปิดภาพโชว์ความสำเร็จตัวเอง ให้คนเข้ามาติดตาม เราก็จะอยากได้เงินอย่างที่เขาบอก แต่เราฟังแล้วมันยาก เราไม่น่าจะทำได้เหมือนเขา กูรูก็จะรู้ใจและจะเริ่มขายโปรแกรมการลงทุน “ถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นไปได้ น่าสนใจ แต่ทำเองไม่ได้เพราะความรู้คุณยังไม่พอ เรามีโปรแกรมให้คุณมาร่วมลงทุนกับเรา พร้อมดูแลบริหารงานโดยปรมาจารย์”
  • เมื่อเรานั่งฟังเราก็เชื่อเขา ก็ต่อแถวซื้อโปรแกรม จากนั้นจะมีเพจลับ กลุ่มลับเพื่อสื่อสารกับพวกคุณ แล้วเขาก็จะเลี้ยงไข้ บางที่ใครที่เข้ามาก่อน ครบ 1 เดือนจ่ายเลย บางที่มีข้อผูกมัดต่อว่าต้องอยู่ครบ 6 เดือนถึงจะเริ่มทยอยจ่ายคืน บางที่ล็อกไว้ 3 ปีเต็มๆ แล้วพอคนได้เงินทอน บางคนจะเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ จากนั้นพอระดมทุนได้สักพักหนึ่งพวกนี้ก็จะเริ่มปิดบัญชีหายไป

 

21.16

  • คำถามคือถ้ามันมีคนโดนเยอะแล้ว ทำไมเรื่องแบบนี้ยังเกิดขึ้นได้? เพราะ 1) เหยื่อรายใหม่ยังเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เปลี่ยนเครื่องมือไปเรื่อยๆ มีตลาดใหม่เสมอ 2) เรื่องนี้ไม่ค่อยถูกเผยแพร่ เพราะกลุ่มที่โดนหลอกเขาอายไม่กล้าเปิดตัว ทุกอย่างก็จมหายไป
  • ในปัจจุบันรูปแบบพวกนี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะไม่ใช่การหลอกเงินโดยตรง แต่เป็นการหลอกให้ไปติดกับดักเยอะแยะเลย

 

23.00

  • อีกกลุ่มหนึ่งคือ กูรูอสังหาริมทรัพย์ กูรูกลุ่มนี้จะทำการติดต่อกับคอนโดฯ ต่างๆ ไว้ ว่าถ้าเกิดพาคนไปซื้อเยอะๆ จะต้องได้ค่านายหน้าพิเศษ และวงจรก็เหมือนเดิมคือจะเปิดเพจสอน แล้วก็เปิดคอร์สพิเศษพาไปลงพื้นที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสมมติโค้ชสอนและพาทุกคนไปดูพื้นที่ แล้วบอกแค่ว่าที่นี่โค้ชก็ซื้อ และอยากให้ทุกคนมีไว้คนละหลัง เท่านั้นแหละ จบ ยอดจองระเนระนาด เขาได้คอมมิชชันก้อนโต คุณได้ทรัพย์ที่มันลงทุนไม่ได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้คุณติดกับดักไปอีกนาน เพราะอสังหาริมทรัพย์มันใหญ่ คุณต้องกู้ซื้อและผ่อนไปอีกนาน

 

“นี่คือเรื่องราวที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนที่เข้ามานำเสนอ คนเราก็จะรู้สึกว่ามันใหม่อยู่ตลอด”

 

25.17

วิธีดูว่าอะไรที่มีความเสี่ยงและต้องสงสัยว่าจะเป็นการแชร์ลูกโซ่

  1. เป็นการลงทุนที่ง่าย และได้ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง เช่น ถ้าได้สูงระดับ 5-10% ต่อเดือนโดยที่ไม่ต้องทำอะไร
  2. เป็นการลงทุนประเภทที่ถ้าเราไปชักชวนเพื่อนเข้ามาลงทุนเพิ่ม เราจะได้ผลประโยชน์ผลตอบแทนเพิ่มด้วย
  3. มีการรับประกันผลตอบแทนว่าได้เงินเท่าไหร่ เพราะการลงทุนทุกอันมีความเสี่ยง ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะไม่ทำ

 

27.38

  • สุดท้ายจะฝากพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือลงทุนอะไรก็ควรพอประมาณ มีเหตุผล สอบถามว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นเอาไปทำอะไร มันจริงหรือไม่อย่างไร หัดค้นหาข้อมูล และมีภูมิคุ้มกัน ต้องหัดคิด เอะใจ หัดสงสัย
  • การลงทุนนั้นไม่ได้มีแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว มีอีกด้านคือความเสี่ยงอยู่ด้วย ให้ถามตัวเองทุกครั้งว่าถ้าลงทุนไปสิ่งที่ลงทุนมันไม่ใช่ มันจะส่งผลเสียกับการเงินในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และจะทำให้สถานะทางการเงินของเรานั้นมีปัญหาหรือไม่
  • ถ้าเรารู้จักมันมากขึ้น มีความรู้ และไม่โลภจนเกินไป เข้าใจว่าการลงทุนที่ดีต้องให้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอกับเครื่องมือ และสุดท้ายไม่มักง่าย

 

“รวยเร็วเป็นไปได้ รวยง่ายๆ ไม่มีจริง”


 

Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com




Create Date : 18 ธันวาคม 2562
Last Update : 18 ธันวาคม 2562 22:32:13 น. 0 comments
Counter : 1800 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]