Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย




จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย

(ThaiMedical Student’s Code of Conduct)

1. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยโดยทั่วไป(ThaiMedical Student’s General Practice)

1.1 ยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งประโยชน์ตนเป็นที่สอง

1.2 มีคุณธรรม โดยเน้น การมีวินัยอดทน ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญู กตเวที มีเหตุผลแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามกาลเทศะ

1.3 ปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบจารีตแห่งวิชาชีพ (Professionalism) ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีงามต่อสังคม

1.4 ใฝ่รู้ เรียนรู้ รอบด้าน และประยุกต์ใช้ได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคสมัยและให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

1.5 มีวิจารณญาณในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและอย่างคุ้มค่า ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.6 ละเว้นการรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆที่มีความเกี่ยวข้องหรืออาจมีผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือนำไปสู่ความไม่เหมาะสมต่อความเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์องค์กรนิสิตนักศึกษาแพทย์ สถาบันแพทย์ และต่อวิชาชีพเวชกรรมหรือจรรยาแพทย์

2. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยต่อผู้ป่วย(ThaiMedical Student’s Practice to Patient)

ต้องเคารพสิทธิผู้ป่วยให้เกียรติและปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเสมือนครูบาอาจารย์ โดย

2.1 เก็บความลับผู้ป่วยและห้ามเผยแพร่ยกเว้นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่ว

2.2 สื่อสารกับผู้ป่วยอย่างสุภาพแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องและอย่างเหมาะสม

2.3 ไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่น ๆ จากผู้ป่วย ยกเว้นเพื่อการศึกษา

2.4 คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและตัวนิสิตนักศึกษาเองในการให้การรักษาโดยตระหนักในข้อจำกัดของตนเอง

2.5 ปฏิบัติต่อผู้ป่วยตามกาลเทศะโดยคำนึงถึงความรู้สึกและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

3. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยต่อผู้อื่น(ThaiMedical Student’s Practice to Others)

3.1 ให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของอาจารย์รุ่นพี่ เพื่อน รุ่นน้อง และบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับในสถาบันการศึกษาและสถานพยาบาล รวมทั้งผู้อื่นในสังคม

3.2 ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจต่อเพื่อนนิสิตนักศึกษาแพทย์และเพื่อนร่วมสหวิชาชีพด้วยกัน


ฉบับเต็ม pdf file
//www.ra.mahidol.ac.th/mededrama/download/Thai%20Medical%20Student%27s%20Code%20of%20Conduct%28Full%29.pdf

พิธีลงนามในคำประกาศ “จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย”
//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=666&id=4






แถม ...

แพทย์ต้องมีจรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2013&group=15&gblog=60

Medical Ethics in OB-GYN

//www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=464:medical-ethics-in-ob-gyn&catid=45&Itemid=561

กฏหมายแพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-06-2014&group=7&gblog=181

การระมัดระวังการใช้SocialMedia สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2014&group=7&gblog=179

แพทยสภา เตือนแพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง socialmedia

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=7&gblog=178





Create Date : 13 กรกฎาคม 2556
Last Update : 7 มกราคม 2560 13:38:20 น. 1 comments
Counter : 6142 Pageviews.  

 
"จาก...จริยธรรมนักศึกษาแพทย์...ถึง..จริยธรรมแพทย์"

นักศึกษาแพทย์คือการเรียนเพื่อเตรียมความรู้เป็นแพทย์ อยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัย ในชั้นศึกษาให้จบปริญญาตรีแพทยศาสตร์บัณฑิต หรือ พบ.

เมื่อจบแล้วจึงจะมีสิทธิ ได้รับพิจารณา ว่าจะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือไม่ โดยแพทยสภา
และหากได้รับแล้ว แพทยสภาจะเป็นผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพเวชกรรมต่อไป ซึ่งนั่นหมายถึงการควบคุมจริยธรรมตามข้อบังคับจริยธรรมแพทยสภาด้วย

ในกรณีเด็กนักศึกษา ทำผิดจริยธรรม นั้นยังอยู่ในการดูแลกำกับของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้พิจารณาและลงโทษในฐานะ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย ยังอยู่นอกเหนืออำนาจของแพทยสภา

สิ่งที่แพทยสภาทำได้คือบันทึกข้อมูลเก็บไว้เมื่อถึงวันต้องพิจารณา ให้ใบประกอบวิชาชีพเพื่อให้ออกไปรักษาคนไข้จึงอยู่ในอำนาจของแพทยสภา ว่าจะให้หรือไม่ ด้วยเงื่อนไขอะไร

ความประพฤติในสถานะของนักเรียนแพทย์ย่อม สะท้อนความประพฤติในอนาคตที่จะเป็นแพทย์ที่ดี

เรื่องจริยธรรมระดับนักศึกษาแพทย์ เป็นประเด็นที่สำคัญ แพทยสภามีมติตั้ง คณะอนุกรรมการจริยธรรมนิสิตนักศึกษาแพทย์ฯ ดูแลต่อเนื่องมาหลายปี โดยมี ร.ศ.นพ. สมชาย ธนวัฒนาเจริญ เป็นประธานในปัจจุบันต่อจาก ร.ศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์

คำถามของหลายฝ่ายคือเรื่องทำนองนี้ควรต้องพิจารณาหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไปอย่างไร?

เด็กที่ทำผิดจริยธรรม สมควรให้จบมาเป็นแพทย์ไหม และต้องผิดแบบจงใจเจตนาระดับใด อย่างใดที่ไม่ควรให้เป็นหมอ คือได้ พบ. อย่างเดียว ไม่ให้รักษาคนไข้ และระดับใดยอมรับได้ เพราะความผิดจริยธรรม มีตั้งแต่ กิริยาวาจาไม่เหมาะสม(ที่อาจแก้ไขได้) ไปจนถึงทุจริตต่างๆ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจไป จนถึงทำผิดกฎหมายบ้านเมือง เช่นคดีอาญาและติดคุก (จริงๆมีน้อยมาก) และที่สำคัญแพทยสภามีอำนาจเพียงใด

เรื่องจริยธรรมในนักศึกษา นี้คงเป็นปัญหาที่มิใช่เพียงวิชาชีพแพทย์ ทุกวิชาชีพสุขภาพ(พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ กายภาพ แผนไทย ฯลฯ) และวิชาชีพทั่วไป(นักกฎหมาย วิศวะ สถาปนิก บัญชี ฯลฯ) ที่มีกฎหมายสภาวิชาชีพควบคุม แบบเดียวกันควรพิจารณาเช่นเดียวกันนะครับ

หากไม่ส่งเสริมจริยธรรมตั้งแต่เป็นนักศึกษาให้เห็นความสำคัญ จะมาควบคุมตอนจบแล้วอย่างเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้

ความคืบหน้าอย่างไรต้องรบกวนอาจารย์ผู้ใหญ่ Prasobsri Ungthavorn Somchai Tanawattanacharoen
มาเล่าต่อ ให้ฟังนะครับ

เครดิต .. Ittaporn Kanacharoen
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1311635662230570

ต้นเรื่อง ตำรวจเรียกสอบนักศึกษาแพทย์ และนิสิต ม.ดัง อีกหลายคน หลังพบพิรุธโกงสอบเข้าโรงเรียนสิบตำรวจนครบาล คาดแอบเข้าสอบเพื่อส่งโพยให้ลูกค้าในห้องสอบ ด้าน ศานิตย์ เรียกประชุมด่วน ขยายผลหาตัวการใหญ่รับเงินหัวละ 5 แสน ช่วยโกงสอบ
//hilight.kapook.com/view/147464


โดย: หมอหมู วันที่: 7 มกราคม 2560 เวลา:13:31:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]