Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ยุวชนคนเกษตร ..เรียนฟรี ได้พัฒนาตน ได้เครือข่าย เรียนจบแล้วทำงานได้



"...มากกว่า ได้โอกาสได้เรียนต่อ คือโอกาสในการ พัฒนาตน ฝึกฝนจากการ ลงมือทำ สร้างทักษะผู้นำ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน..."

เปิดรับนักเรียน ศึกษาต่อ โครงการยุวชนคนเกษตร
หลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่
มุ่งเน้นการปฏิบัติ รู้ลึก รู้จริง ทำจริง ครบวงจรเกษตร ทั้งเรื่องพืช ผลไม้ สัตว์ ประมง เทคโนโลยีการเกษตร และธุรกิจการเกษตร

ขอเพียงผู้สมัครมีความตั้งใจจริง มีความซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย และพร้อมจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรกรรม พัฒนาตนเอง และเติบโตไปพัฒนาชุมชนหรือสังคมต่อไป...

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ #ยุวชนคนเกษตร

น้องๆ คนไหนสนใจอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุวชนคนเกษตร สามารถทำได้ง่ายๆ...

 1. อ่านข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ ที่เว็บไซต์ ยุวชนคนเกษตร
(พิมพ์ //www.ยุวชนคนเกษตร.com หรือคลิก https://www.xn--12cfr0crb3do3az2n3d.com/ )

เข้าไปที่เมนู  “รายละเอียดของโครงการ และ คำถามที่พบบ่อย”
และกดติดตามแฟนเพจ  ยุวชนคนเกษตร

2.ชมVDO Re-play Open House 👇https://fb.watch/aueF_f02Wv/
รายละเอียดโครงการแบบจัดเต็ม ในรายการ “บ่ายนี้มีคำตอบ” ตอน สร้างผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ "ยุวชนคนเกษตร"   https://fb.watch/aDbTnbdGBk/

3. กรอกใบสมัคร ได้ที่เว็บไซต์ "ยุวชนคนเกษตร"

4. รอนัดสัมภาษณ์

เพียงทำตามขั้นตอนนี้ น้องๆ ก็จะได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการยุวชนคนเกษตรแล้วนะคะ 🥰🥰

“สร้างคนดี คิดเป็น ทำเป็น”
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
 ที่มาโครงการ: https://fb.watch/6vXokOej2j/
☎️ สนใจสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณต่าย โทร. 092-452-0499

#ยุวชนคนเกษตร
https://www.facebook.com/Empirical.learning.Essence.of.life/posts/336968628430527

#มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
https://www.facebook.com/BCLgroup
https://www.bcl.or.th/




......................................................






บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

โครงการ ยุวชนคนเกษตร
" มากกว่า ได้โอกาสเรียนต่อ คือโอกาสในการพัฒนาตนฝึกฝนจากการลงมือทำ สร้างทักษะผู้นำ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน "
 
1. การกำหนดภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
    ใช้ตามปฏิทินการศึกษาของสถาบันการศึกษาที่มีความร่วมมือกับโครงการ ​​ตลอดระยะเวลาการศึกษา นักศึกษาจะต้องพักอาศัยในศูนย์การเรียนรู้ที่ทางโครงการกำหนดให้ สามารถลากลับบ้านได้ โดยนักศึกษาปี 1 ลาได้ปีละ 1 ครั้ง นักศึกษาปี 2 - 3 ลาได้ปีละ 2 ครั้ง (ให้นอนค้างที่บ้านได้ครั้งละ 2 คืน ไม่รวมเวลาเดินทาง)
    เนื่องจากเป็นหลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ มุ่งเน้นการปฏิบัติ รู้ลึก รู้จริง ทำจริง ครบวงจรเกษตร เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเสมือนชีวิตจริงของเกษตรกรที่จะต้องดูแลพืชและสัตว์ อย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีการปิดเทอม ไม่มีวันหยุด (จะมีวันพักผ่อนที่มีกิจกรรมการเกษตรบ้างอาทิตย์ละ 1 วัน)
​​
2. กำหนดการสำหรับการเรียน และภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
    กระบวนการเรียนรู้แบบการใช้กิจกรรมปฏิบัติ (Active Learning) และการโค้ช (Coaching) โดยใช้เวลาเรียนรู้ พัฒนาทักษะจากการปฏิบัติจริงประมาณ 80% และเรียนรู้พัฒนาโดยผ่านกระบวนการอื่นๆ 20% เช่น การเยี่ยมชมดูงาน การทำเวิร์กชอป การเรียนในห้องเรียน การสะท้อนการเรียนรู้ เป็นต้น ภายใต้การแนะนำ ให้คำปรึกษาโดย คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาในความร่วมมือ และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายธุรกิจในเครือข่ายของมูลนิธิฯ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอาชีพที่ถูกต้องเหมาะสม
​​
3. ค่าใช้จ่ายในการเรียนเป็นเท่าไหร่
ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และค่าอาหาร สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นส่วนตัวจะได้รับเป็นวงเงิน 500 บาทต่อเดือนเพื่อใช้ชื้อของผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโครงการ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับการสำรองจ่ายจากเงิน   ในกองทุนที่มูลนิธิฯ เมื่อมีรายได้จากผลผลิต เงินดังกล่าวจะถูกนำมาคืนมูลนิธิฯ เพื่อขยายทุนให้รุ่นน้อง และ   จะปันผลบางส่วนให้นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา
​​*** นักศึกษาและผู้ปกครอง จะต้องทำสัญญารับทุนการศึกษานี้ หากนักศึกษายุติการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จะต้องชดเชยเงินทุนตามจำนวนที่มูลนิธิฯ ได้จ่ายไป (ถ้าเรียนจบตามหลักสูตร ไม่ต้องใช้เงินคืน​​ไม่มีข้อผูกมัด) ไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้เงินเรียนและไม่อนุญาตให้นักศึกษาขอเงินจากผู้ปกครอง

4. ตัวอย่างตารางเรียนแต่ละวันเป็นอย่างไร
ในช่วงของการสร้างพื้นฐานและการบ่มเพาะคุณลักษณะของเกษตรกร ตื่นนอนเวลา 4:00 น.และเริ่มทำกิจกรรม ตั้งแต่ 05:00-17:00 น. (รวมเวลารับประทานอาหารและเวลาพัก) เวลา 19:00-20:00 น. จะเป็นการสะท้อนการเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงเป็นเวลาส่วนตัวจนถึงเวลา 21:30 น. จึงเข้านอน
​ในช่วงของการเรียนรู้ภายหลังจากผ่านการสร้างพื้นฐานและการบ่มเพาะ จะถูกกำหนดโดยกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละศูนย์เป็นหลัก และมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของกิจกรรมที่รับผิดชอบ ตามแบบของผู้ประกอบการจริง
​5. ทางโครงการวางแผนรับนักเรียนปีละกี่คน (จำนวนนักศึกษาที่จะรับในปี 2565)
ระดับปริญญาตรี 60 คน (ม.สงขลานครินทร์ มทร.อีสานสกลนคร)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 100 คน (มทร.อีสานสกลนคร ว.เกษตรกำแพงเพชร)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 500 คน (มทร.อีสานสกลนคร ว.เกษตรอุบลราชธานี ว.เกษตรกำแพงเพชร)
 
6. สถานที่เรียนคือที่ไหนบ้าง
ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ภูตะวันออแกนิคฟาร์ม        จังหวัดอำนาจเจริญ
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ยโสธรออแกนิก                จังหวัดยโสธร
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ปันสุข                           จังหวัดสระบุรี
ศูนย์การเรียนรู้ สวนนันประภา                    จังหวัดพัทลุง
สถานีวิจัย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
​​   
***หมายเหตุ ในปี พ.ศ.2556 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร น่าจะได้เป็นศูนย์บ่มเพาะแห่งที่ 2 และจะเป็นวิทยาลัยเกษตรต้นแบบของวิทยาลัยเกษตรทั่วประเทศ (เปลี่ยนหลักสูตรการเรียนเป็นแบบ BCL 100%)
 
7.เริ่มเรียนที่ไหน และจะเดินทางอย่างไร
เริ่มเรียนที่ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ที่ทางมูลนิธิฯกำหนด ปัจจุบันคือ ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน จังหวัดสกลนคร ประมาณ3-4 เดือน จึงจะมีการย้ายไปยังศูนย์การเรียนรู้อื่นๆ
การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากภูมิลำเนาจะรับผิดชอบโดยนักศึกษาและผู้ปกครอง
​​การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อการไปเรียนรู้ในแต่ศูนย์ จะรับผิดชอบโดยมูลนิธิฯ
 
8. กำหนดเวลาการรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2565 เป็นอย่างไร
เปิดรับสมัคร  เปิดรับทุกเดือน เดือนละ 100 คน หรือจนกว่าจะเต็มจำนวน (ที่ระบุไว้ในข้อ5)
จะมีการสัมภาษณ์ทั้ง “ผู้ปกครองและนักศึกษา” ในสถานที่(จะระบุภายหลัง) หรือ ทางโทรศัพท์
 
9. ข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครเรียนเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ใด
https://www.ยุวชนคนเกษตร.com/
https://www.facebook.com/Empirical.learning.Essence.of.life/
Line OA ยุวชนคนเกษตร https://lin.ee/UJAGMoo
สนใจสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณต่าย โทร. 092-452-0499
 
#มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
https://www.facebook.com/BCLgroup    
https://www.bcl.or.th/

 


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2565 20:24:29 น. 0 comments
Counter : 1453 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]