Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จำนวน แพทย์ ในกระทรวงสาธารณสุข ขาดแคลนจริงหรือ ???





นำมาฝาก จากเวบไทยคลินิก


จำนวนแพทย์ไทยที่เหลือทำงานในกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2550 พบว่ามีจำนวนเพียง 11,415 คน (1) แต่ถ้านับจำนวนผู้บริหารที่เป็นแพทย์แล้วจะพบว่ามีจำนวนประมาณ 1,000 คน

และยังมีแพทย์ที่ลาไปศึกษาต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสถาบันฝึกอบรม ที่เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ส่วนใหญ่) และส่วนน้อยที่มาเรียนต่อในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอีกทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน

ก็จะเหลือแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ ประมาณ 8,000 คนเท่านั้น(1)

แต่จำนวนประชาชนที่ไปรับบริการตรวจรักษาโรคที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขนั้ นตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปีพ.ศ. 2548 (2)
พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหม ด134,057,237 ตรั้ง มีผู้ป่วยนอนอยู่ในโรงพยาบาล 8,477,543 รายคิดเป็นจำนวน 35,656,391 วัน(2)

ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า แพทย์ต้องทำการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขถึง 134,057,237 ครั้งรวมกับ 35,656,391 ครั้ง (ต้องตรวจผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลทุกวันอย่างน้อยวันละครั้ง) ประมาณ 170 ล้านครั้งต่อปี โดยแพทย์ประมาณ 8,000 คนเท่านั้น

จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจะต้องทำงานคนละ 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(3) แต่มีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกเพียงคนละ 2-4 นาที (3,4)

และผู้ป่วยเสี่ยงต่อความผิดพลาด ได้รับอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ จนมีปัญหาฟ้องร้องแพทย์เพิ่มขึ้นมากมาย (5) ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา จนถึงกับมีคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์ เพราะรักษาผู้ป่วยแล้วไม่รอดชีวิต(6)



ตารางที่ 1 เปรียบเทียบจำนวนแพทย์ภาครัฐและเอกชน(1)

ปีพ.ศ. 2547 ร้อยละ 2551 ร้อยละ
จำนวนแพทย์ทั้งหมด 18,918 100 27,000 100
ราชการทั้งหมด 15,324 81 22,000 81.5
สธ. 9,375 49.5 11,000 40.75
ราชการนอกสธ 5.945 31.5 11,000 40.75
เอกชน 3,594 19 5,000 18.5

ปีพ.ศ. 2547 มีแพทย์ทั้งหมด 18,918 คน เป็นข้าราชการ 15,324คน81%) ในจำนวนนี้เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข 9,375 คน (49.5%) เป็นข้าราชการนอกกระทรวงสธ. 5,945 คน (31.5%) ทำงานเอกชน 3,594 คน (19%)

ปีพ.ศ. 2551 มีแพทย์ทั้งหมด(ที่ยังไม่เกษียณ) 27,000 คน เป็นข้าราชการทั้งหมด 22,000 คน (81.5%) ในจำนวนนี้เป็นข้าราชการกระทรวงสธ.11,000 คน (40.75%) เป็นข้าราชการนอกกระทรวงสธ. 11.000 คน (40.75%) และทำงานเอกชน 5,000 คน( 18.5%)

ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข มิถุนายน 2551



เอกสารอ้างอิง

1.จำนวนแพทย์ไทยจำแนกตามการทำงาน : ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข มิถุนายน 2551

2.สถิติการตรวจรักษาผู้ป่วยของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

3.พญ.ฉันทนา ผดุงทศและคณะ. ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550 ;16 (4) : 493-502

4. ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษและคณะ. โครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

5. สถิติการฟ้องร้องแพทย์ แพทยสภา

6.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ คำพิพากษาให้แพทย์ต้องโทษจำคุก วารสารวงการแพทย์ 2551; 262, 263 :16-20



ส่งโดย: cmu06



ปล. จาก ตารางที่ ๑

มีแพทย์เพิ่มขึ้น ( จาก 18,918 เป็น 27,000 )

แต่ อัตราส่วนของแพทย์ที่อยู่ กระทรวงสาธารณสุข กลับลดลง ( จาก 49.5 เหลือ 40.75 )

ตอนแรกยังคิดว่า หมอ รพ.เอกชน น่าจะเยอะขึ้นมาก แต่กลับเป็นว่า อัตราส่วนของ หมอ รพ.เอกชน กลับคงเดิม ( จาก 19 เป็น 18.5 )

น่าแปลกจริง ๆ



Create Date : 26 ตุลาคม 2552
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 20:03:19 น. 3 comments
Counter : 3120 Pageviews.  

 
คุณหมอครับใน11,000คนที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข
ทำหน้าที่บริหารแต่ไม่ได้รักษาคนไข้กี่คนครับ ผมว่าเราสูยเสียตรงนี้ไปไม่ใช่น้อยนะครับ เพราะท่านที่มาดำรงตำแหน่งบริหาร
แต่ละคนก็รักษาคนไข้มาหลายๆปีกันทั้งนั้น


โดย: ข้าราชการบำนาญสาธารณสุข (Ni.Somsak ) วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:5:43:21 น.  

 

ที่มีเขียนไว้

จำนวนแพทย์ไทยที่เหลือทำงานในกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2550 พบว่ามีจำนวนเพียง 11,415 คน (1)

จำนวนผู้บริหารที่เป็นแพทย์ แล้วจะพบว่ามีจำนวนประมาณ 1,000 คน

............... ซึ่งผมคิดว่า น่าจะรวม ๆ ตำแหน่งผู้บริหาร ทั้งหมด นะครับ ไม่เช่แค่เฉพาะที่ทำงานในกระทรวงฯ ซึ่งถ้าเป็นตำแหน่งผู้บริหาร ก็มักจะไม่ค่อยได้มาตรวจผู้ป่วยเป็นจริงเป็นจัง ทั้งนั้น ...

................ ก็มีบางส่วนเหมือนกัน ที่ต้องเบนเข็มไปทำบริหาร เพราะ ทำงานเป็นหมอผ่าตัด ไม่ไหว


โดย: หมอหมู วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:19:54:57 น.  

 


"มุมมองต่อหมอของคนไทยสมัยนี้เปลี่ยนไปแล้วล่ะมั้ง" ... โดย ปวัน ประสิทธิ์วุฒิ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=40


สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=7&gblog=140


ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=15&gblog=37


เวลาเปลี่ยน คนไข้ (ญาติ) เปลี่ยน แต่ หมอ (บางคน) ไม่ยอมเปลี่ยน ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=39


ข้อมูลจำนวน แพทย์ และ กำลังคนของกระทรวงสาธารณสุข ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=27-08-2010&group=15&gblog=38


จำนวน แพทย์ ในกระทรวงสาธารณสุข ขาดแคลนจริงหรือ ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-10-2009&group=15&gblog=8


โดย: หมอหมู วันที่: 19 มิถุนายน 2554 เวลา:14:26:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]