Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคม ระดับประเทศ ...สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา แถมเรื่อง ขี้หมา(คนอื่น) หน้าบ้าน(เรา)

 


ปัญหาสุนัขจรจัดสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

https://straydogg.blogspot.com/2012/05/first-post.html

จากการสัมมนาร่วมระหว่างสมาคมคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์แห่งโลก(THE WORLD SOCIETY FOR THE PROTECTION OF ANIMALS หรือWSPA) กับกรุงเทพฯเพื่อหากลยุทธ์การควบคุมสุนัขจรจัดให้มีประสิทธิภาพ

วิธีที่จะควบคุมจำนวนสุนัขให้ได้ผลที่ควรพิจารณา คือ เข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสัตว์ ควบคุมแหล่งที่อาศัย และการให้อาหาร โดยมี 3 องค์กรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ

ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ มีงบประมาณ มีคน

ความรู้ สัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานสาธารณสุข (โรคพิษสุนัขบ้า)มหาวิทยาลัย

เครือข่ายภาคประชาสังคม ประชาชน

 

โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ประการ (THEKEY PRINCIPLE OF STRAY CONTROL) ที่ต้องทำไปด้วยกันจึงจะสำเร็จ คือ

การออกกฎหมายในระดับประเทศหรือท้องถิ่น

การจดทะเบียนสุนัขเพื่อควบคุมสุนัขมีเจ้าของ การฉีดวัคซีน

การทำหมัน

การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบและให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน

 

“”””””””””””””””””

ข้อกำหนดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE) การควบคุมจำนวนประชากรสุนัขอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบด้วยการให้การศึกษาและการบังคับใช้กฎหมายสำหรับสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบของเจ้าของสุนัขอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการตามหลัก animal welfare มีการขึ้นทะเบียนสุนัขและการควบคุมการขยายพันธุ์มีการควบคุมเคลื่อนย้ายทั้งภายในและต่างประเทศ มีการป้องกันสิ่งแวดล้อมมีมาตรการควบคุมการค้าสุนัขที่ผิดกฎหมายมีการป้องกันและลดการถูกสุนัขกัดและมีการทำลายสุนัขในกรณีที่จำเป็น

https://news.sanook.com/1844938/

 

 

ตัวอย่าง วิธีการแก้ไขปัญหาฯ

- การขึ้นทะเบียนและควบคุมสุนัขอย่างเป็นระบบทั้ง สุนัขที่มีเจ้าของและสุนัขจรจัด (การกรองสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของออกจาก สุนัขที่มีเจ้าของให้ชัดเจน) ให้เจ้าของสุนัขนำสุนัขทุกตัวที่ต้องการจะเลี้ยง ไปทำการสักเบอร์หูพร้อมกับขึ้นทะเบียนตัวและทำประวัติให้เรียบร้อย ถ้าใช้วิธีการสักเบอร์หูแทนการฝังไมโครชิพ จะช่วยประหยัดงบประมาณ

- การทำหมันและ การให้ความรู้ประชาชนถึงประโยชน์ของการทำหมันเพื่อไม่ให้มีการเพิ่มของจำนวนประชากรมากเกินไป (OVER POPULATION) รณรงค์และขอความร่วมมือ กับเจ้าของสุนัขให้ทำหมันสุนัขที่ไม่ต้องการจะมีลูก เพื่อป้องกันการแพร่ขยายพันธุ์ของสุนัขโดยไม่ตั้งใจ

- เปลี่ยนสุนัขจรจัดเป็นสุนัขชุมชน แนวทางนี้คือการให้ ผู้ที่รักสุนัขหรือชมรมคนรักสุนัขฯลฯ ผู้แทนตามวัดวาอาราม และ คนในชุมชนมีโอกาสในการตัดสินใจร่วมกันว่าจะให้สุนัขจรจัดตัวใดเป็นสุนัขชุมชนบ้าง หากประสงค์จะให้เป็นสุนัขชุมชนทางชุมชนจะดูแลด้านอาหาร สุขภาพ และจัดที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน(คอกสุนัขจรจัด ประมาณ 50 ตรว.)จะได้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ทำความสกปรก ไม่ก่อความรำคาญ โดยทางกทม.จะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างคอกสุนัข อาหารเลี้ยง ฉีดวัคซีนทำหมัน และให้การรักษาเวลาเจ็บป่วยและหากมีลูกสุนัขใหม่เกิดขึ้นชุมชนนั้นจะต้องรับผิดชอบในการขึ้นทะเบียนและเป็นผู้ดูแลสุนัขเหล่านี้ด้วย

- สถานพักพิงสุนัขชุมชนโดยเชิญชวน 'กลุ่มคนรักสุนัข-ผู้ใจบุญ' ที่เลี้ยงสุนัขในบ้านเป็นจำนวนมากๆมาขึ้นทะเบียนกับกทม. โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องไม่เลี้ยงเพิ่ม โดยกทม.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำหมันและฉีดวัคซีนให้สม่ำเสมอเข้าไปปรับปรุงด้านกายภาพการเลี้ยงให้ดูสะอาดให้สุนัขเหล่านี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

- หาเจ้าของให้สุนัขจรจัดหาบ้านใหม่ให้สุนัข นำสุนัขจรจัดไปเลี้ยงไว้ในสถานที่จัดไว้ โดยนำสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของไปทำความสะอาดดูแลขน ทำการฉีดวัคซีน ทำหมัน รวมถึงการฝึกคำสั่งพื้นฐานอย่างง่าย ๆ เพื่อแจกจ่ายสู่ประชาชนหรือหน่วยงานที่ต้องการสุนัขเหล่านี้ไปเลี้ยงดูต่อไปโดยจัดทำประวัติทะเบียนสุนัขให้ผู้นั้นเป็นเจ้าของ อันเป็นการสนองตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด

- จับสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของทั้งหมดไปไว้ยังสถานที่รับเลี้ยงสุนัขจรจัดให้แยกเลี้ยงสุนัขเพศผู้และสุนัขเพศเมียออกจากกัน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์โดยวิธีนี้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำหมันสุนัขแต่อย่างใด

- ปลูกฝังเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ ให้เด็กและเยาวชนโดยเริ่มตั้งแต่การสร้างหลักสูตรการเลี้ยงสุนัขเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้องซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดระยะยาว

 

https://www.oknation.net/blog/kriengsak/2008/06/07/entry-2

https://www.thaigsdclub.org/gsdboard/index.php?topic=790.0

https://www.dogilike.com/board/view.php?id=2649

 

 

ให้อาหารสุนัขจรจัด ...ให้มาเห่าหอนกันอย่างบ้าคลั่ง...

โดย ดร.วีรสิทธิ์ พุฒิไพโรจน์ หัวหน้าปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต https://www.facebook.com/notes/591493994213125/

มีสุนัขจรจัดอยู่มากมายใน จ.ภูเก็ตเนื่องจากผู้คนมีเมตตาและให้อาหารพวกเขา เมื่อคุณให้อาหาร พวกเขาก็จะมาอยู่ใกล้ๆ ยิ่งให้อาหารพวกเขามากเท่าไหร่ก็ยิ่งมากันมาก นี่ทำให้เกิดปัญหา ปัญหาหนึ่งจากพวกสุนัขจรจัดคือการเกิดเชื้อโรคภูเก็ตเป็นจังหวัดปลอดเชื้อพิษสุนัขบ้ามาตั้งแต่ปี 2007และเราก็อยากจะให้เป็นเช่นนี้ตลอดไป

ถ้าคุณต้องการที่จะช่วยเหลือสุนัขจรจัดวิธีที่ดีที่สุดคือไม่ให้อาหารพวกเขา แต่โทรแจ้งเรา หรือสำนักงานเขตท้องถิ่นเราจะไปต้อนจับสุนัขจรจัดและนำมาไว้ที่ศูนย์พักพิงสุนัขในอำเภอถลางซึ่งเป็นที่ที่เราดูแลพวกเขา เราดูแลพวกสุนัข เราไม่ฆ่าพวกเขาเพราะขัดกับหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ขณะนี้มีสุนัขอยู่ประมาณ 400ตัวที่ศูนย์พักพิงสุนัขที่อำเภอถลาง ซึ่งเราเปิดให้ประชาชนสามารถมารับสุนัขไปอุปการะได้

เรารับบริจาคอาหารสุนัขแต่ไม่รับบริจาคเงิน ท่านสามารถนำไบสั่งซื้ออาหารสุนัขมาให้เราและเราจะไปรับอาหารจากร้านค้าเอง

การให้อาหารสุนัขแต่ปล่อยให้พวกเขาอาศัยอยู่บนท้องถนนไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือพวกเขามีมูลนิธิแห่งหนึ่งในภูเก็ตที่จ้างผู้คนให้ให้อาหารสุนัขตามท้องถนนและตามวัดต่างๆในภูเก็ตมูลนิธิฯนี้ยังทำการตอนทำหมันให้กับสุนัขจรจัดด้วย จริงอยู่นี่เป็นการหยุดยั้งการผสมพันธุ์ของสุนัขแต่สุนัขเหล่านี้ก็ยังคงอาศัยอยู่ตามท้องถนน เราชื่นชมในความช่วยเหลือของมูลนิธิฯนี้แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการให้พวกเรานำสุนัขมาไว้ที่ศูนย์พักพิงสุนัข

อีกปัญหาหนึ่งของสุนัขจรจัดที่อยู่ตามท้องถนนคือบางครั้งพวกเขาทำร้ายผู้คน แต่คนที่ให้อาหารสุนัขเหล่านี้ก็ไม่อยากจะรับผิดชอบ มีกรณีหนึ่งที่เป็นเรื่องราวขึ้นศาลมีคนถูกสุนัขจรจัดกัด สุนัขตัวนี้มีคนให้อาหารอยู่ผู้ถูกกัดได้ยื่นฟ้องร้องเอาผิดแก่ผู้ให้อาหารสุนัขศาลได้ตัดสินว่าผู้ที่ให้อาหารสุนัขจรจัดและสุนัขตัวนี้ไม่ได้ไปไกลจากบริเวณนั้นก็ถือว่าคนที่ให้อาหารนี้เป็นเจ้าของสุนัข มีอีกกรณีหนึ่งครั้งหนึ่งเราออกไปจับสุนัขจรจัด มีชายคนหนึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของสุนัขผมได้บอกเขาไปว่าผมจะขอถ่ายรูปเขาและขอเก็บสำเนาบัตรประจำตัวเขาเพื่อบันทึกไว้ในกรณีที่ถ้าสุนัขตัวนี้ไปกัดใคร เขาจะต้องรับผิดชอบเขาจึงปฏิเสธว่าไม่ใช่เจ้าของของสุนัขตัวนี้อีก

ถ้าท่านโชคร้ายโดนสุนัขกัดสิ่งแรกที่ต้องทำคือดูแลบาดแผลของตนเอง ล้างแผลด้วยน้ำให้มากๆเพราะเชื้อโรคมาจากน้ำลายของสุนัข ดังนั้นการยิ่งล้างแผลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีจากนั้นก็ไปพบแพทย์ ถ้าเป็นไปได้ให้ถ่ายรูปสุนัขที่กัดท่านจากนั้นก็แจ้งให้เจ้าของสุนัขทราบ หรือไม่ก็แจ้งความกับตำรวจ

ถ้าท่านถูกสุนัขกัดในอาณาบริเวณบ้านของผู้ใดก็ตามท่านจะไม่สามารถโทษเจ้าของ เพราะท่านไปอยู่ในเขตบ้านของเขาการชดเชยค่าเสียหายจะขึ้นอยู่กับเจ้าของท่านมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองเมื่อถูกสุนัขโจมตี ภายใต้หลักของเหตุผลแต่ถ้าท่านถูกสุนัขกัดอยู่ในอาณาบริเวณบ้านของคนอื่น มันก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เพื่อประโยชน์ของพวกเราทุกท่านและเพื่อสุนัขเหล่านี้มาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในภูเก็ต


...................................




TheerapatCharoensuk 7มีนาคม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155076052901809&set=a.179824101808.128902.684336808&type=3&theater&ifg=1

มาเรียง Timeline เรื่อง สตง.กับวัคซีนพิษสุนัขบ้าของ อปท. แล้วตลกดี

1. ปี57หลังรัฐประหาร สตง. ออกไล่ล่าตรวจสอบการใช้งบของ อปท. ย้อนหลังปี 56

2. ปลายปี2557สตง. ทำหนังสือเสนอแนะว่า เทศบาลตำบลสุรนารี ใช้เงินซื้อวัคซีนพิษสุนัขบ้าไม่ตรงกับจุดประสงค์ของ พรบ. โรคพิษสุนัขบ้า 2535 ที่ให้เป็นหน้าที่กรมปศุสัตว์ให้เรียกเงินคืน สอบวินัยย้อนหลังเทศบาล ฯลฯ

3. เทศบาลตำบลสุรนารีสู้โดยยื่นต่อกรมปศุสัตว์ ให้กรมปศุสัตว์ยื่นเรื่องตีความ

4. การเรียกเงินคืนนี้สตง. ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อเตือนไปยัง อปท.ทั่วประเทศอปท.เลยระงับการซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัด.

5. กรมปศุสัตว์ยื่นตีความต่อกฤษฎีกา ลงวันที่ 29 มกราคม 2558

6. กฤษฎีกา2คณะ ตีความว่ากรมปศุสัตว์มีอำนาจ แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังมีอำนาจมอบให้ อปท.ซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์แทนด้วย ในต้นปี 2559

7. แต่โรคพิษสุนัขบ้าก็เริ่มระบาดรุนแรงในระดับหนึ่งแล้วในปี2560

8. ระเบียบที่กฤษฎีกาตีความว่าทำได้สตง. ดันไม่เผยแพร่ ไม่มีหนังสือเวียนแจ้ง อปท. เหมือนตอนห้าม

9. สตง.เสไปบอกว่าจะตรวจสอบเรื่องวัคซีนที่ซื้อไม่มีคุณภาพ สต็อกแล้วเสื่อม แทนในปี 2560โดยไม่เอ่ยถึงเรื่องที่ตัวเองไปเสือกว่า อปท.ไม่มีอำนาจตอนปี 2557สักคำ

10. ปี2561พิษสุนัขบ้าระบาดหนักกว่าเดิมเกินครึ่งประเทศ และอปท.หลายแห่งก็ยังไม่กล้าซื้อวัคซีนมาฉีด เพราะ สตง.ก็ยังจะไปตามจิกเค้าอยู่(ต้นปี 2561อดีตผู้ว่าสตง. ยังลงข่าวตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยความภูมิใจ)

11. หลังจากเจรจากันเรียบร้อยว่าอปท สามารถซื้อวัคซีนได้ กลับกลายเป็นว่า ปี 2560 อย.เข้มงวดกับการนำเข้าวัคซีนโดยบอกว่ามีวัคซีนที่อุณหภูมิไม่ได้ขณะขนส่ง ทำให้ปี 60 วัคซีนพิษสุนัขบ้าถึงกับขาดตลาดไปช่วงหนึ่ง

(ขอบคุณภาพจากข่าวสด)

อ้างอิง

https://www.isranews.org/isranews-scoop/46262-krd.html

https://news.thaipbs.or.th/content/270806

https://thaigcd.ddc.moph.go.th/…/Vaccin%20Rabies%2027-04-59.…

https://www.dailynews.co.th/regional/393237

https://www.oag.go.th/…/%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%A…

Off Possatorn
ตามความเห็นกฤษฎีกาคณะ 10กรณีเทศบาลสุรนารี

ข้อเท็จจริงคือเทศบาลสุรนารีฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าฟรี สตง. เลยโวย ว่าไม่ใช่อำนาจท้องถิ่นและฉีดฟรีไม่ได้ เรียกให้คืนเงิน

กฤษฎีกามีความเห็น 2ประเด็น

1) ท้องถิ่นมีอำนาจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเช่นเดียวกันกับกรมปศุสัตว์ครับ ไม่จำเป็นต้องได้รับมอบหมายจากปศุสัตว์

2) การฉีดวัคซีนฟรีจะทำได้ต่อเมื่อมีการประกาศกำหนดเขตท้องที่ ให้เจ้าของนำสัตว์ไปฉีดวัคซีนซึ่งกรณีสุรนารีนี้ ไม่มีการประกาศแต่กฤษฎีกามองว่าเทศบาลสุจริตเนื่องจากมีหนังสือจากจังหวัดขอความร่วมมือและปีที่ผ่านๆ มามีการประกาศตลอด จึงสามารถทำได้

ซึ่งส่วนตัวได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการในชั้นต้นเคสนี้นอกจาก สตง. จะผิดแล้ว ปศุสัตว์ก็พอๆ กันครับ เพราะจริงๆการประกาศท้องที่ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ไม่ยอมประกาศให้ครอบคลุม เทศบาลเลยซวยไปทำตามหนังสือจังหวัด แต่โดน สตง. ไล่บี้

การพิจารณามีประเด็นเรื่องวัคซีนด้วยว่าทำไมไม่รอวัคซีนจากปศุสัตว์ ปศุสัตว์ก็ชี้แจงว่าวัคซีนขาดตลาดไม่สามารถจัดหาให้ อปท ได้ อปท เลยต้องจัดซื้อจากเอกชนเอง


****************************************


ผู้ว่าฯ สตง.แถลงข้อเท็จจริงกรณีสตง.ถูกกล่าวหาเป็นต้นเหตุทำพิษสุนัขบ้าระบาด

วันที่ 12มีนาคม 2561 - 14:41 น.

https://www.prachachat.net/general/news-128827

 

นายประจักษ์ บุญยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเปิดเผยว่าตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนกรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ทักท้วงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงปลายปี ๒๕๕๗ และมีการกล่าวอ้างว่าทำให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องหยุดชะงักเป็นเวลา๑-๒ ปี จนเป็นเหตุให้มีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันนั้น สตง. ขอเรียนชี้แจงว่า สตง.ในฐานะองค์กรตรวจเงินแผ่นดินได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน สตง.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งนี้หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. ๒๕๓๕ ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๕๘ สตง.ได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับกระทรวงมหาดไทยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค รวมทั้งผู้แทนจากสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทยสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

จนกระทั่งต่อมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๙๑.๓/ว ๑๒๐๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่องการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัดว่าจากการประชุมร่วมกันของผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเห็นสอดคล้องกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นทางจังหวัดก็ได้มีหนังสือแจ้งไปยังนายอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆโดยอ้างผลจากการประชุมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป

การกล่าวอ้างว่าการทักท้วงของ สตง.มีผลทำให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องหยุดชะงักเป็นเวลา๑-๒ ปี จนเป็นเหตุทำให้เกิดการแพร่ระบาดในช่วงปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันน่าจะคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจาก สตง. มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดในขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็ได้มีหนังสือเวียนแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้มีหนังสือแจ้งไปยังนายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันแล้วผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๕๙คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัย เรื่องเสร็จที่ ๔๔๒/๒๕๕๙แล้วว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแต่เนื่องจากยังไม่มีการออกระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้มีการกำหนดให้นำแนวทางปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๙๑.๓/ว ๑๒๐๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ดังกล่าวข้างต้นมาใช้ไปพลางก่อนซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้มีการหารือร่วมกันระหว่าง สตง.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

๑) ประเด็นการจัดหาวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดหาวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้าเพื่อการป้องกันและระงับโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๓๕โดยดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามมาตรา ๕เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องเสียค่าธรรมเนียมยกเว้นกรณีมีการประกาศเขตป้องกันและการแพร่ของโรคฯ ของอธิบดีกรมปศุสัตว์ ตามมาตรา๑๗ เจ้าของสัตว์ควบคุมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

๒)กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับประกาศหรือมีคำสั่งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขอันเนื่องจากการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่จะเกิดกับคนหรือสัตว์ซึ่งตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓กำหนดให้คนหรือสัตว์ได้รับการป้องกัน และสามารถจัดหาและให้เครื่องอุปโภครวมถึงการจัดหาเวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถจัดหาและให้วัคซีนเพื่อป้องกันและระงับพิษสุนัขบ้าทั้งกับสัตว์ที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

๓)ประเด็นการจัดหาและให้วัคซีนกับสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของหรือเจ้าของไม่แสดงตนนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ โดยทำให้สัตว์ควบคุมนั้น ตกเป็นสัตว์ของราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๓๐แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ นอกจากนี้ ตามมาตรา ๙แห่งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ยังให้อํานาจกับเจาพนักงานทองถิ่นในการทําลายสัตวควบคุมนั้นได้

๔) สำหรับสัตว์ควบคุมที่มีเจ้าของเจ้าของควรต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์และสังคม รวมถึงความรับผิดชอบต่อการให้ยาคุมกำเนิดของสัตว์ควบคุมหรือให้ความยินยอมต่อหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยเฉพาะกรณีของประชาชนยากจนที่ไม่สามารถรับผิดชอบภาระนั้นได้สำหรับสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการตามแนวทางวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ ๔๔๒/๒๕๕๙ นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังสามารถทำหมันคุมกำเนิดสัตว์ควบคุมได้เพื่อเป็นการป้องกันและระงับโรคติดต่อ

๕)การดำเนินการทุกกรณีที่กล่าวมาข้างต้นต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้เช่น ต้องมีทะเบียนสัตว์ควบคุมในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีทะเบียนคุมสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการเก็บรักษาวัคซีนอย่างถูกวิธีและเหมาะสม ผู้ฉีดวัคซีน เป็นต้นและต้องมีวินัยทางการเงินการคลังเพื่อการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๖) กระทรวงมหาดไทยได้ออกหนังสือ ด่วนที่สุดที่ มท ๐๘๑๐.๕/ว ๐๑๒๐ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐กำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางที่ สตง. ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ และ สตง. ก็มีข้อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามหนังสือฉบับดังกล่าว

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวในตอนท้ายว่าปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๖๐ และ สตง. ได้เสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางข้างต้นสำหรับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่กล้าที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องจากเกรงว่าจะถูกทักท้วงจาก สตง. นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ สตง.จะต้องประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยในเบื้องต้นจะได้มอบหมายให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดทำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

 

 

******************************************************************************************

สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ ...สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา (นำมาฝาก) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-02-2017&group=15&gblog=78

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า... ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-08-2012&group=4&gblog=94

โรคพิษสุนัขบ้า https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-03-2008&group=4&gblog=23


............................



ขี้หมา (คนอื่น) หน้าบ้าน (เรา) .. ปัญหาของคนเลี้ยงหมาในเมือง
 

 

สรุปวิธี ป้องกันหมาอึ หน้าบ้าน

๑. เปลี่ยนที่อึเป็นที่กิน ล้างบริเวณนั้นให้สะอาด แล้วนำภาชนะใส่อาหาร เช่น อาหารเม็ด กระดูกไก่ไปวางไว้ตรงนั้นแทน หรือ เปลี่ยนที่อึ ไปที่อื่น ตักอึสุนัขไปวางไว้บริเวณที่ต้องการให้สุนัขไปอึก

๒. ใช้สารที่มีกลิ่นฉุนล้างบริเวณนั้นให้สะอาด แล้วนำสารที่มีกลิ่นฉุนมาวางไว้ เช่น พริกไทยป่นพริกป่น ลูกเหม็น น้ำส้มสายชู .น้ำส้มสายชูผสมเบกกิ้งโซดา น้ำหมักชีวภาพน้ำมันสน น้ำมันก๊าด แอมโมเนีย ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำยาฉีดปลวก

๓. การสะท้อน เช่น.ขวดพลาสติกใส่น้ำ แผ่น CD กระจก

สุดเจ๋ง!!วิธีเด็ด!! ป้องกันหมาอึ..หน้าบ้าน ได้ผลจริง!! https://kaijeaw.com/ป้องกันหมาอึ/

เคล็ดลับวิธีการป้องกันสุนัขอึหน้าบ้าน https://www.thaihometown.com/knowledge/651


ส่วนเรื่องทางกฎหมาย ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อาจแจ้งได้ที่

- สำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทรศัพท์ 0-5571-8200

- ศูนย์ดำรงธรรมเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ชั้น ๒ หน้าห้องนายกเทศมนตรี โทรศัพท์ 0-5571-8200 ต่อ201

- FB@เทศบาลเมืองกำแพงเพชร งานประชาสัมพันธ์ https://www.facebook.com/pr.kppmu


ปล. เท่าที่ค้นหาจากเวบเทศบาลเมืองกำแพงเพชร หน้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง https://www.kppmu.go.th/services_09.php พบมีเทศบัญญัติ๒ ฉบับ (ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๙ ) ไม่แน่ใจว่า มีใหม่กว่านี้หรือไม่ ?
- เทศบัญญัติเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2544 https://www.kppmu.go.th/peo/03-04-2550_13-20-08-1.pdf

- เทศบัญญัติเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2549 https://www.kppmu.go.th/peo/03-04-2550_13-23-56-1.pdf


อยากเลี้ยงสุนัขต้องรู้! มีกฎหมายอะไรเกี่ยวข้องบ้าง

https://today.line.me/TH/pc/article/bf4c40cf4bcee0503db40b03930cbd12cab5b722290481514fe8903ef2d58086

สำหรับในกรุงเทพมหานครมีการออกมาตราทางกฏหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขเพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันตรายจากการเลี้ยงสุนัขอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัข โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ข้อ 26 ประกอบกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 73 วรรค 2 ดังนี้

1.เจ้าของสุนัขต้องควบคุมสุนัขไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญเช่น การก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

2.ต้องรักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุนัขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

3.ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลอันเกิดจากสุนัขในที่หรือทางสาธารณะหรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานครโดยทันที

4.เมื่อสุนัขตายเจ้าของสุนัขต้องกำจัดซากสุนัขให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรคทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

รวมถึงทุกครั้งที่เจ้าของจะพาสุนัขออกไปในที่สาธารณะโดยเฉพาะกับสุนัขควบคุมพิเศษ ซึ่งได้แก่สุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่นพิทบูลเทอเรีย บูลเทอเรีย สเตฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรียรอทไวเลอร์และฟิล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น จะต้องมีเจ้าของติดตามรวมทั้งจะต้องผูกสายลากจูงตลอดเวลาโดยจะต้องใส่อุปกรณ์ครอบปากและใช้สายลากจูงมีความยาวไม่เกิน 50 ซม.

 

ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทโดยประชาชนทั่วไปที่พบเห็นการฝ่าฝืนสามารถแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเทศกิจ ให้ดำเนินการปรับได้ทันทีแต่จะต้องมีหลักฐานบ่งชี้ชัด เช่น ภาพถ่ายและหากสุนัขไล่กัดทำร้ายผู้อื่นก็จะมีโทษปรับ 2 เท่า คือปรับเป็นเงินไม่เกิน 5,000 บาท แล้วจะต้องชดใช้ค่าเสียหายค่ารักษาพยาบาล และค่าทำขวัญให้กับผู้เสียหายอีกด้วย

 

เรื่อง ขี้หมา ขี้หมา

https://www.kraisornlawyer.com/15937061/เรื่อง-ขี้หมา-ขี้หมา

ถ้าเจ้าของน้องหมาปล่อยน้องหมา ออกมาขี้บนถนน แล้วไม่เก็บขี้หมาให้หมดไป หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บแต่ไม่ยอมเก็บ เจ้าของน้องหมามีความผิด ถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท

ถนน หมายถึงทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

ถ้าเป็นถนนหน้าบ้านในหมู่บ้านไม่มีทางเชื่อมออกไปเส้นทางอื่น แม้จะเป็นถนน แต่ไม่ใช่ถนนส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ คงต้องไปว่ากล่าวกันเป็นส่วนตัว

ประชาชนทุกคนที่เห็นเจ้าของน้องหมา ปล่อยให้น้องหมาขี้แล้วไม่ยอมเก็บ สามารถแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่(เทศกิจ) จับกุมดำเนินคดีได้ และมีสิทธิได้ค่าปรับกึ่งหนึ่ง

ในกรณีที่ไม่พบผู้กระทำความผิดประชาชนสามารถแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มาเก็บขี้หมาได้ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มาเก็บ มีความผิดต้องโทษปรับเช่นเดียวกันครับ 555

 

ข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใด (๒) ปล่อยให้สัตว์ถ่ายมูลบนถนนและมิได้ขจัดมูลดังกล่าวให้หมดไป

มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔....ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา ๔ ถนนหมายความรวมถึงทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้ามตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอยสะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

มาตรา ๕๑ ในกรณีที่มีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ประชาชนผู้พบเห็นอาจแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยไม่ชักช้าและให้ถือว่าประชาชนผู้พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ได้จับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้กระทำความผิดจัดการลบ ล้าง กวาด เก็บ ตกแต่งปรับปรุงสิ่งที่เป็นความผิดมิให้ปรากฏอีกต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนดถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมปฏิบัติตาม ให้คดีเป็นอันเลิกกันถ้าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจัดทำหรือมอบหมายให้ผู้อื่นจัดทำให้เกิดความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยและให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเข้าจัดทำความสะอาดหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามที่ได้ใช้จ่ายไปจริงให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่การชดใช้ค่าใช้จ่ายไม่ลบล้างการกระทำความผิดหรือระงับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด

มาตรา ๔๘ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งและพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป

ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งตามมาตรา ๕๑กึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจรหรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกกึ่งหนึ่ง

มาตรา ๔๕ เมื่อมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นในท้องที่ใดและพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจทราบตัวผู้กระทำผิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นนั้นทุกคนร่วมกันขจัดหรือแก้ไขไม่ให้สิ่งที่ผิดกฎหมายปรากฏอยู่ในที่สาธารณะหรือสถานสาธารณะอีกต่อไป

มาตรา ๕๙ พนักงานสอบสวนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามที่มีการแจ้งความนั้น

คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๕๒๑๕/๒๕๕๔เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ.๒๕๓๕

 


***************************************************

มีกฎหมายเอาผิดคนเลี้ยงหมามั้ยครับ
https://pantip.com/topic/37443047



 

การเอาผิดกับเจ้าของสัตว์ที่ปล่อยปละละเลยไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นแบบนี้ มีกฎหมายคุ้มครองเยอะแยะมากคับ ผมจะขอไล่เป็นข้อ ๆ ไปละกัน

 

1. การที่เจ้าของปล่อยสัตว์ดุร้ายออกเที่ยวไปลำพังไม่ดูแล จนสัตว์นั้นไปสร้างความเสียหาย หรืออาจจะไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นความผิดตามกม.อาญา ม. 377 มีโทษจำคุกไม่เกิน1 เดือน ปรับไม่เกิน1 พัน

 

2. เจ้าของปล่อยให้สัตว์ปล่อยสิ่งปฏิกูลตามหน้าบ้านคน โดยไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ผิดตามพรบ.รักษาความสะอาด ม.14 (2) ประกอบมาตรา 52 มีโทษปรับ 500 บาท

 

3. เจ้าของปล่อยสัตว์ ละท้ิงสัตว์ไปจากความดูแล โดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดตามพรบ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ มาตรา 23 ประกอบ มาตรา 31 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท

 

4. และกรณีที่สัตว์ที่เราดูแล ไปก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น ไปกัดหรือไปทำข้าวของเสียหาย เจ้าของสัตว์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 433

 

บ้านเรามีกฎหมายครอบคลุมทุกอย่าง แต่เรามักไม่ค่อยใช้กันเคร่งครัด เลยทำให้เจ้าของสัตว์ปล่อยสัตว์ไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นแบบไม่สนใจ พอสัตว์ไปทำร้ายคน หรือทำข้าวของเสียหาย ก้อชอบอ้างว่า ไม่ได้ดูแล เพียงแต่ให้อาหารเฉย ๆโดยไม่รับผิดชอบอะไรเลย


สมาชิกหมายเลข 1184862

 

 

เจ้าของสุนัขเลินเล่อปล่อยสุนัขหลุดมาทำความเสียหาย ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
https://natjar2001law.blogspot.com/2010/12/blog-post_07.html?m=1

 

เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้พบบ้านใกล้เคียงกับผู้เขียน ซึ่งเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัวเมื่อเปิดประตูเพื่อนำรถยนต์ออกจากบ้าน สุนัขก็หลุดออกมาด้วย และวิ่งไล่เห่ารถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานที่ขี่ผ่านมา เป็นภาพที่ผู้เขียนพบเห็นอยู่เป็นประจำเลยพาให้นึกว่า หากผู้ขับขี่เกิดความตกใจ ควบคุมรถไม่ได้รถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงบาดเจ็บ ความรับผิดทางกฎหมายจะเป็นเช่นไรจะได้ขอนำมาบอกเล่าดังนี้

 

กรณีเจ้าของบ้านหรือก็คือเจ้าของสุนัขนั่นเองเปิดประตูบ้านเพื่อถอยรถออกจากบ้านแล้วสุนัขที่เลี้ยงไว้หลุดออกมาวิ่งไล่จักรยานยนต์ที่กำลังขี่ผ่านมาทำให้คนขี่จักรยานยนต์ตกใจบังคับรถไม่ได้ ล้มลงบาดเจ็บสาหัสทั้งคนขี่และคนซ้อน

เจ้าของสุนัขมีความรับผิดอย่างใดหรือไม่ขอแยกเป็นสองกรณีคือความรับผิดทางอาญาและความรับผิดทางแพ่ง ดังนี้

 

ธรรมดาการเลี้ยงสุนัขต้องเลี้ยงและดูแลให้อยู่ภายในเคหะสถานหากจะนำออกนอกเคหะสถานจะต้องมีการดูแลให้ปลอดภัยไม่ให้ไปก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่นได้ จะปล่อยไปเที่ยววิ่งเล่น อึ ฉี่หน้าบ้านผู้อื่นให้เขาเดือดร้อนรำคาญไม่ได้ กรณีนี้ก็เช่นกันเมื่อเจ้าของบ้านจะเปิดประตูบ้านเพื่อถอยรถออกไปทำงาน ควรจะต้องเก็บสุนัขใส่กรงให้เรียบร้อยเสียก่อนเมื่อ เจ้าของสุนัขไม่เก็บสุนัขของตนให้เรียบร้อย จึงเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นผู้เลี้ยงสุนัขนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยนำสุนัขขังกรงให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่ก็หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59ประกอบมาตรา 300

 

มาตรา300 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ในส่วนคดีแพ่งหรือความรับผิดทางแพ่งนั้น เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยมีมูลจากความรับผิดทางอาญาเราเรียกว่า คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หรือ อาญาสินไหมซึ่งปัจจุบันอยู่ในความรับผิดทางละเมิดโดยผู้ได้รับความเสียหายสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้

 

มาตรา433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่สัตว์นั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

 

ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้นศาลจะพิจารณาตามความเป็นจริงว่าเกิดความเสียหายไปอย่างไรบ้าง อันได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วยและหากรถจักรยานยนต์เกิดความเสียหาย เจ้าของสุนัขต้องรับผิดซ่อมแซมชดใช้หรือกระทำอย่างใดๆ ให้รถกลับมาใช้การได้ดังเดิม

 

โดยปกติเมื่อเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีอาญา หากพนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นฟ้องให้ผู้เสียหายควรจะต้องติดตามเรื่องให้ดี เมื่อมีนัดศาลครั้งใดให้ไปแสดงตัวทุกครั้งศาลจะจัดการไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายให้ไปพร้อมกันเลยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีมาฟ้องเป็นคดีละเมิดใหม่ แต่หากผู้เสียหายมิได้ติดตามคดีและไม่ได้เข้าระบบไกล่เกลี่ยจะต้องนำคำพิพากษาคดีอาญานั้นมาฟ้องเป็นคดีละเมิดภายในอายุความคดีอาญาผู้เสียหายจึงควรใส่ใจติดตามคดีอย่างใกล้ชิด ใบเสร็จหรือเอกสารต่างๆต้องเก็บรวบรวมไว้ให้ดีพร้อมที่จะนำมาแสดงได้เมื่อมีการตกลงเรื่องค่าสินไหมทดแทนกัน


*****************************************



 




















#ในกรณีหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ


ระหว่าง

คนที่ให้อาหาร เป็นครั้งคราวด้วยความเมตตา

คนที่ให้อาหารหมา เป็นประจำ

หรือเทศบาล / อบต / กรมปศุสัตว์

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า

หมาจรจัด #ที่คนให้อาหารเป็นครั้งครา เป็นบางครั้งบางโอกาส ด้วยความเมตตา #รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิต ของสุนัขจรจัด #ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด

มีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 764/2556 ที่อธิบายในเรื่องนี้ว่า

การให้คำนิยามความหมายของคำว่า "เจ้าของสุนัข" หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" นั้น

"มีผลทำให้ประชาชนที่เพียงแต่ให้อาหารแก่สุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตา ต้องมีภาระหน้าที่ในการพาสุนัขจรจัดไปฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสุนัข มิเช่นนั้น อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่หน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัด #เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับผลักภาระดังกล่าวมาให้กับประชาชน

ดังนั้น การให้บทนิยามดังกล่าว ที่ให้หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" จึงเป็นข้อบัญญัติที่

1. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
2. สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
3. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติ ฯ ข้อ 5 เฉพาะที่ให้ความหมาย "เจ้าของสุนัข" ว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย"

#แต่ถ้าหมาไม่มีเจ้าของกัดค #ใครต้องรับผิดชอบ

เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของ และจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้

เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ #ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่
อ.1751/2559


ได้วินิจฉัยไว้ว่า #เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล #หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัดซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น


Cr. เกิดผล เเก้วเกิด

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2952999688093167&set=a.406514496075045&type=3&theater

******************************************
 

พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ อปท.สำรวจต่ำกว่ากรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก

ทีมข่าว TCIJ | 23 ก.พ. 2563
 

ตั้งแต่ปี 2551 ไทยตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2563 พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ จากการสำรวจของ อปท. มีเพียงหลักแสนตัว ส่วนกรมปศุสัตว์ประเมินไว้ 1.2-3.6 ล้านตัว ‘โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าปี 2563’ ตั้งเป้า 'ทำหมันสุนัข-แมว' ฟรี 120,000 ตัว ใช้งบประมาณ แค่ 27 ล้านบาท หรือแค่ 225 บาท/ตัว

พบว่าตั้งแต่ปี 2551 ประเทศไทยมีการตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศ โดยจาก แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ระบุว่าปัญหาคนถูกสุนัขกัดในประเทศไทยนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ผู้ที่ถูกสุนัขกัดในแต่ละปีมีจำนวนเท่าใดไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในระบบที่ต้องรายงาน แต่จากข้อมูลผู้ถูกสุนัขกัดที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี หากรวมผู้ที่ไปรับบริการจากสถานบริการของมหาวิทยาลัยและเอกชนด้วยแล้วประมาณการว่าน่าจะถึงปีละ 5 แสนคน ซึ่งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินสูงถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี นับว่าเป็นภาระที่รัฐบาลต้องนำเงินภาษีอากรมาใช้จ่ายเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก หากมีผู้ถูกสุนัขกัดและผู้ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าลดลง ค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะได้นำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้มากมาย ผู้ที่มาขอรับบริการเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสุนัขที่มีเจ้าของกัด มีบางรายถูกสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดแล้วไม่ได้รับการล้างบาดแผล และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง ทำให้ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา จากรายงานการสอบสวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าถูกลูกสุนัขอายุ 1-3 เดือน กัดแล้วไม่ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันเนื่องจากไม่คิดว่าลูกสุนัขจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เช่นเดียวกับที่มีคนเข้าใจผิดคิดว่าโรคนี้เป็นเฉพาะฤดูร้อนเท่านั้น จึงไม่สนใจที่จะไปพบแพทย์เพื่อขอรับการฉีดวัคซีนเมื่อถูกสุนัขกัด

จากการสำรวจการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่าโรคนี้ยังเป็นปัญหาก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตคน สัตว์และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน แผนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นได้ทั้งในคนและสัตว์ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ โดยอาศัยพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เป็นแม่บท ส่วนกระทรวงสาธารณสุขดูแลการป้องกันควบคุมโรคในคน โดยอาศัยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 เป็น แม่บทโดยทั้งสองหน่วยงานจะต้องประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน

ประกอบกับในปี 2552 องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่าง ประเทศ (OIE) ได้ตกลงร่วมกันกำหนดเป้าหมายให้ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคจะต้องร่วมมือกันกำจัดโรคนี้ ให้หมดไปภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการป้องกันและควบคุ เพื่อให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไป ภายในปี 2563 จึงได้ทำแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคขึ้น เพื่อจะได้นำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องตามสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและนอกประเทศ [1]

ต่อมากรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดทำโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและส่งเสริมการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสุนัขโดยไม่เป็นภาระต่อสังคม โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล เป็นศูนย์กลางในการรณรงค์ ตามแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายในปี 2563 นี้ [2]

นอกจากนี้ไทยยังมี 'แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560-2563' ซึ่งมียุทธศาสตร์ฯ 8 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกัน และดูแลรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในคน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้าในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบูรณาการและการบริหารจัดการข้อมูลโรคพิษสุนัขบ้า ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการติดตามและประเมินผล และยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี [3]

ตัวเลข สุนัข-แมวจรจัดมีเท่าไรกันแน่?

พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ จากการสำรวจของ อปท. ต่ำกว่าตัวเลขของกรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก | ที่มาภาพประกอบ:  I'm home

ในปี 2561 ประมาณการว่าทั่วโลกมีสุนัขที่มีเจ้าของ 471 ล้านตัว แมวที่มีเจ้าของ 373 ล้านตัว [4] สำหรับประเทศไทยจากข้อมูล จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 โดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นข้อมูลการสำรวจครั้งล่าสุดของกรมปศุสัตว์ ระบุว่าไทยมีจำนวนสุนัขที่มีเจ้าของ 6,622,364 ตัว (แบ่งเป็นตัวผู้ 3,625,733 ตัว ตัวเมีย 2,996,631 ตัว) แมวที่มีเจ้าของ 2,541,009 ตัว (แบ่งเป็นตัวผู้ 1,293,921 ตัว ตัวเมีย 1,247,088 ตัว) มีครัวเรือนที่เลี้ยงสุนัขรวม 4,251,832 ครัวเรือน ครัวเรือนที่เลี้ยงแมว 2,402,326 ครัวเรือน [5]

สำหรับสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของนั้น ข้อมูลจาก จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 โดยกรมปศุสัตว์ ระบุว่ามีสุนัขไม่มีเจ้าของในกรุงเทพ 141,455 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 89,269 ตัว รวมทั้งประเทศมีสุนัขไม่มีเจ้าของ 758,446 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 474,142 ตัว รวมสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของทั่วประเทศ 1,232,588 ตัว [6]

และข้อมูลเมื่อปลายปี 2562 จากสื่อที่อ้างข้อตัวเลขจากกรมปศุสัตว์ระบุว่ามีสุนัขจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 2.6 ล้านตัว แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 1 ล้านตัว รวมทั่วประเทศประมาณ 3.6 ล้านตัว [7]

ส่วนข้อมูลจากส่วนข้อมูลจาก แผนที่แสดงจำนวนสุนัข - แมว (ปี 2562 รอบที่ 1) สำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เข้าถึงข้อมูล ณ 22 ก.พ. 2563) ระบุว่าทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพฯ มีสุนัขไม่มีเจ้าของ 109,123 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 55,021 ตัว รวมสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ 164,144 ตัว เท่านั้นซึ่งตัวเลขนี้ต่ำกว่าของกรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก

โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าปี 2563 ตั้งเป้า 'ทำหมันสุนัข-แมว' ฟรี 120,000 ตัว

เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย กรมปศุสัตว์ ได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายสัตวแพทย์ทั้ง ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ สามารถผ่าตัดทำหมันสุนัข- แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสได้ 282,845 ตัว แบ่งออกเป็น สุนัข 160,445 ตัว และแมว 122,400 ตัว ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจล่าสุดพบว่ามีสุนัขจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 2.6 ล้านตัว แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 1 ล้านตัว รวมทั่วประเทศประมาณ 3.6 ล้านตัว

ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีเป้าหมายการผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมวจรจัดหรือ ด้อยโอกาส รวม 3 แสนตัวต่อปี แต่ปริมาณสุนัข-แมวจรจัด ยังคงมีจำนวนมากและมีอัตราการเพิ่มจำนวนที่รวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมจำนวนสุนัข-แมวจรจัด มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้สั่งการให้ กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการรณรงค์และเพิ่มเป้าหมาย การผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมวจรจัดหรือด้อยโอกาส ในปีงบประมาณ 2563 จากเดิมเป้าหมาย 3 แสนตัว เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 6 แสนตัวทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการให้บริการเพิ่มมากขึ้นและลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น [8]

ข้อมูลจาก 'โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัข-แมว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563' ระบุว่ามีเป้าหมายทำหมันสุนัข 86,095 ตัว แมว 33,905 ตัว รวม 120,000 ตัว งบประมาณค่าวัสดุเวชภัณฑ์ 12 ล้านบาท ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 15 ล้านบาท รวมงบประมาณ 27 ล้านบาท (เฉลี่ย 225 บาท/ตัว) มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2563 [9]

 https://www.tcijthai.com/news/2020/2/scoop/9923

ข้อมูลอ้างอิง
[1] แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ก.ย. 2552)
[2] ปศุสัตว์-สธ.จับมือองค์กรท้องถิ่นรณรงค์ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้านทั่วปท. (หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 ม.ค. 2553)
[3] แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560-2563 (สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 20 ก.พ. 2563)
[4] Number of dogs and cats kept as pets worldwide in 2018 (Emma Bedford, Statista, 12 Sep 2019)
[5] จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์, กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 18 ก.พ. 2563)
[6] จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์, กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 18 ก.พ. 2563)
[7] เฉลิมชัยสั่งปศุสัตว์ทำหมัน'หมา-แมว'จรจัดทั่วประเทศ (หนังสือพิมพ์คมชัดลึกฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2562)
[8] อ้างแล้ว
[9] โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัข-แมว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 20 ก.พ. 2563)

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คน กทม. อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอด ‘สุนัข-แมวจรจัด’
 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2563 14:31:56 น. 2 comments
Counter : 28357 Pageviews.  

 
Thiravat Hemachudha ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 2 ภาพ
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10155522936846518

นับเป็นก้าวใหม่ของ สำนักอาหารและยา หรือ อย ของประเทศไทย ที่อิงบนหลักฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย การทำหมันถาวรในสุนัขเพศผู้ หลังจากที่ถูก แช่แข็งมา 10 ปี
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทั้งนี้ มีหลักฐานชัดเจนจาก อย สหรัฐและอีก ไม่ต่ำกว่าห้าถึงหกประเทศ
นอกจากนั้นในประเทศไทยเองคุณหมอสัตวแพทย์นัยนาและวีระยังได้ใช้ในการทำหมันเพศผู้ถาวรไปไม่ต่ำกว่า 3000 รายโดยที่มีการเฝ้าระวังดูแลจากชุมชน
การฉีดโดยสารใช้ zinc gluconate ต้องกระทำโดยสัตวแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมทั้งการวัดขนาดของไข่ปริมาตรของยาที่จะใช้และวิธีการฉีด
ไม่ใช่การฉีดตามใจโดยใช้สารที่ผลิตมาเอง ดังนั้นในระยะเวลา ที่ผ่านมามีการใช้สารไปทำการฉีดเองและเข้าใจผิดว่าทำให้เกิดผลแทรกซ้อนและเป็นการทารุณสุนัข
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วถ้ากระทำอย่างถูกวิธีใช้เวลาเพียง 2 นาทีโดยไม่ต้องฉีดยาซึมหรือยาสลบและปล่อยหมาได้ทันทีทั้งนี้จะเริ่มเห็นผลภายในสองถึงสามอาทิตย์โดยที่สเปิร์ม ไม่มีหางและภายในระยะเวลาสองเดือนจะเป็นหมันถาวรโดยที่ยังคงความเป็นเพศชายและทำให้เฝ้าเขตอาณาบริเวณของตนเองได้ทำให้ไม่มีการรุกล้ำของหมา อื่นๆข้ามถิ่นการลดประชากรสุนัข แม้จะเริ่มจากเพศผู้ก็ตามประสบผลสำเร็จในการลดประชากรใหม่ดังที่ได้ทำแล้วในที่ต่างๆและจะช่วยทำให้การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าตามโครงการพระราชปณิธานพระเมตตาของฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ ที่ทรงห่วงใยปัญหา “โรคพิษสุนัขบ้า” ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ
อนี่ง ราคาของยาฉีดทำหมันถาวรมีราคาเพียง 8 บาทต่อหนึ่งตัวเท่านั้นเมื่อทำเป็นสาธารณะกุศล



โดย: หมอหมู วันที่: 26 มิถุนายน 2560 เวลา:12:56:14 น.  

 
สธ.เร่งกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า หนุนยุทธศาสตร์จัดตั้งศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด
Thu, 2017-11-23 20:05 -- hfocus

กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า สนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีมาตรฐานใน “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี”

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเยี่ยมศูนย์บริบาลสุนัขจรจัดเทศบาลเมืองแสนสุข อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ว่า รัฐบาล ได้จัดทำ “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี” ที่ทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่รวมเอาแนวทางการปฏิบัติ สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำสู่การมีสุขภาพที่ดี มีเป้าหมายคือ “ไม่มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า”

โดยการจัดระบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงานกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศ ตั้งเป้าดำเนินการทุกกลุ่มจังหวัดต้องมีอย่างน้อยหนึ่งแห่ง เพื่อใช้เป็นต้นแบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีมาตรฐาน ขณะนี้นำร่องแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร

สำหรับศูนย์บริบาลสุนัขจรจัดเทศบาลเมืองแสนสุข ตั้งขึ้นในปี 2555 เพื่อควบคุมปริมาณสุนัขจรจัดในเขตเทศบาลเมือง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าวิจัย รองรับสุนัขได้ 500 ตัว มีมูลนิธิ The man that rescues dogs ดูแลเรื่องการเลี้ยง ทำความสะอาด ให้อาหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ดูแลเรื่องของสุขภาพ วัคซีน การทำหมัน การรักษา

โดยการบริหารจัดการแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1.คอกกักกันโรค ตรวจสุขภาพฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสัตว์ที่เข้ามาใหม่
2.คอกสุนัขทั่วไปที่ผ่านการตรวจโรคและทำวัคซีนแล้ว
3.คอกอนุบาล สำหรับสุนัขที่มีลูกอ่อน หรือสุนัขเด็ก
4.คอกสัตว์ป่วย เพื่อทำการรักษา ป้องกันโรคระบาด และ
5. คอกสัตว์พิการ ทั้งนี้ นับเป็นตัวอย่างของศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากความร่วมมือของรัฐ เอกชน องค์กรเอกชน

ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 6 ราย ในพื้นที่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จังหวัดละ 2 ราย สมุทรปราการ บุรีรัมย์ จังหวัดละ 1 ราย โดยสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการไม่ฉีดวัคซีนหลังถูกสุนัขหรือแมวกัด ข่วน หรือฉีดไม่ครบตามนัด

ซึ่งสิ่งสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์คือการฉีดวัคซีนในสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคสำคัญคือสุนัขและแมว ประมาณ 6-7 ล้านตัวทั่วประเทศ การควบคุมโรค ณ จุดเกิดโรค เมื่อพบโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนการดูแลในคน เน้นรณรงค์ให้ผู้ถูกสุนัข แมวกัดข่วน เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกราย อย่างครบถ้วนตามโปรแกรมการนัด หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

https://www.hfocus.org/content/2017/11/14949


โดย: หมอหมู วันที่: 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา:14:37:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]