Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ระบบสาธารณสุขไทยชักจะเพี้ยนไปใหญ่แล้ว ... เขียนโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา


ระบบสาธารณสุขไทยชักจะเพี้ยนไปใหญ่แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 08 กรกฏาคม 2012 เวลา 14:11 น.

เขียนโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา


//www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C/56-isranews/7564-2012-07-08-07-13-36.html#.T_mHfPQT03s.facebook


alt


อยู่ๆเจ้ากระทรวงสาธารณสุขก็ประกาศเริ่มโครงการไข่แลกยาเก่าทั่วประเทศ  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการนี้จังหวัดละ 100,000 บาท โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้บอกว่ายาเก่าที่นำมาแลกนั้น ต้องเป็นยาแผนปัจจุบันทุกชนิด โดยที่โรงพยาบาลต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขจะแจกไข่คืนให้แก่ครอบครัวที่นำยาไปแลก ครอบครัวละ 5 ฟองเป็นอย่างน้อย โดยกล่าวว่าข้อมูลล่าสุดคนไทยใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท การให้ประชาชนนำยาเก่ามาแลกไข่ ก็เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความตระหนักในการใช้ยา และใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย

และในเวลาไม่นาน ก็มีข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขว่า หลังจากเปิดโครงการรับแลกยาเก่ากับ “ไข่ใหม่” ในเวลาแค่ 4 วัน คือวันที่ 2-5 ก.ค.นั้น พบว่ามีประชาชนเอายามาแลกไข่ถึง 18.2 ล้านเม็ด โดยกลุ่มใหญ่จะเป็นยากลุ่มยารักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และยาลดไขมัน มีถึง 40% นอกนั้นเป็นยากลุ่มแก้หวัด แก้ไอ ซึ่งพบว่าจังหวัดในภาคอีสานมีการเอายามาคืนมากที่สุด ซึ่งยังไม่มีการแยกว่าเป็นยาที่หมดอายุหรือไม่ โดยรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.นิทัศน์ รายวา ได้กล่าวว่า ยาที่หมดอายุจะเอาไปทำลาย ส่วนยาที่ยังไม่หมดอายุ จะมีการหารือว่าจะเอายาเหล่านี้ไปใช้ใหม่หรือไม่ และจะมีการพิจารณาว่าจะขยายโครงการเพิ่มหรือไม่ หรือจะทำโครงการในเขตกทม.เพิ่มหรือไม่

การที่ประชาชนเอายามาแลกไข่ถึง 18.2 ล้านเม็ดในเวลาเพียง 4 วันนี้ น่าเสียดายที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ทำแบบสอบถามว่า ทำไมประชาชนจึงมียาเหลือเยอะ ครอบครัวหนึ่งๆเอายามาคืนเฉลี่ยครอบครัวละกี่เม็ด ทำไมจึงมียาเหลือ? ไม่กินยาตามสั่ง หรือกินยาแล้วอาการไม่ดี ก็ย้ายหมอ/ย้ายโรงพยาบาลไปขอยาใหม่ แล้วยาที่เอามาคืนนี้ เก็บไว้อย่างถูกวิธีหรือไม่ เช่นต้องเก็บในที่เย็น (ไม่ร้อนจัด) เก็บไว้ในซองยากันแสง หรือเก็บไว้ในซองยาอื่น (ชื่อยาที่ซองกับเม็ดยาเป็นคนละอย่างกัน) 

เพราะเมื่อไม่สอบถามคนที่เอายามาคืนแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะรู้ได้อย่างไรว่า ทำไมจึงมียาเหลือเยอะมากขนาดนี้ อยากจะให้กระทรวงถามด้วยว่า ยาจำนวน 18.2 ล้านเม็ดนี้ มาจากยาของประชาชนกี่คน? อย่างน้อยก็พอจะรู้ได้ว่า เฉลี่ยแล้วแต่ละคนเอายาไป”ทิ้งเฉยๆ” โดยไม่กินคนละกี่เม็ด จะได้รู้ว่าที่กล่าวว่าคนไทยกินยาปีละ100,000 ล้านบาทนั้น คนไทยเอายาไปทิ้งไว้จนหมดอายุปีละกี่ล้านบาท?

ที่สำคัญก็คือ ทำไมกระทรวงสาธารณสุขไม่สำรวจว่า เป็นยาอะไรบ้าง อย่างละกี่เม็ด เป็นราคาเม็ดละกี่บาท รวมแล้วเป็นมูลค่าของยาที่ประชาชนเอาไปทิ้ง(เก็บไว้เฉยๆโดยไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์) นั้นมีมูลค่ากี่ร้อยกี่พันล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อจะได้รู้ว่างบประมาณค่ารักษาประชาชนที่ต้องจ่ายไปปีละเกือบสองแสนล้านบาทนั้น ได้”ทิ้งไป”โดยหาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะการที่ประชาชนใช้ยาอย่างทิ้งๆขว้างๆ

แต่นี่ได้ข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขจะเอายาหมดอายุไปเผาทิ้ง (รีบทำลายหลักฐานการใช้ยาฟุ่มเฟือยเสียแล้ว) แล้วกระทรวงสาธารณสุข เสียงบประมาณค่าไข่ อีก 100.000คูณด้วย 77 จังหวัด เป็นเงิน อีก 7,700,000 บาทโดยไม่ได้ข้อมูลกลับมาเลยว่า ประชาชนคนไทยที่ยากจน ยอมเสียเวลาเอายาเก่าไปแลกไข่ใหม่(มาปรุงอาหารกิน) นั้น ได้ทิ้งยาไปมีมูลค่ามากมายมหาศาลแค่ไหน?

และจาก ข้อมูลของเว็บ ThaiClinic.com  จากประสบการณ์จากหมอในรพ.แห่งหนึ่ง บอกว่า มีประชาชนประมาณ 200 คนเอายามาแลกไข่คืนประมาณ 3 ลัง และพบว่าในจำนวนยาที่หมดอายุนั้น ยังเป็นแผงยาที่เรียบร้อย ยังไม่มีการแกะเอายาไปกินเลย 

มีความเห็นหนึ่ง บอกว่า จะไปเปิดร้านอาหารบุฟเฟต์ ให้คนมากินฟรีไม่อั้น แล้วก็ขอกลับไปกินต่อที่บ้านได้อีกไม่อั้น เนื่องจากพนักงานประจำห้องอาหารไม่กล้าขัดใจคนที่มากิน เพราะเดี๋ยวจะถูกคาดโทษ ส่วนอาหารที่เอาไปกินที่บ้านเหลือเท่าไร ไม่ว่าจะบูดเน่าอย่างไรก็สามารถเอามาแลกนมกล่องหรือข้าวสารที่ร้านได้อีก เดี๋ยวจะเชิญสื่อต่างประเทศมาดูงาน บอกว่าเป็นร้านที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

ความเห็นนี้ช่างเหมือนความเห็นของเจ้ากระทรวงสาธารณสุขจริงๆ ตามข่าวที่มีข่าวว่านายวิทยา บูรณศิริ เสนอให้ระบบหลักประกันสุขภาพไทยเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศอาเซียน โดยในข่าวกล่าวว่าประเทศเวียตนาม ลาว ฟิลิปปินส์ เตรียมนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

คำว่า “ประยุกต์” นี่เป็นคำสำคัญที่สุดที่ประเทศอาเซียนจะต้อง “เข้าใจ” ว่าพวกเขาควรดูประเทศไทยเป็นแบบอย่างได้ แต่อย่าทำอย่างที่ประเทศไทยทำ เพราะจะประสบหายนะในไม่ช้า ได้แต่หวังว่าประเทศเขาจะมีผู้นำทางสาธารณสุขที่ “ฉลาดและวางแผนงานอย่างสมเหตุสมผล” คือไม่ทำอย่างประเทศไทย ที่เงินงบประมาณก็มีน้อย แต่โฆษณาว่าจะรักษาฟรีทุกโรค แจกยาฟรีไม่อั้น (แต่ยาจะดีมีมาตรฐานหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ยามีมากก็เก็บเอาไว้มาแลกไข่ไปกินได้อีก

และในขณะเดียวกันรัฐมนตรีคนนี้เอง ก็มาบ่นว่าคนไทยกินยามากที่สุดในโลก จ่ายค่ายาแพงที่สุดในโลก แต่ยังไม่เห็นมีมาตรการอะไรที่จะทำให้คนไทยตระหนักถึง “คุณค่าและราคาของยารวมทั้งตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อจะได้ประหยัดงบประมาณในการรักษาได้”



ความผิดเพี้ยนของระบบสาธารณสุขไทย ที่ประเทศอาเซียนไม่ควรทำตามก็คือ

1.ไม่ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเท่าที่ควร ทำให้อัตราการเจ็บ(อุบัติเหตุ) และการป่วย(เป็นโรค) ต่างๆมีแต่เพิ่มขึ้น ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข


2.เอาใจประชาชน 48 ล้านคนด้วยการบอกว่า รักษาฟรีทุกโรค โดยไม่เป็นความจริง เนื่องจากมีอีกหลายโรคที่ถูกจำกัดรักษา


3.ประชาชนไปโรงพยาบาลมากขึ้นจนถึงปีละ 200 ล้านครั้ง เนื่องจากประชาชนส่วนมากที่ได้รับรู้สิทธิว่าจะได้ฟรีทุกอย่างเมื่อไปโรงพยาบาล จึงพากันไปโรงพยาบาลมากขึ้น เป็น และขอยาไปไว้ที่บ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เอาไปกินเอง เอาไปแจกเพื่อนบ้าน และเอาไปเหน็บไว้ข้างฝา โดยไม่คิดว่า “ยานี้มีต้นทุนที่ต้องมีคนจ่ายค่ายา”

คำกล่าวในข้อนี้ไม่ไกลจากความจริง เนื่องจากว่าเมื่อมีโครงการเอายาเก่าไปแลกไข่ใหม่เพียง 4 วัน มีประชาชนเอายาไปแลกไข่ได้ถึง 18.2 ล้านเม็ด ถ้าเปิดให้แลกยาอีกจนครบ 1 เดือน อาจจะได้ยาเก่าอีกประมาณ100 ล้านเม็ด นับเป็นมูลค่าอีกกี่ร้อยล้านบาทก็ยังคำนวณไม่ได้

ถ้าประชาชนต้องจ่ายค่ายาเอง เช่นผู้ที่ไปโรงพยาบาลเอกชน มักจะบอกหมอว่า หมออย่าสั่งยาไปมากนัก เอาแค่พอจำเป็นในการรักษาอาการป่วยคราวนี้ก็พอ เนื่องจากเห็นว่า ถ้าขอให้หมอสั่งยามาก ตัวเองก็ต้องจ่ายเงินมาก

ฉะนั้น ระบบบัตรทอง 30 บาทและกระทรวงสาธารณสุขควรร่วมมือกัน ในการจัดทำโครงการป้องกันการที่จะจ่ายยาให้ประชาชนเอาไปทิ้งๆขว้างๆแบบที่ผ่านมาในรอบ 10ปี โดยการให้ประชาชนมีส่วนรับผิดชอบ “ค่ายาหรือค่าบริการสาธารณสุข”บ้าง เพื่อให้ประชาชนรู้ว่า “การบริการสาธารณสุขและยานั้นมีต้นทุนที่ต้องจ่าย” ถ้าประชาชนไม่ต้องจ่ายเอง ก็ต้องเอาเงินจากภาษีของประชาชนนั่นเองมาจ่าย


4.ไม่มีเงินซื้อยาราคาสูง ที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหรือรักษายุ่งยากรุนแรง/ซับซ้อน จากการที่ประชาชนได้รับยาไปมากเกินความจำเป็นที่จะต้องใช้ ทำให้ไม่มีงบประมาณพอที่จะซื้อยา “ราคาสูง” ทำให้สปสช.เป็นผู้ “จำกัดรายการยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาโรคเหล่านั้น” ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เป็นโรคร้ายที่คุกคามชีวิต ไม่ได้รับการรักษาหรือยาที่ดีตามมาตรฐานการแพทย์ในปัจจุบัน เช่นการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยไตวาย ฯลฯ และอีกหลายๆโรค ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ “สูญเสียโอกาสได้รับการรักษาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือรอดชีวิต” เนื่องจากการออก “ระเบียบในการจำกัดวิธีการรักษาหรือการใช้ยาของผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” 

เท่านี้ยังไม่พอ ผู้บริหารและผู้มีส่วนร่วม “ออกแบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ยังพยายามที่จะไป “ชักชวน” ผู้บริหารกองทุนอื่นคือ “ประกันสังคมและสวัสดิการการรักษาข้าราชการ” ให้กลับมาใช้วิธีการออกระเบียบการรักษาและกำหนดรายการยา ให้ “เลวลงเหมือนกับรายการของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”อีกด้วย 

ทั้งนี้เห็นได้จากการที่สปสช.ประกาศให้ประชาชนทั้งใน 3 ระบบไปรับการรักษาฉุกเฉินได้เหมือนกันหมด แต่จ่ายเงินค่ารักษาเพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เหมือนกับที่สปสช.เคยทำมากับโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็คอยดูก็แล้วกันว่าผู้บริหารโรงพยาบาลที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนเหมือนผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขไปได้อีกกี่มากน้อย? เดี๋ยวคงจะมีการเอะอะโวยวายขึ้นมาในไม่ช้า เพราะทุกสิ่งมี “ต้นทุนค่าใช้จ่าย” ทั้งสิ้น


5. ความ ขาดแคลนทรัพยากรหรือปัจจัยในการบริหารจัดการด้านการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ความผิดเพี้ยนของระบบสาธารณสุขไทยยังมีอีกมากมาย ขอยกตัวอย่างที่สำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง กล่าวคือ กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการในการจัดให้มีสถานบริการสาธารณสุขที่ดี มีมาตรฐานให้เพียงพอแก่ความจำเป็นของประชาชน แต่กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงเดียวที่ขาดปัจจัยทุกอย่างที่จำเป็นที่สุดในการดำเนินงานตามภารกิจหลักดังกล่าว ได้แก่

   5.1 ขาดเงินงบประมาณที่เพียงพอ เหมาะสม ในการบริหารจัดการ

   5.2 ขาดบุคลากรที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ

   5.3 ขาดอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยี ยาและเวชภัณฑ์ ที่เหมาะสม ในการจัดบริการให้ดี มีมาตรฐานและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

ทั้งนี้ การเขียนปัญหาสำคัญในข้อ5 นี้ ผู้อ่านบางคนอาจจะกล่าวหาว่าผู้เขียนมีอคติกล่าวหาลอยๆโดยไม่มีหลักฐาน(ตัวเลข)เชิงประจักษ์(Evidence-based) มาแสดง ผู้เขียนก็ขอชี้แจงว่า สิ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้ เป็นความจริงที่ทุกคน “เห็นได้””ด้วยตนเอง เหมือนกับที่ทุกคนเห็นว่าดวงอาทิตย์ต้องขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นข่าวสารที่มีการกล่าวถึงในทุกๆสื่อในสังคม และทุกๆคนที่มีความจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขต้องเห็น “ประจักษ์” ด้วยตนเองแล้วว่า มีผู้ป่วยไปรอรับการตรวจรักษาอย่าง “เบียดเสียดยัดเยียดจนล้นโรงพยาบาล” มีผู้ป่วยที่ ต้องนอนเตียงเสริม เตียงแทรก นอนบนเปลเข็นตามระเบียง หน้าบันได หน้าห้องส้วม หรือต้องปูเสื่อนอน หรือต้องตระเวนหาเตียงนอนรักษาหลายสิบแห่ง กว่าจะได้เตียงนอน หรืออาจต้องไปรอพบแพทย์ 5-6 ชั่วโมง เพื่อจะให้แพทย์ได้ตรวจสัก 2-3 นาที ฯลฯ 



สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้( และยังไม่ได้กล่าวอีกมากนั้น )ผู้เขียนต้องการชี้ให้ประชาชนที่จำเป็นต้องไปรับการตรวจรักษาสุขภาพในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบ จะได้ไปเรียกร้องให้ผู้แทน(สส.)ของท่าน ไปเสนอให้รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้อยู่ในการกำกับของท่าน คือปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือกันแก้ไขและพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขและการประกันสุขภาพ โดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ ให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐาน มีเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสม ได้รับการรักษาอย่างเอาใจใส่ตามมาตรฐานทางการแพทย์และการพยาบาลจากบุคลากรทุกประเภท 

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับความเสียหายจากการไปตรวจรักษาในสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน โดยการแก้ไขปัญหาในข้อ 5คือการขาดแคลนทั้งหมด และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และช่วยกันรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของตนเองบ้าง ยกเว้นผู้ยากจน/พิการ/ไร้ความสามารถ

ถ้าเขียนแบบนี้ ก็อาจจะมีคนบางกลุ่มออกมา “อ้างว่า” ต้องการได้รับการรักษาฟรีเหมือนกันหมด ไม่ต้องการ “การให้ทานเฉพาะคนจน ต้องการความเสมอภาค/เท่าเทียม โดยการให้ทุกคนไม่ต้องจ่ายเหมือนกัน” นั้น ผู้เขียนก็จะบอกตามเหตุผลที่กล่าวมาทั้ง 5 ข้อว่า การให้ฟรี 48 ล้านคน (ไม่ใช่ทุกคน) นั้น ก็ได้ก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนและความเสียหายดังที่ทุกคนเห็นอยู่แล้ว และการที่คนจนและด้อยโอกาสในสังคม ต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เหมือนกับการจ่ายภาษีรายได้ที่คนจนไม่ต้องจ่ายแต่คนมีรายได้มากก็ต้องจ่ายนั่นเอง

ความเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคมนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมต้องช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อช่วยให้เขาอยู่ในสังคมได้ตามสบายพอควรแก่อัตภาพ ไม่ใช่ปล่อยให้เขาตกอยู่ในสภาพด้อยโอกาสต่อไป สังคมจึงจะเกิดความเป็นธรรมและสันติสุข







 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2555 13:48:25 น.   
Counter : 2959 Pageviews.  

กระทู้จากห้องสวนลุมฯ ว่า " ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ ??? " ...

กระทู้จากห้องสวนลุมฯ ว่า " ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ ??? " ...

มีหมอหลายท่านร่วมแสดงความคิดเห็น น่าสนใจดีเลยนำมาแบ่งปันกัน


//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L11638038/L11638038.html

อยากถามคนเป็นหมอ

คือเห็นหลายๆ กระทู้ที่ออกมาบอกว่า

อยากลาออก
งานหนัก
เบื่องาน กลัวโดนฟ้องร้อง


เราเลยอยากถามตามประสาคนนอกว่า

ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ

คิดยังไงถึงได้เลือกเรียนวิชาชีพนี้ เพิื่อเรียนจบออกมาทำงานเป็นแพทย์

อยากช่วยเหลือสังคม.........หรือ
อาชีพนี้ทำแล้วรวย............หรือ
หรือเหตุผลอะไรอื่นๆ

คือตอนนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมถึงอยากลาออก อาจจะเพราะเหนื่อยเหลือเกิน ไม่ได้พักผ่อน
หรือเพราะทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็โดนด่า โดนฟ้อง
แต่ที่ไม่เข้าใจ คือก่อนจะเข้ามาเรียนแพทย์ ไม่เคยคิดถึงความกดดันต่างๆ เหล่านี้มาก่อนหรือคะ

ที่ถามเนี้ย ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ จะเอาไว้สอนลูก เผื่ออนาคตลูกอยากเป็นหมอ (ถ้าสมมติเป็นได้ อิอิ)
จะได้บอกลูกไว้ก่อนล่วงหน้าเลยว่า จะต้องเจอกับอะไร ลูกจะทนรับความกดดันได้มั้ย

ถ้าคิดว่าไม่ได้ ก็จงอย่าได้ไปสอบแข่งขัน เพื่อกันสิทธิ์ของผู้ที่เค้าอยากจะทำอาชีพนี้อย่างแท้จริงเลย
ถ้าทนไม่ได้ เจ้าจงไปหาอาชีพทำเสียแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจว่า รู้งี้..ไม่น่าเรียนหมอเลย

ปล. นับถือคุณหมอหลายๆ ท่านที่มีจิตเมตตา ห่วงหาอาทรเพื่อนมนุษย์ด้วยใจจริง โชคดีของเรา ที่ส่วนใหญ่แล้ว คุณหมอที่เราสัมผัส ร้อยละ 98 เป็นคุณหมอที่ดีมากๆ

ปล.2 ทุกอาชีพ ย่อมมีความกดดัน และต้องใช้ความอดทนแตกต่างกันไป ไม่มีอาชีพไหนที่ไม่กดดันหรอกค่ะ

จากคุณ : ต้นปาล์มจอมซน [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 13:47:12 [แก้ไข]
ถูกใจ : changiam
Share/Save/Bookmark bookmark เก็บเข้าคลังกระทู้ ส่งต่อกระทู้ พิมพ์ หน้าหลัก กระทู้ก่อนหน้า กระทู้ถัดไป





ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ชีวิตจริงมันยิ่งกว่าจินตนาการค่ะ

จากคุณ : ฟ้าหมาดฝน [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 15:21:20 [แก้ไข]
ถูกใจ : พี่สาวเกาลัด, สิงห์คะนองเดชจิวยี่, Vdara1, uPstreaM





ความคิดเห็นที่ 2 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

อาชีพนี้ทำแล้วรวย คงไม่ใช่ค่ะ เรากล้าพูดได้เต็มปากว่ามีอีกหลายอาชีพมาก "รวย" กว่านี้ โดยไม่ต้องลงแรงและแบกรับความเสี่ยงมากเท่าแพทย์ เอาง่าย สมัยเรียนเราเคยสอนกวดวิชา ได้ ชม.ละ 400-500 รายได้ต่อชั่วโมงมากกว่าตอนเป็นแพทย์ใช้ทุน 8-10 เท่า ถ้าขยันสอนก็รวยได้ค่ะ (แต่ต้องสอนรู้เรื่องและต้องมีวิธีสอนให้เด็กติดนะคะ แล้วก็ต้องตั้งใจด้วย ไม่ใช่สัแต่สอน) สอนภาษาญี่ปุ่นตัวต่อตัว ได้ชั่วโมงละ 550-750 สอนเปียโนตามบ้าน ได้ ชม. ละ 750-1,000 นี่แค่งานสอน ไม่นับพวกลงทุน เล่นหุ้นเก็งกำไร value investor ทั้งหลาย

ก่อนเข้ามา เราก็มีสตอรี่ค่ะ แม่เราป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย เราก็อยากช่วยแม่ ช่วยคนอื่น ช่วยคนไข้ที่สิ้นหวังหมดทางรักษา (ออกแนว palliative) เราอยากเป็นที่พึ่งให้เขา คิดฝันไปสารพัด

สารภาพตามตรงนะคะ เราสอบเข้าได้เพราะคะแนนภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย (ชีวะกับเคมีด้วย) เราคิดว่าเราชอบวิทย์ เราชอบอะไรที่เป็นเหตุเป็นผล แต่จริงๆเรารู้ตัวมาตลอดว่าเราชอบเรียนภาษาที่สุด เราเรียนภาษาสเปนตอน ม.1, ภาษาอิตาเลียนตอน ม.3, ภาษาญี่ปุ่นตอน ม.4 ขึ้น ม.5 แต่ตอนนั้นเราปฏิเสธที่จะเรียนสายภาษาหรือสอบเข้าคณะทางภาษา เพนราะเราคิดแบบเด็กๆว่า ภาษาน่ะ มาเรียนเอง ฝึกอ่าน ฟังสำเนียงเองได้ แต่ฝึกเป็นหมอมันทำไม่ได้

เราอยากช่วยคน อยากเห็นสีหน้ายิ้มแย้มเวลาเขาหายจากโรค หรือสีหน้าผ่อนคลายเวลาเราอธิบายเรื่องที่เขากังวลใจให้ฟัง เวลาเห็นเขาสุขภาพดีขึ้นๆ ครอบครัวมความสุข เรื่องเงินไม่ได้อยู่ในความคิดด้วยซ้ำ เราไม่เคยหาข้อมูลเลยว่าแพทย์รัฐ แพทย์เอกชนได้เงินเดือนเท่าไหร่

แต่พอเรียนจบ พบความเป็นจริง มันไม่ได้สวยงามเหมือนที่เราเคยฝันหรอกค่ะ

เราตรวจคนไข้ล้นมือ เฉลี่ยคนละ 2 นาที ไม่มีเวลาอธิบาย คนไข้ก็เซ้งมารอหมอตั้งนานหมอตรวจแป๊บเดียว เราก็เซ็งตรวจได้ไม่ละเอียด ไม่เต็มที่ แต่ตรวจช้าก็โดนเจ้าหน้าที่เร่ง (แกมด่า) คนไข้ (โดยเฉพาะบัตรทอง) ส่วนใหญ่ ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเอง ตัวอย่างเช่น

- คนไข้ชาย 35 ปี กินเหล้าจนอ้วกเป็นเลือด ต้องใส่สายจมูกก็แล้ว จนตับแข็งท้องโตต้องเจาะท้องก็แล้ว ก็ยังไม่เลิกกินเหล้า เคยนัดนิตเวชให้ไปบำบัดก็ไม่ไป ก็มาเจาะท้อง นอน ร.พ.บ่อยๆ

- คนไข้ชาย 56 ปี มาด้วยเมาแล้วโดนใครไม่รู้ตีหัว ขากลับขอเงินหมอ 500 สิไปซื้อเหล้าเพิ่ม

- คนไข้ชาย 42 ปี มาด้วยอ่อนเพลีย ไม่มีแรง อุจจาระดำเป็นเมเลนา ไม่กินข้าวมาเกือบ 1 สัปดาห์ ถามว่าทำไมไม่กินข้าว เพราะมัวแต่เอาเงินไปซื้อเหล้า ไม่มีเงินเหลือกินข้าว
- คนไข้หญิง 65 ปี มาด้วยเจ็บหน้าอกบ่อยๆ ตรวจร่างกายทุกอย่างปกติ ขอนอนโรง'บาล 3 วันนะหมอ ป้าจะได้เงินประกัน 3,000 บาท
- ลูกหลานไม่อยากเลี้ยงดูพ่อแม่ บอกว่าไม่มีใครเฝ้า อยากให้นอนโรง'บาล จะได้อุ่นใจ ทั้งที่ไม่เป็นอะไรเลย (และลูกหลานพวกนี้ก็มักไม่เคยโผล่หัวมาเยี่ยมบุพการีตน)
- วัยรุ่น ญ อายุ 12 ปี ท้อง 3 เดือน หมอไม่ทำแท้งให้ ตะโกนใส่หมอว่า "ถ้าหนูโดนไล่ออกจากบ้านเป็นความผิดหมอ!" อ้าว ซะงั้น แล้วที่หนูโดดเรียนไปทำอะไรๆกันจนท้องล่ะคะ?
- วัยรุ่น ช 17 ปี ไม่เรียนหนังสือ ซิ่งมอ'ไซค์แว้น ไม่สลบ มีแผลถลอก พ่อแม่กังวลว่าลูกจะมีเลือดออกในสมอง เราไม่ส่ง CT เพราะตรวจทุกอย่างปกติ แต่ก็แนะนำ ก่อนกลับพ่อแม่ก็พูดกับเราด้วยประโยคเด็ด ถ้าลูกผมเป็นไรไป ผมฟ้องหมอได้ใช่ไหมครับ? ขอจดชื่อหมอไว้เอนนะครับ" ---"ค่ะ เชิญจดตามสบายค่ะ"


ฯลฯ


เวลาเราไปทำงานจริง เราไม่ได้เป็นที่พึ่ง เป็นผู้มีพระคุณ (ไม่ต้องถึงขนาดนั้น) อะไรขนาดนั้นค่ะ เราก็เหมือนพนักงานเซเว่น คนไข้มาได้ตลอดเวลา มาแล้วก็ต้องยิ้มแย้มแจ่มใสตอนรับ แม้จะอดหลับอดนอนมาแค่ไหน (ยิ่งไม่ต้องพูดถึงบางรายมาด้วยเรื่องไม่สมเหตุสมผลสุดๆ เช่น มาขอยาความดันตอนตี2 เพราะดูบอลจบพอดี ขี้เกียจมาต่อคิวเช้า) เราเป็นแค่ "ผู้ให้บริการ" ที่เขาไม่พอใจ ก็ฟ้องเราได้ทุกเมื่อ แต่อย่างว่านะคะ บ่นไปก็เท่านั้นค่ะ ยังไงคุณ จยกท. ไม่ต้องห่วงนะคะ ถ้าเรามีลูก เราไม่ให้ลูกเรียนหมอแน่นอนค่ะ ส่วนถ้าคนที่เราเกลียดมีลูก ป้าหใงมอคนนี้จะไปยุให้น้องหนูคนนั้นทุกวันให้เลือกเรียนหมอค่ะ ฮาๆๆ

จากคุณ : เด็กหญิงแมวสามสี_BabyCalicoCat
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 16:21:26 [แก้ไข]
ถูกใจ : downsyndr, Lirica, Dr.DJ, kiki_kaka, kkcontrol, BrezZa, อรุณรุ่งที่ต่างแดน, Lady_Thee, crazyfish, สิงห์คะนองเดชจิวยี่, *SantaRedHat*, หนมปังหมูหยอง, Vdara1, uPstreaM





ความคิดเห็นที่ 3 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

คำถามที่ถาม ถ้าไม่ได้เป็นหมอเองคงเข้าใจได้ยากมาก คงมีข้อสงสัยอีกเรื่อยๆว่าทำไมๆ

แต่แนะนำว่า เลี้ยงลูกให้อดทน อึด ปรับตัวเก่ง เข้ากับคนง่าย มีอารมณ์ขัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
ผ่านได้ทุกสถานการณ์ค่ะ

จากคุณ : superkoy
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 16:26:34 [แก้ไข]
ถูกใจ : BIRKIN SEVEN





ความคิดเห็นที่ 4 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ก่อนเรียนไม่เคยคิดถึงปัญหาเลยครับ โตมากับครอบครัวพนักงานบริษัท ในหนังก็ไม่มีความลำบากให้เห็น ไม่รู้เลยว่าหมอเรียนยังงัย ทำงานยังงัย

สาเหตุที่เลือกคือ แฟนเลือกให้

ถ้าคิดว่าลูกพอไหวนะครับลองหาหมอที่พอรู้จักให้เขาลองศึกษาชีวิตดู

ความเห็นส่วนตัว งานหมอนี้
พอกินพอใช้แต่ไม่รวย ถ้าอยากรวยควรทำธุรกิจ
สนุกหรือมีความสุขที่ได้ช่วยคน แต่กลับกันก็จะเครียดและกดดันเวลาช่วยไม่ได้หรือมีทางช่วยแต่ไม่สามารถทำให้คนไข้ไปถึงทางนั้นได้เช่น ติดเรื่องสิทธิ์ ติดเรื่องเงิน ติดเรื่องการเดินทาง
เครียดกับความรับผิดชอบที่ติดตัวมาตลอดแม้จะอยู่นอกเวลาของตัวเองหรืออยู่นอกรพ.
ต้องรับมือกับคนไข้และญาติร้อยพ่อพันแม่ หลากความคาดหวังหลายความต้องการ
เหนื่อยกับภาระงานที่ไม่มีขีดจำกัดแปลว่างานไม่หมดไม่มีคำว่าหยุดทำแม้จะเลยเวลาไปนานเท่าใดก็ตามหากไม่มีคนมารับช่วงต่อ

สุดท้ายคือท้อกับคนที่ไม่เข้าใจในปัญหาเหล่านี้และอีกมากมายครับ

อย่างไรก็ตามแม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อยแต่พอไม่ได้ทำก็คิดถึงครับอยากกลับไปทำอยู่ดี

จากคุณ : oncodog [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 16:35:17 [แก้ไข]
ถูกใจ : medicee, Vdara1, Suddenly Psychotic





ความคิดเห็นที่ 5 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

"ก่อนจะเข้ามาเรียนแพทย์ ไม่เคยคิดถึงความกดดันต่างๆ เหล่านี้มาก่อนหรือคะ"

ผมเพิ่งเข้ามาเรียนแพทย์ บอกได้เลยว่าก่อนจะเลือกเรียนหมอ เรื่องความกดดันทั้งหลายเนี้ย เคยได้ยินได้ฟังมาเยอะ แต่ ก็แค่ได้ยิน ได้ฟังนะครับ.....ไม่เคยเจอกับตัวเองครับเลยไม่รู้สึกอะ แต่พี่ๆที่เขาจบแล้ว เขาได้เจอได้สัมผัสกันแล้ว

มันต้องได้เจอกับตัวเองครับ

จากคุณ : คุณหลอกดาว
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 16:37:12 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 6 [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

เอาจริงเลยนะ
อยากเรียนหมอเพราะบังเอิญเรียนเก่ง เรียนห้องคิงมาตลอด เพื่อนๆก็จะเข้าแพทย์กันทั้งนั้น ไม่แพทย์ก็วิศวะ เราก็เลยตามกระแส
พอมาเรียนหมอ มาเป็นหมอแล้ว ก็ชอบ สนุกกับงาน มีความสุขดีกับผลงาน ผู้ป่วย และเพื่อนร่วมงาน

ไม่เคยคิดลาออกค่ะ

เมื่อกลับไปเลี้ยงรุ่นเพื่อนที่เรียนชั้นมัธยมต้น พบว่าคุยกันคนละภาษา เราเลยเริ่มคุยเรื่องเหลวไหลบ้าง เพื่อจะได้ไม่ดูแปลกแยก ก็สนุกได้เหมือนกัน แต่ทำให้เราค้นพบตัวเองว่า ถ้าไม่เป็นหมอเราคงเอาดีกับอาชีพอื่นไม่ได้เหมือนเพื่อนๆ เช่นนักการตลาด นายแบงค์ เลขา แอร์โฮสเตส(อันนี้ไม่ได้เลย ทั้งส่วนสูงและน้ำหนัก)

ตอบคำถาม จขกท หรือเปล่านะ

จากคุณ : OG
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 17:17:03 A:58.136.26.88 X: TicketID:324242






ความคิดเห็นที่ 7 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

อาจารย์เคยถามในห้องเรียนว่า

"ในห้องนี้ใครมาเรียนหมอแบบไม่แน่ใจว่าอยากจะเป็นหมอ หรือว่าไม่อยากเป็นหมอเลยบ้างรึเปล่า -- หลับตาทุกคนนะจะได้ไม่ต้องสนใจคนอื่น โอเคๆ ไหนใครเป็นแบบที่พี่*บอกยกมือขึ้น.."



ผมไม่ได้เห็นกับตาครับว่ายกมือกันกี่คน (แน่ละสิก็ผมหลับตาอยู่)

อาจารย์หัวเราะนิดๆ แล้วบอกว่า "ครึ่งๆ เลยนะคะ"


เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ นะครับ เด็กสมัยนี้บางคนไม่ได้อยากเรียนหมอหรอก แต่อะไรหลายๆ อย่างทำให้เขามาอยู่ในทางสายนี้
(และแน่นอนว่ามองในมุมคนนอก"อาจจะ"ไม่เข้าใจ)


*/ อาจารย์หมอส่วนใหญ่แทนตัวเองว่า "พี่"

//แก้คำผิด

แก้ไขเมื่อ 29 ม.ค. 55 18:15:28

แก้ไขเมื่อ 29 ม.ค. 55 18:14:09

จากคุณ : Lirica
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 18:12:50 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 8 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟังว่าทำไมบ่นว่าอยากลาออก
- แพทย์เกือบร้อยทั้งร้อยที่มานั่งบ่นจะลาออกเป็นแพทย์จบใหม่ที่กำลังออกไปใช้ทุน
- ถ้าลาออกเนี่ยไม่มีพันธะอะไรเลยก็คงไม่บ่น แต่ร้อยทั้งร้อยคือมีพันธะต้องอยู่ให้ครบ 3 ปี ไม่งั้นต้องจ่ายเงินรัฐบาลหลายแสนอยู่ขึ้นอยู่ว่าไปใช้ทุนแล้วกี่ปี
- ไม่อยากจ่ายเงิน แต่อยากทำงานในสภาพที่มันดีขึ้นที่มนุษย์เขาทำกัน ก็เลยต้องออกมาบ่นให้ชาวบ้านเห็นอกเห็นใจ เผื่อจะไปโรงพยาบาลกันน้อยลงหรือไปแล้วแสดงกริยามารยาทที่ดีขึ้นให้หมอปลื้มอยากรักษา

ผมไม่ได้เถียงว่างานมันไม่หนัก ผมรู้ว่าแพทย์ใช้ทุนทำงานหนัก โดยเฉพาะพวกที่อยู่โรงพยาบาลใหญ่ > 60 เตียง ผมอยู่ข้างนอก 5 ปี รพจังหวัด 1 ปี (> 400 เตียง) รพ.ชุมชน 3 ปี (>120 เตียง) เอกชน 8 เดือน ตอนนี้ศึกษาต่อเฉพาะทาง ผมไม่เคยคิดลาออกเพราะรอทุนเรียนต่อ แต่ท้ายสุดก็ลาออกไม่ใช่เพราะเบื่อคนไช้แต่เบื่อระบบ รพ.รัฐ ทุนที่ได้ก็คืนให้ผอให้คนอื่นไป ตัวผมคิดว่าจะว่างและไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่ได้หางานก่อนลาออก แต่ท้ายสุดก็มีคนตามตัวไปทำงานแม้กระทั่ง รพ.ที่ลาออกก็ยังจ้างให้ไปทำงานอาทิตย์ละ 2 วัน ไปๆมาๆผมได้เงินเดือนมากกว่าเดิม 4-5 เท่า ตอนนี้ก็โชคดีได้เรียนทั้งๆที่คิดว่าออกมา 5 ปีแล้วไม่มีทุนและเกรดไม่ได้สวยหรูคงยากที่จะมีใครรับ

ใครอยากลาออกลาออกเลย เป็นหมอไม่อดตาย ขออย่าเลือกงานแต่ถ้าขี้เกียจเสริมความรู้เลือกงานอยู่ที่ไหนๆก็พอๆกัน เป็นแพทย์เนี่ยมันเป็นอาชีพที่อาศัย life long learning ไม่งั้นฝรั่งมันไม่ใช้คำว่า practice จบมา 20 ปีก็ยัง practice อยู่

จากคุณ : Thep (txp158)
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 18:18:42 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 9 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ตอบ จขกท
- อาชีพแพทย์นี่มันหาเงินง่าย ไม่อดตายแน่นอน แต่ถ้าไม่ขยันตรวจก็ไม่มีเงินเข้า ตัวเองต้องทำเองทั้งหมดฝากคนอื่นทำแทนไม่ได้
- ถ้าเป็นแล้วต้องขอทานตัวคุณเองจะมาเรียนหรือเปล่าครับ ดังนั้นชัดเจนว่าคุณมาเรียนสาเหตุก็เพราะเงินเหมือนกับคนอื่นๆ แต่ตอนสอบสัมภาษณ์ก็:-)กันไป
- บ่นเนื่องจากอยากระบายทั้งๆที่รู้ว่าไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา
- อยากลาออกแต่ปอดแหก กลัวไม่ได้เรียนต่อหรือหางานใกล้บ้านไม่ได้ โดยเฉพาะหมอผู้หญิง ผมไม่ได้เกลียดแพทย์หญิงนะแต่เขามีข้อจำกัดหลายทางจริงๆ

จากคุณ : Thep (txp158)
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 18:32:30 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 10 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

สำหรับตัวผม ...

ตอนเรียน ม.ปลาย .. ก็ไม่ได้เรียนเก่งสุด ไม่ได้คิดว่า อยากจะเป็นหมอ ...

ตอนสอบโค้วต้า มช. .. เลือก แพทย์อันดับหนึ่ง เพราะ เลือกเผื่อไว้ .. เลือก วิศวะ อันดับสอง เพราะ ชอบ คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ และ เลือก เกษตรศาสตร์ (วิทยาศาสตร์) อันดับสาม เพราะ คะแนนสอบเข้าต่ำกว่า ( น่าจะสอบติด )..

ไม่เคยรู้เรื่องเลยว่า จบแพทย์จะเป็นอย่างไร กดดันขนาดไหน .. รู้แค่ว่า คนที่เรียนดี เรียนเก่ง ก็เลือกแพทย์กันทั้งนั้น และ พ่อแม่ญาติพี่น้อง ฯลฯ ก็อยากให้เรียนแพทย์ ...

ผมเชื่อว่า ในปัจจุบันนี้ ก็ไม่ต่างกันนัก .. มีเด็กมัธยมปลาย กี่คน ที่รู้ว่า ตนเองชอบอะไร เรียนทางไหน จบแล้วชีวิตการทำงานจะเป็นอย่างไรบ้าง ...


ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับราชการ ตอนนี้ ผมก็ยังทำหน้าที่เป็น " หมอ " อยู่ .. แล้วก็คิดว่า จะเป็นหมอไปเรื่อย ๆ เพราะ ผมรักการเป็นหมอ ( แต่ผมทนไม่ไหวกับการเป็น" หมอ ใน รพ.รัฐ " ทำได้แค่ ๑๕ ปี ก็ขอยอมแพ้ )


แถม ..

ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=15&gblog=37




ปล. ลูกชาย ผมเรียน เศรษฐศาสตร์ มธ. .. ผม ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่บอกเขาว่า " เรียนหมอ หรือ สอบหมอ นะลูก " ... ( แต่ ญาติผู้ใหญ่ เกือบทุกคน ก็อยากให้เรียนหมอ )

ในความเห็นของผม ถ้าเด็กเขาไม่มีความคิดชื่นชอบอย่างจริงจัง อย่างชัดเจน กับการเป็นแพทย์ ( ถึงแม้จะได้รับทราบ ได้เห็นว่า แพทย์จริงๆ ใน รพ.รัฐ ทำงานกันอย่างไร ) ก็อย่าชักชวนให้เขามาเรียนแพทย์เลยครับ เพราะนั่นจะเป็นการทำร้ายตัวเด็กเอง (ด้วยความหวังดี ???) แล้วบางที อาจกลายเป็นการทำร้ายคนไข้ในอนาคตอีกต่างหาก ..

หัวดี เรียนเก่ง .. ช่วยเขาค้นหาว่าอะไรที่เขาชอบ หรือ คิดว่า ชอบ แล้วสนับสนุนเขา ถึงแม้ คุณจะไม่รู้ก็ตามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร .. แต่ผมเชื่อว่า ถ้าเขาได้ทำ ได้เรียน ในสิ่งที่เขารัก เขาชอบ อย่างน้อยชีวิต เขามีความสุข นั่นก็เพียงพอแล้ว มิใช่หรือ





จากคุณ : หมอหมู [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 19:36:01 [แก้ไข]
ถูกใจ : Lemur, สิงห์คะนองเดชจิวยี่, อาโฮเฮะ, bangkung_123, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 11 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

พ่อแม่ที่เป็นแพทย์ ส่วนใหญ่จะไม่อยากให้ลูกเรียนแพทย์

ส่วนน้อยที่อยากให้เรียนเพราะ
1. มีกิจการเป็นโรงพยาบาล หรือคลีนิค อยากให้สานต่อกิจการ
2. มีเส้นสายสามารถให้ลูกเรียนเฉพาะทางที่ไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกฟ้อง งานสบายและรายได้ดี
3. อยากให้มีตัวแทนของครอบครัวเป็นแพทย์ในรุ่นต่อไป เวลาญาติมิตรเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้พึ่งพาได้(กลุ่มนี้จะมีเลือกให้มีเพียงคนเดียวในบรรดาลูกๆ ที่เป็นแพทย์)

คุณลองคิดดูเอาเองละกันครับ ว่าทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมแพทย์ไม่อยากให้ลูกหลานมาเรียนแพทย์

จากคุณ : megacure (SET50.com) [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 19:46:22 [แก้ไข]
ถูกใจ : อาโฮเฮะ, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 12 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

มีเพื่อนหลายคนเป็นทันตแพทย์ เห็นมีความสุขดี งานไม่หนัก เงินดี

จากคุณ : iamfine_thanks
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 20:12:37 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 13 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

มาตอบในฐานะคนที่จบหมอมาแล้ว 30+ ปี

-เราเลยอยากถามตามประสาคนนอกว่า
ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ

ตอบ.- ที่เลือกเรียนแพทย์ตอนนั้นเพราะ
1. บังเอิญเรียนเก่ง และอยู่สายวิทย์ด้วย ขณะนั้น ค่านิยมส่วนใหญ่จะเลือกแค่หมอกับวิศวะ ตอนสอบเลือกอันดับ 1,2 เป็นหมอ และ 3,4 เป็นวิศวะ แล้วติดอันดับ 2 เสียก่อน
2. สมัยนั้น แพทย์ยังเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และที่สำคัญคือ ยังไม่มีข่าวฟ้องร้องให้รู้สึกเสียขวัญเหมือนในปัจจุบัน
3. ถ้าเลือกเรียนแพทย์ มั่นใจว่า ในอนาคตอาจจะไม่รวยมากมาย ไม่จนแน่ๆ คือเลือกเพราะทำให้มั่นใจในมั่นคงในอนาคต

ปัจจุบัน ก็มีลูกที่เรียนเก่ง และรู้สึกดีใจมากที่ลูกไม่ชอบอาชีพแพทย์ และเลือกเรียนสายอื่นจนจบปริญญาโทแล้ว

และถ้าจะถามว่า ถ้าตอนนี้ผมอายุ 17 จะเลือกเรียนแพทย์ไหม ก็ขอตอบว่า ไม่. ครับ

จากคุณ : ส.มโนมัย
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 20:14:17 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 14 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่เข้ามาแชร์เรื่องราว

ยอมรับว่าหลังจากอ่านกระทู้แนะนำหลายๆกระทู้แล้วอดอคติไม่ได้

แต่พออ่านเรื่องราวที่ทุกท่านเล่าให้ฟังแล้วก็เห็นใจ

ค่านิยมของคนเรียนเก่งคือต้องเป็นหมอ จนบางคนไม่รู้ตัวเลย
ว่าแท้จรีงแล้วเรารักอาชีพนี่้มากพอมั้ย


แต่ไม่ว่าจะยังไง ก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ ^____^

แก้ไขคำผิดค่ะ

แก้ไขเมื่อ 29 ม.ค. 55 21:12:14

จากคุณ : ต้นปาล์มจอมซน [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 21:10:29 [แก้ไข]
ถูกใจ : สูงสุดสู่สามัญ





ความคิดเห็นที่ 15 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ที่ไม่รู้เพราะตอนมัธยมไม่เคยอ่านกระทู้ เหตุผลที่แพทย์ลาออก ของคุณแมวสามสีอ่ะดิคะ ถ้ามี road show เล่าชีวิตแพทย์ว่าเปนแบบนี้ คาดว่าคงไม่มีใครเรียน

เอาจริงๆ ตอนม.6 ที่เลือกหมอ รู้แค่ว่าต้องเรียนเลคเชอร์ ติดกัน 4ชม. ก็เหนื่อยใจแล้ว ไม่เคยคิดถึงเรื่อง ไม่ได้หยุดเสาร์อาทิตย์ หรือไม่ได้นอนไรพวกเนี้ยเลยค่ะ

จากคุณ : nkowen
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 21:57:19 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 16 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ทำไมถึงเลือกเรียนแพทย์??

จริงๆก่อนหน้านี้เห็นในทีวี หมอนี่สบายจะตาย วันๆตรวจคนป่วยในห้องแอร์ เดินไปคุยๆนิดหน่อย ก็เสร็จงานเเล้ว ใครๆก็ต้องฟังหมอพูด ก็คิดตั้งเเต่เด็กว่าดีจังเลยน้า เเม่ก็พูดเปรยๆว่าดูดิลูกบ้านโน้นบ้านนี้เค้าเรียนดีเค้าเลยได้เป็นหมอ ตรรกกะของเด็กน้อยตอนนั้นก็เลยคิดว่า เรียนดี-->เป็นหมอ

เเล้วพอตอนเรียนหนังสือ เป็นคนเรียนดี ตอนสอบปกติก็ไม่คิดอะไรมากหรอกเเค่ต้องได้ในสิ่งดีที่สุดเ่าที่ตัวเองจะทำได้ เลือกสายวิทย์เพราะยังไม่รู้ว่าชอบคณะอะไร สอบเอนท์ก็เลือกคณะที่ตัวเองดูมีหวังที่สุด ซึ่งสี่อันดับของเราไม่ซ้ำคณะเลย เป็นพวกสับสนในตัวเอง เเล้วดันติดอันดับหนึ่งขึ้นมา

ตอนที่เค้าให้ไปฝึกงานก่อนเลือกเราก็ไปนะ เเต่เค้าจัดให้เราไปช่วยงานช่นปูเตียง จัดเอกสารเเทน ก็เลยยังไม่เห็นการทำงานจริงๆเท่าไหร่

ตอนเรียนพรีคลินิคก็เรียนหนักสอบบ่อย เเต่ก็ไม่เเย่ ช้ั้นคลินิคก็อยู่เวรเเค่เที่ยงคืน ชีวิตเอกซ์เิร์นก็มีความสุข ทำงานๆไปมีคนคอยคุ้มกะลาหัว เวรเเย่ก็ดีได้ทำหัตถการ

มารู้ว่านรกมีจริงก็ตอนใช้ทุนนี่ละ ก็คิดนะทุนไรอ่ะตอนเรียนไม่เห็นเคยได้ซักบาท พ่อแม่ก็จ่ายเองตลอด ได้นอนวันเว้นวัน ตรวจopdทีละ100-200คน ไม่เห้นเหมือนกับที่อาจารย์สอนเราในโรงเรียนเเพทย์เลย ต้องดีลกับคนไข้ กะญาติ กะเจ้าหน้าที่ เเละ กะสตาฟ ซึ่งมันเเย่เเละทำให้เครียดมากกว่าภาระงานที่ต้องทำอีก ทุกอย่างห้ามพลาด ซึ่งเราก็เป็นมนุษย์คนนึง ที่ยังต้องการการนอน การกิน เข้าห้องน้ำอยู่ บางทีอยู่เวรติดๆไม่ได้กินข้าวนี่มันก็ทำให้เราเบลอนะ หิวจนหายหิว

อีกไม่นอนเราก็จะพ้นกับชีวิตอินเทิร์นเเล้ว ทำไมต้องให้เราอยู่หนึ่งปีถึงไปเรียนต่อได้ ไม่เข้าใจ เอาใบเพิ่มพุนทักษะมาเป้นเครื่องต่อรองให้เราเป็นข้าทาสกับระบบสาธารณะสุขของประเศที่มีเเต่คนกินเหล้าเมารถชนไม่ก็ยิงกัน ให้เราทำบาปขูดมดลูกให้กับผู้หญิงที่ทำเเท้งเถือนมา ทนกับพวกไม่ป่วยเเต่ต้องการใบรับรองเเพทย์ พวกที่เห็นโรงพยาบาลเป็นร้านขายยา หรือไม่ก็สถานสงเคราะห์

จากคุณ : defe_caola
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 22:21:08 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1





ความคิดเห็นที่ 17 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ตอนที่เลือกเรียน คิดว่ามันเป็นแบบนึง
แต่พอเรียนจบ มันกลับไปเป็นอีกแบบนึง ซึ่งไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเป็น
หรือพูดตรงๆ คือ ไม่คิดว่ามันจะเละเทะได้ขนาดนี้

จากคุณ : หมอก้อนหิน [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 22:39:56 [แก้ไข]
ถูกใจ : อาโฮเฮะ, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 18 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ก็ตงต้องลองมาเป็นหมอเองซักครั้ง แล้วจะเข้าใจเองค่ะ

จากคุณ : กุหลาบสีคราม (กุหลาบสีคราม)
เขียนเมื่อ : 29 ม.ค. 55 23:30:40 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 19 [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ปกติไม่เคยออกมาตอบอะไรแบบนี้เลยนะ
1.ตอนนี้ในหมู่เพื่อนๆแพทย์มีจำนวนไม่น้อยที่อยากเลิก ที่เลิกไปแล้วก็มีเพราะที่บ้านมีกิจการหรืออะไรอย่่างงี้
แต่วันนี้ที่ออกไปไม่ได้เพราะจะให้ไปทำอาชีพอะไรครับ ช่วยแนะนำหน่อย เพราะก็ไม่ได้เสียดายอะไร แต่ไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไร จบมาแล้วไปทำงานอื่นๆก็ไม่มีskill พรุ่งนี้ให้เลิกเป็นแพทย์ก็เลิกได้เลยก็ไม่เสียดาย มีอะไรแนะนำบ้างไหมครับ
2.คนที่ออกมาบ่นโน่นบ่นนี่ บางคนที่รู้จักเป็นการส่วนตัวก็ไม่ใช่หมอที่เลวร้ายอะไรในการทำงาน หมอที่ออกมาบ่นกับชีวิตการทำงานมันไม่เกี่ยวข้องกันมั้งครับเค้าก็แค่อยากระบาย คนที่ไม่เกี่ยวของอะไรก็ฟังผ่านๆไปก็พอ ผมคิดว่าบางคนทำงานแล้วเบื่อมานั่งบ่นบนsocial network ก็มีมั้งครับแต่ส่วนตัวผมไม่เคยทำ
3.มาเรียนทำไมบอกตรงๆพ่อแม่บังคับ ตามค่านิยมสมัยนั้น แต่ถ้าสมัยนี้สถาพการทำงานความนิยมก็เสื่อมไปเอง ก็ดีจะได้ไม่มีพ่อแม่คนไหนมาบังคับอีก
4.อยากบอกเพื่อนแพทย์ว่าอย่าไปบ่นมันเลยไม่มีประโยชน์ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ไม่มีใครเข้าใจใครได้ดีกว่าประสบด้วยตัวเองอยู่แล้วมะ
5.ถ้ามีเครื่องมือวัดว่าคนไหนอยากเป็นอาชีพอะไรอย่างแท้จริงด้วยอุดมการณ์มันก็คงจะดี มันจะได้วัดกันตั้งแต่มาประกอบแต่ละอาชีพนั้นๆไปเลย อีกอย่างผมก็เห็นคนที่อย๊ากอยากประกอบอาชีพด้วยอุดมการณ์กับอีกคนนึงที่กล้ำกลืนมาประกอบอาชีพก็สามารถดูแลคนไข้ภายใต้มาตรฐานได้เช่นเดียวกัน คนไข้อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหมอที่รักษาอยู่เป็นแบบไหนเพราะโดยการทำงานก็ยากจะไปนั่งเล่าให้คนไข้ฟัง
6.สุดท้ายก็อยากให้คนนอกเข้าใจว่า ถ้าไม่มีปัญหามากก็ไม่มีใครมาอยากมานั่งโวยวายมะ หมอก็คนธรรมดาไม่ได้วิเศษอะไร สิ่งที่แพทย์ออกมาแสดงออกต่างๆนานาก็เป็นแค่ผลสะท้อนจากความกดดันในองค์กรณ์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ใครทนมากๆไม่ได้เดี๋ยวก็ออกไปเอง ตอนนี้ก็เพิ่มการผลิตแพทย์ละ จะได้ไปหักออกจากอัตราที่สูญเสียไป เพราะความกดดันต่างๆคงไม่น่าจะได้รับการแก้ไข อีกอย่างเพื่อนผมที่เดินออกจากความเป็นแพทย์ไปหลายคนเป็นคนดีมีความรับผิดชอบจนน่าเสียดาย แต่ก็ดีใจกับเค้าที่ไปเจออะไรที่มันดีกว่า

จากคุณ : แพทย์คนนึงที่ปกติไม่เคยโพสต์
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 00:04:49 A:101.51.181.14 X: TicketID:347244






ความคิดเห็นที่ 20 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ขอบคุณคุณต้นปาล์มจอมซนค่ะ
ชอบคุณจัง
sense มันบอกอ่ะค่ะ

จากคุณ : angelzpuu [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 10:59:19 [แก้ไข]
ถูกใจ : ต้นปาล์มจอมซน





ความคิดเห็นที่ 21 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ผมและแฟนเป็นหมอทั้งคู่

แต่ไม่อยากให้ลูกเป็นหมอเลย
อยากให้เรียนทันตแพทย์
ไม่อยากให้ลูกลำบากครับ

จากคุณ : TUNO99
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 11:09:06 [แก้ไข]
ถูกใจ : BIRKIN SEVEN, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 22 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

"ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ

คิดยังไงถึงได้เลือกเรียนวิชาชีพนี้ เพิื่อเรียนจบออกมาทำงานเป็นแพทย์

อยากช่วยเหลือสังคม.........หรือ
อาชีพนี้ทำแล้วรวย............หรือ
หรือเหตุผลอะไรอื่นๆ"
---------------------------------------------------
เลือกแพทย์เพราะทางบ้านอยากให้เลือก (จริงๆอยากเรียนวิศวะ) ด้วยเหตุผลที่ว่าแพทย์เป็นอาชีพที่รายได้ค่อนข้างดี และมีความมั่นคงทางอาชีพสูง (แต่ที่บ้านไม่เคยม่ใครเป็นหมอนะ ก็เลยไม่เคยมีใครบอกด้วยว่าจบมาทำงานแล้วต้องเจออะไรบ้าง)

ถามว่าทุกวันนี้รู้สึกคิดผิดไหม...ตอบได้ว่าทั้งผิดและถูก
...ผิดในแง่ที่ว่า ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ชอบไม่ได้รักอาชีพนี้
...ถูกในแง่ที่ว่า ถือว่าเป็นอาชีพที่ทำให้เรามีกินมีใช้ และมีความมั่นคงค่อนข้างสูง (ไม่มีใครไล่เราออกง่ายๆ ถ้าเราไม่ได้ทำตัวแย่ซะเอง)

เรื่องช่วยเหลือสังคม บอกตามตรงว่าไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น...แต่ก็รู้ดีว่าเมื่อทำอาชีพนี้แล้ว สิ่งที่ขขาดไม่ได้คือ จรรยาบรรณและความรับผิดชอบ...ดังนั้นเวลาทำงานก็จะทำเต็มที่ รับผิดชอบเต็มที่...แม้ว่าตอนใช้ทุนก็อาจไม่ได้เป็นหมอที่ดีในสายตาคนไข้ เพราะด้วยความที่ไม่ได้รักอาชีพนี้ ตอนพูดจาก็อาจจะมีเผลอหลุดไปบ้างเวลาเจอคนไข้ที่มีปัญหา...ทุกวันนี้ ก็เลยมาเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาที่ไม่แทบต้องพูดคุยกับคนไข้ เพื่อตัดปัญหาเรื่องของอารมณ์ที่ไม่สมควรแสดงออกต่อคนไข้ออกไป (แต่กลายมาเป็นทะเลาะกับหมอด้วยกันแทน 555)

ถามว่า ถ้ามีลูกจะแนะนะให้ลูกเรียนหมอมั๊ย...ถ้าลูกอยากเรียน ก็คงไม่ขัด แต่ก็คงบอกว่าให้คิดให้ดี แจกแจงข้อดีข้อเสียให้ทราบ...ถ้ายังอยากจะเรียนก็ไม่ขัด...แต่ถ้าลูกอยากเรียนด้านอื่น คงจะยินดีเป็นอย่างมาก 555


ปล. ตอนใช้ทุนก็เคยเจอปัญหาหลายๆอย่าง อย่างที่หลายๆคนบ่นกันเหมือนกัน มันก็ทำให้เหนื่อยกายและเหนื่อยใจเหมือนกันนะ

จากคุณ : Lemur
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 11:27:18 [แก้ไข]
ถูกใจ : ต้นปาล์มจอมซน, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 23 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

มีลูกชายเรียนอยู่ ม.5 โรงเรียนดังแถวสยาม
บอกพ่อว่าจะเรียนหมอ พ่อบอกว่าให้คิดให้ดีก่อน
เพราะเพื่อนๆพ่อที่เป็นหมอหลายคน ไม่ค่อยเชียร์เลยครับ

คำตอบมาบอกว่า

คนเก่งไม่เรียนหมอ แล้วจะให้ใครมาเรียนแทน

ขอคำตอบพี่ๆหมอในห้องช่วยตอบแทนพ่อ
จะก็อปคำตอบ ไปให้ลูกชายอ่านครับ
เพราะอ่านทั้งหมดแล้ว สงสารอาชีพหมอมากครับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบ แต่กรุณาอย่าดราม่าครับ
ไม่อยากให้เป็นกระทู้แนะนำอีกกระทู้ครับ
ปกติ อ่านแต่กระทู้เรท 555

จากคุณ : ฮอนด้าสตรีม [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 13:21:36 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 24 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ในฐานะคนผ่านมาก่อน

แพทย์นั้นไม่ต้องใช้คนหัวดีมาเรียน ไม่จำเป็น

จะเรียนแพทย์ได้แค่ไม่เป็นโรคสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ มีความอดทน มีระเบียบวินัย ขยัน
ฐานะทางบ้านต้องไม่ลำบากมากก็เรียนได้

เพราะแพทย์เป็นวิชาชีพ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องความจำ คนเก่งๆ อาจใช้ความคิดแทนได้แต่ก็ไม่จำเป็น หนังสือที่ต้องอ่านเยอะมาก จึงจำเป็นต้องมีระเบียบวินัย ขยัน และอดทน ส่วนการปฏิบัตินั้นถ้าทำเป็นประจำก็ทำได้เอง

เรื่องที่ว่าต้องมีฐานะ ทางบ้านต้องไม่ลำบาก ก็เพราะเหตุข้างต้นคือ คุณจะไม่มีเวลาดูแลคนที่บ้าน หรือ ช่วยภาระทางบ้านเลย ถ้าที่บ้านลำบากเป็นหนี้ต้องช่วยหาเงิน เลิกคิดที่จะเรียนเพราะคุณจะเรียนไม่รอด อีกอย่างหนังสือเรียนแพทย์ราคาแพง อุปกรณ์ที่ใช้เรียนก็แพง เคยโพสต์ไว้แล้วว่าค่าเล่าเรียนต่อให้ในโรงเรียนแพทย์รัฐ 6 ปี ใช้อย่างน้อย 300,000 บาท ต่อให้อ่านหนังสือแต่ในห้องสมุด หรือยืมมาอ่านก็ใช้อย่างน้อยที่ว่าแน่นอน

จากคุณ : megacure (SET50.com) [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 15:06:04 [แก้ไข]
ถูกใจ : ฮอนด้าสตรีม, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 25 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ตอบแบบหรูหน่อยก็ อยากช่วยเหลือคนป่วยค่ะ แต่เอ่ออออ...แบบไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นแบบนี้

จากคุณ : Zentian (Zentian)
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 15:23:57 [แก้ไข]
ถูกใจ : ฮอนด้าสตรีม, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 26 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

เพิ่มอีกนิดว่า ถึงแม้มีโอกาสกลับไปเลือกเอนท์ใหม่อีกครั้งก็ยืนยันจะเดินทางสายนี้จ้า

จากคุณ : Zentian (Zentian)
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 15:25:29 [แก้ไข]
ถูกใจ : ฮอนด้าสตรีม, ต้นปาล์มจอมซน





ความคิดเห็นที่ 27 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ไม่ตอบดีกว่า

เดี๋ยวน้ำเน่าเกิน :)

จากคุณ : หมอเถื่อน [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 15:41:08 [แก้ไข]
ถูกใจ : ฮอนด้าสตรีม, BIRKIN SEVEN, Vdara1





ความคิดเห็นที่ 28 [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

แนะนำอาชีพจริงๆก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการอะไรในชีวิต

เรียนที่ชอบ ทำงานที่ใช่ก็ดีสุด แต่ก็นะ จบมาตกงานกันก็มากเพราะไอที่ชอบที่ใช่ไม่มีในตลาดแรงงาน
ถ้าสิ่งที่ชอบตรงกับความต้องการก็แล้วไป

เป็นผมจะกลับไปเรียนฟิวบัญชี finance

ถ้าที่ชอบไม่ตรงกับตลาดแรงงาน ก็ต้องดูว่าถ้าเราเรียนแล้วจบมาเรามีศักยภาพสร้างงานให้ตนเองได้หรือเปล่า ถ้าไม่มี บ้านเดือนร้อนก็ ก็หางานตามตลาดดีกว่าเนอะ ไปหาความสุขหลังเลิกงานเอา

สาขาที่เรียนก็น่าจะกว้างหน่อยออกไปทำงานได้หลากหลาย แต่ถ้าสาขาอาชีพเฉพาะ ก็ควรเลือกที่เป็นที่ต้องการ
เช่นบางคนบ้านอยู่เชียงใหม่ แต่เลือกเรียนวิทยาศาสตร์ทางทะเล แถมมีพ่อแม่ป่วยต้องดูแล ต้องทำงานใกล้บ้าน อย่างงี้ก็ไม่ควรมะ

จากคุณ : ตอบคำถาม
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 16:14:02 A:180.214.210.180 X: TicketID:347244






ความคิดเห็นที่ 29 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ตอบว่าที่อยากมาเรียนแพทย์เพราะเป็นสาขาที่ดูดีที่สุด ดูสุดยอดที่สุดในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มีแม่เป็นพยาบาล พ่อแม่เชียร์ทุกวัน พูดกรอกหูทุกวันว่าเรียนหมอเถอะ เพราะตัวเองอยากเรียนแต่ไม่ได้เรียน
ไม่เคยรู้มาก่อนว่าชีวิตจะต้องมาเจออะไรแบบนี้
ตอนนี้ขนาดเป็นแค่นักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย ยังไม่ทันได้ใช้ทุนเลย ยังคิดอยากจะลาออกตลอดเวลา
รู้สึกว่ามันไม่ใช่ เราไม่ได้ชอบจริงๆ ไม่ได้ยอมทุ่มเทชีวิตและเวลาให้คนอื่นขนาดนั้น
ยังอยากมีความสุขในชีวิต อยากอยู่กับพ่อแม่ อยากเที่ยว อยากนอนตื่นสายบ้าง

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะไม่เรียนหมอเด็ดขาด

จากคุณ : หนมปังหมูหยอง
เขียนเมื่อ : 31 ม.ค. 55 23:41:49 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1, ฮอนด้าสตรีม





ความคิดเห็นที่ 30 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ขอตอบว่า ไม่ได้เป็นคนดีค่ะ แต่ไม่ทราบอะไรเลยค่ะ ยังไม่รุ้ด้วยว่าตัวเองอยากเรียนอะไร แค่อยากให้แน่ใจว่าจบออกมามีงานทำแน่ๆ ตอนนั้นเป็นเด็กบ้านนอกใสซื่อ เพื่อนชวนก็สอบกะเค้า (แม่บอกว่าถ้าได้เภสัชแม่ก็ดีใจมากแล้ว) ได้ยินแต่เค้าว่ามันหนัก (เวลามีคนพูดแบบนี้คิดว่าคนทุกคนก็คิดเหมือนกันว่า มันจะหนักแค่ไหนเชียว) นึกภาพไม่ออกหรอกค่ะ ถึงนึกออกก็ไม่เท่า1ใน 100 ของความเป็นจริง (จะเอาอะไรกะเด็ก ม ปลาย ที่จะต้องมาตัดสินชีวิตของตัวเองด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด)
จะขึ้นปี 2 ถึงรู้ว่าต้องผ่าศพ(เสร่ออยุ่คนเดียว) เรียนanatomy เหม็นมาก ต้องหายใจทางปากติดต่อกัน 3 ชม ถ้าเผลอหายใจทางจมูกเมื่อไร เมื่อนั้นต้องวิ่งไปอาเจียน (มีปัญหาเรื่องกลิ่นค่ะ ทนไม่ได้จริงๆ แต่คนอื่นๆเค้าก็ไม่เป็นไรกันนะ มีดิฉันทรมานอยู่คนเดียว... มั้ง แต่เราก็ไม่ได้บ่นอะไร ก้มหน้าก้มตาเรียนไป) บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่าในทีวี พวกนักศึกษาทำไมมันมีชั่วโมงว่างมากจัง บางทีมีเรียนแค่ครึ่งวัน แต่ชีวิตพวกเราไม่ใช่เลย ตอ้งทำเรื่องขออนุญาตลงทะเบียนเีรียนเกินด้วยซ้ำ เรียน 8.00-5.00 ทุกวัน แต่ยังดีได้หยุด เสาร์-อาทิตย์
ขึ้นปี 4 เริิ่มอยู่เวรแบบเด็กๆ ลงเวร 4-5 ทุ่ม ต่อมาอยู่ทั้งคืน ทรมานมากเพราะเป็นคนชอบนอน ต้องมาราวด์ก่อนพี่ (พี่มา 6.30-7.00) หน้าหนาวนี่สุดๆ เสาร์อาทิตย์ไม่ได้หยุด ยกเว้นหลังสอบลงกองเปลี่ยนวอร์ด (ประมาณ 3 เดือนครั้ง ถึงจะได้กลับบ้าน)
ปี 6 ไปเป็น extern ที่อุบล ชีวิตเยินสุดๆ เวลา ตี2-3 เดินท่อมๆไปทั่ว รพ บางครั้งก็สงสัยมากว่า ชั้นกำลังทำอะไร
แต่ทุกอย่างมันหล่อหลอมเรา ต่อให้เริ่มต้นแบบ clueless แบบดิฉัน หรือคนที่มาเรียนเพราะชอบจริงๆ มันจะถูกหลอมด้วยเบ้าอันเดียวกัน มาเป็นหมอเหมือนกัน และรักอาชีพนี้เหมือนกัน แม้บางวันชีวิตมันจะทุเรศทุรังแค่ไหน เราก็สู้ ในวันที่เราทำทุกอย่างที่เราทำได้แล้ว กลับมานั่งในห้องพักแพทย์ เรายังสวดมนต์ (ดิฉันสวดนะ) ขอให้คนไข้ดีขึ้น (ไม่ได้เป็นคนดี ถ้าคนไข้ดีขึ้น ตรูก็ได้นอน พรุ่งนี้เช้ายังต้องทำงานต่อ) สิ่งที่ทำให้เราทำงานต่อไปได้ก็คนไข้นี่แหละค่ะ เวลาคนไข้บอกว่าหายแล้วคุณหมอ ดีใจสุดๆ (ไม่เคยเข้าใจเวลาที่คนพูดกันว่าหมอเลี้ยงไข้ จะเลี้ยงไว้ทำไมยะ)
ถ้ายังอยากให้ลูกเรียนก็ดีค่ะ เป็นอาชีพที่ดีจริงๆ แต่ก็เหนื่อยและเสี่ยงชีวิต (เช่น โดนญาติขู่ว่า ถ้าเมียผมไม่หาย หมอโดนแน่ หรือ โดนคนไข้จับก้น หลอกจับมือ หรือโดนเข็มจิ้มนิ้ว- คนไข้ AIDS ด้วย กินยาอยู่ เดือนนึง อ้วกแตก ฉี่เป็นเลือดเพราะยา จนป่านนี้ยังไม่กล้าไปบริจาคเลือด) แต่ถ้าน้องเค้าชอบอย่างอื่น ก็ปล่อยน้องเค้าไปพบทางสว่างเถอะค่ะ

จากคุณ : Suddenly Psychotic
เขียนเมื่อ : 2 ก.พ. 55 23:18:24 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1, ฮอนด้าสตรีม





ความคิดเห็นที่ 31 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ตอบว่าได้พ่อแม่และญาติๆ เป็น role model ค่ะ
เคยเห็นคุณพ่อช่วยชีวิตคน รักษาคนไข้ คนไข้กลับมาขอบคุณ คุณพ่ออิ่มใจ... เลยแบบว่า.. โตขึ้นหนูจะเป็นแบบคุณพ่อค่ะ ฮ่าๆๆๆ

แต่พอมาทำงานจริงแล้วไม่เหมือนกับที่เห็นเลยค่ะ
เหมือนที่มีคนเคยพูดไว้ เราเชียร์บอล ดูบอล วิจารณ์บอล แต่ลองมาเล่นเองดูสิแล้วจะรู้ หึึหึ
เหนื่อยจริงค่ะ อดกิน อดนอน เครียด เหงา ซึมเศร้า ติดโรคงอมแงม โดนเอาเปรียบโยนงานให้ เป็นตัวรองรับอารมณ์ของคนไข้และญาติบางคน ท้อแท้ไปหลายครั้ง
แต่เมื่อไหร่ก็ตามมีคนไข้มาขอบคุณหรือให้กำลังใจ ความรู้สึกเหมือนตอนเห็นคุณพ่อตอนเด็กๆก็กลับมาเลยค่ะ ยิ้มมีความสุขไปได้ทั้งวัน

เพราะฉะนั้น คุณคนไข้เมตตาและให้กำลังใจหมอๆกันบ้างนะคะ เพราะมีพวกคุณที่เข้าใจ พวกเราเลยมีกำลังใจอยู่ในระบบสาธารณสุขที่มันแย่ๆแบบนี้ได้
ขอบคุณจากใจจริงค่ะ

จากคุณ : สูงสุดสู่สามัญ
เขียนเมื่อ : 3 ก.พ. 55 01:56:15 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1, ฮอนด้าสตรีม





ความคิดเห็นที่ 32 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

"เราเลยอยากถามตามประสาคนนอกว่า

ก่อนที่คุณจะเลือกเรียนแพทย์ ... คุณคิดยังไงคะ

คิดยังไงถึงได้เลือกเรียนวิชาชีพนี้ เพิื่อเรียนจบออกมาทำงานเป็นแพทย์"

_________________

ตอบ

เลือกเข้าคณะนี้เพราะอยากเป็นแพทย์นี่แหละครับ ก่อนเลือกเรียนแพทย์ ไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้เลยครับ เมื่อหกปีก่อนตอนอยู่ ม.6 จะมีโครงการให้คนที่อยากเข้าคณะแพทย์ไปดูงานที่ รพ. หนึ่งอาทิตย์(ไม่งั้นสมัครโควต้า มช. ไม่ได้) ผมกับเพื่อนก็เลือก รพ.ใกล้บ้านนี่แหละ รู้มั้ยว่าผมได้ทำอะไรบ้าง ได้พับผ้าอ้อมเด็ก !! กับล้างขวดนม !!

ก็เลยไม่ได้รู้ถึงความลำบากของแพทย์ซักเท่าไหร่ สอบโควต้าติดแล้วก็เฮๆๆๆ จนเรียนจบ แล้วความจริงของวงการแพทย์ก็ซึมซาบเข้าหูเรา ไม่ก็ประสบพบเจอเอง ว่าไม่ได้สวยหรูเหมือที่คิดนะ

ถามว่ายังอยากทำงานด้านนี้อยู่มั้ย ขอบอกเลยว่า ที่ทำอยู่อยู่นี่เพราะสงสารคนไข้ครับ อยากช่วยเหลือให้หายเจ็บหายป่วย เลือกเรียนต่อเฉพาะทางที่รักษาคนไข้ได้แบบเห็นผลเร็วๆหน่อย ไม่เลือกพวก อายุรกรรม แน่นอน คนไข้เรื้อรังจะเยอะมาก

ถ้าวันนึงสังคมบีบเรามากๆ หมอทำอะไรได้น้อยลง เอะอะก็ฟ้องๆๆๆ ผมก็คงต้องหาอาชีพอื่นที่ความถนัดของผมพอจะทำได้ล่ะครับ ให้อยู่ต่อไปก็ไม่ไหวเหมือนกัน สงสารตัวเอง

จากคุณ : จำง่าย ลืมยาก คิดมาก คิดไปเอง
เขียนเมื่อ : 4 ก.พ. 55 15:53:47 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1, ฮอนด้าสตรีม





ความคิดเห็นที่ 33 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

ทำไมถึงเลือกเรียนหมอ
....... สมัน ม ปลาย ผมก็มีความคิดง่ายๆ ว่าอยากเรียนแล้วมาดูแลพ่อแม่ ดูแลญาติๆ

แต่พอเรียนจบแล้วมาใช้ทุน กลับกลายเป็นว่า

ในขณะที่ครอบครัวของเราเจ็บป่วย เราก็ต้องอยู่เวร ทำงานที่ล้นมือ ไม่สามารถไปทำหน้าที่ ที่เราตั้งความหวังไว้ที่จะกลับมาดูแลรักษาพ่อแม่ของตน... ต้องโทรไปบอกเพื่อนหมอที่รู้จัก ให้ดูแลพ่อแม่ของเราเอง จนญาติบอกแม่เราว่า นี่ลูกเธอเรียนหมอไม่ใช่หรอ ทำไมไม่เห็นมาดูแลเธอเลย .... T__T

จากคุณ : tonzton (ToNtONz)
เขียนเมื่อ : 7 ก.พ. 55 16:45:19 [แก้ไข]
ถูกใจ : Vdara1








 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 16:22:19 น.   
Counter : 7239 Pageviews.  

หมอไทยสมัยนี้ ไร้ "จรรยาบรรณ" ให้สังคมหรือว่าสังคมสมัยนี้ ไร้ "ที่ยืน" ให้กับเรากันนะ ....



“หมอไทยสมัยนี้ ไร้ "จรรยาบรรณ" ให้สังคมหรือว่าสังคมสมัยนี้ ไร้ "ที่ยืน" ให้กับเรากันนะ”

//www.pantip.com/cafe/social/topic/U11656487/U11656487.html


บทความนี้ยาวหน่อยนะคับ แต่รับรองว่าจะพยายามเขียนให้เห็นภาพ น่าติดตาม และไม่เบื่อไปซะก่อนนะคับ

เหตุผลที่หมอไทยในโรงบาลรัฐบาลและโรงบาลชนบทกำลังน้อยลงไป ทุกวันๆๆๆๆๆๆ

1. งานหนักมว้าก.......

วันก่อนอ่านเจอคำพูดประโยคหนึ่ง โดนใจเรามาก
"คนทั่วไปมักจะพูดกันว่า เป็นหมอ งานสบาย เงินดี แต่แปลกนะ ที่กลับไม่มีใครเคยได้ยินคำพูดเหล่านั้นออกจากปากของคนเป็นหมอเลย"
เป็นประโยคที่อ่านแล้วเจ็บจี๊ดๆมาก

จิงคับ ภาพของอาชีพเราในมุมมองของคนอื่นๆ คือ งานออฟฟิศ นั่งโต๊ะ เงินเดือนเป็นแสนๆ

แล้วในความเป็นจริงล่ะ....
ถ้าเราบอกว่า อยากเห็นหมอวิ่งไปวิ่งมาตรวจคนไข้ไหม ลองไปดูตามโรงบาลชุมชนที่ขาดแคลนหมอดูสิคับ

ถึงตรงนี้ สิ่งที่เราทำได้คงเอาเรื่องที่เกิดขึ้นจิงๆ กับการเป็นหมอของเรามาเล่าให้ทุกคนฟังนะคับ
เราเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ ปีแรกทำงานใช้ทุนอยู่ที่โรงบาลจังหวัด ตอนนี้ขึ้นปีที่สองออกมาอยู่โรงบาลชุมชน
โรงบาลที่เราทำงานตั้งอยู่ในจังหวัดขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ที่ตอนนี้ภาพรวมของจังหวัดถือว่าหมอขาดแคลนมากๆๆๆๆๆ
โรงบาลอำเภอในจังหวัดเรา มีหมอ 1-2 คนทุกอำเภอ (ยกเว้นโรงบาลอำเภอขนาดใหญ่ 90 เตียง อยู่อำเภอนึงที่มีหมอ 4 หรือ 5 คนนี่แหละ)
โรงบาลเพื่อนเราอยู่ติดถนนทางหลวงสายเอเชีย มีอุบัติเหตุ เมาหัวทิ่มแหกโค้งกันแทบทุกวัน หน้ายับ นอนแน่นิ่งกันมาบ่อยๆ มีหมอ 2 คนคับ ถามจิง คิดว่าเพื่อนเรา จะเอาอยู่ หรอคับ
โรงบาลที่เราอยู่ล้อมรอบด้วยภูเขา 360 องศา มีน้ำตกใกล้ๆ3 แห่ง ตอนเช้าๆอากาศเย็นสบาย หมอกลงยังกะอยู่ปายเลยทีเดียว อยู่ห่างจากถนนใหญ่ 30 กิโล และ ไม่มีเซเว่นคับ
โรงบาลเราตอนนี้มีหมอ 2 คนคับ กับประชากรในอำเภอที่ต้องดูแลประมาณ 30,000 คน ถ้าถามว่างานหนักไหม ก็คงตอบได้ว่ารัดตัวคับ คือ
พอไหว ตรวจคนไข้ทั้งวัน และลาไปไหนแทบไม่ได้เลย ถ้าหมอคนนึงลา ก็แปลว่าอีกคนต้องดูคนไข้ทั้งโรงบาลคนเดียวนะคับ ถ้าให้ดีโรงบาลเรา ควรจะมีหมอซัก 3 คนคับ
บางทีไข้ ไอ เจ็บคอ ไข้ 39 c ก็ต้องฝืนไปตรวจทั้งๆอย่างนั้นล่ะ บางทีพี่พยาบาลยังแซวเลยว่า ไม่รู้ว่าหมอกับคนไข้ คนไหนดูอาการแย่กว่ากัน กันแน่
แล้วการเป็นหมอก็แปลว่าต้องอยู่เวรคับ คือโรงบาลนะคับ ไม่ว่าจะกี่โมงกี่ยาม ก็ต้องมีหมอที่ตามได้ 1 คน ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมงคับ โรงบาลเรามีหมอ 2 คนก็ต้องอยู่เวรเดือนละ 15 วันคับ
แล้วคำว่าอยู่เวรของเรา ไม่เหมือนอาชีพอื่นนะคับ ที่คนที่มาอยู่เวรกลางคืน คือคนที่ได้ไปนอนมาตอนกลางวัน
กลางวันเราก็ทำงานทุกวันตามปกติคับ 8 โมงเช้า - 4 โมงเย็นคับ แต่ 4 โมงเย็นถึง 8 โมงเช้า เรากับพี่หมอ อยู่กันคืนเว้นคืน คับ
แถมงานเราไม่ใช้โอทีนะคับ ที่คืนไหนนึกจะพักก็ลาหายไปได้เฉยๆ ถ้าเราคิดจะไม่อยู่เวร เราก็ต้องวางแผนหาหมอมาอยู่แทนล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วันแล้วคับ
ต่อให้สุดวิสัยแค่ไหน ถ้าไม่มีหมอมาแทน ก็ไปไหนไม่ได้นะคับ

ในช่วงกลางวัน เราเริ่มไปดูผู้ป่วยใน 8 โมง มีเต็มที่ 30 เตียงๆ นึงก็ 5-10 นาที เสร็จแล้วก็ไปดูผู้ป่วยห้องฉุกเฉินครับ แล้วก็ไปดูห้องคลอดคับ
บางวันมีคลินิกอุลตร้าซาวนด์ บางวันมีคลินิกโรคเรื้อรังคับ
แน่นอนครับว่า ผู้ป่วยนอกเป็นที่สุดท้ายที่เราไปถึง มองไปเห็นสายตาคนไข้กว่าร้อย ที่ส่งสายตาสงสัยว่าทำไมหมอมันมาเอาป่านนี้คับ
ระหว่างที่เรากำลังตรวจผู้ป่วยนอกอยู่ บางทีเราก็ถูกห้องฉุกเฉินตาม บางทีห้องคลอดก็ตาม บางทีผู้ป่วยในก็ตาม
ถ้าคุณยังไม่เคยเห็นหมอวิ่งไปวิ่งมาในโรงบาล เพื่อรีบไปตรวจคนไข้ ก็ลองมาดูได้นะคับ อิอิ
พอตกเย็น หลังจากตรวจคนไข้เหนื่อยมาทั้งวันเราก็อยู่เวรต่อคับ
ข้อดี คือ หมอที่อยู่โรงบาลชนบทจะไม่ต้องอยู่เฝ้าห้องฉุกเฉินตอนกลางคืนตลอดเวลา
เพราะ เค้ารู้ว่าเทพมาจากไหนก็อยู่ไม่รอดครับ หมอก็คนนะคับ ไม่นอนทั้งเดือน หมอก็ตายได้เหมือนกันนะคับ
เวรกลางคืนจึงสามารถให้พี่พยาบาลที่ผ่านการอบรมรักษาโรคทั่วไปตรวจแทนได้ แต่จะตามหมอเมื่อเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกินกว่าความสามารถที่พี่พยาบาลจะดูแลได้คับ
แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าจะสบายทุกคืนนะครับ บางคืนเราอาจจะโดนตามทุกชั่วโมง หลับๆตื่นๆทั้งคืน เช้าก็ไปทำงานต่อก็มีคับ
บางครั้งเรายังแซวพี่หมอเล่นเลยว่า โรงบาลเรามีหมอ 2 คน แต่มีพี่ยามผลัดกันอยู่เวร 3 คนนะ (พี่ยามอยู่เวรเฉพาะกลางคืนด้วยคับ)
สรุปแล้วเดือนๆ นึงเราอยู่เฝ้าโรงบาลมากกว่าพี่ยามอีกนะเนี่ย ^^
(ไม่แปลกเลยที่มีใครบางคน จะชอบเรียกตัวเองว่า ยามเฝ้าโรงพยาบาล อิอิ)

ฟังดูเหนื่อยหรือเปล่าคับ แล้วถ้าเราบอกว่า
ตอนช่วงปลายปีที่ผ่านมา พี่หมอที่ทำงานด้วยกันกับเรามีเหตุสุดวิสัยต้องคลอดบุตร ลาคลอด 3 เดือน ล่ะคับ
ถามว่าผิดไหม ถ้าคนเป็นหมอจะป่วยได้ หรือญาติจะเสีย เพื่อนสนิทจะแต่งงาน บ้านจะน้ำท่วม หรืออย่างกรณีนี้ คือ พี่หมอจะคลอดลูกคับ
มันไม่ใช่ความผิดของพี่หมอเลยนะคับ ที่จะมีลูกซักคนหลังจากที่แต่งงานกันมาหลายปี แล้วก็ต้องลาคลอดไป 3 เดือน ไอ้เราจะไปห้ามไม่ให้พี่หมอคลอดก็คงไม่ได้ใช่ไหมคับ
แต่ก่อนที่พี่หมอจะลาคลอด ก็ได้พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่น้าคับ ติดต่อสาธารณสุขจังหวัด ขอหมอโรงบาลอื่นมาช่วย สอนงานการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลให้
แต่ก็อย่างที่เราบอกไปตอนแรกล่ะคับ ว่าโรงบาลข้างเคียงในจังหวัดเราก็ขาดหมอกันทั้งนั้น จะยืมหมอมาช่วยก็แปลว่า เค้าก็ต้องลำบากอีกเหมือนกันคับ
เราก็จะยืมหมอมาได้บ้าง แต่ไม่ตลอดคับ บางช่วงเราก็ต้องอยู่โรงบาลเองคนเดียวไปครึ่งเดือนทั้งอย่างนั้น อย่างช่วงคร่อมปีใหม่ที่ผ่านมา
เราอยู่โรงพยาบาลคนเดียว 10 กว่าวันรวดเลยน้าคับ เหนื่อยและล้ามากเลยคับ
ปัญหาของการเป็นหมอผู้เล่นตัวจริงคนเดียวของโรงบาลก็ คือ เราต้องเป็นทั้งหมอ และ ผอ.โรงบาลในคนเดียวกันคับ
จากที่บอกมาแล้วว่า งานหมออย่างเดียว เราก็วิ่งวุ่นทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ห้องฉุกเฉิน ห้องคลอด และต้องอยู่ 24 ชั่วโมงติดต่อกันคนเดียวไปเรื่อยๆ จนจะเป็นลมอยู่แล้ว
แต่เรายังต้องเป็นผอ.โรงบาลด้วยอีกต่างหากคับ ผอ.มือใหม่แกะกล่องเลยคับ
อยากให้เข้าใจว่าการเรียนหมอ 6 ปี เราไม่เคยเรียนงานบริหารน้าคับ จะงานพัสดุ ธุรการ การเงิน อะไร เราก็ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนทั้งนั้นล่ะคับ แต่อยู่ๆ ก็ต้องเป็นผอ.จำเป็น ขึ้นมากะทันหัน
โอ้ว พระเจ้าจอร์จมากคับ ความรู้สึก คือ เหมือนเอาช่างไม้มาตัดผม เอาหมอฟันมาสร้างบ้าน อะไรประมาณนั้นเลยคับ
มีคนเคยบอกว่า เอาหมอคนนึงไปเป็น ผอ. ก็เหมือนกับ "เสียหมอดีๆ ไปคนนึง แล้วได้ผู้บริหารห่วยๆ มาคนนึง" เราเห็นด้วยอย่างแรงเลยคับ
โชคดีที่พี่ๆ ในโรงบาลที่ทำงานด้วยทุกคน ซื่อสัตย์ นิสัยดี ยินดีช่วยเหลือ เราถึงรอดมาได้นะคับ
(แอบขำ ตอนเข้าประชุมกรรมการบริหารโรงบาลครั้งแรก พอเรานั่งแล้วทุกคนในห้องก็เงียบกริบ เราเลยต้องถามพี่ที่นั่งข้างๆว่าเป็นประธานการประชุม
เราต้องทำอะไรบ้างคับ พี่เค้าถึงบอกว่า หมอก็ว่าเริ่มไปทีละข้อตามเอกสารวาระประชุม นั้นล่ะ เราเลยเริ่มประชุมกันไปได้ 55)

ถามว่า การเป็นผอ.ต้องทำอะไรบ้าง วันๆนึงก็เซ็นเอกสารเป็น สิบๆแฟ้ม เซ็นเช็ค อนุมัติโครงการ (ต้องตรวจเอกสารก่อนอีก) แก้ไขปัญหาในโรงบาล (การฟ้องร้อง บุคลากรขัดแย้งกัน)
ไปจนถึงงานทั่วไปแบบเซ็นเบิกน้ำมันรถ ตรวจรับอาคารที่สร้างใหม่ จัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือแพทย์เข้าโรงพยาบาล
เอ่อ เอาจิงๆ งานพวกนี้ไม่เคยคิดเคยฝันว่าจะต้องมาทำ พูดได้คำเดียวว่า เอ๋อรับประทานไปเลยคับ
ถามว่า เอาเวลาไหนมาทำ ก็ตอนพักกินข้าวเที่ยงไงคับ กับหลังตรวจคนไข้เสร็จสี่โมงเย็นไงครับ หรือบางวันเคลียร์ไม่ทันจิงๆ เราเอาเอกสารมาตั้งหลังห้องตรวจ
พอจังหวะที่คนไข้ที่ตรวจเสร็จหันหลังเดินออกจากห้อง ระหว่างรอคนไข้คนใหม่เดินเข้ามาถึงที่นั่งตรวจ มีเวลาดูเอกสารตั้งเกือบ สิบวินาทีเลยนะ จิงๆ
ช่วงที่มีหมอจากโรงบาลข้างๆมาช่วย ก็จะสบายกว่านี้หน่อยนะคับ แต่ก็วิ่งไปวิ่งมาทั้งวันอยู่ดีล่ะ
บางครั้งเราก็แอบลำบากใจ เวลาทำงานกลางวัน มี 8 ชั่วโมงเหมือนกันทุกวัน
แต่งานทั้งสองอย่างเป็นงานที่เวลาซ้อนทับและต้องทำในเวลาเดียวกันแต่ เราไม่สามารถทำทั้งสองอย่างพร้อมกันได้คับ
ถ้าเราเลือกที่จะไปเคลียร์งานบริหาร หรือ ไปประชุม
ก็เท่ากับทิ้งงานตรวจคนไข้ให้เพื่อนหมอที่มาช่วยจากโรงบาลอื่น คนไข้ที่รอตรวจก็ต้องรอนานขึ้น บางวันคนไข้ก็ล้นเลย ก็ดูเป็นหมอที่แย่อีก
แต่พอเราตรวจคนไข้ทั้งวัน ไม่ไปเข้าประชุมเลย หรือ อนุมัติเอกสารและเช็คไม่ทัน ก็กลายเป็นว่าเราเป็นผอ.โรงบาลที่แย่อีก
มันรู้สึกแย่นะ เพราะปกติเราเป็นคนที่ยอมรับไม่ได้ถ้ารู้สึกว่าตัวเองกำลังทำงานน้อยกว่าคนอื่น รับไม่ได้ถ้าคนอื่นจะรู้สึกว่าโดนเราเอาเปรียบ
คือ ปกติจะพยายามทำงานให้มากกว่าคนอื่นตลอดเวลา อยากให้คนที่ทำงานด้วยรู้สึกว่าทำงานสบาย
แต่พอเจออย่างนี้ ยอมรับว่า "เอาไม่อยู่" จิงๆคับ ถ้าเวลาทำงานกลางวัน มี 16 ชั่วโมงแม่มไปเลยดีมะ จะได้ทำงานทั้งสองอย่างได้เต็มที่ไปเลย
อย่าลืมนะ ว่าที่เราเล่ามา คือ 8 ชั่วโมง ที่เป็น "กลางวัน"
แล้ว "กลางคืน" ล่ะ ..... ก็อยู่เวรอีก 16 ชั่วโมงไงคับ
กลางเดือนมกราที่ผ่านมานี้ พี่หมอสงสารเรา กลัวเราจะไม่ไหว เลยไม่ลาคลอดต่อ กลับมาช่วยงานตรวจคนไข้ตอนกลางวัน
แต่ค่ำคืนเดือนมกรา 31 วันก็ยังเป็นชื่อเราอยู่เวรกลางคืนทั้งเดือนนะ อิอิ (เพื่อนเราถามว่า จะมีตารางเวรไปทำไมนะ 55)

ยัง.. ยังไม่หมดนะ ยังมีงานคุณภาพโรงบาลให้เราทำอีกต่างหาก เราเข้าใจนะ เราอยากให้โรงบาลของเรามีคุณภาพ แต่ถ้าเราต้องทำงานเอกสารอะไรๆมากขึ้นทั้งๆที่ตรวจคนไข้ไม่ทันอยู่แล้ว
มันจะทำให้โรงบาลของเรามีคุณภาพขึ้นจิงๆ หรือเปล่านะ คือ ในความเห็นของเรา ...
งานคุณภาพโรงบาลเป็นหลักการที่รัฐไปลอกมาจากเอกชน ซึ่งหมอและเจ้าหน้าที่มีเวลาเหลือเฟือ ครวจคนไข้วันละ 20-30 คน จะเขียนยืดยาวแค่ไหนก็ได้
แต่กับเราที่ตรวจคนไข้วันละ 100-200 คน มีเวลาตรวจคนไข้แค่ 3-5 นาทีต่อคน ยิ่งเราเขียนนานแปลว่า เรามีเวลาตรวจคนไข้น้อยลงนะคับ
คือ มันอาจจะมองเห็นเป็นชิ้นงานให้ตรวจสอบได้ดีอยู่หรอกคับ แต่เรารู้นะว่าหมอโรงบาลชุมชนทั่วประเทศคิดเหมือนกันจิงๆนะ ว่า
ที่จิงแล้วมันอาจจะทำให้คุณภาพการตรวจของเราแย่ลงด้วยซ้ำนะคับ
ก่อนที่จะเอางานคุณภาพลงมาทำจิงๆจังๆ แบบนี้ ช่วยเพิ่มหมอให้พอก่อนได้มั้ยคับ นะ นะ



2. งานมันเป็นงานรับผิดชอบสูง ไม่มีเวลาเป็นของตัวเองนะคับ

ขี้เกียจอธิบายมาก เล่าเรื่องจิงของเราให้ฟังเลยละกันจะได้เห็นภาพง่ายขึ้น

- ปีที่แล้วอยู่โรงบาลจังหวัด เคยมีอยู่วันนึง ไม่ได้กินข้าวเลย 24ชั่วโมง เรื่องมีอยู่ว่า วันนั้น....
ข้าวเช้าไม่ได้กิน ปกติไม่กินอยู่แล้วกลัวเสียเวลานอน กะว่าตั้งเวลาปลุกแบบที่ว่าตื่น อาบน้ำแล้วไปทำงานเลย
ข้าวเที่ยงก็ไม่ได้กิน เพราะ ตอนกลางวันดูคนไข้ในอายุรกรรม 2 ชั้น 100 กว่าเตียงกลัวจะตรวจคนไข้ไม่ทัน
เพราะ 4 โมงเย็นต้องรีบไปอยู่เวรห้องฉุกเฉินอีก ก็เลยตรวจคนไข้ต่อเนื่องไปเลยไม่ได้พักเที่ยง
ข้าวเย็นก็ไม่ได้กิน เพราะ วันนั้นเป็นวันอะไรไม่รู้ คนไข้ห้องฉุกเฉิน 4 โมงเย็นถึงเที่ยงคืนเยอะมาก ตรวจตลอดเวลา
ขนาดระหว่างเตียงลัดเวลาด้วยการวิ่งไปตรวจ ยังตรวจไม่ทันเลย
สรุปวันนั้นข้าวเช้า ได้กินโจ๊กหน้าธนาคารกรุงศรีฯ ตอนตีหนึ่ง(ของอีกวัน) คับ หิวโคตรๆ
(เดี๋ยวมีคนถามอีกว่าทำไม 24 ชั่วโมง คืนก่อนหน้านั้นก็ออกจากเวรไปกินตอนตี 1 เหมือนกันคับ)

- วันก่อน ขี่มอไชต์ออกไปกินข้าวแกงหน้าโรงบาลตอนเที่ยง ตักกินได้คำนึง พี่พยาบาลโทรมาบอกว่า "หมอ มีลุงอายุ 50+ปี ไปเดินเขาทำปืนลั่นเข้าหลังตัวเองด้านขวา ช็อค ความดัน 60/30"
คือ ถ้าเรากินต่อ คงไข้เราคงตายอะ ก็เลยทิ้งข้าว บึ่งมอไซต์กลับโรงบาล กว่าจะใส่ท่อปอด คุมอาการช็อค ส่งตัวโรงบาลจังหวัดเสร็จ ก็บ่ายโมงกว่า กลับไปอีกที มดขึ้นข้าวหมดเลย
ป้าเจ้าของร้านบอกว่า คนที่หมอทิ้งข้าวไปช่วย เป็นญาติป้าเอง แกเลยตักให้ใหม่ แถมข้าวเหนียวถั่วแดงถ้วยขนาดยักษ์พิเศษให้ด้วยถ้วยนึง ซึ้งใจดีจัง
ตอนนี้คุณลุงก็กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมแล้ว ทำงานได้ปกติ วันก่อนยังเจอคุณลุงแกอยู่เลย อิอิ

- บางทีอยู่เวร เราก็กลับมานอนพักบ้านพักแพทย์ ปวดอึก็เลย เข้าห้องน้ำ กำลังนั่งอึ๊อยู่ พี่พยาบาลโทรตามแต่โทรเข้าเบอร์บ้าน
โทรศัพท์ก็อยู่ในห้องนอน จะไม่ รีบไปรับก็ไม่ได้ ไม่รู้เป็นผู้ป่วยโรคอะไร เกิดเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เดี๋ยวแย่เลย
ก็เลยขมิบตูดให้ขี้ขาดกลาง (จิงๆนะ) แล้ววิ่งออกไปรับโทรศัพท์ในห้องนอน ในสภาพล่อนจ้อน ท่อนล่างเปลือยเปล่า ไข่ห้อยโทงเทง >> บอกได้คำเดียวว่า อุบาทว์มาก 55

- ถ้าถามว่า เคยไม่ได้นอนติดๆกันเลยสูงสุด กี่ชั่วโมง ก็คงเป็นตอนเรียนปี 6 ออกไปฝึกงานจริง เคยไม่ได้นอนติดต่อกันประมาณ 60 ชั่วโมง
แต่ถ้าถามว่าเคยอยู่เวรติดๆกันมากที่สุดกี่วัน คำตอบคือ อยู่ 24 ชั่วโมงติดกัน 18 วัน 17 คืนคับ (ตอนเดือนมิถุนาปีที่แล้ว)
ถ้าถามว่า เคยหลับในไหม เคยเอาหูฟังแปะหน้าอกคนไข้แล้วหลับเผลอไปทั้งอย่างนั้นประมาณ 10 วินาทีคับ
เคยหลับไปทั้งที่มือกำลังเขียนชื่อตัวเองในใบรับรองแพทย์ที่เขียนให้คนไข้อยู่คับ
(ประเทศออสเตรเลียมีกฎห้ามหมอทำงานต่อเนื่องกันเกิน 8 ชั่วโมง เพราะ เค้าวิจัยแล้วว่า
หมอที่ทำงานติดต่อกันนานเกินไปจะมีระดับการคิดและตัดสินใจเทียบเท่ากับคนที่มีแอลกอฮอล์ในเลือดเหมือนคนที่กินเหล้ามาโดนเป่าจับอะ
สงสัยถ้าเราไปทำแบบนี้ที่ออสเตรเลียโดนโทษประหารชีวิตไปแล้วล่ะมั้ง)

- แฟนโทรมาร้องไห้กับเรา กำลังปลอบๆ อยู่ โทรศัพท์โทรตามเข้ามา เราก็ต้องบอกแฟนว่า "เดี๋ยวพี่รับโทรศัพท์ห้องฉุกเฉินแปบนะ เด๋วเสร็จแล้วพี่จะรีบโทรกลับ ขอโทษจิงๆนะ" แล้วก็วางหู
รู้สึกตัวเองเป็นแฟนที่แย่มากเลย ให้เวลาคนที่เรารักไม่ได้ในเวลาที่เค้าต้องการ เพราะ ต้องเป็นห่วงคนที่เราไม่รู้จัก แถมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นใคร แต่จะไม่รับโทรศัพท์ก็ไม่ได้ กลัวคนไข้ตายอีก
เคยแต่งกลอนให้แฟนด้วย
"รักจะมีแฟนเป็นหมอต้องทำใจ ภาระงานอันยิ่งใหญ่ใช่ห่างเหิน หากเว้นว่างเวรน้อยใหญ่ให้อยู่เกิน อยากจะเดินเคียงข้างเธอทุกเวลา" >> แอบเน่าหน่อยนะ อิอิ

- พ่อไปทำงานต่างจังหวัด ไกลจากโรงบาลที่เราทำงาน 500 กิโล วันนึงตอน 4 ทุ่ม โทรไปหาพ่อ เราถามพ่อว่าทำอะไรอยู่
พ่อเงียบไปและพูดว่า "อยากกระโดดน้ำตาย" จังหวะนั้นเราเครียดกินเลยคับ
ตอนนั้นอยู่โรงบาลคนเดียว ใจอยากจะบึ่งรถออกจากโรงบาลตอนนั้นเลย แต่จะทิ้งโรงบาลไปทั้งอย่างนั้นก็ไม่ได้ ถ้ามีคนไข้มาโรงบาลแล้วตาย เพราะ โรงบาลไม่มีหมอ ถ้าเราเป็นญาติ
เราจะรู้สึกยังไง สิ่งแรกที่ทำคือ โทรไปบอกแม่เตรียมตัวเก็บของ สิ่งที่สองที่ทำคือ ติดต่อพี่หมอ และหมอโรงบาลข้างๆ ขอหมอมาอยู่เวรแทนให้เร็วที่สุด คือ ตราบใดที่ยังไม่มีคนมาแทน
เราจะออกไปจากโรงบาลไม่ได้นะคับ โรงบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกที่คืออีก 30 กิโลนะคับ ตอนนั้นสติกระเจิงจิงๆคับ ทำอะไรไม่ถูกเลย
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หมอจากโรงบาลอื่นทุกคนที่มาช่วยผลัดกันอยู่เวรในวันที่เราไม่อยู่นะคับ
ขอบคุณที่ทำให้เรามีเวลาสละจากการดูแลคนที่เราไม่รู้จัก ไปช่วยชีวิตพ่อตัวเองคับ ขอบคุณจิงๆคับ

- โรงบาลที่เราทำงาน กับเมืองที่แฟนกับครอบครัวของเราอยู่ ถ้าเราอยากไปหา เราต้องขับรถไปกลับ 200 กิโลคับ
ถ้าเราเกิดนึกคึก อยากไปกินข้าวเย็นกับแฟนในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์ เราก็ต้องออกจากโรงบาล 4 โมงเย็นคับ ขับไป 100 กิโล กินข้าวเสร็จ ดูหนัง เที่ยงคืนขับรถกลับถึงโรงบาลตี1ครึ่งคับ
หรือถ้าวันไหนไปนอนบ้านอยู่กับครอบครัว ตื่น 6 โมงเช้า ขับรถกลับถึงโรงบาล 8 โมงทำงานต่อเลยคับ
อย่าลืมนะคับว่าเราอยู่เวรวันเว้นวัน วันที่เราขับรถไปกลับ 200 กิโล คือวันที่คืนก่อนหน้านั้นนอนไม่พอและคืนต่อไปจะนอนไม่พอนะคับ
(เพื่อนหมอรุ่นผมเสียชีวิตไปแล้วหนึ่งคน เพราะ หลับในเนื่องจากขับรถหลังจากคืนที่อยู่เวร ขอให้เธอไปสู่สุคตินะคับ)

- งานเทศกาล วันหยุดความสุขสันต์ทั้งหลาย ไม่ใช่จะได้ไปกับเค้านะคับ
ปีที่ผ่านมา สงกรานต์เราก็อยู่เวรรวด 5 วันคับ ปีใหม่เราก็อยู่เวรรวด 16 วันคับ
วันที่ทุกๆคน ฉลองกันอย่างมีความสุข เรานั่งอยู่โรงบาลคับ รอเค้าฉลองเสร็จ เมาทะเลาะกัน ตีกัน ขับรถแหกโค้งกันมาคับ
คอนเสริตเพื่อชีวิต หรือ ร็อคๆ มาจัดในจังหวัด เราก็นั่งภาวนาคับ พวกมันจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้ตีซึ่งกันและกันเลย เดี๋ยวลำบากเราอีก
วันที่คนเกือบทั้งประเทศได้พักผ่อน นั่งนับถอยหลังกับคนที่ตัวเองรัก กินเหล้ากับเพื่อนๆ คือ วันที่งานเรายุ่งมากคับ
วันปีใหม่ แทนที่เราจะไปหาพ่อแม่ กลายเป็นว่า พ่อแม่ต้องมาหาเราที่โรงบาลคับ
เฮ้ออออออ....

ถ้าให้เรานิยามล่ะก็ "หมอเป็นอาชีพที่ไม่มีเวลาเป็นของตัวเองครับ จะกิน ขี้ เยี่ยว นอนก็ไม่เป็นเวลา และต้องสละเวลามีความสุขกับคนที่ตัวเองรักให้กับการดูแลคนที่เราไม่รู้จักครับ"

3. งานของเรากดดันมากนะคับ ถ้าถามเรา สาเหตุของความกดดัน คือความคาดหวังและการฟ้องร้องคับ

- ความคาดหวังก็เกิดจาก นโยบายสาธารณสุขไงคับ ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า "ไปโรงบาลสมัยนี้ฟรี ไม่ต้องเสียตัง แถมบริการดี ขออะไร ให้ทุกอย่างเลย (ไม่ให้ก็ฟ้องแม่มเลย)"
คือ ปกติตามหลักเศรษฐศาสตร์ ของแพงมักจะดี และ ของฟรีมักจะแย่ นะคับ
แต่นโยบายรัฐมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า บอกว่าไปโรงบาลฟรี ไม่เสียตัง แต่กลับมีแนวคิดที่คนฟ้องโรงบาลถ้าขอตรวจอะไรแล้วไม่ได้อะคับ
สรุปคือ ฟรีแล้วยังดีอีกด้วยคับ เพื่อนเรามันบอกว่าระบบสาธาฯไทย รัฐให้สัญญากับประชาชน "อเมริกันสแตนดาร์ดในต้นทุนพม่า" คับ
อีกเรื่องนึงที่กดดันเราก็คือ คนไข้ที่ต้องตรวจในแต่ละวันมีเป็นร้อย มีเวลาตรวจคนละ 3-5 นาทีคับ (หมออังกฤษตรวจคนไข้วันละ 10-20 คนก็บ่นเหนื่อยแล้วคับ)
คนที่นั่งรอข้างหน้า คิดว่าหมอตรวจช้าจัง อู้อยู่รึเปล่า คนที่หมอกำลังตรวจ คิดว่าหมอตรวจเร็วจัง ไม่ละเอียดหรือเปล่า
คือ มันลำบากนะ ฟรีแต่ขออะไรได้หมด กับ เร็วแต่ละเอียดเนี่ย เราก็พยายามเต็มที่นะ แต่ก็มีคนที่ยังไม่พอใจเราอยู่เนืองๆแหละคับ
ถ้าจะเปรียบเทียบ มันก็เหมือน เจ้านายคุณให้กระดาษ A4 มาใบนึง แล้วบอกให้คุณไปตัดกระดาษมายังไงก็ได้ ให้ได้แผ่นใหญ่ที่สุดและจำนวนเยอะที่สุด
หรือ ลูกค้าคุณให้คุณขับรถไปส่ง โดยบอกให้คุณขับยังไงก็ได้ให้ถึงที่หมายเร็วที่สุดและปลอดภัยที่สุด ..
เป็นคุณๆจะเครียดมั้ยคับ ทำยังไงก็โดนว่าอยู่ดี เฮ้อ...

- การฟ้องร้อง คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้วที่หมอปัจจุบันและอนาคตจะต้องเจอ
คือ เราไม่ได้บอกว่า ห้ามฟ้องหมอนะคับ แต่เราอยากให้ฟ้องในกรณีที่ควรอะคับ เช่น ไม่สนใจ ไม่ดูแลคนไข้ก็ว่าไป
แต่ถ้าหมอดูแลอย่างสุดความสามารถและเต็มที่ทุกอย่างแล้ว เราคิดว่ากรณีแบบนี้ไม่ควรฟ้องนะคับ
ถึงหลายๆคนจะบอกว่า ถ้าทำถูก ทำดี จะกลัวฟ้องไปทำไม โดนฟ้องยังไงก็ชนะ แล้วคิดมั้ยล่ะคับ ว่า
สภาพจิตใจ ของคนที่วันๆนึง อยู่แต่โรงบาล ไปไหนไกลก็ไม่ได้ กินไม่เป็นเวลา นอนหลับๆตื่นๆ โดนตามทั้งคืน ไปดูแลคนที่เราไม่รู้จัก
แต่ ไม่รู้จะโดนคนที่เราพยายามช่วยนั้นหันมาฟ้องเข้าเมื่อไหร่ มันท้อนะคับ

เอาจิงๆ แล้วตั้งแต่ การฟ้องร้องหมอเริ่มบูมขึ้นมา เราคิดว่าหมอดีๆ ที่โดนฟ้อง มีมากกว่าหมอที่ไม่ดีนะคับ
เวลาหมอชนะคดีมักจะไม่เป็นข่าวหรอกคับ แต่เวลาหมอแพ้คดีทีไร ดังทั้งประเทศทุกทีเลยคับ
รู้ไหมคับว่า จนตอนนี้มีหมอดีๆ ถูกฟ้องร้องให้เสียกำลังใจในการทำงานไปเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่แล้ว
ลองคิดดูตามนี้นะคับ
หมอที่ไม่ดี มักจะรู้วิธีหลบหลีกการฟ้องร้อง เลือกตรวจแต่คนไข้โรคไข้หวัด โรคทั่วไป ไม่ตรวจคนไข้หนักๆ อุบัติเหตุ หัวใจหยุดเต้น
พอเห็นรถมูลนิธิวิ่งเข้าโรงบาลก็จะเดินหลบหายไป รอหมอคนอื่นเข้าไปตรวจ
หมอที่ดีๆ มักจะรักษาคนไข้ทุกคนที่มาโรงบาลโดยไม่สนใจ ไม่เคยเกี่ยงว่าคนไข้จะเป็นคนไข้หนัก เป็นคนไข้อุบัติเหตุ หรือญาติตีหน้าไม่พอใจ ทำหน้าเหมือนจะฟ้องมาแต่ไกลก็ตาม
สมมติว่าโรงบาลแห่งหนึ่ง มีหมอสามคน มีคนไข้มาตรวจวันละ 200 ครั้ง หนึ่งปีจะมีคนไข้ให้ตรวจประมาณ 70,000 กว่าครั้ง (200 x 365)
และถ้าสมมติให้หมอตรวจคนไข้ 1000 ครั้ง มีโอกาสผิด 5 ครั้ง (สมมติให้อัตราเท่ากันทั้งหมอดีหมอแย่ ที่จิงหมอแย่มีแนวโน้มจะหนีคนไข้ที่อาการหนักเสี่ยงฟ้องร้องมากกว่า)
หมอคนแรกตรวจคนไข้ทั้งวัน ทำงานทั้งปี ไม่เคยลาป่วย ลากิจ ลาพักผ่อนเลย ตรวจคนไข้ 50000 ครั้ง >> จะตรวจผิดพลาด 250 ครั้งในปีนั้น
หมอคนที่สองตรวจคนไข้แบบมาๆ ไปๆ แว้บบ่อยๆ ลาไปเที่ยวต่างประเทศเดือนละครั้ง ตรวจคนไข้ 20000 ครั้ง >> จะตรวจผิดพลาด 100 ครั้ง ในปีนั้น
หมอคนที่สามมีชื่อแปะไว้ในตำแหน่งโรงบาล วันๆนึงอยู่แต่คลินิก หรือไปทำธุรกิจขายตรงอยู่ ไม่เคยมาตรวจคนไข้เลย ตรวจคนไข้ 0 ครั้ง >> จะตรวจผิดพลาด 0 ครั้ง ในปีนั้น
อ่านตรงนี้จบแล้ว คนไข้รู้หรือยังครับว่าหมอคนไหนโดนฟ้อง แล้วหมอทั้งประเทศรู้หรือยังคับ ว่าทำยังไงเราถึงจะไม่โดนฟ้อง
เราให้เขาทั้งกายใจ เขาให้การฟ้องร้องเรากลับมาไงคับ เศร้าใจจัง
เหมือนสำนวนฮิตติดปากไงคับ "คนที่ไม่เคยผิดพลาด คือ คนที่ไม่เคยทำอะไรเลย"
"หมอที่ไม่เคยผิดพลาด ก็คือ หมอที่ไม่เคยตรวจคนไข้เลย" เหมือนกันคับ

ความรู้ทางการแพทย์มันซับซ้อนนะคับ เป็นความรู้ที่ดิ้นได้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เวลาเรียนจบ หมอจะได้ไปประกอบโรคศิลป์คับ
ไม่ใช่ใบประกอบโรควิทย์นะคับ เพราะ ศาสตร์แห่งการตรวจและรักษา มันเป็น Art คับ Art ตัวแม่เลยคับ ไม่ใช่ science ล้วนๆอย่างที่หลายคนเข้าใจคับ
คนไข้ที่มาด้วยอาการแบบเดียวกันเป๊ะๆ 100 คน สามารถเป็นโรคที่ต่างๆกันไปได้ถึง10โรค ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่มาด้วยปวดท้องขวาล่าง
สามารถเป็นได้ตั้งแต่โรคธรรมดาพื้นๆ ไม่อันตรายเช่น ฉี่ติดเชื้อ ลำไส้อักเสบ ปวดcyst นิ่วในท่อไต
ไปจนถึงโรคที่อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ผ่าตัด อย่างเช่น ไส้ติ่งอักเสบ ท้องนอกมดลูก เป็นต้น ทำให้การวินิจฉัยนั้นบางครั้งค่อนข้างลำบาก
โดยเฉพาะถ้าเป็นโรคระยะแรกๆ ที่อาการไม่ชัดเจน เราก็ต้องรักษาโดยคิดถึงโรคที่เป็นได้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยตามดูอาการครับ
คนไข้ที่เดินเข้ามาอาจจะมีอาการเหมือนในหนังสือเป๊ะๆ หรือ เป็นอาการแบบเดิมที่เราเจอมาเป็นครั้งที่ร้อย ก็ไม่ได้แปลว่า
จะต้องเป็นโรคนั้นที่เราคิดเสมอไปนะครับ ดังที่อาจารย์แพทย์จะกรอกหูพวกเราเสมอว่า "ไม่มีสิ่งใดแน่นอน 100% ใน medicine"
เวลาที่เราคิดว่าผู้ป่วยเป็นอะไร ให้คิดโรคที่อาจเป็นได้อีกสาม-สี่โรคเผื่อไว้เสมอ
แถมโรคบางโรคนั้นอันตราย เสี่ยงต่อการฟ้อง เจอได้น้อยมากในคนที่มีอาการแบบเดียวกัน และดันไม่มีวิธีตรวจยืนยันแบบง่ายๆซะอีกครับ
ขอยกตัวอย่าง มะเร็งในกระเพาะแล้วกันนะครับ

"กระเพาะอักเสบ : มาด้วยอาการแสบแน่นลิ้นปี่ บางคนแน่นขึ้นอก บางคนคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย"
"มะเร็งในกระเพาะ :มาด้วยอาการแสบแน่นลิ้นปี่ บางคนแน่นขึ้นอก บางคนคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย"

ใช่ครับ ในคนไข้ที่เดินเข้ามาหาเราด้วยอาการปวดแน่นลิ้นปีวันละสิบยี่สิบคน ในคนไข้เหล่านั้น เราตรวจซักเดือนสองเดือน
จะมีคนไข้ที่จิงๆแล้วเป็นมะเร็งในกระเพาะแอบอยู่ซัก 1คนคับ แต่อาการคือมาแบบเดียวกันเป๊ะๆเลยคับ
(บางคนก็บอกว่า มะเร็งก็น่าจะคลำได้ก้อนสิ ก้อนมันไม่จะเป็นต้องยื่นออกมาด้านนอกกระเพาะนี่ครับ เวลาตรวจเราก็ไม่เคยเอาแขนล้วงลงไปในคอคนไข้ซะด้วย)
วิธี่ที่จะบอกว่าเป็นหรือเปล่าก็มีอยู่ แค่ส่องกล้องกับ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เจอ (แต่เอกซเรย์ทั่วไปไม่เห็นนะคับ เห็นแต่ลมกลมๆดำๆในกระเพาะ)
มันจะหนักใจหมอตรงที่ว่าเคสไหนเราควรจะส่งไปส่องกล้องนะสิครับ อย่างเช่น จังหวัดเรามีหมอศัลย์ส่องกล้องได้อยู่สามคน แต่มีคนที่มีอาการแบบนี้หลายหมื่นคน
เราก็คงไม่ส่งไปส่องกล้องทุกคนจิงมั้ยครับ เราก็เลือกเป็นรายๆไป อย่างเช่น แก่มาก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะมาก่อน
ถ้าดูแล้วเสี่ยงเราก็ส่งให้เลย แต่ถ้าเป็นคนทั่วไป เราก็รักษาดูก่อน คนไหนที่กินยาแล้วกินยาอีกยังไม่ดีขึ้น จัดเป็นความเสี่ยงข้อนึงครับ ให้ส่งไปส่องกล้องได้เลย
อันนี้คือตามหนังสือเรียนจริงๆนะครับ แต่ในความเป็นจริงก็คือ กับคนที่ปวดท้องมาแบบนี้ พอเราให้ยารักษาไปปุ๊บ พอไม่ดีขึ้นก็ไปอีกโรงบาลนึง ไม่ดีขึ้นก็ไปที่คลินิค
พอเจอหมอคนใหม่ หมอทุกคนก็ทำตามหลักครับ ถ้าไม่มีความเสี่ยงก็รักษาก่อนถ้าไม่ดีขึ้นค่อยส่งไปส่องกล้อง สุดท้ายเปลี่ยนหลายๆที่เข้าก็ไปลงที่โรงบาลเอกชน
โรงบาลเอกชนส่องกล้องทีนึงเรียกตังเป็นหมื่นครับ จะเสี่ยงไม่เสี่ยงเค้ายินดีจะส่องกล้องให้คุณอยู่แล้ว พอส่องเจอปุ๊บ แจ๊คพ็อตก็ลงกับหมอโรงบาลแรกๆไงคับ
เราตรวจคุณตามเกณฑ์นะคับ ตามหนังสือเรียนเลยคับแต่สุดท้าย เราก็กลายเป็นหมอที่ว่า
"เนี่ย ชั้นไปโรงบาลสั่งแต่ยากระเพาะมาให้ ต้องไปตรวจโรงบาลเอกชน ไม่งั้นไม่รู้นะเนี่ยว่าตัวเองเป็นมะเร็ง (พยายามลดระดับความรุนแรงของการด่าให้แล้วนะคับ)"
เราอยากให้มีใครซักคนคิดค้นวิธีตรวจมะเร็งกระเพาะที่ง่ายกว่านี้มากๆเลยคับ

ปัญหาสำหรับหมอตอนนี้ ก็คือ สังคมมีทางออกให้กับหมอที่ตั้งใจรักษาคนไข้อย่างเต็มที่และถูกต้องที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ ณ เวลานั้นแล้วแต่ก็ยังโดนฟ้องร้องแล้วหรือยังครับ
การเอาการวินิจฉัยและรักษาที่เกิดขึ้นไปแล้วมาดูและวิจารณ์ภายหลังว่าตรงนี้ผิด ตรงนั้นผิดโดยที่รู้อยู่แล้วว่าคนไข้เป็นโรคอะไร กับคนที่อยู่ ณ เวลานั้นจิงๆ กับคนไข้ที่กำลังจะตาย
แต่มีโรคให้คิดในสมองได้ 4-5 โรค แถมการรักษาโรคนั้นที่คิดถึงได้มันขัดแย้งกันเอง ถ้ารักษาผิดทางคนไข้จะตาย มันไม่เหมือนกันคับ
บางครั้งจะรอผลการตรวจบางอย่างให้แน่ใจขึ้นสักนิดก่อนว่าคนไข้เป็นโรคอะไร กลับกลายเป็นถูกฟ้องว่าให้ยาคนไข้ช้าไปก็เลยมีผลข้างเคียงก็มีคับ
เราก็ไม่รู้นะว่า คนทั่วไปเค้าจะรู้บ้างหรือเปล่าว่า
คนที่มาเป็นหมอเนี่ย เราไม่ได้เป็นไอสไตน์กลับชาติมาเกิดคับ เราไม่ได้ทำข้อสอบได้ 100 คะแนนเต็มทุกวิชามาตั้งแต่ ป. 1- ม. 6 นะคับ
เราคือ คนที่ได้ 80-90 กว่าคะแนนตอนที่นั่งเรียนหนังสืออยู่ข้างๆคุณสมัยประถมและมัธยมคับ
แล้วคุณคิดว่าการเรียนหมอ 6 ปี จะทำให้เรากลายเป็นเทพเจ้าผู้รักษาคนไข้ได้ถูกต้องร้อยทั้งร้อยคนเลยรึเปล่าครับ
เรากล้าพูดนะครับว่า ต่อให้อาจารย์หมอ หรือแม้แต่หมอที่เขียนตำราแพทย์ที่หมอยึดปฏิบัติกันทั่วโลกก็ตาม
ก็ไม่มีหมอคนไหนกล้าพูดหรอกครับว่า ตัวเองรักษาคนไข้ได้ถูกต้อง 100% ไม่มีผิดพลาดเลย
แต่ตอนนี้สังคมห้ามเราผิดพลาดเลย ถ้าทำไม่ได้ร้อยคะแนนเต็มแปลว่าเราต้องติดคุกหรอคับ

ถ้าเปรียบคนไข้เป็นการสอบ วันๆนึง คนไข้ที่เดินเข้ามาก็จะมีทั้งข้อที่ยากและง่ายแตกต่างกันไป
แต่คนไข้ที่หมอพลาด มักจะเป็นข้อสอบโอลิมปิก หรือ ข้อโจทย์ยาวๆที่ให้เวลาเราทำแค่ 2 นาที
เรารู้ว่าอ่านมาถึงตรงนี้จะเริ่มมีคนด่า เราแล้วว่าเอาชีวิตคนไข้ไปเปรียบกับข้อสอบได้ไง
เราขอโทษคับแต่เราก็เป็นหมอคนนึงที่เห็นชีวิตคนอื่นสำคัญกว่ากระดาษข้อสอบเหมือนคุณล่ะคับ แต่ที่เล่ามาคือต้องการให้เห็นภาพเท่านั้นเอง ขอโทษจิงๆคับ

ปัญหาอีกอันเลยที่ทำให้หมอถูกฟ้องร้อง คือ ปริมาณหมอไม่เพียงพอคับ บางครั้งได้อ่านข่าวแล้ว ข่าวบอกว่าหมอโดนฟ้อง เพราะหมอไม่ได้อยู่เฝ้าคนไข้ตลอดเวลา
อ่านแล้วเราก็คิดเหมือนกันว่า วันดีคืนดี เราเองก็คงต้องถูกฟ้องแบบนั้นเข้าสักวันล่ะมั้ง คือ งานเรามันไม่ได้ล้นมือแบบธรรมดาคับ มันล้นมือมากนะคับ
ยกตัวอย่างที่เราเล่าไปข้างต้นคับ ถ้าวันที่เราอยู่เฝ้าโรงบาลอำเภอคนเดียว มีคนไข้ผู้ป่วยใน 30 คน คนไข้ห้องฉุกเฉิน 10 กว่าคน คนไข้ห้องคลอด 4 คน คนไข้ผู้ป่วยนอกอีก 100 กว่าคน
และทุกห้องที่ว่ามามันไม่ได้อยู่ตึกเดียวกันหมดนะคับ ใครจะบอกเราทีได้ไหมคับ ว่าเราควรจะนั่งเฝ้าคนไข้ตรงไหน เราถึงจะไม่โดนฟ้องคับ ถ้ามันเกิดเหตุสุดวิสัยพร้อมกันขึ้นมาจิงๆ
คนไข้ที่อยู่คนละตึก อาการหนักกำลังจะตายพร้อมกัน ซึ่งมันก็เคยเกิดขึ้นกับเรามาแล้ว
คนนึงเราไปดูสั่งการรักษาใกล้ชิด อีกคนต้องโทรสั่งพี่พยาบาลให้ทำตามทางโทรศัพท์คับ ในใจก็เตรียมใจไว้ว่าถ้าเป็นอะไรไปจะโดนฟ้องมั้ยนะ แต่เราก็ต้องทำใจคับ
(โชคดีที่คนไข้กรณีนี้เข้าใจเราคับ เราเลยไม่โดนฟ้องคับ)
แต่ถ้าเราโดนฟ้องนะ เราจะไปฟ้องมหาลัยแพทย์คับ ฟ้องที่ไม่สอนวิชานินจาแยกเงาพันร่างให้เราก่อนจบหมอ ทำให้วันนึงจบมาเราต้องโดนฟ้อง ดีมั้ยคับ แล้วที่
เราบอกว่าเราอยู่เวร 24 ชั่วโมงเกือบทั้งเดือนมกราเนี่ย ใจคอคุณจะให้เรานั่งห้องฉุกเฉินทั้งวันทั้งคืนติดกันทั้งเดือน แบบไม่ต้องไปนอนพักเลยจิงๆหรอคับ
แต่งานที่เราทำมันเกี่ยวกับชีวิตคนนะ ถ้าเรานอนไม่พอ ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสตรวจผิดพลาดนะคับ ผิดพลาดแล้วจบที่ไหนล่ะคับ ก็โดนฟ้องอีกไงล่ะคับ
ถ้าอยากได้หมอที่ตรวจได้ทั้งวันทั้งคืน แล้วยังไม่ผิดพลาดเลย ไปเอามาจากหนังเรื่อง real steel ดีกว่าไหมคับ

บางครั้งเราก็คิดเหมือนกันนะว่า ถ้าวันนึงเราเห็นคนประสบอุบัติเหตุรถคว่ำอยู่ข้างทาง แล้วเราจอดรถลงไปช่วยเหลือเขา
ช่วยชีวิตเบื้องต้น หยุดห้ามเลือดไว้จนเขารอดจากอาการเลือดออกช็อคตาย แต่อีก 7 วันให้หลังเขาตายด้วยสาเหตุติดเชื้อจากบาดแผล
อาจเพราะการทำแผลริมถนนมันคงจะไม่สะอาดดีพอ เราจะโดนฟ้องไหม ถ้าเขารู้ว่าคนที่ไปช่วยเขา เป็นหมอ หรือ ไม่เป็นหมอ
มันจะต่างกันหรือเปล่า อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้นะคับ อย่าบอกว่าถ้าเราเข้าไปช่วยเพราะหวังดี ยังไงก็ไม่ถูกฟ้องคับ
วันก่อนมีหมอคนนึงถูกฟ้อง ทั้งๆที่เกิดจากการเข้าไปดูคนไข้ฉุกเฉินทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเวรหรือ ความรับผิดชอบของตนเอง แต่ถ้ารอช้ากว่านั้น ถ้ารอหมออีกท่านที่กำลังตรวจคนไข้อื่นอยู่
คนไข้อาจจะแย่ได้ สุดท้ายคนไข้ก็ไม่รอดคับ หมอที่เข้าไปช่วยก็ถูกฟ้องคับ
เหตุการณ์ 2 อย่างนี้ต่างกันตรงไหนคับ ต่างกันที่ เหตุการณ์ เกิดขึ้น "นอกโรงบาล" กับ "ในโรงบาล" หรอคับ
คิดอย่างนี้ทีไร น้อยใจในความเป็นหมอทุกทีเลยคับ


4. นโยบายของรัฐ ซึ่งเข้าสู่สมัยประชานิยม หรือยุคแจกเงินและของฟรี

- นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า >> ก่อนจะด่า ก็ต้องชมก่อนใช่มะ ตามหลัก อิอิ หากพูดถึงข้อดีของมันก็คงเป็นเรื่องการเข้าถึงบริการของประชาชนคับ
นึกถึงภาพสมัยก่อนที่ลุงหมอเล่าให้ฟังว่า แม่อุ้มเด็กไข้ ยืนร้องไห้หน้าห้องฉุกเฉินแต่ไม่เข้ามาตรวจเพราะไม่มีตัง ลุงหมอเลยต้องออกเงินให้ ถึงจะยอมเข้ามาตรวจนะคับ
นโยบายนี้ก่อให้เกิดข้อดีที่เหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก >> ปัญหาก็คือ คุณไม่ให้เราเก็บตังคนไข้ แล้วคุณให้เงินโรงบาลต่างๆ เพียงพอต่อค่ารักษาหรือเปล่าคับ
ตอนนี้โรงบาลอำเภอรอบๆ มีหนี้เฉลี่ยโรงบาลละ 5-10 ล้าน โรงบาลจังหวัดมีหนี้เฉลี่ยประมาณ 100 ล้าน โรงบาลมหาลัยยังติดหนี้เป็น 1000ๆ ล้าน
ถ้าคุณบอกว่าเราโกหก เราก็อยากเห็นนะว่า ตัวเลขจิงๆ มันแย่กว่านี้ขนาดไหน ถ้าเปิดเผยให้ประชาชนทั่วไปรู้ได้จะดีมากเลยคับ
ถามว่าทำไมถึงเป็นหนี้ ก็เงินทุนที่ให้มามันไม่พอกับค่ายา ค่ารักษาไงคับ
ยกตัวอย่าง งบประมาณผู้ป่วยนอก รัฐบาลจะจ่ายเงินให้โรงบาลโดยนับเอาตามหัวประชากรกลางปีในพื้นที่นั้นๆนะคับ แล้วให้เหมามาเป็นเงินก้อน ตกประมาณ 2000 กว่าบาทต่อคนต่อปี
เอ่อ คิดว่าเงิน 2000 กว่าบาทเพียงพอต่อการใช้รักษา คนไข้คนนึงทั้งปีหรอคับ
เอาง่ายๆเลยนะคับ ค่ายาลุงๆป้าๆ บางคนมาเอายาเบาหวาน ไขมัน ความดัน หัวใจ ตับ ไต กลับไปเดือนนึงเป็นถุงๆ นะคับ
เรายังแซวคนไข้บ่อยๆ เลยว่า ของลุง นี่กินยาอย่างเดียวไม่ต้องกินข้าวก็อิ่มแล้วนะเนี่ย
2000 กว่าบาทที่ให้มา เอาไปซื้อยาคูลท์ให้ลุงๆป้าๆ กินวันละขวด 365 วันยังเกือบไม่พอเลยคับ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่คนไข้ชอบขอกันตอนอยู่ห้องฉุกเฉินโรงบาลจังหวัด ครั้งนึง 3000-4000 บาทนะคับ
ปกติเราจะส่งให้ทำตามข้อบ่งชี้และอาการของโรคคับ แต่เดี๋ยวนี้มีข้อบ่งชี้ใหม่ไงคับ คือ
ถ้าไม่ให้ทำแล้วคนไข้ ขู่จะฟ้องโรงบาล เราก็ยินดีทำให้ทันทีเลยคับ หมอเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เราไม่เสี่ยงหาเรื่องถูกฟ้องโดยไม่จำเป็นแล้วคับ
อยากให้รู้ว่า การขอเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เกินกว่าจำเป็นครั้งนึงเท่ากับใช้เงินค่ารักษาที่รัฐจ่ายให้คุณใช้รักษาทั้งปีของคุณกะ ของเมียคุณไปแล้วคับ
อย่าคิดมากเลย ก็เงินภาษีที่ทุกคนจ่ายนะแหละ ใช่เงินหมอเงินพยาบาลเองซะที่ไหนล่ะคับ

เราเข้าใจคับว่านโยบายนี้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ถ้าโรงบาลไม่อยากเจ๊ง ก็พยายามสร้างเสริมสุขภาพ มากกว่ารักษาโรคสิ
จะได้มีคนไข้ส่วนนึง เราได้เงินค่าหัวมาฟรีๆ แต่คนไข้ไม่มาโรงบาลเลยทั้งปี
แล้วความเป็นจริงล่ะคับ คนไข้เข้าถึงบริการง่าย บางคนมาหาหมอด้วยอาการไข้มา 5 นาที ใช้ปรอทวัดไข้ก็ไม่ขึ้น ตรวจก็ไม่เจออะไร
บางคนบอกว่า พอดีไหนๆก็ขับรถพาเพื่อนมาหาหมอแล้วก็เลยแวะเข้ามาหาหมอสักหน่อย
บางคนบ้านน้ำท่วมก็เลยขอมานอนโรงบาลคับ ไม่มีงานทำ ไม่มีข้าวกินก็มาขอนอนโรงบาลคับ
หลังๆมีกองทุนหมู่บ้านนอนโรงบาลได้ตังคืนละ100 บาทอีก พอจะสิ้นปีลุงๆป้าๆ มาขอนอนโรงบาลกันล้นเลยคับ กลัวเสียสิทธิ์
แล้วหลักการที่ว่ามันจะใช้ได้ยังไงล่ะคับ
จิงๆแล้วเราคิดจิงๆนะว่า การที่ระบบสาธารณสุขของไทยยังไม่ล้มนี่ น่าจะไปยื่นเสนอจดทะเบียนขอเป็น สิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลกจิงๆคับ

- เงินที่ค้างจ่ายค่ากันดารของเรากับค่าเสี่ยงภัยเพื่อนๆเรา ที่เค้ายอมไปเสี่ยงระเบิดไปอยู่ 3 จังหวัดชายแดน เมื่อไหร่เราจะได้คับ
รัฐบาลบอกไม่มีตังจ่าย ขอค้างไว้ก่อน หมอๆ เราก็ "โอเค ได้ๆ" นั่งก้มหน้าก้มตาทำงานกันต่อไป คุณก็ขอผลัดมาเรื่อยๆ
กุมภาที่แล้ว >> มีนา >> เมษา >> พฤษภา ตอนนี้ค้างมาจะครบปีแล้วนะคับ
เราไม่รู้ว่าเพื่อนหมอคนอื่นที่ออกไปอยู่โรงบาลไกลๆ ได้ค่ากันดารกันเท่าไหร่ แต่ที่ๆเราอยู่เป็นกันดารระดับ 3 (สูงสุด) เงินที่ค้างมันเป็นเงินก้อนใหญ่นะคับ
ถ้าอยากให้เราเตือนล่ะก็ ตอนนี้รัฐบาลค้างเงินผม 310,000 บาทแล้วคับ
ถ้าเป็นอาชีพอื่น เจ้านายค้างตัง ไม่จ่ายเงินเป็นแสนๆ คงประท้วงหยุดงาน หรือ ฟ้องร้องบริษัทไปแล้วใช่ไหม แล้วอาชีพเรามันทำได้ไหมล่ะ
ถ้าเราประท้วงหยุดงานทั้งประเทศ แล้วคนไข้ที่เราดูอยู่ไม่ตายกันหมดหรอคับ
เรารู้นะ ว่า คุณเอาชีวิตประชาชนเป็นตัวประกัน คิดว่าไม่ว่าคุณจะปฏิบัติกับเรายังไง เราก็ทิ้งคนไข้ที่เราดูแลอยู่ไม่ได้ใช่ไหม ถึงทำกับเราแบบนี้
ทุกครั้ง ที่หนังสือแจ้งมาที่โรงบาลว่า รัฐบาลไม่มีเงินจ่าย ให้ค้างไว้ก่อน มาเรื่อยๆ ทุกเดือนๆ แล้วเราดูในทีวี มีการแจกเงินนู้น แจกเงินนี้ ลดนู่นลดนี่ ทุกครั้งเราคิดนะคับ
อ้าว ไหนว่า ไม่มีตังจ่ายค่ากันดารค่าเสี่ยงภัยเราฟะ >> แล้วคุณจะค้างเราไปถึงเมื่อไหร่ ชาตินี้เราจะได้ไหม หรือคุณจะเผาส่งไปให้เราใช้ทีหลังหรอคับ
มีนานี้เราจะต้องจ่ายภาษีอีกแสนสาม ทั้งที่เรายังไม่ได้เงินที่ค้างอยู่สามแสนเลยคับ
แถมการที่ผมได้เงินช้าปีนึง กลายเป็นว่ามาทบกับยอดรายได้ปีนี้ ผมต้องเสียเงินภาษีเพิ่มฟรีๆ อีก 30,000 ด้วยคับ ถ้าเพื่อนถาม ผมจะเรียกมันว่า เงินค่าอะไรดีคับ
เสียเงินเพิ่ม “ค่าได้ตังช้าปีนึง” หรอคับ

ถึงตรงนี้เราก็รู้อีกล่ะว่า เดี๋ยวก็มีดราม่า บอกว่าเราได้เงินเยอะอยู่แล้วอีก ทำไมไม่ยอมๆ ยกหนี้ให้รัฐบาลไปเลย >> เอ่อ ถ้าพูดอย่างนั้น
คุณก็ลองทำงานบริษัทไปซักปีนึง แล้วให้เจ้านายค้างไว้ก่อนเรื่อยๆ เพราะบอกว่าบริษัทไม่มีตัง
พอครบปีเจ้านายก็ไม่จ่ายตังคุณ เพราะบอกว่า คุณมีตังอยู่แล้ว คุณจะรู้สึกยังไงล่ะคับ

- อีกเรื่องนึงคือ เร่งผลิตเพิ่มแต่ช่วยเพิ่มตำแหน่งราชการให้บรรจุให้เพียงพอหน่อยได้ไหม อันนี้บ่นเพื่อน้องหมอใน 5 ปีข้างหน้า
และบ่นเผื่อพี่พยาบาลที่ทำงานในโรงบาลมา 10-20 ปีแล้วยังไม่ได้บรรจุข้าราชการเลย
ผมสงสารพี่ๆเค้าอะคับ ทำงานให้โรงบาลรัฐมานานแล้ว แต่พี่ๆพยาบาลก็ยังเป็นได้แค่ลูกจ้างประจำ ไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆของราชการได้
จะบอกว่า ตรงนี้ก็เป็นสาเหตุนึงที่ พยาบาล เภสัช ทันตะไหลออกจากระบบไปเรื่อยๆนะคับ และแน่นอนว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตำแหน่งบรรจุแพทย์ ก็จะไม่พออีกด้วยคับ สู้เค้านะน้องๆ

เอาล่่ะ บ่นมาก็มากแล้ว แล้วมาดูผลลัพธ์นะคับ
ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ก็ลาออกกันไงคับ ไปขายประกัน ไปสอนพิเศษ ไปเปิดคลินิก ไปเล่นหุ้นดีกว่าคับ ได้หลับได้นอน ไม่ต้องฝันร้ายว่าจะโดนจับเข้าคุกเข้าสักวันหรือเปล่า
พอหมอทนงานหนัก ทนการฟ้องร้องไม่ไหว หมอก็ลาออก พอหมอลาออก หมอที่เหลืออยู่ก็ต้องทำงานหนักขึ้น มีโอกาสโดนฟ้องมากขึ้น แล้วก็ลาออกมากขึ้นอีกไงคับ
>> เป็นวงจรไปเรื่อยๆ แล้วจะไม่ให้หมอขาดแคลนได้ยังไงล่ะ ทีนี้

ก่อนหน้านี้เคยมีท่านนึงเสนอให้ ตัดวงจรอุบาทว์นี้ด้วยการเพิ่มเงินค่าใช้ทุนจาก 4 แสนบาท เป็น 20 ล้าน ในกรณีที่ลาออกก่อนครบ 3 ปี ใช้ทุนไม่ครบคับ
คือว่า ในความคิดเรามันคงแก้ไขปัญหาหมอลาออกได้ระดับนึงคับ แต่ถ้าเลือกใช้วิธีนี้จิงๆ แสดงว่ารัฐบาลไม่เลือกที่จะใช้แรงจูงใจมาดึงให้หมออยู่แล้วนะคับ แต่หักคอบังคับเอาดื้อๆเลยคับ
เราคิดนะว่า ถ้าเอามาใช้จริง ก็หมายความว่า พอเรียนหมอจบ 6 ปีปุ๊บ หมอจะเปลี่ยนจากความเป็นไท มาเป็นทาสทันทีเลยคับ
ต้องทำงานให้ครบ 3 ปี เพื่อไถ่หนี้ 20 ล้าน จะออกจะตายกลางคันก็คงไม่ได้ แล้วถ้าผมเกิดเป็นอะไรพิกลพิการไปก่อนล่ะคับ
แปลว่า ผมต้องส่งให้ลูกมาเรียนหมอ แล้วเอาลูกมาทำงานใช้หนี้ให้ครบแทนพ่อด้วยรึป่าวคับ (เหมือนระบบทาส ไงคับ)

เราไม่เคยโกรธ หรือโทษเพื่อนๆ หมอที่ลาออกไปนะคับ มีแต่สังคมต่างหากที่ตราหน้า พวกเค้าว่าเป็น "หมอที่ไร้จรรยาบรรณหมอ ไม่เสียสละเพื่อสังคม"
คำว่ามีจรรยาบรรณ คือ อะไรคับ คือการทำถูกต้องตามสิ่งที่ควรเป็นของอาชีพนั้นๆใช่ไหม่ การที่เพื่อนๆหมอเค้าออกไปหาชีวิตที่ดีกว่าให้ตัวเองและครอบครัวเป็นสิ่งที่ผิดใช่ไหม
งั้นคำว่า จรรยาบรรณ คืออะไรคับ
"ครูที่ไม่สอนโรงเรียนรัฐ ไม่ออกไปอยู่ตามโรงเรียนห่างไกล แต่สอนพิเศษอยู่ในเมือง เก็บตังแพงๆ คือ ไม่มีจรรยาบรรณครู หรือเปล่า"
"นักธุรกิจที่ไม่ยอมเล่นหุ้นในประเทศ ในยามประเทศที่กำลังเจ๊ง ไม่ยอมอยู่ขาดทุนในไทย แต่หนีออกไปลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า คือ ไม่มีจรรยาบรรณนักธุรกิจ หรือเปล่า"
"พนักงานบริษัทที่ไม่ก้มหน้าก้มตา ทำงานต่อในบริษัทที่กำลังจะเจ๊งในเร็ววัน แต่ลาออกหนีไปอยู่บริษัทที่ดีกว่า คือ ไม่มีจรรยาบรรณพนักงานบริษัทหรือเปล่า"
"ชาวนาชาวไร่ที่เลิกปลูกพืชบางประเภทที่ได้กำไรน้อย ไปปลูกพืชที่กำไรมากกว่า หรือเริ่มใช้ยา ใช้ปุ๋ยเคมี เร่งผลผลิตจนดินพัง คือ ไม่มีจรรยาบรรณชาวนาชาวไร่หรือเปล่า"
"นักการเมืองที่ตัดเงินรายได้ของหมอและพยาบาลที่ออกไปอยู่โรงบาลห่างไกลในชนบท
แต่เพิ่มเงินเดือนให้ตัวเองที่นั่งหลับในสภา พอตื่นขึ้นมาก็กระโดดต่อยกัน คือ ไม่มีจรรยาบรรณนักการเมืองหรือเปล่า"

ทำไมอาชีพอื่นสามารถที่จะเดินเข้าหาชีวิตที่ดีกว่าได้ โดยที่ไม่ถูกด่าว่าไร้จรรยาบรรณล่ะคับ
การที่คนๆนึงจบมาเป็นหมอ รักษาคนไข้ ช่วยคน คือ การที่เขาบอกว่ายิ่งสูงยิ่งหนาว ยิ่งตกลงมาเจ็บใช่หรือเปล่าคับ
คนที่ยังคงอยู่ในระบบ ก็คือ คนที่ยังทนไหวเท่านั้นเองนะคับ ยังรู้สึกว่าทิ้งไปจากตรงนี้เฉยๆ ไม่ได้เท่านั้นเองคับ
หมอแต่ละคนมีระดับความอดทนไม่เท่ากันนะคับ คนที่ทนไม่ไหวก่อนก็ลาออกก่อนเท่านั้นเองคับ บางคนก็มีเหตุสุดวิสัยต้องออกไปเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็มีคับ
การที่เขาลาออกไปเพื่อความสุขของตัวเองและครอบครัว แปลว่า เขาเป็นคนเลวหรอคับ
งั้นหมอที่วันๆ เฝ้าโรงพยาบาล ไม่มีเวลาไปหาพ่อแม่ ไม่มีเวลาไปเลี้ยงดูสอนลูกตัวเองให้เติบโตมาอย่างอบอุ่น คือ หมอที่ดีหรอคับ

อยู่เอกชน ได้เงินมากกว่า 3 เท่า งานสบายกว่า 5 เท่า ได้มีเวลาอยู่กับคนที่ตัวเองรักนะคับ
สิ่งเดียวที่ หมอโรงบาลรัฐมีมากกว่า คือความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองแค่อย่างเดียวเท่านั้นเองคับ ความรู้สึกที่เรายังยิ้มกับตัวเองได้ว่า
เรายังอยู่ตรงนี้นะ ถึงเราจะลำบาก ถึงจะไม่ได้กินไม่ได้นอนเพียงพอ ไม่ค่อยมีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวเหมือนคนอื่นเขา
อาจมีสักวันที่โดนคนที่เราตั้งใจรักษาฟ้องเข้าซักวัน เงินจะได้ไม่ครบมาเป็นปี เราก็ยังไม่ได้ไปไหน เรายังอยู่ตรงนี้ตามอุดมการณ์ของหมอนะ
ความรู้สึกที่เรายังพูดกับตัวเองได้ว่า "เราคือคนที่ทิ้งความสุขของตัวเอง เพื่อความสุขของคนอื่น" ไงคับ
ที่ยังประคับประคองให้เรายังทำงานต่อไปท่ามกลางแรงกดดันอยู่ทุกวันนี้ต่อไปได้

สำหรับเราเอง เราตั้งใจจะใช้ทุนอยู่โรงบาลชุมชนให้ครบ 3 ปี ไปเรียนต่อเฉพาะทางซักอย่างนึง
แล้วอยากกลับมาทำงานที่โรงบาลรัฐที่ไม่เมืองมากซักที่นึง (เบื่อเมือง เกลียดรถติด) คือ ความตั้งใจของเราในตอนนี้คับ
แต่เราก็ยังให้คำตอบกับตัวเองไม่ได้เหมือนกัน ว่า ในอนาคต ถ้าเรามีครอบครัวมีลูก เราพร้อมรึเปล่าที่จะยังทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว
งานที่ไม่รู้ว่าหัวหน้าครอบครัวอย่างเราจะโดนฟ้องวันไหนเข้าซักวัน
วันที่เราไม่ได้มีแค่ตัวของเราเองคนเดียวอีกต่อไป เราพร้อมที่จะเสียสละ ความสุขของครอบครัว ให้กับคำว่า อุดมการณ์ หรือเปล่าคับ



ปล.บทความนี้เราเขียนไว้ 2-3 อาทิตย์แล้วคับ แต่หาวิธีสมัคร pantip อยู่เลยเพิ่งได้โพสต์ วันก่อนไปอ่านกระทู้ของคุณหมออีกท่าน แล้วรู้สึกว่าเนื้อหาหลายๆส่วนคล้ายกัน
เราไม่ได้ก็อปมานะคับ จุดนี้มันก็ช่วยยืนยันได้ว่า มันเป็นชีวิตจิงๆ ของหมอไงคับ จะหมอที่ไหนเขียนก็เป็นเรื่องที่เหมือนๆกันคับ
ที่เราต้องสมัครอมยิ้มมาโพสต์ในเว็บนี้ เพราะ หลายๆครั้งที่มีคนแชร์ลิงก์มาให้อ่านในเฟสบุ๊ก ความเห็นบางอันของสังคมที่มีต่ออาชีพของเราอ่านแล้วเสียกำลังใจทุกครั้งที่อ่านเลยคับ
ที่เขียนมาก็เพื่อจะได้เข้าใจเรามากขึ้นคับ ได้โปรดอย่าอคติกับอาชีพของเราเลยคับ ขอบคุณคับ
ถ้าคุณอยากรู้ว่าอาชีพนี้ลำบากจิงหรือเปล่า ลองดูนะคับ ถ้าคุณมีญาติ หรือมีเพื่อน หรือคนรู้จักเป็นหมอคับ
ลองไปแกล้งถามเค้าดูนะคับว่า "ลูกเราบอกว่าอยากเรียนหมอ นายว่ายังไงดีล่ะ"
เรารู้คับว่า หมอสมัยนี้ตอบไปในทางเดียวกันทั้งประเทศแหละคับ ไม่มีหมอคนไหนอยากให้ลูกหลานตัวเองเป็นหมออีกแล้ว คือ ความจริงของยุคสมัยนี้คับ
แต่ถ้าถามเรานะ อย่างแรก เราจะหัวเราะ 555 ก่อนเลยคับ แล้วบอกว่า
"อย่าเรียนเลย เรียนก็ยาก งานก็เหนื่อย แถมไม่รู้จะโดนฟ้องเมื่อไหร่ แต่ถ้าตั้งใจจิงๆ ก็เรียนเถอะ แต่ถ้าจะเรียนเพราะอยากรวยนะ ไปหาอาชีพอื่นทำดีกว่า" คับ

ปล.2 บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์คับ ไม่มีเจ้าของคับ เป็นบทความที่พูดแทนหมอตาดำๆ คับ จะเอาไปเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือเอาไปต้มยำทำแกงยังไงก็ได้ ตกลงมั้ยคับ ^^

สุดท้ายนี้ก็ต้องปิดด้วยประโยคของพระบิดาที่หมอทุกคนควรยึดปฏิบัตินะคับ
ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

ขอบคุณที่อ่าน สิ่งที่หมอ เซาะกราวคนนึงเล่าให้ฟังจนจบคับ ขอบคุณคับ

จากคุณ : ก็แค่หมอเซาะกราวคนนึง (ก็แค่หมอเซาะกราวคนนึง)
เขียนเมื่อ : 2 ก.พ. 55 16:13:03






 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2555 15:09:06 น.   
Counter : 1879 Pageviews.  

จากใจนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งค่ะ .. กระทู้โหวตห้องสวนลุม ( ชีวิตปกติ ของ นศพ.ปี ๒ )



จากใจนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งค่ะ

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L11673904/L11673904.html

หลังจากที่ได้อ่านเรื่องกรณีที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีปัญหาเกี่ยวกับการบริจาคร่างกายของอาจารย์ใหญ่ รู้สึกไม่สบายใจอย่างมากค่ะ แค่อยากแชร์มุมมองความคิดเห็นของเราบ้าง

(ขอเรียกตัวเองว่าหนูได้ไหมคะ พูดแทนตัวเองด้วยคำอื่นแล้วมันรู้สึกแปลกๆ ฮาๆ)

ก่อนอื่นขอออกตัวไว้ก่อนนะคะ ว่าได้ตามอ่านกระทู้ต้นเรื่องมาตั้งแต่แรกค่ะ และเห็นว่าเรื่องมันบานปลายไปทุกที อ่านแล้วยิ่งไม่สบายใจ

หนูเป็นนักศึกษาแพทย์ปีสองนะคะ (ขอไม่บอกว่าสถาบันไหนนะคะ T^T กลัวจะมีเรื่องราว) ก่อนหน้านี่ไม่ค่อยได้เข้า Pantip เลยจนมีเพื่อนกับรุ่นพี่มาเล่าถึงปัญหานี้ พอเข้ามาอ่านก็รู้สึกตกใจมาก ที่มีปัญหาใหญ่แบบนี้ อ่านหลายๆความเห็นแล้วก็เห็นใจทั้งสองฝ่าย ต่างคนก็มองตามมุม แต่มีความเห็นส่วนหนึ่งที่มีความคิดว่าไม่ควรบริจาคร่างกายกันแล้ว อ่านแล้วก็แอบเศร้า เพราะอะไรลองติดตามอ่านกันนะคะ ขอความกรุณาทุกคนที่เข้ามาอ่าน ขอให้เปิดใจให้หนูได้อธิบายมุมมองที่พวกเรานักศึกษาแพทย์คิดและรู้สึกบ้างนะคะ มุมมองของหนูอาจไม่ใช่มุมมองของคนทั้งหมด แต่หนูขอเป็นเสียงเล็กๆนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ เดี๋ยวจะมาพิมพ์ต่อนะคะ

อย่างที่บอกไปแล้วนะคะ ว่าหนูเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่สอง อายุก็เพียงแค่ 20 ปี เพิ่งพ้นวัยมัธยมปลายมาไม่นาน ความคิดหนูอาจถูกผิดบ้าง ลองรับฟังนะคะ

วันแรกที่เปิดเทอมของ นศพ ปีสองนั้น หนูก็เจอ Lab gross anatomy เป็นวันแรกเลยค่ะ ตื่นเต้นมาก ก่อนที่จะเข้าเรียนก็จะมีการบรีฟแลปว่าเราควรทำตัวยังไงให้เหมาะสม ให้เกียรติอาจารย์ที่สอน และอาจารย์ใหญ่ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องทั่วๆไปค่ะ เช่นวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ทุกคนก็ตื่นเต้นมากเลยค่ะ (ตอนแรกหนูแอบกลัวนิดๆ เป็นคนกลัวผี T^T) แต่หนู ก็คิดว่า "ไม่เป็นไรนะ อย่ากลัวไป อาจารย์ใหญ่จะต้องเป็นคนที่ใจดีมาก เพราะไม่งั้นท่านคงไม่บริจาคร่างมาให้เราเรียนหรอกเนอะ"

หลังจากบรีฟแลปเสร็จก็แยกย้ายกันขึ้นห้องแลปเพื่อทำการ dissect เป็นครั้งแรกค่ะ
ขอสารภาพว่าตอนฟังบรีฟแลปครั้งแรก ก็งงๆ เราต้องทำไงบ้างหว่า อาจารย์บอกให้ลงมีดตรงไหนนะ??? ยากจังเลย เรามองไม่เห็นภาพว่าควรทำยังไง ยังจำความรู้สึกนี้ได้เลยค่ะ เดินขึ้นบันไดไปก็กังวลไปว่าเราจะทำได้ไหมนะ? รุ่นพี่ก็ขู่อยู่ว่ายาก อ๊าก T___T

พอขึ้นไปถึงห้องก็นั่งประจำโต๊ะกรอสเลยค่ะ อาจารย์ใหญ่ 1 ร่างต่อ นศพ 4 คนค่ะ
พอไปถึง เราก็ไปเบิกอุปกรณ์ เช่น มีด กรรไกร ฟอร์เซบ โพรบ และอื่นๆ รวมถึงเช่าหนังสือเรียนและเชคความเรียบร้อยของโครงกระดูกประจำโต๊ะด้วยค่ะ
(อาจารย์ใหญ่เราใช้สองแบบนะคะ คือแบบที่เป็นร่างเมื่อผ่าเสร็จปลายปีจะจัดงานพระราชทานเพลิงให้ และอีกแบบคืออาจารย์ใหญ่ที่บริจาคโครงกระดูกค่ะ กระดูกจะถูกศึกษาไปได้นานเลยค่ะ จนกว่ากระดูกจะหมดสภาพ)

เราก็ทำตามที่อาจารย์สั่ง ทำไปมือสั่นไป ตื่นเต้นมาก (ตอนพิมพ์นี่ก็มือสั่นนะคะ^^'')

แล้วไอ้ที่รุ่นพี่ขู่ไว้ก็ท่าจะจริงซะแล้ว เพื่อนๆไว้ใจให้หนูลงมีด หนูก็ลงไปอย่างกล้าๆกลัวๆ สุดท้ายก็ลงมีดลึกไปค่ะ โดนอาจารย์ประจำโต๊ะเดินมาเอ็ดใหญ่ ^^'' ทำไปทำมาซักพัก พี่ปีสามจำนวนมากก็เดินเข้ามาตรงดิ่งไปที่น้องรหัส เอาของมาให้ค่ะ เป็นพวกอุปกรณ์เสริม ^^ ได้แก่ ทิชชูแบบซับมันได้ ถุงมือ ใบมีด(ใบมีดเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งค่ะ) สบู่หอมๆไว้ล้างมือ(กลิ่นน้ำยาดองร่างค่อนข้างแรงมาก แต่พอดมไปเรื่อยๆชินเลยค่ะ ^^)

ตอนนั้นเองที่เพื่อนโต๊ะข้างๆเปิดหน้าอาจารย์ใหญ่ดู (ครั้งแรกเริ่มผ่าที่อกและ axilla นะคะ) พวกเราก็เลยเปิดดูบ้าง(แบบกริ่งเกรงค่ะ) แล้ววินาทีแรกที่หนูเห็นอาจารย์ น้ำตาไหลเลยค่ะ ความรู้สึกมันท่วมท้นจริงๆ


ปล หนูลืมเล่าไปได้ไง ทุกครั้งที่ขึ้นมาทำแลปจะต้องยกมือไหว้อาจารย์ใหญ่ทุกครั้งนะคะ แล้วบางวันก็มีเอาพวงมาลัยงามๆมาแขวนไว้ด้วย แม้ว่าทางคณะจะห้ามเอามาก็ตาม เพราะกลัวว่าอาจทำให้ราขึ้นบนร่างอาจารย์ได้


หลังจากเราทำแลปไปได้หนึ่งเดือนก็ถึงวันทำบุญให้อาจารย์ใหญ่ค่ะ
ทางคณะจัดงานบุญนิมนต์พระสงฆ์มา แล้วพวกเราก็ถวายเพล(เค้าเรียกยังงี้กันรึเปล่าคะ) และสังฆทาน
ในงานนี้ได้เชิญญาติอาจารย์ใหญ่มาด้วยนะคะ ญาติอาจารย์ใหญ่ของหนูมากันทั้งครอบครัวเลยค่ะ น่ารักมากกกกกก ^^ ^___^ มีลูกสาวอาจารย์ใหญ่ มีลูกเขย และหลานสาวมาค่ะ ทุกคนน่ารักมาก เราพูดคุยกันดี หัวข้อที่คุยส่วนมากก็เป็นเรื่องของอาจารย์เมื่อครั้งยังมีชีวิตค่ะ เช่นอาจารย์เสียด้วยโรคอะไร(ตอนแรกพวกเราไม่รู้ค่ะ เพิ่งมารู้ตอนได้เจอญาติอาจารย์นี่แหละ) อาจารย์ชอบทำอะไร อาจารย์ชอบทานอะไร อาจารย์มีลูกกี่คน
หลานของอาจารย์ใหญ่อายุใกล้เคียงพวกเรามากค่ะ รุ่นๆเดียวกันเลย คุยถูกคอมาก ลูกสาวอาจารย์บอกว่าอาจารย์รักหลานคนนี้ที่สุดเลยค่ะ เพราะเลี้ยงมาแต่เด็ก ก่อนเสียก็ขอให้ดูแลหลานให้ดี เป็นห่วงหลานจนถึงวันสิ้นลม...
พวกเราก็ add friend กับน้องคนนี้ ทุกวันนี้ยังติดต่อกันอยู่เลยค่ะ ^^
(ตอนที่เขียนกระทู้อยู่นี่ก็ใกล้จะได้ดำเนินงานพระราชทานเพลิงแล้ว เดี๋ยวก็คงได้เจอกันอีก^^)

ปล ตอนที่ครอบครัวเดินมา พวกหนูถามว่า "อยากเห็นหน้าอาจารย์ไหมคะ" ญาติบอกว่าอยากเห็นมาก หนูเลยเปิดให้ดู ลูกสาวร้องไห้โฮเลยค่ะ แล้วพูดว่า "แม่ แม่" หนูถามว่าจำได้ไหมคะ คุณน้าพยักหน้าแล้วบอกว่า "จำได้สิ นี่แม่แน่ๆ จำได้ หน้าเหมือนแม่เลย โถแม่ แม่เป็นครูแล้วนะ"
หนูเห็นแล้วน้ำตาซึม ยังบอกไปว่า "ขอบคุณนะคะ ที่ทำให้เจตนารมย์ของอาจารย์เป็นจริง หนูขอบคุณมาก บุญคุณนี้หนูใช้ยังไงก็ไม่หมด แต่หนูสัญญาว่าจะตั้งใจเรียน (อ๊าก พิมพ์ไปน้ำตาไหลไปนึกถึงบรรยากาศตอนนั้น) ถึงจุดนี้หนูหันไปมองโต๊ะอื่นรอบๆ เพื่อนๆของหนูกลุ่มอื่นก็ตาแดงกันเป็นแถบเลยค่ะ มันเป็นช่วงเวลาที่หนูไม่รู้จะเขียนอธิบายได้ยังไงเลย จะจำไปจนวันตาย

น้อง(ที่เป็นหลานของอาารย์ใหญ่) ได้มอบรูปถ่ายอาจารย์ตอนยังมีชีวิตให้พวกหนูด้วย หนูเก็บไว้ดูเวลาท้อถอยกับวิชากรอสค่ะ ^^ สู้ตาย



หลังจากนั้น การเรียนก็เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เนื้อหามากมายมหาศาล เรียนจนท้อ (ร้องไห้บ่อยๆ) การเรียนแต่ละครั้งก็เหนื่อย ยิ่งแลปวันไหนยากๆ กับฝีมือแบบพวกเราแรกๆนี่ไม่ต้องพูดค่ะ กลับบ้านกันสี่ทุ่มยังมี เหนื่อยมากๆ T__T พอช่วงใกล้สอบทุกวิชาจะประเดประดังเข้ามา เพื่อนบางคนก็เครียดหนักเลยนะคะ ที่นี่จะมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลใกล้ชิดมากค่ะ เข้าถึง นศพได้ไวมาก คนไหนมีทีท่าว่าจะดำดิ่งก็รีบลากไปติว (ปล การโดนเรียกไปติวนี่มีชื่อเรียกเฉพาะด้วยนะคะ แต่ไม่ขอเรียกชื่อนั้นเพราะจะรู้หมดว่าคณะไหน 555 แต่การโดนเรียกไปติวนี่มีบัตรเชิญลับๆ หรืออาจารย์อาจเดินไปสะกิดเองและนัดแนะวันกันเลยก็ได้ค่ะ ส่วนตัวหนูไม่เคยโดนเลยซักวิชาเลยไม่ค่อยรู้ว่าเค้าทำกันยังไง แต่พอรู้มาคร่าวๆแค่นี้)

พอสอบครั้งแรก ก็เป็นอะไรที่ไม่มีทางที่ชีวิต นศพ หรือหมอคนไหนจะลืมได้แน่นอนค่ะ ^^

การสอบมีหลายวิชาค่ะ และทีนี่สอบได้โหดมากค่ะ ไม่มีการหยุดให้อ่านระหว่างสอบนะคะ ส่วนมากก็เป็นเรียนแล้วสอบเลย ^^''
(ตอนที่พิมพ์อยู่นี่ก็ใกล้สอบแล้วล่ะ อ๊ากๆๆ T^T)
สอบหลายวิชาแต่หนูจะขอเล่าแต่วิชากรอสนะคะ ถ้ามีคนอยากรู้เรื่องอื่นๆอีกไว้จะมาเล่าเพิ่มค่ะ

สำหรับวิชา Gross anatomy ที่เรียนแทบจะทุกวันนั้นหน่วยกิตก็มากเช่นกันค่ะ
เวลาสอบทีทุกคนจะคร่ำเคร่งมาก อ่านกันแบบเอาเป็นเอาตาย ^^''

ข้อสอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วนค่ะ
1 ข้อสอบปรนัยค่ะ มีตัวเลือก ประมาณ 50 ข้อ เวลาไม่มากนัก โจทย์ก็จะถามแบบซอยยิบๆ ซอยจนหน้าซีด =- -^
พอตอนบ่ายก็เจออีกสองส่วนค่ะ
2 ข้อสอบบรรยายทฤษฎี คราวนี้แหละหนักกว่าเดิม เขียนกันจนข้อมือปวดระบมเลย เขียนก็ไม่ค่อยจะทันซะด้วยสิ
และส่วนสุดท้ายนี่แหละค่ะ ...
3 แลปกริ๊งงงนั่นเอง !!! ก็จะเป็นโจทย์ผูกไว้ตามส่วนต่างๆของอาจารย์ใหญ่นะคะ ให้เวลาข้อละสองนาที พอกริ๊งก็หมุนไปเรื่อยๆจนครบทุกข้อ ข้อสอบก็จะอารมณ์ประมาณว่า "structureที่ผูกนี้คืออะไร ทำหน้าที่ใด" หรือ
"structure ที่ผูกนี้มีความสำคัญอย่างไร" หรือ
"จงบอกแขนงทั้งหมดของหลอดเลือดนี้"
หรือ ผูกไว้และ "จงแสดงแผนผัง lymph drainage ของอวัยวะนี้"
"จงเขียน brachial plexus"
จงวาดนั่นวาดนี้
จงบอกชื่อกล้ามเนื้อที่เกาะ เส้นประสาทที่มาเลี้ยง หน้าที่
และอื่นๆอีกเยอะมากค่ะ
ถ้าพูดภาษาวัยรุ่นเค้าจะพูดว่า ปวดตับ ค่ะ
เพราะว่ามันเขียนเยอะ เวลาก็น้อย พอกริ๊งปุ๊บก็หมุน รีบดูโจทย์ สมองประมวลผลแบบรวดเร็วมาก รีบเขียนตอบ
ส่วนมากก็ทัน ถ้าข้อไหนโหดนิดนึงก็เขียนไม่ครบ ถ้าโหดมากๆก็เว้นว่าง T^T

หลังจากนั้น ชีวิตพวกเราแทบไม่ได้ทำอะไรนอกจาก เรียน กิน อ่านหนังสือ นอน เลยค่ะ เวลาพี่รหัสเลี้ยงนี่เป็นเวลาที่มีความสุขมากกได้ไปกินอาหารดีๆไกลๆ (ปกติฝากท้องไว้กับอาหารใน รพ และรอบรพ ค่ะ กินจนเบื่อเลย)

แต่พวกเราก็ผ่านมันมาได้นะคะ อาศัยอาจารย์ติวบ้าง เพื่อนทำชีทแจกบ้าง รุ่นพี่บ้าง
และก็ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนค่ะ ^^''

จากวันแรกที่เรียนถึงวันนี้ก็เกือบเก้าเดือนแล้วค่ะ
เก้าเดือนที่อยู่กับอาจารย์ใหญ่มา.....

มาวันนี้นะคะ ร่างของอาจารย์ก็ได้เรียนจนหมดแทบทุกส่วนแล้วค่ะ ทุกกล้ามเนื้อ ทุกเส้นเลือด ทุกประสาท ทุกข้อต่อ
เวลาเรียนก็เรียนเป็นส่วนๆ พอจบส่วนหนึ่งเราก็จะตัดส่วนที่เรียนเสร็จแล้วออก
พี่ๆเจ้าหน้าที่ก็จะมาผูกรหัสอาจารย์ไว้แล้วเอาไปเก็บรักษาต่อ
วันนี้ร่างอาจารย์เหลือเล็กมากค่ะ เพราะเป็นส่วนสุดท้ายแล้วค่ะที่เราต้องเรียน T__T

ความรู้สึกของหนูนะคะ
ใจหายค่ะ ใจหายมาก
หนูผูกพันค่ะ ผูกพันกับร่างนี้
ร่างที่สอนหนูทุกวัน โดยไม่ต้องพูดกับหนูซักคำ
ร่างที่ถ้าไม่ได้มาเรียนไม่มีวันเลยที่หนูจะเข้าใจร่างกายของคนได้มากขนาดนี้
ร่างของครููผู้ให็ ผู้ที่ยอมเสียสละ ให้วิทยาทานกับหนูและเพื่อนๆที่จะเติบโตต่อไปเป็นหมอในอนาคต
หนูไม่มีอะไรจะพูดไปมากกว่า หนูรักอาจารย์มากค่ะ รักมาก หนูขอบคุณอาจารย์ที่เสียสละร่างให้หนูศึกษา
หนูขอบคุณญาติที่ยอมให้อาจารย์มาหาพวกหนู ข
ขอบคุณจริงๆค่ะ

ปล คุณแม่ของหนูและหนูถ้ามีเวลามักไปทำบุญ และตักบาตรด้วยของที่อาจารย์ชอบทานตลอด พร้อมอุทิศส่วนกุศลให้ค่ะ
แต่ถ้าหนูไม่ว่างทำ ม่าม๊าก็จะทำให้แทนตลอด เหมือนม่าม๊ามาเรียนด้วยเลย ^^
หนูก็ต้องขอบคุณม่าม๊าหนูด้วยที่ช่วยทำหน้าที่ลูกศิษย์ที่หนูขาดตกบกพร่องไปค่ะ
ปล หนูคิดว่าอาจารย์คงไม่ได้ทานอาหารที่หนูตักบาตรไปให้หรอกค่ะ แต่หนูซีเรียสมากว่าตักบาตรตอนเช้าต้องเป็นอาหารนี้เท่านั้น หนูก็ไม่เข้าใจตัวเอง = ='' แต่ม่าม๊าก็น่ารักมากค่ะ ตื่นมาทำกับข้าวให้ทุกเช้าเลย


สำหรับตอนนี้ หนูก็ยังคงตั้งใจเรียนต่อไป หนูตั้งมั่นมากว่าหนูจะเป็นหมอตัวเล็กๆที่ดี จะรักคนไข้ของหนู หนูอยากเป็นหมอเด็กค่ะ ฝันเฟื่องมากก = = เส้นทางอีกยาวไกล T^T
(เวิ่นอีกแล้วขอโทษนะคะ)

ตอนนี้เพื่อนๆและคณะก็เตรียมงานพระราชทานเพลิงไปได้มากแล้วค่ะ เริ่มพิมพ์หนังสือที่จะเขียนระลึกถึงอาจารย์ในวันงานแล้ว
ส่วนกลุ่มของหนู ยกหน้าที่เขียนให้เพื่อนอีกคนไป เพราะเพื่อนแต่งได้ซึ้งกว่าอีก

ในการเรียนวิชาแพทย์นั้น นักศึกษาแพทย์ต้องเรียนรู้ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานไปจนถึงความรู้ขั้นสูงของวิชาชีพ เพื่อที่จะไปก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติให้ได้มากที่สุด
กว่าจะจบไปเป็น “หมอ” รักษาคนไข้จำนวนมากได้นั้น ต้องเรียนอย่างหนัก
เพื่อจะได้ความรู้ให้มากพอและรอบด้านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
หากจะเปรียบวิชาแพทย์เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีราก ลำต้น และกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก พร้อมที่จะแตกยอดออกใบออกดอกให้ผลอีกไม่จบสิ้นนั้น
วิชากายวิภาคเปรียบเสมือน “รากแก้ว” ของการศึกษา
เพราะเป็นวิชาที่เป็นพื้นฐานสำคัญ
ให้ความรู้เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์
เพื่อให้นักศึกษาแพทย์นำไปประยุกต์ใช้ต่อไปไม่รู้จบ
หากขาดรากแก้วแล้ว ต้นไม้แห่งวิชาแพทย์คงไม่สามารถเติบโตต่อไปได้
จึงกล่าวได้ว่าหมอทุกคนจำเป็นต้องผ่านการเรียนวิชานี้จึงจะมีความรู้พื้นฐานที่ดีพอที่จะนำไปรักษาคนอีกจำนวนมากในอนาคต
แน่นอนว่าการศึกกายวิภาค จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจาก “อาจารย์ใหญ่”
ผู้ซึ่งมีจิตเมตตาบริจาคร่างกายยามสิ้นลมไปแล้วของท่านให้แก่นักศึกษาแพทย์ผู้โง่เขลาได้ศึกษาเพื่อจะได้นำความรู้ไปรักษาคนได้อีกมายมาย
แม้อาจารย์ใหญ่จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาวิชาให้ฟังเหมือนอาจารย์ท่านอื่น
แต่นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรมากมายอย่าง
มิอาจหาได้จากที่ไหนแม้แต่ตำราฝรั่งที่มีรูปสีให้ได้ดู
ทุกสัมผัส ทุกภาพ ที่ได้รับจากจากการชำแหละร่างอาจารย์ใหญในแต่ละครั้งนั้น ได้ให้ความรู้ที่ยิ่งใหญ่แก่นักศึกษาแพทย์ทุกคน
ครั้งแรกที่ได้เจออาจารย์ใหญ่นั้นรู้สึกตื่นเต้น ได้เรียนรู้ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ จากนั้นทุกวันที่อยู่กับร่างของอาจารย์ก็ก่อเกิดความผูกพันในหัวใจเพิ่มพูนมากขึ้น
ความผูกพันนี้ไม่อาจบรรยายได้ มีทั้งความรัก และความซาบซึ้งในพระคุณของอาจารย์ใหญ่
เชื่อว่าเมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิต
ท่านคงเป็นที่รักของใครหลายๆคน
ทั้งครอบครัวของท่านและคนรอบข้าง
แม้ก่อนจากไปท่านยังมีจิตใจอันแน่วแน่ที่จะบริจาคร่างกายของท่านให้เราได้ศึกษา
แม้ว่าเมื่อยามมีชีวิตอยู่เรากับท่านไม่เคยได้เจอกัน
ไม่รู้จักกัน แต่เมื่อท่านสิ้นลมไปร่างของท่านได้มาเป็น “อาจารย์ของเรา”
พวกเราต้องขอขอบพระคุณญาติของท่านอาจารย์ที่คอยติดต่อเป็นธุระจัดการร่างของอาจารย์และมอบให้กับทางคณะทำให้เจตนารมย์ของอาจารย์เป็นจริง

พวกเรานักศึกษาแพทย์ซาบซึ้งในพระคุณอันใหญ่หลวงของอาจารย์ใหญ่ ที่ได้มอบความรู้ให้พวกเรา และขอตั้งปณิธานว่าจะตั้งใจเรียนอย่างหนักเพื่อจบไปเป็นแพทย์ที่ดีของประเทศชาติ
ด้วยกุศลและเมตตาธรรมของอาจารย์ใหญ่ (ชื่ออาจารย์ของปิดไว้นะคะ) ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกโปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของอาจารย์ใหญ่ไปสู่สุขติภูมิ



จากคุณ : sweet lindy (sweet lindy)
เขียนเมื่อ : 6 ก.พ. 55 21:43:06





ความคิดเห็นที่ 19

นี่ก็เป็นมุมมองของหนูนะคะ ย้ำว่าของหนูแค่คนเดียวค่ะ
อยากให้ทุกท่านที่หวาดกลัวว่าจะเกิดปัญหาแบบนั้นขึ้นอึก ขอให้ลองคิดใหม่นะคะ
ปีๆหนึ่งมีคนบริจาคร่างกายมากก็จริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกร่างจะสามารถเป็นอาจารย์ใหญ่ได้
ยิ่งใน รร แพทย์ตามต่างจังหวัดบางที่ยังเรียน 1 ร่างต่อ 8 คนอยู่เลยนะคะ ซึ่งหนูว่ามันไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีมากพอเท่าไหร่เลย ว่ากันง่ายๆก็คือยังขาดแคลน...
ลองมองหลายมุมนะคะ มองแง่บวกที่หนูอยากแนะนำมีดังนี้ค่ะ

ให้ลองคิดว่า มีอาจารย์ใหญ่ในประเทศเรามีมามากมายนับไม่ถ้วนแล้ว ปัญหาแทบไม่เคยเกิดขึ้น
ใครอาจมองว่าอาจมีก็ได้แต่เค้าไม่มาเขียนเองแหละ แต่ก้ขอให้มองในแง่ดีไว้ว่า ไม่ค่อยจะเกิดกับใคร ขอให้เราอย่าโชคร้ายก็แล้วกัน ทำด้วยใจสบายๆและเป็นกุศลนะคะ แล้วอะไรดีๆจะเกิดแน่นอนค่ะ หนูกลัวจังเลย กลัวเขียนแล้วไปกระทบใคร T___T
(สารภาพตามตรงว่าอ่านกระทู้นั้นแล้วแอบกลัวมาก คิดอยู่นานว่าจะเขียนดีป่าว)

และอยากให้คิดเถอะค่ะว่า แม้ว่าพนักงานจะแย่แค่ไหน การจัดการปัญหาจะห่วยแตกแค่ไหน แต่พวกนศพ ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเลยค่ะ ได้แต่นั่งตามอ่านดราม่าติดๆ แล้วก็เสียใจที่คนมองพวกเราผิดไป ผิดไปเยอะเลยค่ะ หนูอยากให้มองพวกหนูใหม่นะคะ อย่างน้อยให้โอกาสพวกหนูนะคะ

วันนี้หนูขอตัวไปทหน้าที่ของตัวเองก่อนนะคะ(อ่านหนังสือนั่นเอง) แล้วจะมาตอบนะคะถ้าใครมีคำถาม หนูอยากให้แสดงความคิดเห็นกันนะคะ หนูจะได้รู้ว่าอะไรที่พวกเราพลาดไปจะพยายามแก้ไขค่ะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ^^ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านถึงจะแค่ไม่กี่คนแต่หนูดีใจมาก เสียเวลาแย่ เวิ่นเว้อซะยาว แต่หนูขอบคุณมากนะคะ ^^

จากคุณ : sweet lindy (sweet lindy)






 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2555 15:05:00 น.   
Counter : 3389 Pageviews.  

36 ชั่วโมง ชีวิตแพทย์ใช้ทุน ... กระทู้โหวตจากห้องสวนลุม ..(มันเป็นเหตุการณ์ปกติของแพทย์ไทย ???)

36 ชั่วโมง ชีวิตแพทย์ใช้ทุน

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L11642116/L11642116.html


ต้องย้ำก่อนว่าที่เขียนนี่เขียนมานานมากแล้ว แต่ขอเอามาโพสที่นี่
หลายอย่างคงเปลี่ยนไปเยอะแล้ว บางอย่างคงดีขึ้น แต่บางอย่างก็ยังเหมือนเดิม (หรือแย่กว่าเดิม) ความรู้สึกก็เป็นเพียงความรู้สึกในช่วงเวลานั้นไม่ใช่ในปัจจุบัน

*** ชื่อคน ชื่อรพ. ชื่อต่าง ๆ เป็นนามสมมติหมด ตามมารยาท ***


6:30 น. ผมตื่นมาอย่างงัวเงีย แต่มองนาฬิกาแล้วก็ต้องรีบลุก
เพราะอีกครึ่งชั่วโมงผมก็ต้องไปทำงานแล้ว อากาศเย็นสบายออกหนาว ๆ สมกับเป็นจังหวัดในภาคเหนือในหน้าหนาว
ช่างต่างจากกรุงเทพที่เรียนมาหลายปีที่มีแต่ร้อนกับร้อนโคตร

ผมเป็นคนต่างจังหวัด แต่จบหมอจากกรุงเทพ ... ภูมิใจ .... ที่เรียนจบ ....
ภูมิใจที่ได้เป็นหมอสมดังที่ตั้งใจเลือกเรียนเอง .... ตั้งใจที่จะเลือกมาใช้ทุนต่างจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิด
.... อยากทำงาน ....อยากช่วยคน .....อยากรู้ว่าหมอต่างจังหวัดเป็นยังไง....


7:00 น.
ผมไปถึงวอร์ดอายุรกรรม ที่ผมเป็นคนดูแลอยู่อย่างรวดเร็ว
ตามประสาแพทย์ที่มักอาบน้ำแต่งตัว กินข้าวเสร็จได้ภายในเวลาไม่เกิน 20 นาที ซึ่งเพื่อนผมแซวว่าพวกแกมัน “วิ่งผ่านน้ำ” มากกว่า “อาบน้ำ”

โรงพยาบาลที่ผมอยู่เป็นโรงพยาบาลจังหวัดระดับที่ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลศูนย์
วอร์ดที่ผมดูแลอยู่ชั้นที่ 8 ฝั่ง A
หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า 8A จริง ๆ
แล้ววอร์ดผมมีขนาด 30
เตียง แต่ตอนนี้กลายมาเป็น 52 เตียง ชนิดที่อีกยี่สิบกว่าเตียงคือเอาเตียงผ้าใบแบบชายหาดมาปูนอนกัน
จนแทบไม่มีทางจะเดิน เตียงฝ้าใบล้นออกไปนอกห้องกินพื้นที่ไปจนถึงระเบียงห้องหน้าลิฟต์
มองแล้วก็จนใจ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง ไม่รู้จะส่งคนไข้ต่อไปนอนที่ไหน
ก็นี่มันโรงพยาบาลจังหวัดแล้วนี่นา .....

ผมเริ่มราวด์คนไข้ในวอร์ด
(ราวด์คนไข้
แปลว่าดู ตรวจคนไข้) ไปเรื่อย ๆ แต่รวดเร็ว พร้อมกับน้องแพทย์ฝึกหัด
(นักศึกษาแพทย์ปี 6)
อีก 2 คน คือหว้าและโบว์
ที่อยู่ฝึกกับผม

ผมเดินไปแต่ละเตียง ถามว่าเป็นไงบ้าง
ทักทายนิดหน่อย ก็เดินผ่านไปยังเตียงถัดไป ... หลายเตียงญาติ ๆ ตัดพ้อ ... “ทำไมหมอคุยสั้นจัง”
.... “อะไรพูดแป๊บเดียวก็ไปแล้ว” ..... และอีกหลาย ๆ คำที่ได้ยินบ้าง
ไม่ได้ยินบ้าง .... เข้าใจ ...เป็นใครมานอนโรงพยาบาล ... หมอมาคุยวันละไม่กี่นาทีก็ไป
ย่อมรู้สึกไม่ดี .... แต่ลำพังแค่คุยกับคนไข้เตียงละ 5 นาที คูณ 52 เตียงก็ปาไป 260 นาที หรือก็คือ 4 ชั่วโมงกว่าแล้ว ..... หากคุยเตียงละ 10 นาที ก็จะกลายเป็นเวลา 9 ชั่วโมง ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้ .... ในเมื่อยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ
... ได้แต่คิดว่าหากว่างจะหาเวลามาดูเพิ่มล่ะกัน


11 : 00 น. ผมเดินมาถึงเตียงน้องอ้อ ... น้องอ้อเด็กสาวหน้าตาดีคนหนึ่ง
เธอมานอนโรงพยาบาลเพราะกินยาฆ่าหญ้ามาเมื่อสองวันก่อน เพราะทะเลาะกับแฟนหนุ่ม ... จนอยากตาย
....เธอเป็นเด็กนักเรียนชั้นม. 5 ในจังหวัดนี่เอง ผมเดินไปถามอาการ .... เธอบอก “สบายดีค่ะ”
เหนื่อยนิดหน่อย ... มึน ๆ นิดหน่อย .... เธอตอบด้วยรอยยิ้มนิด ๆ ผมมองหน้าเธอ ได้แต่นึกเศร้าในใจ .....
โบว์ได้คุยกับเธอเมื่อเย็นวานนี้ รู้ว่าตอนนี้เธอไม่อยากจะตายแล้ว
.... ตอนนั้นแค่วูบหนึ่งของความโกรธ ... วูบหนึ่งของความเสียใจ .....
วูบหนึ่งของการตัดสินใจที่ผิดพลาด ..... ผมหันไปมองหน้าแม่ของเธอ ... เธอน้ำตาคลอ
.....

เมื่อวานเย็นผมบอกเธอไปแล้ว ....
ว่าลูกเธอกำลังจะตาย .... เธอไม่เชื่อ .... เธอบอกลูกไม่เห็นจะป่วยหนักตรงไหน ...
ยังพูดได้ ... กินข้าวได้อยู่เลย .... ผมเข้าใจ .... ว่าเป็นใครย่อมไม่อยากจะเชื่อ
.... เพราะลูกเธอดูเผิน ๆ ก็ไม่เหมือนคนป่วยหนักจริง ๆ ....
แต่ยาที่เธอกินเข้าไปนี่สิ .... อันตราย .... อันตรายจริง ๆ .... ยาจะค่อย ๆ
ทำลายปอดจนเป็นพังผืด .... ตับวาย .... ไตวาย ......อวัยวะล้มเหลว ...
อาการจะมากขึ้นเรื่อย ๆ .... จนเสียชีวิตในที่สุด .......

ผมนิ่งอึ้ง พูดอะไรไม่ออก
ได้แต่ตอบน้องอ้อไปว่า

“ดีแล้ว
ที่สบายดี” .... แม้รู้เต็มอกว่ามันไม่จริง
..... และเธอกำลังจะตาย ....ผมแตะบ่าแม่เธอเบา ๆ ก่อนเดินไปตรวจเตียงถัดไป


12 : 30 น. ตามคาดว่าผมไม่สามารถดูคนไข้ให้เสร็จก่อนเที่ยงได้
ผมเดินละจากคนไข้เตียงสุดท้าย
รีบเผ่นไปกินข้าวเที่ยง เพราะเดี๋ยวบ่ายโมงผมต้องไปตรวจโอพีดีต่อ ( OPD ;
outpatient department =
ตรวจผู้ป่วยนอก) .... สวมวิญญาณจระเข้ กลืนข้าวลงได้หมดในเวลา 10 นาทีเศษ ตามด้วยน้ำอีกแก้ว
แล้วเดินไปยังแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทันที


13 : 00 น. ผมเริ่มตรวจผู้ป่วยนอก
มองออกไปคนไข้ที่รอเฉพาะหน้าห้องผมเหลืออีก ยี่สิบกว่าคน ...เหนื่อย ....
แต่ก็ต้องยิ้ม คนมาหาหมอทุกคนทุกข์ยากมา หากเจอหน้าบึ้ง ๆ แค่เห็นก็คงแย่แล้ว
.... อีกอย่างแอบไม่อยากเป็นหมอคนที่สองในเดือนนี้ที่ถูกร้องเรียนว่า
“ไม่ยิ้มเลย หน้าไม่รับแขก”

จริง ๆ
เมื่อก่อนโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องจัดหมอมาตรวจช่วงบ่าย
เพราะคนไข้ไม่ได้เยอะขนาดนั้น ส่วนใหญ่แค่บ่ายโมงเศษ ๆ ก็ตรวจได้หมดแล้ว
แต่หลังจากมาตรการ 30
บาทรักษาทุกโรค .... ยอดคนไข้ปีถัดมาเพิ่มเป็นสองเท่าทันตาเห็น และเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ โอพีดีอายุรกรรมจากวันละ 300 คน ถีบขึ้นเป็น 500-600 คนต่อวันทันที .... คนไข้เพิ่มสองเท่า ....
แต่หมอน้อยลงกว่าเดิมสามคนเพราะลาออกไป .... ทำไงนะเหรอ ...ก็ต้องเพิ่มเวลาตรวจช่วงบ่ายไป
....

30 บาท ...นโยบายดี ... เห็นด้วย ....
ทุกคนมีสิทธิรับการรักษาเท่าเทียม..... ชม ...ขอชม ... อยากให้เป็นอย่างนั้น ..แต่ในแง่ปฏิบัติสิ
..... ตอบยาก .... เมื่อหลายคนมาตรวจ ...หลาย ๆ คนย่อมมาด้วยความคาดหวัง .....
ความคาดหวัง .... ที่หลาย ๆ ครั้งไม่เป็นไปตามที่หวัง ย่อมผิดหวัง อารมณ์ ความโกรธ
ความไม่พอใจก็เข้ามาแทนที่ คำตำหนิที่เข้ามา ..... บริการไม่ดี ....
ตรวจไม่ละเอียด .... ทำไมรักษาไม่ได้ ..... รักษาเต็มที่รึเปล่า .......ฯลฯ เพิ่มมาเป็นเงาตามตัว


15 : 45 น.
คนไข้คนสุดท้ายเดินออกจากห้องไป ไม่มีเวลาแล้ว วันนี้ผมอยู่เวรใน อายุรกรรม (เวรในแปลว่า
เวรที่คอยดูแลผู้ป่วยใน ที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล
จะมีอีกเวรคือเวรนอกที่อยู่ประจำห้องฉุกเฉิน) อยู่เวรกับน้องแพทย์ฝึกหัดสองคนเดิมของผม
หว้า กับโบว์ แพทย์ใช้ทุนหนึ่งคนกับแพทย์ฝึกหัดสองคน
ดูแลวอร์ด 4
วอร์ด ในสองชั้นคือ 8A 8B 9A และ 9B
จำนวนเตียงปกติควรจะเป็นไม่เกิน 120 เตียง (วอร์ดนึงมี 30 เตียง) ซึ่งถือว่าไม่มากเท่าไหร่เทียบกับหมอสามคน แต่ตอนนี้มีคนนอนอยู่มากกว่าสองร้อยคน


16 : 00 น. ผมไปรับเวร (อธิบายภาษาหมอหน่อย รับเวร
คือการที่หมอคนที่จะอยู่เวรในคืนนั้น
จะไปคุยกับแพทย์ประจำวอร์ดนั้นว่ามีคนไข้รายไหนต้องดู หรือต้องระวังเป็นพิเศษ
คนไหนอาการหนักต้องเฝ้าติดตามอาการใกล้ชิดบ้าง) รับเวรกับหมอหรือก็เพื่อนผมเองนั่นแหละ
หมอประจำวอร์ดส่งเวรมาวอร์ดละหลายเตียง
รวม ๆ มีคนไข้ที่ต้องระวังกว่าสามสิบเตียง ... ถามว่าจำได้ไหม ... จำไม่ได้หรอก
.... ต้องจดโพยติดตัวเอา


17 : 00 น. เดินรับเวรมาครบทั้งสี่วอร์ดแล้ว
... เดินกลับมาวอร์ด 8A
วอร์ดของตัวเอง .... เดินไปหาพยาบาล ....
ขอผลเลือดทั้งหลายที่เจาะไปตอนเช้านี้มาดู ..... ได้ผลแล็ปมาเป็นปึ้ก
.....ดูชื่อ.... นึกไม่ออก .... ใครหว่า .... หว้าคอยช่วยเตือนผม .... “อ๋อ
ก็คุณตาคนนั้นไงค่ะ” ..... “คุณป้าที่นอนมุมนั้นไงคะ” .... อ๋อ ... จำได้แล้ว
..... มิน่าเค้ากันว่าผู้หญิงจำหน้าจำชื่อคนเก่งกว่าผู้ชาย สงสัยจะจริง

หลังดูผลการตรวจแล้ว
หลายเตียงผมสั่งการรักษาเพิ่ม ..... เปลี่ยนยาบ้าง ..... เพิ่มยาบ้าง ....
ตามแต่อาการไป เดินเยี่ยมอาการคนไข้ที่ตอนเช้าคิดไว้ว่าอยากคุยด้วยเพิ่มเติมแต่ไม่มีเวลา
คุยด้วยเตียงละนิด ... เตียงละหน่อย


18 : 00 น. เสียงโฟนตามสายในโรงพยาบาลดังขึ้นมา
... เสียงนรก ที่ผมอยากให้มันดังน้อย ๆ ที่สุด ... แต่มันก็ไม่เคยเป็นจริง ...
วันนี้มันดังแต่หัววันซะแล้ว ...

“แพทย์เวรอายุรกรรมโทรกลับ 802 ค่ะ แพทย์เวรอายุรกรรมโทรกลับ 802 ค่ะ “ ผมเดินไปเคาเตอร์พยาบาล กดหมายเลข 802 ลงไป ซึ่งเป็นเบอร์ของวอร์ด 8B ชั้นเดียวกับที่ผมอยู่นี่แหละ แต่ฝั่งตรงข้ามของตึกเท่านั้น

“ผมหมอธีรศานต์ครับ”
ผมพูดนำไปก่อนเมื่อปลายสายรับ

“อ้อ หมอค่ะ
มีคนไข้รับใหม่หนึ่งคนค่ะ อีอาไดแอ็กมาว่าฮาทเฟเลียค่ะ” (คำแปล อีอา คือ ER
มาจาก emergency
room
คือห้องฉุกเฉิน ไดแอ็ก ย่อมาจากคำว่า diagnosis คือ วินิจฉัยโรค ส่วนฮาทเฟเลีย มาจาก congestive heart
failure คือ
โรคหัวใจวาย)

“ครับ เดี๋ยวไปดูครับ” ผมเดินไปเรียกสองแพทย์ฝึกหัดที่อยู่เวรให้ไปด้วยกัน
ระหว่างเดินไปผมกดโทรศัพท์หาปอเพื่อนผมที่อยู่รพ.เดียวกันแต่อยู่แผนกเด็ก

“รู้แล้ว ...จะฝากซื้อข้าวเย็นล่ะสิ
ว่ากำลังจะโทรไปถามอยู่เลยว่าจะเอาอะไร”

เพื่อนรักเดาได้ว่าผมต้องการอะไร
ปกติพวกผมก็จะเป็นยังงี้อยู่แล้ว เวลาใครอยู่เวร คนที่เหลือจะมีหน้าที่หาข้าว
หาขนมมาฝาก เพราะส่วนใหญ่จะยุ่งจนออกไปกินข้างนอกไม่ได้

“เอาก๋วยเตี๋ยวแห้งร้านเดิมก็ได้”
เป็นที่รู้กันว่าผมมีร้านโปรดของผม ผมว่าพลางหันไปมองหน้า
น้องสองคนทำนองว่าจะกินอะไร

“หนูเอาเหมือนกันล่ะกัน
ขี้เกียจคิด” ทั้งสองคนบอกเหมือนกัน


19 : 00 น. ดูเคสรับใหม่เสร็จเรียบร้อย
พร้อมกับถูกตามนิด ๆ หน่อย ๆ อีกสองสามครั้ง ... ผมเริ่มหิวแล้ว เดินกลับไปที่ห้องพักแพทย์ที่อยู่ชั้น 8 อาหารกองวางทิ้งไว้ให้เรียบร้อยบนโต๊ะ ตัวผู้ให้ไม่อยู่คงกลับหอไปแล้ว ...
ไม่ทันได้ขอบใจ . ... บนถุงก๋วยเตี๋ยวมีกระดาษน้อยแปะอยู่
“มีทับทิบกรอบเก็บไว้ในตู้เย็นนะ ...ปอ” เห็นแล้วชื่นใจ ... มีขนมฝากเพิ่มเติมมาด้วย
ดีจัง


19 : 30 น.
พึ่งกินข้าวเสร็จ ว่าจะแกะทับทิบกรอบมากินต่อเพราะยังไม่อิ่ม แต่ช้าไปแล้ว ...
เสียงเดิมดังอีกแล้ว “แพทย์เวรอายุรกรรม 1414 .. ที่ 9B
ค่ะ “ ผมสามคนหยุดกินทันที ...
รู้ดีว่ารหัส 1414
หมายถึงมีคนไข้หยุดหายใจหรือหัวใจไม่เต้น .... ทุกคนวางช้อนจ้ำออกไปชั้น 9 ทันที ...

ผู้ป่วยชาย อายุมากแล้ว จากหน้าป้ายผมเปิดดูผ่าน
ๆ แกเป็นมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย .... มะเร็งกระจายไปทั่วช่องท้อง ที่ตับ ที่กระดูก
ผมรู้แค่นั้น ...ไปถึงแกหยุดหายใจไปแล้ว ... ผมขึ้นปั๊มหัวใจ ...
ในขณะที่น้องหว้าใส่ท่อช่วยหายใจเข้าทางปาก ทำงานร่วมกัน.... ผมสั่งยาฉีดยาอีกหลายตัว
....ใจก็สับสน ไม่แน่ใจว่าที่เราทำอยู่นี่คือการ prolonged life หรือเป็นแค่ delayed death กันแน่นะ ...ไม่รู้ ....
เพราะวินาทีนั้นผมคงไม่รู้คำตอบแน่ ๆ รู้เพียงว่าญาติและลุงแกไม่ได้เซ็นต์แสดงความจำนงว่าไม่ต้องการการกู้ชีพ
ผมก็ต้องทำไปตามหน้าที่ .... แม้รู้ว่าถึงช่วยขึ้นมาได้ ...
ก็ไม่รู้ว่าแกจะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน เพราะมะเร็งของแกกระจายไปจนทั่ว
...จนท้องบวม ...ตัวผอมแห้ง ...

30 นาทีผ่านไป ... เหงื่อซึม ๆ ออกตามหน้าผาก ....
หลังสลับกันขึ้นปั๊มหัวใจติดต่อกัน .... ไร้ผล .... สภาพร่างกายลุงแกคงไม่ไหวแล้วจริง
ๆ .... แกอาจจะต้องการไปสบายมากกว่า .....ผมประกาศยุติการกู้ชีพ
....พยาบาลบันทึกเวลาเสียชีวิต .... ชีวิตแรกที่พ้นทุกข์ไปในคืนนี้


20 : 30 น. มีคนไข้รับใหม่อีกแล้ว ตกลงความพยายามที่จะกินขนมของผมยังไมสำเร็จ
... ยังไม่ทันเดินไปถึงห้องพัก ก็ต้องเดินกลับไปที่วอร์ดชั้น 9 คนไข้เข้ามาใหม่เป็นคนไข้ที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชนอีกที
... เป็นคนไข้โรคหอบหืด ... พ่นยาที่รพ.ชุมชนแล้วไม่ดีขึ้น จึงส่งมา ....
ผมรู้ว่าจริง ๆ แล้วศักยภาพรพ.ชุมชน สามารถรักษาโรคหอบได้ แม้จะอาการมากยังไง
เพราะหากต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ รพ.ชุมชนก็มีเหมือนกัน ... รุ่นเดียวกันแป๊ะด้วย
.... ไม่ต่างกันเลย ... เมื่อก่อนก็ไม่มีรพ.ชุมชนส่งเคสแบบนี้มาหรอก
....แต่ตอนนี้ผมเข้าใจ ....เข้าใจ ....ใครย่อมไม่อยากจะเสี่ยงทั้งนั้น ....
หลังจากเหตุการณ์นั้น.....


เหตุการณ์แพทย์ใช้ทุนรพ.ชุมชนแห่งหนึ่งผ่าตัดไส้ติ่ง แล้วคนไข้เสียชีวิตจากการดมยา .... ญาติแจ้งความข้อหาฆ่าคนตาย .... น้องหมอผู้หญิงคนนั้นต้องนอนในห้องขังสามคืน .... ถึงได้ประกันตัว ...แถมศาลชั้นต้นยังพิพากษาจำคุก ต้องประกันตัวออกมาอุธรณ์ อีก.... ผมไม่รู้ว่าป่านนี้น้องเค้าเลิกเป็นหมอ ... หรือลาออกจากราชการ ....ไปทำอย่างอื่นรึยัง .... แต่หากน้องเค้าจะเลิกเป็นหมอ หรือเลิกทำโรงพยาบาลรัฐบาล .... ไม่แปลก .... ไม่แปลกเลย ....หากวันดีคืนดี ผมต้องไปนอนในห้องขังสถานีตำรวจ ร่วมกับผู้ต้องหาอื่น ๆ ถึงสามวัน ผมนึกไม่ออกว่าผมจะรับได้รึเปล่า ....ผมจะรู้สึกยังไง ..... ‘ช่วยคน จนต้องติดคุก’ .....หากผมมีลูกสาว และลูกผมต้องไปนอนในห้องขังทั้ง ๆ ที่ตั้งใจดี ....ผมคงให้ลูกลาออก ....อยู่ไปทำไมรพ.ชุมชน ... คิดแล้วท้อ ... ทำไมสังคมช่างโหดร้าย ....โหดร้ายกับผู้หญิงคนหนึ่ง ....โหดร้ายกับหมอคนหนึ่งถึงเพียงนี้ ....สังคมไทยที่ว่ากันว่าเอื้อเฟื้อหายไปไหน ... วันที่สังคมไม่น่าพิศมัยเอาเสียเลย .... แม้นจะได้เป็นหมอ (ในรพ.รัฐบาล)


ความยุติธรรมบางครั้งอยู่ตรงไหน .... ไม่เข้าใจ ....ทำไมผมเห็นดาราขับรถชนคนตาย .... ไม่เคยนอนห้องขัง ... ไม่เคยติดคุก .... บางคนข่มขืน .... ผิดชัดเจน .... ไม่เคยนอนห้องขัง ... ศาลเพียงให้รอลงอาญา ..... ทำไม ... ทำไม ... ทำไม ...... ผมเคยถามตัวเองหลาย ๆ ครั้ง

นึกถึงคำของอาจารย์ผมที่เคยถามผมไว้ว่า
“หมอ ... หมอเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมจริงหรือ ?” .... นั่นสิ ....มีจริงหรือเปล่า? หรือมันคงเป็นแค่สิ่งที่อยากให้มี แต่คงไม่มีวันเป็นจริง ....

หลาย ๆ คนบอกมาคล้าย ๆ กับว่า การผ่าตัดโดยไม่มีหมอดมยา ... ไม่มีผู้ที่เชี่ยวชาญพอ.... ไม่มีอุปกรณ์ที่ดีเพียงพอ คือการประมาท ... คือการฆ่าคนตาย .... แต่ผมอยากบอกว่าโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ 500 กว่าโรง แทบไม่มีรพ.ไหนมีหมอดมยาเลยซักกะโรง... แล้วอุปกรณ์ที่ดีพอคืออะไร ... หากบอกว่าต้องดีเท่ากับรพ.มหาลัยแพทย์ ... ประเทศนี้คงมีรพ.ที่ทำผ่าตัดได้ไม่เกิน 30 โรงมั๊ง.... แล้วโรงพยาบาลชุมชนจะมีห้องผ่าตัดไว้ทำไม .... หรือเอาไว้เพียงจี้ตาปลาเท่านั้น

ผลพวงจากเหตุการณ์ที่พวกผมเรียกว่าเหตุอัปยศที่สุดในวงการแพทย์ .... ส่งผลให้รพ.ชุมชนในจังหวัดทั้งหมดประกาศไม่ทำการผ่าตัดใด ๆ ในรพ.อีกเลยแม้แต่ไส้ติ่ง .... คนไข้ทุกรายจะถูกส่งเข้ามาผ่าตัดในรพ.จังหวัดหมด .... แน่นอนงานท่วมทันที .... วันก่อนเพื่อนผมเล่าว่า คนไข้เป็นไส้ติ่งอักเสบ มารพ. ทุ่มเศษ กว่าจะได้ผ่าปาไปตีห้ากว่า ...ญาติร้องเรียนรพ.ว่าทำไมรอนานขนาดนี้ ...ขู่จะฟ้องหมอกับรพ..... เพื่อนได้แต่บ่นเซ็ง ... บอกคืนนั้นมีคนรอผ่าไส้ติ่งอย่างเดียว 8 คน มีคนไข้อุบัติเหตุหนักต้องผ่าตัดอีกสองคน กระเพาะทะลุอีกหนึ่งคน ....ห้องผ่าตัดในเวรมีเปิดแค่สองห้อง ...ก็ต้องรอคิวกันไป .... หนักกว่าก็ต้องผ่าก่อน ...เบากว่าก็ผ่าหลัง แล้วจะให้ทำยังไง.... บางรายรอจนไส้ติ่งแตก .... แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ...ไม่งั้นก็ต้องแนะนำให้ไปผ่ารพ.จังหวัดอื่น แต่ดึกยังงั้นใครจะไปแถมตั้งหลายชั่วโมง...เมื่อก่อนรพ.ชุมชนผ่าตัดเองบ้างก็พอบรรเทาไปได้ แต่ตอนนี้บอกให้ผ่า ใครจะกล้าทำ ......

นอกจากไม่ทำการผ่าตัดใด ๆ แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ คนไข้ที่อาการมากหน่อยไม่ว่าโรคใด ๆ จะถูกส่งต่อมารพ.จังหวัดทันที ทั้ง ๆ ที่บางอย่างรักษาที่รพ.ชุมชนก็ไม่ต่าง ... แถมน่าจะดีกว่าด้วยซ้ำเพราะคนไข้น้อยกว่ามีเวลาดูใกล้ชิดมากกว่า .... แต่หลายคนกลัว .... กลัวจะถูกฟ้อง .... กลัวถูกหาว่ารพ.ชุมชนไม่มีความพร้อม .....เลยป้องกันความเสี่ยงด้วยการส่งต่อเข้ารพ.จังหวัด ....ถามว่าผิดไหม ... ไม่ผิดหรอก .....เข้าใจ ..... เป็นผม ผมก็ทำเหมือนกัน ... ใครล่ะอยากเสี่ยง .....แต่ต่างกันแค่ตอนนี้ผมดันยืนอยู่ในรพ.จังหวัด .... ไม่ได้อยู่รพ.ชุมชน....


21 : 00 น. รหัส 1414 ดังขึ้นอีกแล้ว .... คราวนี้มาจากห้องไอซียูที่อยู่ชั้น
7
ผมกับน้องลงไปดู ... ผู้ป่วยชายติดเชื้อในกระแสเลือด .... อาการหนักอยู่แล้ว
....หยุดหายใจ .... ผมเริ่มต้นการกู้ชีพปั๊มหัวใจอีกครั้ง

ผ่านไป 10 นาที ยังปั๊มหัวใจไม่สำเร็จ ... เสียงประกาศรหัส
1414 จากวอร์ด 9B.... ผมหันไปสั่งโบว์ กับหว้าให้จัดการกันไปก่อน
....ผมขึ้นไปดูคนไข้ด้านบนก่อน


21 : 15 น. ผมขึ้นไปถึงภายในสองสามนาที
เริ่มรู้สึกเหนื่อย ... แต่เวลาเร่งจนไม่สามารถพักได้ .... ผมไปดู
คุณป้ามานอนโรงบาลด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน .... พึ่งเข้ามาเย็นวันนี้
.... ตอนนี้หัวใจหยุดเต้น คาดว่าคงเป็นจากโรคหัวใจที่เป็นซ้ำขึ้นมาอีก ...
พยาบาลขึ้นปั๊มหัวใจ ... ผมสลับไปใส่ท่อช่วยหายใจเข้าทางปาก .... สำเร็จ
ผมลุกมาสั่งการ

“ให้ Adrenaline อีก 2 amp.” ... ผมบอกไป พลางสลับไปปั๊มหัวใจป้าเอง ....
เสียงตามสายลอยมา “หมอเวรอายุรกรรม โทรกลับ 901 ค่ะ” ... ผมได้ยิน 901 เบอร์โทรของวอร์ด 9A ตาม...
แต่ไม่สามารถโทรกลับไปได้ตอนนี้ ....

“ให้ Magnesium อีก 2 amp” ผมให้ยาต่อ ..... แต่แล้วก็ไม่อยากจะเชื่อ
........ “รหัส 1414 ที่ 8A ค่ะ” ดังซ้ำ ๆ .... ซวยแล้วสิ ... ผมรู้ทันที ...
ซวยแล้ว .... ผมกดมือถือหาหว้าอย่างรีบด่วน ให้พยาบาลขึ้นปั๊มหัวใจแทน ....

“หว้า ... ไปดูชั้น 8A หน่อยสิ พี่ยังปั๊มอยู่เลย”

“หนูเดินมาแล้วค่ะ ...
กำลังจะถึงแล้ว” หว้ายังรู้หน้าที่ดีเยี่ยม โดยไม่ต้องบอก ...
สองคนนี้เป็นน้องที่เก่ง แถมทำงานเป็นทีมได้ดีอีกด้วย

“ดี ... แล้วโบว์ล่ะ”

“ปั๊มหัวใจได้แล้ว แต่ BP ยัง drop อยู่เลยค่ะ มันยังเฝ้าอยู่” (คำแปล BP มาจาก blood pressure คือความดันโลหิต; drop คือต่ำ แปลรวมกันคือ ความดันยังต่ำอยู่)

“โอเค ถ้าพี่เสร็จแล้วจะตามไปนะ”
ผมวางหู .... ผมเริ่มหนักใจ .... ภายในชั่วโมงนี้มีคนไข้หยุดหายใจรวดเดียวสามคน
อะไรจะดวงแตกขนาดนี้ ... หมอที่มีอยู่สามคน นี่ก็กระจายไปคนละวอร์ดแล้ว ....ทุกคนปั๊มหัวใจกันอยู่หมด
.....นี่ถ้ามีอีกคนทำไงว่ะเนี่ย ....

ผมหยุดคิดหันมาช่วยคนไข้ตรงหน้าก่อน
.... นี่ผ่านมากี่นาทีแล้วนะ ... เกินสิบแล้วมั๊ง ...
ผมรู้ว่าการปั๊มหัวใจหากยิ่งนานยังไม่สำเร็จ โอกาสรอดยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ .....

“หมอค่ะ วอร์ด 8B ตามค่ะ ถามว่ายังไม่เสร็จเหรอ” พยาบาลถามขึ้นมาหลังจากไปรับโทรศัพท์

“ถามเค้าว่ามีอะไร บอกมาเลย”
ผมตะโกนบอก

“เค้าบอกว่าคนไข้ที่เลือดออกในกระเพาะ
... ตอนนี้เลือดออกเยอะ .. ความดันเหลือ 70/50 แล้วค่ะ”

“บอกให้เพิ่ม iv เป็น 200 cc per hour ไปเลย ... เตรียมจองเลือดไว้ด้วย 4 U บอกทางนี้เสร็จแล้วจะไป”

ผมสั่งยาไปเท่าไหร่ก็ไม่รู้ รู้แต่เห็น
amp.
ยาวางเกลื่อนกลาดแถว ๆ นั้นเป็นสิบ amp. ... แต่ผมยังสู้เต็มที่ ...
หวังว่าคุณป้าก็จะสู้เช่นกัน

22 : 00 น.
ในที่สุดผมก็ช่วยคุณป้าสำเร็จ ... ตอนนี้ชีพจรกลับมาเต้น ความดันเลือดเริ่มดี ...
ผมติดเครื่องช่วยหายใจ ตั้งระบบเครื่องเรียบร้อยแล้ว ... ดีใจ ... ดีใจที่อย่างน้อยสามารถกู้ชีพได้หนึ่งคน
... เพราะรู้ดีว่าโอกาสกู้ชีพแล้วรอด ในชีวิตจริงนั้นมีไม่มากเท่าไหร่หรอก ..... ไม่เหมือนในหนังที่ปั๊มหัวใจ
กี่คน กี่คนก็รอดหมด ....

เมื่อเห็นคุณป้าอาการนิ่งแล้ว ...
ผมนึกถึงหว้า ... ไม่รู้เป็นยังไงมั่ง ...ผมวิ่งลงจากชั้น 9 ไปหาหว้าที่วอร์ด 8A ซึ่งเป็นวอร์ดที่ผมดูอยู่นั่นเอง ... ในใจผมคิด
... ใครกันน้อ ... ใครกันที่โชคร้ายต้องหยุดหายใจไป ... ใครกัน ... ผมนึกไม่ออก

ผมเดินไปถึงวอร์ด
ตรงไปยังเตียงที่ปิดม่าน มีพยาบาลล้อมรอบอยู่สองสามคน ... ผมเปิดม่านเข้าไป แล้วอึ้งไป ... น้องอ้อ
นี่เอง !!! .....

“เป็นยังไงบ้าง” ผมหันไปถามหว้า

“ตอนหนูขึ้นมา หายใจหอบมากจน
air hunger แล้วค่ะ
หนูเลยใส่ tube
ไป” (คำแปล air hunger
คืออาการหนึ่งที่คนไข้หายใจหอบเฮือกใหญ่ ๆ เป็นอาการก่อนที่ระบบหาจใจจะล้มเหลว
ส่วน tube คือท่อช่วยหายใจที่ใส่ทางปาก)

ไม่น่าเชื่อ
ตอนเช้าเธอยังคุยกับผม ยิ้มให้ผมได้อยู่เลย ... แต่ตอนนี้เธอนอนนิ่งไม่รู้ตัว
มีท่อช่วยหายใจใส่อยู่ที่ปาก มีสายน้ำเกลือแทงอยู่ทั้งสองแขน
พร้อมเครื่องวัดความดัน วัดออกซิเจนเต็มตัวไปหมด .... บางครั้งอารมณ์ชั่ววูบ ...
กลับแลกด้วยค่าตอบแทนที่แสนแพง ... ไม่คุ้มเลยกับผู้ชายหนึ่งคน .......แม่ของเธอที่ยืนอยู่ห่าง
ๆ กุมมือไว้ตรงอก น้ำตาไหลพราก ....

ผมมองไปรอบ ๆ เห็นพยาบาลยังบีบ bag เพื่อช่วยหายใจคนไข้อยู่เลย

“แล้วเบิร์ดล่ะ” (Bird คือชื่อชนิดเครื่องช่วยหายใจชนิดหนึ่ง)
ผมถามพยาบาล

“หมอ ของวอร์ดหมดไปแล้วค่ะ ...
นี่ต้องโทรไปขอยืมมาจากแผนกศัลยกรรม นี่ตัวสุดท้ายของโรงพยาบาลแล้วนะคะ
เวรเปลกำลังลงไปเอาอยู่ค่ะ”

ตัวสุดท้าย ...
แปลว่าหลังจากนี้ห้ามมีคนไข้หยุดหายใจอีกแล้ว ...
ไม่อย่างนั้นไม่มีเครื่องช่วยหายใจใช้แล้ว ...
ทางเดียวคือต้องส่งไปโรงพยาบาลจังหวัดข้างเคียง .... ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง .....
หรือรพ.ชุมชน ซึ่งก็คงไม่อยากมีใครรับเท่าไหร่ ....

อีกสิบนาที เครื่องช่วยหายใจมาถึง
.... ผมปรับตั้งเครื่อง ... หันไปมองแม่ของน้องอ้อ ... อยากเข้าไปคุยด้วย แต่วอร์ด
8B
โทรมาตามเป็นครั้งที่สามแล้ว ... สถานการณ์คงไม่ดีเท่าไหร่ ...
ผมคงไม่มีเวลาคุยด้วยในตอนนี้ ... ต้องรีบไปดูก่อน ตอนนี้เกือบห้าทุ่มแล้ว
นับจากที่วอร์ด 8B
โทรตามผมครั้งแรกก็........เกือบสองชั่วโมงแล้ว

23 : 00 น. ผมเดินข้ามไปวอร์ด
8B
รู้สึกว่าตัวเองตอนนี้คงเน่าสนิท สภาพคงดูไม่ได้ น้ำยังไม่ได้อาบ
หัวคงกระเซิงน่าดู ... หว้าเองก็เหงื่อซิก ๆ ทั้ง ๆ ที่อากาศเย็น ....โบว์ที่ตามมาสมทบก็ดูหน้าซีด
ๆ อิดโรย อนาถไม่แพ้กัน .... เธอรำพึง ...

“อยู่กับพี่ทีไรดวงแตกทุกทีเลย”

“เออ สิ ดวงใครล่ะ” ... ผมเห็นจริงด้วย อยู่เวรกับสองคนนี้ทีไร
เวรระเบิด ยุ่งกระฉูดทุกที ไม่รู้ใครเป็นตัวซวยกว่าใคร

ผมเดินไปเคาเตอร์พยาบาล ... ถามว่าเตียงไหนเป็นอะไร
... เธอทำหน้าลำบากใจเหมือนมีอะไร... ถามทำไมหมอมาช้าจัง ...
ผมตอบไปตามจริงว่ามีคนไข้ arrest พร้อมกันสามคน (arrest แปลว่าหยุดหายใจ) เธอพยักหน้ารับ ไม่ว่าอะไร ... คงเพราะเวลาโฟนรหัส
1414
มันดังทั้งดึกอยู่แล้ว เธอก็คงได้ยินอยู่ ... ที่ถามคงถามลอย ๆ เฉย ๆ ก่อนที่จะบอกประโยคถัดไป

“หมอ ญาติคนไข้โวยวายมากเลย
บอกทำไมถึงไม่มีหมอมาดูซะที ระวังนะ”

ผมพยักหน้ารับ เปิดชาร์ตคนไข้ดู เป็นลุงอายุ 45 ปีมาด้วยอาเจียนเป็นเลือดจาก esophageal
varices (หลอดเลือดดำโป่งพองที่หลอดอาหาร)
ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นโรคตับเรื้อรังเนื่องจากการกินเหล้า
คนไข้ที่เป็นโรคนี้มักเป็นซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ผมเองก็คุ้นหน้าคุ้นตาลุงคนนี้อยู่
เพราะเหมือนว่าแกก็พึ่งมานอนรพ.เมื่อไม่นานมานี้ ...
แต่แกยังไม่ยอมหยุดเหล้าอยู่ดี แม้จำได้ว่าครั้งก่อนผมก็เคยย้ำแกหลายครั้งแล้วว่า
ต้องเลิกเหล้าโดยเด็ดขาด หากกินอยู่ จะเป็นอีกแน่ ๆ

ผมเข้าไปดู แกดูซีดมาก ความดันตก ชีพจรเต้นเร็ว
อันเป็นลักษณะของการเสียเลือดมากจนใกล้ช็อคแล้ว
หว้าที่ยืนอีกข้างของเตียงเอากระบอกฉีดยาสูบสาย NG tube โดยผมไม่ต้องบอก (NG คือท่อสายยางที่ใส่เข้าที่จมูกให้ไปอยู่ในกระเพาะอาหาร)
หว้าดูดออกมา น้ำที่ไหลตามสายยางออกมาเป็นสีแดงสด ไม่เป็นก้อน ... แสดงว่าเลือดที่ออกมายังไหลไม่หยุด
...

เสียงญาติที่ยืนห่าง ๆ มองมาด้วยสายตาไม่พอใจ
เสียงคำพูดลอยมาไกล ๆ แต่ฟังชัดทีเดียว “:-) หมออะไรว่ะ คนจะตายห่าอยู่แล้ว ไม่ยอมมาดูคนไข้เลย” เสียงนี้ด่าหรือให้กำลังใจ คงไม่ต้องแปล

“เลือดที่จองได้รึยัง” ผมหันไปถามพยาบาล

“ได้แล้วค่ะ กำลังให้คนงานไปเอาที่ห้องเลือด”

“หว้า irrigate NG ต่อไปนะ” (irrigate NG คือการใส่น้ำเข้าไปในกระเพาะ แล้วล้างออกมา
เพื่อดูว่ายังมีเลือดออกอยู่รึเปล่า กับเป็นการทำความสะอาดกระเพาะไปด้วย)

ผมเริ่มเครียด ตอนนี้ทุกนาทีเป็นนาทีชีวิตไปแล้ว
ลุงจะรอดหรือเปล่าผมไม่รู้ ... แต่สถานการณ์ปริ่มเหลือเกิน

“ได้เลือดแล้วให้เลือดไปเลยนะ ... iv อีกสายปล่อย free flow ไปเลย” ผมบอกกับพยาบาล (ปล่อย iv free
flow แปลว่า
ให้น้ำเกลือให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)

“เตรียมเซ็งฯเลยไหมพี่” โบว์หันมาถามผม ( เซ็งฯ พูดย่อมาจาก Sengstaken Blakemore
tube
คือท่อที่ใส่เข้าไปในกระเพาะกับหลอดอาหาร คล้ายลูกโป่งเพื่อไปกดห้ามเลือด)

“เตรียมเลยโบว์
พร้อมแล้วพี่ว่าใส่เลยดีกว่า”

โบว์วิ่งไปหยิบอุปกรณ์ที่ห้องเก็บของ มาแกะออก
เตรียมน้ำยา เตรียมเครื่องมืออย่างรวดเร็ว เหมือนกับเมื่อกี้ไม่ได้เหนื่อย
ไม่ได้หน้าซีดมาก่อน ... เวลาคับขัน จิตวิญญาณมนุษย์ช่างทรงพลังจริง ๆ

ผมจัดการใส่เซ็งฯ ทันทีที่พร้อม ... ให้เลือด
ให้ยา ให้ทุกอย่าง เต็มที่แล้ว .... ที่เหลือก็สุดแล้วแต่บุญแต่กรรมแล้วมั๊ง
ผมได้แต่คิด หากเลือดไม่หยุดจริง ๆ ทางสุดท้ายก็คงต้องผ่าตัด ... ว่าแล้วผมโทรเข้าไปหาเพื่อนที่อยู่เวรศัลยกรรมติดต่อเผื่อไว้ก่อน พยาบาลปลายสายบอกหมอติดผ่าตัดอยู่
... ผมบอกขอคุยด้วยแป๊บเดียว เธอจึงยื่นโทรศัพท์ให้เพื่อนผมคุยทั้ง ๆ
อยู่ในห้องผ่าตัด

04 : 00 น.
ผมได้กลับมาในห้องพักแพทย์อีกครั้ง
ผ้าปูที่นอนทั้งสามเตียงยังกองวางอยู่ที่เดิมเหมือนเดิม
แสดงว่ายังไม่มีใครในเวรนี้ได้ล้มตัวลงนอนบนเตียงเลย ... ผมหยิบน้ำมากิน
หลังจากพูดไปเยอะ ... ค่อยหายแสบคอหน่อย ...เวรนี้ช่างหนักหน่วงเหลือเกิน หว้ากับโบว์ยังนั่งอยู่บนโซฟา
ยังไม่มีทีท่าจะเข้าไปนอนในห้อง

“ไม่นอนเหรอ” ผมถามขึ้นมา

“แป๊บนึงค่ะพี่ ขอกินน้ำ
กินอะไรหน่อย หิวอ่ะ” หว้าตอบกลับมา ผมยังสงสัยว่าน้องแกตัวผอมอย่างนี้ได้ไงเนี่ย ทั้ง ๆ ที่กินเยอะกว่าผมอีก

“เฮ้อ ... งานเรานี่
สุดคุ้มค่าจ้างเลยนะ” โบว์พูดบ้าง

จริง ...
ไม่บอกคนอื่นต้องไม่คิดแน่ว่าค่าเวร รพ.ผมนี่มันแค่ 700 บาทต่อคืนเท่านั้น งานหนักเป็นควาย ...
ความรับผิดชอบอันสูงยิ่ง ... แลกกับเงิน 700 บาท

“เมื่อไหร่เค้าจะขึ้นค่าเวรให้ก็ไม่รู้เนอะ
... นี่ค่าแรงน้อยกว่าพนักงาน MK ด้วยซ้ำมั๊ง” หว้าแซว

“พี่คิดดูดิ ทำงานสี่โมงเย็นถึงแปดโมงเช้า
16 ชั่วโมง ได้ 700 บาท หารออกมาเหลือ 43 บาทต่อชั่วโมง”

“เออ เนอะ” ผมก็ไม่เคยหารมาก่อน ไม่รู้หรอกว่าพนักงาน
MK
ได้ชั่วโมงเท่าไหร่ แต่ก็คงราว ๆ นี้จริง ๆ มั๊ง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะ
ก่อนมาเรียนผมก็ไม่เคยคิดมาก่อนหรอกว่าเงินเดือนหมอรัฐบาลมันจะน้อยขนาดนี้ถ้าเทียบกับงานที่ต้องรับผิดชอบกับความเป็นความตายของคน

“พี่งีบก่อนนะ” ผมหนีไปนอนบนโซฟาเพราะไม่ไหวแล้ว
โบว์หนีเข้าไปนอนในห้อง ส่วน หว้ายังเดินจกเลย์กินอยู่เป็นระยะ ๆ

หัวแตะหมอนยังไม่ถึงสิบนาทีเลยมั๊ง
... เสียงโทรศัพท์ในห้องพักก็ดังขึ้น

“หมอค่ะ
เคสที่กินยาฆ่าหญ้าอาการไม่ค่อยดีค่ะ” พยาบาลกรอกเสียงมาตามสาย ผมรู้ว่าเคสที่เธอพูดถึงก็คือน้องอ้อนั่นเอง ...

“ครับ เดี๋ยวไปดู” ผมถอนหายใจยาว
... แล้วเดินขึ้นไปดู .... วันนี้คงเป็นอีกหนึ่งวันที่ไม่ได้นอนซักชั่วโมง
ผมเดินไปดูน้องอ้อ ... เธออาการเริ่มแย่ หายใจเหนื่อยขึ้น ความดันเริ่มตก
ชีพจรเริ่มเบา .... ผมทำใจ และบอกให้แม่เธอทำใจ .... จากอารมณ์กำลังจะพัก
ตอนนี้ผมต้องอยู่กับอารมณ์ที่สลดหดหู่ .....
แม้ว่าผมจะชินแล้วกันความเป็นความตายก็ตาม .... แต่ทุกครั้งที่มีคนกำลังจะเสียชีวิตอยู่ตรงหน้า
...อารมณ์ผมก็มักจะเศร้าตาม ....อีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะดับไปพร้อมกับแสงตะวันแห่งวันใหม่ที่กำลังสาดส่องขึ้นมา

ผมเดินไปดูอีกสองสามเคส ... คุณป้าเริ่มรู้ตัว ยกมือทักทายผมได้แล้ว
ดีใจ ... ดีใจ ... คนไข้ไอซียู
อีกเคสที่ปั๊มหัวใจไปเมื่อคืน ก็ยังอาการดีอยู่ .... สองรายที่พ้นวิกฤติ
สองรายที่มีโอกาสเจอฟ้าวันใหม่

06: 00 น. สว่างคาตา
ที่มาของคำ ๆ นี้เป็นแบบนี้นี่เอง ตอนนี้ทุกอย่างสงบ
นึกดูไปแล้วเมื่อคืนยังกะผมหลงเข้าไปในสงครามกลางเมืองยังไงยังงั้น ... หกโมงเศษ ๆ หมอบางคนมาถึงวอร์ดแล้วเพื่อทำงานแต่เช้า
ผมเบาใจพอที่จะไปหาอะไรกิน

“ป๊ะ ไปหาโจ๊กกับกาแฟกินกัน
พี่เลี้ยงเอง” ผมหันไปบอกน้อง ๆ

“จริงเหรอคุณพี่ ... ป๊ะ ๆ “
หว้าดีใจออกนอกหน้า

ผมเดินไปโรงอาหารสั่งโจ๊กมากิน
... พร้อมกาแฟสุดเข้ม เพื่อโด๊ฟไว้
เพราะเดี๋ยวอีกชั่วโมงผมต้องไปทำงานต่อแล้วพร้อม ๆ กับไอ้น้องสองคนนี้แหละ ... เรื่องนอนตัดทิ้ง
... ต้องอาศัยกาแฟช่วยจะได้ไม่ง่วงซะก่อน กินเสร็จ อิ่มหนำ
หัวแล่นขึ้นสงสัยฤทธิ์คาเฟอีนจะออกแล้ว ผมแยกกับน้อง ๆ ไปอาบน้ำ ทั้ง ๆ
ที่จะว่าไปผมก็พึ่งอาบมาไม่กี่ชั่วโมงนี่หว่า
แต่ไม่อาบก็คงไม่ได้เพราะเหงื่อโทรมขนาดนี้

เดินกลับหอ อากาศหนาวเย็น ชื่นปอด
ผมชอบอากาศเย็น ยกเว้นแค่ตอนอาบน้ำเท่านั้นแหละเพราะดันไม่มีน้ำร้อน อาบแล้วรู้สึกดีกระปรี้กระเปร่าขึ้น


7 : 00 น. ผมกลับมาอยู่ที่วอร์ดพร้อมโบว์ หว้า อย่างตรงเวลา
... เริ่มราวด์ต่อ แต่ต่างกันตรงวันนี้เก้าโมงผมต้องไปออกโอพีดี ฉะนั้นหลังเก้าโมง
น้อง ๆ สองคนต้องราวด์กันเอง


9: 00 น.
ผมเดินไปตรวจโอพีดีช่วงเช้า นั่งนึกดูตอนนี้ 26 ชั่วโมงติดต่อกันแล้วที่ผมยังไม่ได้นอนซักแอ๊ะ
ไม่ปฏิเสธว่ามึนหัว รู้สึกเลยว่าหัวแล่นช้ากว่าปกติ คิดอะไรไม่ค่อยออกเท่าเดิม
....ยิ่งตรวจไปสองสามชั่วโมง ยิ่งเบลอ ๆ มากเข้าไปอีก

ผมไม่รู้ว่ามันแฟร์รึเปล่ากับคนไข้
ที่ต้องมาคุยกับหมอซอมบี้ ที่ดูมึน ๆ งง ๆ เป็นผม ผมก็คงอยากเจอหมอที่สมบูรณ์เต็มที่ทั้งกายใจ
ไม่ใช่เจอหมอสภาพคล้ายศพ มีวิจัยมากมายพบว่าคนอดนอนมีโอกาสทำผิดพลาดมากกว่าคนที่นอนเต็มที่หลายเท่า
... เมืองนอกบางประเทศมีกฎห้ามหมอทำงานมากกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
หากเกินนั้นต้องให้พัก ... ออกมาเป็นกฎเลย ... แต่ของไทย ...รู้กัน..... ผมเคยไม่นอนติดกันมากกว่า
48
ชั่วโมงด้วยซ้ำ ... มีเดือนนึงผมอยู่เวรแบบนี้ 20 วันต่อเดือน .... แต่ของแบบนี้เมืองไทยก็ยังตามมีตามเกิดไป

เคยมีแพทย์พยายามต่อสู้เพื่อให้มีวันพักหลังอยู่เวร
... แต่ก็ไร้ผลด้วยคำตอบง่าย ๆ คือ ...คนทำงานไม่พอ

เดี๋ยวนี้อัตราฟ้องร้องแพทย์เพิ่มขึ้นทุกๆ
ปี หากนับจำนวนกรณีพบว่าเคสหมอที่โดนฟ้องอยู่ในรพ.รัฐมากกว่าเอกชนด้วยซ้ำ ...
ผมก็ไม่แปลกใจเท่าไหร่ ... ผมตรวจคนไข้แค่เช้านี้กว่า 50 คน ... ตรวจคนละไม่กี่นาที ... มึนก็มึน
ง่วงก็ง่วง จะพลาดบ้างคงไม่แปลก เดือน ๆ หนึ่งตรวจไป 1000 กว่าคน ปีนึงก็ 12000 คน คนละ 4-5 นาที ผมจะตรวจถูกต้องทุกคนได้ยังไง .... ไม่ต้องคิด
... อาจารย์แพทย์ผู้ใหญ่คนหนึ่งเคยกล่าวอมตะวาจาไว้ว่า “หมอที่ไม่เคยผิดพลาด
คือหมอที่ไม่ตรวจคนไข้” ยังคงเป็นจริงเสมอ ๆ ไม่ว่าผ่านมากี่ยุค ……


ผมเองเคยวินิจฉัยพลาดก็หลายครั้ง
ให้ยาแล้วคนไข้แพ้ยาก็หลายที ...
แต่โชคดีที่ทุกครั้งอาศัยว่าความสัมพันธ์อันดีกับผู้ป่วย เลยรอดมาได้ทุกครั้ง
ไม่เคยถูกฟ้องร้องจริง ๆ จัง ๆ ซักที ส่วนเพื่อนที่ซวยก็มี โดนฟ้อง ต้องเครียด
เซ็งไปเป็นปี

ผู้ใหญ่ในกระทรวงพยายามหากฎหาระเบียบอะไรมากมายมาป้องกันการเกิดฟ้องร้องมากมาย
เช่นให้อธิบายคนไข้ดี ๆ อธิบายว่าโรคเป็นยังไง ต้องรักษายังไงบ้าง
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเท่าไหร่และอะไรบ้าง ยาที่ต้องกินมีอะไร
ยามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ฯลฯ แนวคิดนี้ไม่ใช่ว่าหมอส่วนใหญ่ไม่รู้
แต่หากต้องตรวจคนไข้ 100
คนในเวลา 8:00-16:00
น. จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ต่อให้กะไปเลยว่าหมอไม่กินข้าว ไม่เข้าส้วม ไม่กินน้ำ
... ตรวจแบบไม่ต้องพักเลย ... ก็ตรวจได้แค่คนละ 4 นาที 40 วินาที แล้วมันจะทำได้ยังไง??? ตราบใดที่คนไข้ยังมากกว่าหมอเยอะขนาดนี้


12 : 20 น. การตรวจเกินเวลาพักเที่ยงเป็นเรื่องปกติ
ผมหยุดตรวจเท่านี้ ที่เหลือให้รอตรวจช่วงบ่ายไป ผมไปกินข้าว เสร็จแล้วขึ้นไปดูน้อง
ๆ ผมว่าเป็นยังไงบ้าง โบว์กับหว้า ผลัดกันรายงานอาการคนไข้แจ้ว ๆ ผมเดินดูคนไข้ที่อาการไม่ค่อยดีในวอร์ดร่วมกับน้อง
ๆ อีกครั้งเพื่อให้การรักษาเพิ่มเติม

บ่ายโมง รพ.จังหวัดข้างเคียงโทรมาขอ refer คนไข้ บอกว่าเตียงเต็ม .... ผมตอบไปแบบสุภาพว่า
“ที่นี่ผ้าใบเต็มแล้วครับ เตียงน่ะเต็มไปหลายเดือนแล้ว ... ถ้าจะส่งมาจริง ๆ
บอกคนไข้ซื้อผ้าใบมาด้วยล่ะกันนะครับ” (ประโยคนี้ไม่ได้กวนตีนคนอื่นนะครับ
แต่เป็นจริง ๆ และรู้กันว่าถ้าไม่มีจริง ๆ แนะนำให้คนไข้เอาผ้าใบมาเองด้วย)

14 : 00 น. ผมได้รับโทรศัพท์ตามมาจากตึกอำนวยการของโรงพยาบาล
บอกว่า รองผอ.ต้องการพบตัวด่วน ... ผมเดาได้ว่าต้องไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะชาตินึง
ฝ่ายบริหารไม่ค่อยมาสนใจหมอที่ทำงานหรอก หากตามแบบนี้ต้องมีงานอะไรซักอย่างเข้า
และผมก็พอเดาได้ว่างานอะไรเข้า

จริง ๆ
หมอที่ทำงานมีเรื่องมีราวกับฝ่ายบริหารมานานแล้ว ... ไม่ว่าจะเรื่องค่าเวรที่ต่ำเตี้ย
เรี่ยดิน แถมช่วงหนึ่งฝ่ายบริหารมีแผนเพิ่มคนอยู่เวร
เช่นจากเวรในอายุรกรรมที่ผมอยู่คนเดียว
(ไม่นับแพทย์ฝึกหัดเพราะไม่ได้เงินอยู่แล้ว) จะให้แพทย์ขึ้นเวรสองคน แต่เงินเวรคนเดียวเท่าเดิมคือ
700 บาท ...
ดังนั้นต้องเอาไปหารกันเองสองคน เหลือคนละ 350 ... แน่นอนว่าถูกโต้แย้งอย่างหนัก เพราะนอกจากเงินที่น้อย
จำนวนเวรที่ต้องขึ้นก็พรวดเป็นสองเท่า เท่ากับเดือนหนึ่งอยู่เวรยี่สิบกว่าวัน
ใครมันจะไปอยู่ได้

ผมเดินไปตึกอำนวยการที่ตบแต่งอย่างสวยงาม
... เดินไปหา เลขาฯ หน้าห้อง ... เธอบอกให้เข้าไปพบได้เลย
ผมยิ้มตอบแล้วเดินเข้าไปในห้อง รองผอ.หน้าหงิก ตั้งแต่เข้าไป บรรยากาศในห้องดูมาคุ


รองผอ.เธอบอกว่าญาติคนไข้ร้องเรียนหมอมา
ว่าไม่ยอมมาดูคนไข้ มาดูช้า จนคนไข้เสียชีวิต ...
ญาติบอกเตรียมจะฟ้องหมอกับรพ.แล้ว

ผมถูกซักเหตุผลละเอียดยิบ ...
ทำไมไปดูช้า... ผมก็ตอบไปตามที่เกิดขึ้นจริง

“หมอยุ่งเหรอ ยุ่งทำไมให้น้องไปดูก่อน” ... ผมงงว่าผมก็พึ่งตอบไปนี่หว่าว่าน้องทุกคนก็ดูคนไข้อยู่

“แต่หมอก็ต้องแบ่งเวลาให้ดี ๆ สิ” ... ถูกยิงคำถามต่อทันที ... ผมเซ็ง ... เซ็ง ... จนไม่อยากจะตอบอะไรอีกเลย ... แบ่งเวลาดี ๆ พูดเฉย ๆ น่ะง่าย .....แต่ลองตอบชัด ๆ มาสิว่าแบ่งดี ๆ ในสถานการณ์นั้นแบ่งยังไง ?? ใจอยากบอกว่า ... ลองมาอยู่เองไหมล่ะครับ .... อยากรู้เหมือนกันว่าจะทำยัง .... ผมไม่ใช่อมีบา จะได้แบ่งตัวเป็นหลาย ๆ ตัวแล้วกระจายดูคนไข้ได้นะ (ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้บริหารบางโรงพยาบาลนั้นมักไม่ตรวจคนไข้ และไม่ต้องอยู่เวรกันมานานแล้ว บริหารอย่างเดียว ทิ้งเวรและภาระงานตรวจให้หมอเด็ก ๆ หมด รพ.นี้ก็เช่นกันผอ.และรองผอ.ไม่เคยตรวจคนไข้มาจะร่วมยี่สิบปีแล้ว)


“ถ้าเวรยุ่งมาก หมอก็ตามเพื่อนมาช่วยอยู่สิ” ....เฮ้อ การมองเหตุการณ์ย้อนหลังแล้วเฝ้าจับผิดก็เป็นแบบนี้ทุกทีไป ........ ดึกขนาดนั้นจะโทรตามใคร .... ให้ตามคนไม่ได้อยู่เวร... ดึกป่านนั้นก็คงอาบน้ำแต่งชุดนอน นอนอยู่กับบ้านกันแล้ว ..... จริง ๆ ผมเชื่อว่าโทรไปเพื่อนผมก็คงมา แม้จะไม่ได้อยู่เวร แม้จะไม่ได้ตังค์ซักกะบาท แต่ทุกคนก็มา ... มาเพราะรักเพื่อน .... มาเพราะมนุษยธรรม .... แต่เอาเข้าจริงใครจะไปรู้ว่ามันจะยุ่งขนาดนั้น ... สารภาพว่าตอนคนปั๊มหัวใจคนไข้อยู่ มันคิดไม่ออกหรอกครับวิธีนี้ ....แถมหากจะโทรจริง ๆ กว่าจะโทร ... กว่าเพื่อนจะเปลี่ยนชุด .... กว่าจะเดินทางมาถึงรพ. .... กว่าจะขึ้นมาบนตึก ....คนไข้คงตายไปสักสามสี่รอบแล้ว.....

“ไม่ยังงั้นทำไมหมอไม่ตามเพื่อนที่ห้องฉุกเฉินมาช่วยล่ะ” ... คำถามอันนี้หนักกว่าอันเดิม .... ท่านไม่ต้องอยู่เวรมาหลายสิบปีแล้ว ไม่เคยโผล่มาดูห้องฉุกเฉินด้วยซ้ำ เลยไม่รู้ว่าห้องฉุกเฉินรพ.นี้ เดี๋ยวนี้มันนรกแตกแค่ไหน คืน ๆ นึงคนไข้เป็นร้อย ตายไม่รู้กี่คน อุบัติเหตุเพียบตามแนวคิดเมาแล้วขับ ... แล้วเอาหมออีอามาช่วยในตึกจะเป็นไปได้ยังไง แล้วคนไข้หนักมา ไม่มีใครดู เกิดตาย ก็โดนฟ้องอยู่ดี

ผมโดนบ่นไปอีกหลายสิบนาที .... ป้ารองผอ. บอกรู้ไหมว่ารพ.จะต้องจ่ายเงินให้ญาติเท่าไหร่ เพื่อให้เรื่องยุติ รู้รึเปล่า ... ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่คิดจะไล่บี้เอาที่จ่ายไปคืนจากหมอ .... รู้ไหม ..... เงินตั้งหลายหมื่น
อ้าว .... นี่พูดเหมือนทวงบุญคุณเลยนะเนี่ยที่จะไม่ไล่บี้เอาเงินจากผม .... แน่ล่ะสิ่งที่ลุงกับญาติได้รับนั้นถือว่าไม่เต็มที่จริง ๆ ทางการแพทย์ ... มีหมอมาดูช้าจริง ๆ .... ผมยอมรับ ..... แต่หากย้อนเวลากลับไปได้ มีคนไข้หัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน 3 คน ... กับคุณลุง ผมก็ยังคงต้องเลือกดูคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้นก่อนอยู่ดี และนี่ก็คงดีที่สุดแล้วในขณะนั้น.... ....อย่างน้อยความคิดแบบนี้ก็ช่วยปลอบใจอารมณ์ขุ่นมัวของผมได้นิดหน่อย

ผมมาปรอทแตกเอาตอนที่ป้าแกบอกว่า “พวกหมอสมัยนี้ไม่ได้เรื่องกันเลยซักคน น้องของหมอก็เหมือนกันดูแลให้ดี ๆ หน่อย อยากเป็นหมอกันจริงรึเปล่าเนี่ย”

เสียงเหมือนมีอะไรขาดฝึงในหัวผม ...ผมลุกยืน “ไม่ได้เรื่องยังไงครับ ... ผมว่าหมอสมัยนี้ กับสมัยก่อนก็ไม่ต่างกันหรอกครับ ... อย่ามาว่าเพื่อนและน้อง ๆ ผม .. ทุกคนอยู่ที่นี่ด้วยอุดมการณ์ ด้วยความตั้งใจทั้งนั้น ... ทุกคนทำเต็มที่ ... เมื่อคืนก็ไม่มีใครได้นอนเลยซักคน .... คุณเคยมาดูบ้างมั๊ย ....คุณเคยมาเห็นมั๊ย......คุณเคยรู้ไหมว่าคนไข้ล้นวอร์ดมากขนาดไหน ....หมอแต่ละคนตรากตรำกันแค่ไหน ....คุณนั่งแต่บริหาร ไม่เคยตรวจคนไข้ ไม่เคยมาดูพวกผมทำงานด้วยซ้ำ อย่ามาตัดสินว่าเพื่อนหรือน้องผมได้เรื่อง หรือไม่ได้เรื่อง ....ผมไม่มีอะไรจะพูดแล้ว” ผมหันหลังเดินออกจากห้อง ปิดประตูใส่ทันที ไม่สนใจว่าป้าแกจะว่าอะไร ช่าง:-) .... อยากไล่ออกเหรอ .... ก็เชิญสิ .... ออกแล้วหาคนมาตรวจแทนผมด้วยล่ะกัน .... ผมมีทางไปอยู่แล้ว รพ.เอกชนอีกมากที่ยังอยากได้หมอ ทางไปที่หรูกว่า สบายกว่า รายได้เยอะกว่า

ผมเข้าใจเพื่อนผมที่ลาออก .... เข้าใจ ... เข้าใจ ......ไม่เคยมองว่ามันไม่ดี ... แม้จะแอบเคืองบ้างว่าการลาออกของมันทำให้งานผมหนักขึ้น ...แต่ดีใจที่มันดูสุขสบายดี แถมยังมาชวนให้ผมไปอยู่สบาย ๆ ด้วย

คนมักประณามหมอที่อยู่เอกชนยังกะไปฆาตกรรมใครมา ..... บางองค์กรด่ายับไม่มีดี ........ผิดหรือที่อยากทำงานสบาย ... ผิดหรือที่อยากทำงานได้เงินเยอะ ๆ โดยไม่ได้ไปโกงใคร..... รักษาคนเหมือนกัน .... ผิดหรือที่อยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ ...มันผิดหรือที่ไม่อยากอดหลับอดนอน ....มันผิดหรือ ..... ผมรู้คำตอบตัวเองดี

ปัญหาแพทย์หนีออกนอกระบบยังมากขึ้นเรื่อย ๆ บัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลชุมชนห้าร้อยกว่าโรง ... มากกว่าครึ่งของแพทย์ที่อยู่ในนั้นคือแพทย์ใช้ทุน ...ที่หนีไปไหนไม่ได้ ..... เพราะติดทุน หรือติดว่าต้องเรียนต่อ (ผู้ใหญ่ออกกฎมาว่าหากจะเรียนต่อ ต้องใช้ทุนอย่างน้อย 1 ปีไม่งั้นไม่มีสิทธิเรียนต่อ) ผู้ใหญ่บางคนคิดวิธีแก้ปัญหาแพทย์หนีไปเอกชนตื้น ๆ ได้เพียงแค่ “ก็เพิ่มเงินค่าใช้ทุนไปสิ” จากเดิม สี่แสนบาท จะเพิ่มให้เป็นล้านกว่าบาท เพื่อไม่ให้แพทย์หนี ... ยังคงคิดได้กันเท่านี้ คิดแก้กันที่ปลายเหตุ .... เหมือนมีคน post รูปโป๊ลง hi5 ก็ปิด hi5 มันไปสิ อะไรแบบนี้ ต่อให้เป็นล้านนึง แต่ตราบใดที่ทำงานเอกชนแล้วได้เงินเดือนเดือนละเป็นแสน ล้านนึงก็ไม่ใช่ปัญหาหรอก รพ.เอกชนบางแห่งออกเงินให้ยืมแบบไม่มีดอกมาใช้ทุนเลยด้วยซ้ำ ... ขอให้ไปอยู่กับเค้า

ผมยังดีใจที่แพทยสภายังไม่บ๊องตื้นและคิดอะไรง่าย ๆ เพียงเท่านี้ .... อ.สมศักดิ์ พูดได้ถูกใจว่า แพทย์ใช้ทุนก็เหมือนนกถูกขังกรง กรงเปิดเมื่อไหร่ก็บินหนีไปหมด ... ผมขอเติมว่าเป็นนกที่ถูกขังกรง อดอาหาร อดหลับอดนอนอีกต่างหาก ... เพราะนกเหล่านี้รู้สึกว่าถูกขังกรง ไม่ได้รู้สึกว่าอยู่ในบ้าน ดังนั้นหากมีช่องกรงเปิดหนีได้ก็ย่อมหนี ... ทำยังไงให้นกเหล่านี้รู้สึกว่าเหมือนได้อยู่บ้าน ไม่อยากไปไหน บินไปก็อยากบินกลับมา .... น่าจะเป็นทางแก้ที่ดีกว่า


สองวันที่ผ่านมาช่างมีอะไรเกิดขึ้นมากมายจนไม่น่าเชื่อ ... ทั้งเรื่องเครียด เรื่องเศร้า เรื่องเจ็บปวด เรื่องโมโห และเรื่องสนุกสนาน ... .เป็นความทรงจำที่มีความหมาย ... ผ่านมานานยังไง ... ผมก็ไม่เคยลืมเลือน ... ยังจำได้ดีกับชิวิตแพทย์ต่างจังหวัด ... ยังจำได้ดีว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับชีวิตคนป่วย รอยยิ้ม การไหว้ ความดีใจ การโกรธ การชี้หน้าด่า ความไม่พอใจ .... ชีวิตที่ถือกำเนิดใหม่ ชีวิตที่ดับสูญไป ชีวิตที่ผ่านพ้นความตายอย่างฉิวเฉียด


บันทึกไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ มิ.ย. 2551

ผมอยากที่จะเชื่อ

จากคุณ : ผมอยากที่จะเชื่อ
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 14:07:50







แอบขอลงเพิ่มครับ (ท่อนที่ผมลงขาดไป)

16 : 00 น. ผมเดินกลับมาที่วอร์ด หว้าเข้ามาถามทันที
“เป็นยังไงมั่งพี่”


ผมเล่าไปตามที่เจอมา
“เจ๋งมั๊ก ๆ พี่ แหมน่าชวนหนูไปด้วยนะ จะได้ช่วยตบมือให้” หว้าพูดพร้อมตบมือให้

“นี่แหม ...นะ ... ขืนตบจริงหนูจะซวยล่ะสิ พี่น่ะลอยตัวแล้ว” ใจผมก็เสียว ๆ เหมือนกัน ผมไม่ได้กลัวถูกไล่ออกหรอก เพราะยังไงก็ไม่มีทางอยู่แล้ว แม้แต่จะลงโทษยังไม่มีทางด้วยซ้ำ ... แต่ผมกลัวการฟ้องมากกว่า เพราะมันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อและบั่นทอนกำลังใจคนเป็นหมอเยอะทีเดียว

บางทีผมก็คิดเหมือนกันว่าคุ้มรึเปล่าเนี่ย กับเงินเดือน สองหมื่นเศษ ๆ กับค่าเวรนิด ๆ หน่อย ๆ กับงานหนักขนาดนี้ เสียสุขภาพขนาดนี้ ต้องจากบ้านพ่อแม่มาอยู่จังหวัดที่ไม่เคยมาอยู่มาก่อน .... คุ้มไม๊ .... หรือผมลาออกไปอยู่เอกชนเหมือนที่เพื่อน ๆ ผมทำ ....

ขณะคิดอยู่เพลิน ๆ เพื่อนผมที่อยู่รพ.เอกชนในกรุงเทพโทรมาชวนเหมือนรู้ว่าผมคิดอะไรอยู่ มาชวนไปอยู่รพ.เอกชนด้วยกัน บอก

“แก เงินเดือนขั้นต่ำ 80,000 เชียวนะ ... นี่ไม่นับว่าเวรอีกนะแก .. ทำแค่ห้าวันวันละแปดชั่วโมง เหมือนแกทำทุกวันนี้แหละ... แต่คนไข้วันนึงไม่กี่คนเอง .... กลางวันว่างนั่งเล่นเน็ตได้เลย เน็ตฟรีด้วย .... ไม่มาจริงเหรอ ไม่นับค่าเวรคืนละสี่พันนะแก ... แกอยู่ที่นั่นไปสี่ห้าคืนได้เท่ากูอยู่ที่นี่คืนเดียวเองนะ .... “

บางทีคิดตามผมก็เคลิ้มไปบ้าง ... แต่ผมบอกมันไปว่า “ไม่เอาว่ะ ขอเป็นคนดีก่อน”

“แก ... คนดีกับคนโง่มันต่างกันด้วยเส้นบาง ๆ นะโว๊ย”
“ยังไงว่ะ” ผมสงสัย

“แกคิดดิ ... แกว่าคนที่ยอมอดหลับอดนอน ...เสียสุขภาพ ....เงินก็ได้นิดเดียว .... แถมทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ให้อยู่กันเองไม่ได้ดูแลอีก ไม่มีปัญญาส่งเงินเลี้ยงดู ... มันเรียกว่า คนดีหรือคนโง่วะ กับคนที่เลือกทำงานที่สบาย สุจริตเหมือนกัน ไม่ต้องอดหลับอดนอน ได้เงินเยอะ ๆ ได้มีเวลาอยู่กับพ่อแม่ มีเงินมากพอเลี้ยงพ่อแม่ได้ มันเรียกว่า คนเลวหรือคนฉลาดล่ะ”

ผมอึ้งไป .... ตอบไม่ถูก .... ไม่รู้เพราะคิดไม่ออกจริง ๆ หรืออดนอนจนหัวไม่แล่น รู้แต่ผมเถียงมันไม่ได้ในตอนนี้ แถมบางคำของมันช่างกระแทกใจดีจริง ๆ ถูกเลย....ถูก.....ที่ตอนนี้เงินเดือนผมมีปัญหาพอเลี้ยงตัวเองเท่านั้น ยังไม่พอที่จะเอาไปเลี้ยงคนอื่น .... บ้านผมก็ไม่ได้กลับมาเป็นเดือน ๆ แล้วเพราะเดือนนึงอยู่เวรสิบกว่าวัน ... จะหาวันว่างติดกันสองสามวันเพื่อกลับบ้านก็ยากเต็มที .... ไปกลับวันเดียวก็เหนื่อย

“เฮ้ย ถ้าเปลี่ยนใจเมื่อไหร่บอกนะเว้ย ... จะได้มาอยู่เป็นเพื่อนกัน” มันทิ้งท้ายไว้ก่อนวางหู

ผมเข้าใจเพื่อนผมที่ลาออก .... เข้าใจ ... เข้าใจ ......ไม่เคยมองว่ามันไม่ดี ... แม้จะแอบเคืองบ้างว่าการลาออกของมันทำให้งานผมหนักขึ้น ...แต่ดีใจที่มันดูสุขสบายดี แถมยังมาชวนให้ผมไปอยู่สบาย ๆ ด้วย

จากคุณ : ผมอยากที่จะเชื่อ
เขียนเมื่อ : 30 ม.ค. 55 15:30:14





ปล. แถม


สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=7&gblog=140


ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=15&gblog=37





 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2555 14:59:37 น.   
Counter : 39217 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]