Group Blog
 
<<
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 กันยายน 2558
 
All Blogs
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า (อริยวาส)

ภิกษุ ท.!
การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้.

สิบประการอะไรบ้างเล่า ?
สิบประการ คือ :-

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด, ประกอบพร้อมด้วยองค์หก, มีอารักขาอย่างเดียว, มีพนักพิงสี่ด้าน, เป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว, เป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว, เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว, เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว, เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี, เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุ ท.! (๑)
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะ, ละพยาบาท, ละถิ่นมิทธะ, ละอุทธัจจกุกกุจจะ และละวิจิกิจฉาได้แล้ว.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด.

ภิกษุ ท.! (๒)
ภิกษุเป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยองค์หก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา , ได้ฟังเสียงด้วยหู. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะอยู่ได้.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก.

ภิกษุ ท.! (๓)
ภิกษุเป็นผู้ มีอารักขาอย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบการรักษาจิตด้วยสติ.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่ามีอารักขาอย่างเดียว.

ภิกษุ ท.! (๔)
ภิกษุเป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาแล้วเสพของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้วอดกลั้นของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้วเว้นขาดของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้วบรรเทาของสิ่งหนึ่ง,

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน๑.

ภิกษุ ท.! (๕)
ภิกษุเป็นผู้ ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ถอนสละ คาย ปล่อย ละ ทิ้ง เสียแล้ว ซึ่งความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทาง
มากอย่างของเหล่าสมณพราหมณ์มากผู้ด้วยกัน ที่มีความเห็นว่า "โลกเที่ยง บ้าง,โลกไม่เที่ยง บ้าง, โลกมีที่สุดบ้าง, โลกไม่มีที่สุดบ้าง, ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น บ้าง, ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีก บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี บ้าง, ตถาคตภายหลัง
แต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ บ้าง.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทาง (ปัจเจกสัจจะ) ขึ้นเสียแล้ว.

ภิกษุ ท.! (๖)
ภิกษุเป็นผู้ ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามแล้ว, เป็นผู้ละการแสวงหาภพแล้ว. และการแสวงหาพรหมจรรย์ของเธอนั้นก็ระงับไปแล้ว.

ภิกษุ.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว.

ภิกษุ ท.! (๗)
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละความดำ ริในทางกามเสียแล้ว, เป็นผู้ละความดำ ริในทางพยาบาทเสียแล้ว, และเป็นผู้ละความดำ ริในทางเบียดเบียนเสียแล้ว.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว.

ภิกษุ ท.! (๘)
ภิกษุเป็นผู้ มีกายสังขารอันสงบรำ งับแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท .!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว.

ภิกษุ ท.! (๙)
ภิกษุเป็นผู้ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท .!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ,

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุ ท.! (๑๐)
ภิกษุเป็นผู้ มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณ ีนี้ ย่อมรู้ชัดว่า "เราละ ราคะ โทสะโมหะ เสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ไม่ให้มีไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป " ดังนี้.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุ ท.!
ในกาลยืดยาวฝ่ายอดีต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เป็นอยู่แล้วอย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็ได้เป็นอยู่แล้วในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุ ท.!
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็จักเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุ ท.!
ในกาลบัดนี้ พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำลังเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้นก็กำลังเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุ ท.!
การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้แล.
.
.
.
ทสก. อํ. ๒๔/๓๑-๓๔/๒๐.




 

Create Date : 28 กันยายน 2558
0 comments
Last Update : 28 กันยายน 2558 6:19:16 น.
Counter : 981 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.