Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 
30 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้

.




ภิกษุ ท. !
ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ..
- อะไรหนอเป็นเวทนา ?
- อะไรเป็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ?
- อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ?
- อะไรเป็นความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ?
- อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ?
- อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา ?
- อะไรเป็นโทษของเวทนา ?
- อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา ?



ภิกษุ ท. !
ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เวทนา ๓ อย่าง เหล่านี้คือ
- สุขเวทนา
- ทุกขเวทนา
- อทุกขมสุขเวทนา, เหล่านี้เรียกว่า เวทนา;

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะ ..
- ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ; ตัณหาเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา;
- ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ..
- - ความเห็นที่ถูกต้อง
- - ความดำริที่ถูกต้อง
- - การพูดจาที่ถูกต้อง
- - การทำการงานที่ถูกต้อง
- - การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง
- - ความพากเพียรที่ถูกต้อง
- - ความรำลึกที่ถูกต้อง
- - ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง;

(มรรค มีองค์ 8)

- สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น, สุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของเวทนา;
- เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใด, อาการนั้นเป็นโทษของเวทนา;
- การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนาเสียได้นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนาได้ ดังนี้.



*ภิกษุ ท. !
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน
- ว่า "เหล่านี้ คือ เวทนา ท.";....**
- ว่า "นี้ คือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา";...
- ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา"; ....
- ว่า "นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งเวทนา" :
- ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา"; ....
- ว่า "นี้ คือรสอร่อยของเวทนา"; .…
- ว่า "นี้คือโทษของเวทนา"; ....
- ว่า "นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนา"; ดังนี้.
.
.
.
บาลี สูตรที่ ๔ เวทนาสํยุตต์ สฬา.สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๙.

-----------------------------------------------
* บาลี สฬา. สํ.๑๘/๒๘๙/๔๔๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย

** ที่ใส่จุดๆ (....) ไว้เช่นนี้ ทั้งตรงนี้และต่อไป มีคำเต็มเหมือนข้างต้น คือเริ่มแต่คำว่า "ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ...(ถึงคำว่า)..มาแต่ก่อน"




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2555
0 comments
Last Update : 30 พฤษภาคม 2555 6:25:26 น.
Counter : 1472 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.