HR Management and Self Leadership
<<
กรกฏาคม 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
15 กรกฏาคม 2558

โครงสร้างเงินเดือนที่ทำไว้ บอกอะไรเราได้บ้าง

เรื่องของโครงสร้างเงินเดือนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกันอยู่เสมอว่า ควรจะมี หรือไม่ควรจะมีดี ในฝั่งที่บอกไม่เห็นจำเป็นต้องมี ก็มีเหตุผลของเขา เช่นกัน ในฝั่งที่มีโครงสร้างเงินเดือน ก็มีเหตุผลของเขาด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นฝั่งไหนก็ตาม สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ ความเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนมากกว่า ตัวโครงสร้างเงินเดือนเป็นแค่เพียงกรอบในการบริหารจัดการ และด้วยกรอบนี้ก็พยายามที่จะสร้างความเป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้างให้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือนจะไม่เป็นธรรมนะครับ เพียงแต่มันอาจจะต้องอาศัยคนในการบริหารมากกว่า อาศัยระบบ

ลองมาพิจารณาถึงสิ่งที่โครงสร้างเงินเดือนสามารถบอกเราได้ ว่ามีอะไรบ้าง เผื่อจะมองเห็นประโยชน์ของมันและช่วยท่านผู้อ่านในการตัดสินใจว่าจะมีหรือไม่มีโครงสร้างเงินเดือนดี

  • ช่วยให้เรามีกรอบในการจ่ายเงินเดือนที่ทัดเทียมกับตลาด การที่เรามีโครงสร้างเงินเดือนที่ดี จะเป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า ขณะนี้อัตราการจ่ายเงินเดือนของบริษัท เมื่อเทียบกับตลาดแล้ว เป็นอย่างไร ต่ำกว่า เท่ากับ หรือสูงกว่า จะได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจเรื่องการบริหารค่าจ้างเงินเดือนได้ดีขึ้น
  • ช่วยสร้างความเป็นธรรมในการจ่ายเงินเดือน โครงสร้างเงินเดือนที่ดี จะออกแบบโดยอยู่บนพื้นฐานของค่างาน ยิ่งงานในตำแหน่งใดที่มีค่างานสูง ก็จะมีแนวโน้มว่าจะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่าตำแหน่งที่มีค่างานต่ำกว่า ซึ่งก็ถือว่าสามารถสร้างความเป็นธรรมในการจ่ายเงินเดือนให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมในเรื่องของการทำงาน
  • ช่วยบอกเราในการบริหารความก้าวหน้าของพนักงานได้ หลายคนอาจจะไม่เคยมองว่าโครงสร้างเงินเดือนช่วยเรื่องการพัฒนาพนักงานได้ด้วยหรือ จริงๆ แล้วช่วยได้เยอะเหมือนกันนะครับ เนื่องจากตัวโครงสร้างเงินเดือนปกติจะมีค่ากลาง หรือที่เราเรียกกันว่า Mid-Point ซึ่งถือว่าเป็นค่าตลาดที่เราไปเทียบมา พนักงานคนไหนที่มีเงินเดือนอยู่ต่ำกว่าค่ากลางของโครงสร้างเงินเดือนมากๆ เรียกว่าอยู่แถวๆ minimum โดยปกติก็คือพนักงานที่เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ ก็จะเป็นตัวบอกเราได้ว่า พนักงานคนนี้ต้องถูกพัฒนาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตาม JD แต่ถ้าเงินเดือนพนักงานอยู่แถวๆ จะตันเพดานเงินเดือนแล้ว ก็เป็นสัญญานบอกเราได้ว่า พนักงานคนนี้เริ่มทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้างที่เราให้ไปแล้ว เพราะด้วยค่างานเท่าเดิม แต่เขาได้รับเงินเดือนที่สูงกว่าราคาตลาดมากแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อก็คือ จะทำอย่างไรให้พนักงานคนนี้ทำงานคุ้มค่ากับเงินเดือนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คำตอบก็คือ ต้องพัฒนาให้พนักงานคนนี้สามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นได ทั้งนี้ก็จะได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปได้อีกเช่นกัน แทนที่จะทำงานเดิมไปเรื่อยๆ แล้วเงินเดือนตัน เพราะไม่ได้รับการพัฒนาอะไร ก็เลยโตไปไหนไม่ได้ ผู้จัดการบางคนอาจจะอ้างว่า ก็เราไม่รู้เงินเดือนพนักงาน แล้วเราจะบริหารอย่างไร คำตอบก็คือ เราไม่จำเป็นต้องรู้เงินเดือน และโครงสร้างเงินเดือนเลยก็ได้ แต่ให้ฝ่ายบุคคลคำนวณตัวเลขตัวหนึ่งที่เรียกกว่า Compa Ratio ให้ ก็จะทำให้ผู้จัดการทราบได้แล้วว่าพนักงานคนนี้มีเงินเดือนอยู่ตรงไหนของโครงสร้างเงินเดือน จะได้บริหารจัดการกันต่อไปได้
  • ช่วยให้บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินเดือนสูงเกินกว่าค่างานของตำแหน่งงานนั้น เนื่องจากโครงสร้างเงินเดือนจะมีเพดานเงินเดือนคุมไว้ เพื่อไม่ให้พนักงานที่ทำงานแบบเดิมๆ แบบนี้ ได้รับการขึ้นเงินเดือนไปเรื่อยๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุด เงื่อนไขก็คือ ถ้ายังคงทำงานแบบเดิม และไม่รักที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น มีคุณค่ามากขึ้น และสามารถที่จะรับผิดชอบงานได้มากขึ้นแล้ว เงินเดือนก็จะต้องหยุดที่จุด maximum ของกระบอกเงินเดือนนั้น จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องของความโหดร้ายนะครับ แต่ผมกลับมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย คือบริษัทกับพนักงาน บริษัทยินดีที่จะจ่ายเงินเดือนสูงขึ้น แต่เงื่อนไขก็คือ จะต้องพัฒนาจนสามารถทำงานได้ที่ยากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน พนักงานเองถ้าอยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้รับการพัฒนา ก็ควรจะได้รับในอัตราเท่าที่ควรจะเป็น แต่ถ้าพนักงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เงินเดือนก็จะสามารถเติบโตขึ้นไปได้ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งผมมองว่า ก็ Win Win กันทั้งสองฝ่าย

การที่มีโครงสร้างเงินเดือนนั้น ไม่ได้แปลว่าเราสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้เงินเดือนพนักงานตัน เพราะองค์กรต้องการที่จะดึงดูดรักษาพนักงานมือดีอยู่แล้ว จะทำให้พนักงานเงินเดือนตันทำไม แต่เรามีโครงสร้างเงินเดือนขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้เรื่องของการจ่ายเงินเดือนเป็นระบบมากขึ้น มีความเป็นธรรมภายในบริษัทมากขึ้น อธิบายได้ว่าทำไมได้ หรือไม่ได้ และทำให้การดึงดูด และรักษาพนักงานมือดีๆ ทำได้ดีขึ้น

แต่เงื่อนไขที่สำคัญก็คือ จะต้องมีการบริหารจัดการโครงสร้างเงินเดือนที่ดีด้วย ไม่ใช่สร้างแล้วก็ปล่อยไว้ โดยไม่มีการบริหารให้อยู่ในระบบโครงสร้างเงินเดือน หรือไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนให้ทันสมัยเลย ทำไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ยังใช้ตัวเลขนั้นอยู่ ฯลฯ นี่คือข้อจำกัดของการมีโครงสร้างเงินเดือนครับ

มีแล้วไม่ใช้ก็เหมือนไม่มีจริงมั้ยครับ




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2558
0 comments
Last Update : 16 กรกฎาคม 2558 6:01:51 น.
Counter : 1039 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]