HR Management and Self Leadership
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
9 มิถุนายน 2557

แล้วปัจจัยอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานได้บ้าง

เมื่อวานนี้ได้คุยกันไปในเรื่องของการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน ว่า การที่พนักงานไม่มีแรงจูงใจในการทำงานนั้น เป็นเพราะเรื่องของค่าจ้างเงินเดือนจริงหรือ ซึ่งผมเองก็ได้อีเมล์จากท่านผู้อ่านเข้ามาตอบ และมาระบายให้อ่านอยู่ 2-3 คนว่า ที่ทำงานของเขานั้นจ่ายเงินเดือนสูงกว่าตลาดมาก แต่กลับไม่น่าทำงานเลย พนักงานทำงานแบบขาดความกระตือรือร้นมาก เพราะว่าการทำงานเต็มไปด้วยการเมืองในองค์กร และเต็มไปด้วยความไม่จริงใจของพนักงานด้วยกันเอง และของผู้บริหารองค์กร ผลก็คือพนักงานเก่งๆ ก็ทยอยลาออกกันไป ส่วนคนที่ไปไหนไม่ได้ ก็อยู่ทำงานแบบขอไปที เพราะรู้ว่าจ่ายสูงกว่าที่อื่น ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่มีงานทำ ผลก็คือองค์กรไม่สามารถสร้างผลงานได้อย่างเต็มที่เพราะขาดคนเก่งผลักดันผลงานขององค์กร

ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านเองก็คงได้อ่านเรื่องราวของการสร้างแรงจูงใจไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีต่างๆ หรืองานวิจัยที่มีนักวิชาการได้ทำเอาไว้ ล้วนแต่ตอบออกมาเหมือนกันว่า เงิน เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ในระยะยาว

ก่อนที่จะลงลึกไปกว่านี้ ต้องมานิยามคำว่าแรงจูงใจในการทำงานให้ชัดเจนก่อน คำว่าแรงจูงใจในการทำงานนั้นถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็คือ การที่พนักงานคนหนึ่งมีพลังและมีความตั้งใจที่อยากจะสร้างผลงานที่ดี และทำให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยากที่จะทุ่มเท และทำผลงานที่ดีที่สุด และเมื่อทำผลงานออกมาแล้ว ก็ยังอยากที่จะพัฒนาให้ผลงานออกมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย นี่คือ พนักงานที่มีแรงจูงใจในการทำงานและสร้างผลงาน

คำถามก็คือ ปัจจัยอะไรที่ทำให้พนักงานมีพลังแบบนั้นในการทำงานได้ งานวิจัยมากมาย ได้ย้ำให้เราเห็นว่า แรงจูงใจในแบบที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ต้องอาศัยปัจจัยอื่นในการสร้าง ไม่ใช่แค่เรื่องของค่าจ้างเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยทฤษฎีแรงจูงใจก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ค่าจ้างเงินเดือนเป็นแค่เพียงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตเท่านั้น ส่วนปัจจัยที่จะทำให้พนักงานอยากที่จะทุ่มเท สร้างผลงานที่ดี ทำงานหามรุ่งหามค่ำอย่างจริงจัง กัดไม่ปล่อยถ้างานที่ทำยังไม่ดีพอ ฯลฯ

  • ความก้าวหน้าในการทำงาน มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์แล้วว่า ถ้าพนักงานได้รับทราบว่าถ้าเขาทำงานได้ดี และทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องเขาก็จะได้รับความก้าวหน้าในการทำงานไม่ว่า จะเป็นเรื่องของตำแหน่ง หรืองานที่มีความท้าทายมากขึ้น เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้วคนเราชอบความท้าทายมาก และไม่ค่อยชอบทำอะไรที่จำเจอยู่นานๆ ดังนั้นถ้าองค์กรสามารถสร้างระบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพของพนักงานไว้อย่างชัดเจนก็จะทำให้พนักงานรู้ว่าตนเองมีเป้าหมายในการทำงาน และอยากที่จะทำงานให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ
  • ได้รับการยอมรับจากหัวหน้างาน ผู้จัดการและบริษัท อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้พนักงานรู้สึกอยากทุ่มเททำงานให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ก็คือ การที่พนักงานคนนั้นได้รับการยอมรับจากหัวหน้างาน หรือผู้จัดการของตนเองว่าเป็นพนักงานที่มีฝีมือ และมีคุณค่าต่อองค์กร ก็จะทำให้พนักงานคนนั้นรู้สึกดี และอยากที่จะทุ่มเททำงานให้ดีขึ้น เพราะถูกมองว่าตนเองเป็นความหวัง และเป็นที่พึ่งพาให้กับองค์กรได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหัวหน้างานมอบหมายงานที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร พร้อมกับบอกด้วยเขาเป็นกำลังสำคัญของความสำเร็จนั้น ก็จะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองต่อองค์กรมากขึ้นอีก พลังในการทำงาน และแรงจูงใจก็จะมากขึ้น
  • รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของงานที่ทำ การที่พนักงานรู้สึกว่างานที่ตนเองทำนั้น ตนเองคือเจ้าของงานนั้นจริงๆ โดยหัวหน้าได้ให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ดูแลเหมือนกับว่าตนเองเป็นเจ้าของงานนั้นจริงๆ หรือให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงานที่มีผลสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความท้าทายที่จะต้องทำงานให้สำเร็จ ยิ่งทำงานได้สำเร็จ ก็ยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองนั้นมีความภาคภูมิใจในการสร้างผลงานชั้นดีให้กับองค์กร
  • ได้รู้สึกถึงความสำเร็จในการทำงาน ถ้าพนักงานทำงานแล้วเกิดความรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จเวลาที่ทำงานเสร็จ ก็จะยิ่งทำให้พนักงานคนนั้นเกิดแรงจูงใจที่ดีในการทำงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ เวลาทำงานโครงการสักอย่างได้สำเร็จตามเป้าหมาย และแผนงาน พนักงานเองก็จะรู้สึกถึงความสำเร็จนั้น และอยากที่จะประสบความสำเร็จต่อไปอีก นี่คือความสำคัญของคำว่าเป้าหมายผลงาน ดังนั้นถ้าพนักงานมีภาพเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน และสามารถทำผลงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะยิ่งทำให้เขามีพลังในการที่จะสร้างผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีก ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเป้าหมายนั้นไปผูกกับเรื่องของรางวัลที่เป็นตัวเงินด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน หรือโบนัส ก็จะยิ่งเสริมแรงของความสำเร็จนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ดี การที่จะผูกความสำเร็จกับเรื่องของตัวเงินนั้นจะต้องระวังให้ดี ควรจะผูกกับความสำเร็จทางด้านผลงานตามเป้าหมายไว้ก่อน สร้างความภาคภูมิใจตรงจุดนี้ให้เกิดขึ้นกับพนักงานให้ได้ก่อน จากนั้นค่อยไปผูกกับเรื่องของค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ก็จะทำให้เสริมแรงได้ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าการที่เราจะสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในตัวพนักงานจริงๆ เราจะต้องสร้างปัจจัยที่มากกว่าตัวเงิน เข้ามาเสริมแรง เพราะธรรมชาติของคนเราลึกๆ แล้ว ต้องการความสำเร็จ ต้องการโดดเด่นกว่าคนอื่น และต้องการที่จะให้คนอื่นยอมรับเรา ถ้าทำได้จริง พนักงานคนนั้นจะมีแรงจูงใจในการทำงานแบบไม่มีวันหมดเลยครับ




Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 10 มิถุนายน 2557 6:45:54 น. 0 comments
Counter : 1035 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]