HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
9 สิงหาคม 2558

เลื่อนตำแหน่งเมื่อไม่พร้อม จะเกิดผลเสียอะไรขึ้นบ้าง

ผมเชื่อว่า คนที่เป็นผู้จัดการทุกคนที่มีลูกน้อง ย่อมจะต้องมีครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีการเสนอชื่อลูกน้องของตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น โดยที่เราคิดแค่เพียงว่า การเลื่อนตำแหน่งนั้นเป็นการให้รางวัลพนักงานที่มีผลงานที่ดี แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่ยังไม่มีความพร้อมนั้น มีแต่ผลเสียทั้งต่อตัวพนักงาน ต่อพนักงานในหน่วยงาน และต่อองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เคยได้ยินประโยคเหล่านี้บ้างหรือไม่ครับ

  • ในธุรกิจเลี้ยงสัตว์ “หัวหน้าคนใหม่คนนี้ คุยกะหมูรู้เรื่องหมดเลย แต่กับพวกเรากับคุยไม่รู้เรื่องเลยทั้งๆ ที่เป็นคนเหมือนกัน”
  • ในโรงงาน “ผู้จัดการคนนี้ดูจะเข้าใจเครื่องจักรทุกเครื่องดีจัง แต่กับลูกน้องอย่างเราทำไมถึงไม่เข้าใจกันสักที”
  • ในบริษัทคอมพิวเตอร์ “หัวหน้าทีมคนใหม่นี่นั่งมองคอมพิวเตอร์แล้วยิ้มให้ตลอด แต่กับพวกเราแกไม่เคยยิ้มให้เลยสักครั้ง”
  • ในธุรกิจ “ผู้เชี่ยวชาญคนใหม่นี่ได้ข่าวว่าเก่งมากนะ แต่ทำไมไม่เห็นเคยที่จะมาสอนงาน หรือให้คำแนะนำพวกเราบ้างเลย วันๆ เอาแต่นั่งทำงานคนเดียว ใครไปคุยด้วย หรือเอาปัญหาไปขอคำปรึกษาก็โดนด่าออกมาทุกคน”
  • ฯลฯ

comfort-zone-3ตัวอย่างข้างต้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจต่างๆ ที่ทำการเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงาน โดยที่เราไม่ได้เตรียมความพร้อมของเขาก่อน โดยเฉพาะตำแหน่งที่เป็นระดับหัวหน้างาน ซึ่งต้องดูแลทั้งงาน และคน เราลองมาดูผลเสียที่เกิดขึ้นกับการเลื่อนตำแหน่งให้พนักงานโดยที่เขายังไม่พร้อม ว่ามีอะไรบ้าง

  • เก่งงานเทคนิคแต่ไม่เก่งเรื่องคน จากตัวอย่างข้างต้น ก็คือผลเสียแรกที่เกิดขึ้น ในการเลื่อนพนักงานขึ้นมาเป็นหัวหน้า จากที่เดิมเคยเป็นพนักงานมือดี มีฝีมือในการทำงานมากๆ แต่เนื่องจากทำงานคนเดียว ก็เลยไม่มีปัญหาอะไร สามารถทำงานได้ตามที่นายสั่ง แต่พอขึ้นมาเป็นหัวหน้า มีลูกน้องที่ต้องดูแล โดยที่ไม่ได้มีการเตรียมเรื่องทักษะการบังคับบัญชา ก็เลยเป็นผลทำให้ไม่สามารถที่จะดูแลลูกน้องของตนเองได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ การสร้างทีมงาน
  • งานเดิมเสีย งานใหม่ไม่เดิน ผลเสียอีกประการหนึ่งก็คือ พนักงานมือดีที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นให้เป็นหัวหน้า โดยไม่พร้อมนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ งานเดิมที่ทำอยู่ก็เริ่มเสีย เพราะกลายเป็นลูกน้องเป็นคนทำ และลูกน้องเองก็ไม่ได้เก่งเท่า อีกทั้งหัวหน้าก็ไม่เคยสอนงานใครมาก่อน สุดท้ายงานนั้นก็ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ นอกจากนี้ งานใหม่ในฐานะที่เป็นหัวหน้า ก็ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากไม่รู้ว่าจะต้องวางแผนอย่างไร ควบคุมงานอย่างไร อีกทั้งเวลาลูกน้องมีปัญหาก็ไม่รู้ว่าจะต้องช่วยแก้ไขอย่างไร
  • หัวหน้าเหนื่อยขึ้น แต่ลูกน้องสบาย ผลเสียอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าไม่ได้เตรียมความพร้อมเรื่องการสอนงาน เวลาที่ลูกน้องมีปัญหาในการทำงาน และเข้ามาปรึกษา หัวหน้ามือใหม่ก็จะรับเอามาแก้ให้ และทำเองกะมือ เพราะเคยทำงานเหล่านี้มาก่อนอยู่แล้ว ก็ง่ายสำหรับเขา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สักพัก ปัญหาในงานของลูกน้องก็จะมาอยู่ในมือของหัวหน้าทุกอย่าง เพราะหัวหน้าเก็บไว้ทำเองหมด ไม่มีการสอนงานลูกน้อง สุดท้ายหัวหน้าก็จะงานล้นมือ งานตัวเองก็ไม่ได้ทำ งานลูกน้องที่ต้องแก้ก็ไม่เสร็จ งานโครงการเพื่อพัฒนาต่อยอด ก็ไม่ได้ริเริ่มทำอะไรเลย
  • แรงจูงใจของทีมงานหดหาย การดูแลพนักงานในทีมงานไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่เคยเป็นหัวหน้างานมาก่อน การที่จะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน จากคนที่ทำงานเดี่ยวๆ มาเป็นคนที่ต้องสร้างผลงานโดยอาศัยพนักงานคนอื่นทำงานให้ ซึ่งต้องใช้ทักษะในการบริหารคนหลายอย่าง อาทิ การสื่อความ การสร้างแรงจูงใจ การสร้างทีมงาน การสอนงาน การให้คำปรึกษาหารือ ฯลฯ หรือที่เราเรียกรวมๆ ว่า Soft Skills คนที่ขาดเรื่องนี้ จะเกิดความระส่ำระส่ายในทีมงาน พนักงานขาดแรงจูงใจ และไม่อยากที่จะพูดคุยกับหัวหน้า เพราะคุยทีไรได้เรื่องทุกที แทนที่จะได้งาน กลับกลายเป็นงานไม่เดิน เพราะพนักงานไม่มีพลังในการทำงาน

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว ก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งให้ใครก็ตาม สิ่งที่ผู้จัดการจะต้องทำก็คือ จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้ากัน 1-2 ปี โดยอาจจะกำหนดและวางแผนการพัฒนาพนักงานให้เป็นเรื่องเป็นราวที่ชัดเจน เช่นพนักงานในระดับเจ้าหน้าที่ที่มีความอาวุโสหน่อย ก็อาจจะเริ่มต้นให้ไปเรียนรู้เรื่องของการบริหารจัดการงาน จัดการคน การบริหารคน และทักษะทางด้าน Soft Skills ต่างๆ ให้มากขึ้น

นอกจากการอบรมแล้ว สิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องก็คือ การมอบหมายงานให้กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพในการเลื่อนตำแหน่งเหล่านี้ ได้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับคนอื่นๆ มากขึ้น อาจจะแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าโครงการอะไรสักอย่าง และให้มีลูกทีมที่เขาจะต้องบริหารจัดการ แล้วตัวผู้บังคับบัญชาก็ใช้การสังเกตการทำงานของพนักงานว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีอะไรไม่ดี ก็สอนงาน และให้คำปรึกษา เพื่อให้เขาพร้อมก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งให้

มิฉะนั้นอาจจะพบกับกรณีปัญหาข้างต้น แรงขึ้นอีกหน่อยก็คือ เราจะเสียพนักงานมือดีไป และได้หัวหน้ามือแย่ๆ มา และพอทำงานไปสักพัก เริ่มรู้ตัวว่าเป็นหัวหน้าไม่ได้ เราก็จะเสียพนักงานคนนี้ไปเลยตลอดกาล ในทางตรงกันข้าม ถ้าพนักงานคนนี้ยังทำงานต่อโดยขาดทักษะในการเป็นหัวหน้าที่ดี เราก็จะเสียพนักงานในทีมงานไปเรื่อยๆ เพราะหัวหน้าที่ไม่พร้อมนี่แหละครับ




Create Date : 09 สิงหาคม 2558
Last Update : 10 สิงหาคม 2558 5:52:02 น. 0 comments
Counter : 1649 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]