HR Management and Self Leadership
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
16 มิถุนายน 2556

เงินเดือนสูงกว่าตลาด ไม่ได้แปลว่า แข่งขันได้เสมอไป

ผมได้รับคำถามจากผู้อ่านในเรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือน คำถามมีอยู่ว่า บริษัทมีการเข้าร่วมการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน และได้ทำการเปรียบเทียบเงินเดือนของบริษัท กับเงินเดือนของตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินเดือนของบริษัทสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาดอยู่พอสมควร แต่ทำไม ยังคงมีปัญหาในการดึงดูดและรักษาพนักงานอยู่ดี ก็เลยอยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร

ผมเองก็ได้ลองสอบถามถึงรายละเอียดไปบ้าง ซึ่งก็มาทราบภายหลังว่า สิ่งที่บริษัทนั้นเทียบกับตลาดนั้นก็คือ เงินเดือนมูลฐาน ย้ำนะครับ เป็นเฉพาะแค่เงินเดือนมูลฐานเท่านั้น ซึ่งพอเทียบออกมาแล้วก็เห็นชัดเจนว่า เงินเดือนที่บริษัทให้กับพนักงานโดยเฉลี่ยนั้น สูงกว่าเงินเดือนมูลฐานของตลาดที่ได้มาจากผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนจริงๆ

พอเดาออกมั้ยครับว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน

ปัญหาก็คือ ในการเปรียบเทียบเรื่องของค่าจ้างเงินเดือน เพื่อจะดูว่าบริษัทเราแข่งขันได้หรือไม่นั้น เราจะต้องเทียบที่ค่าจ้างรวม ไม่ใช่แค่เทียบเงินเดือนมูลฐานเท่านั้น

คำว่าค่าจ้างรวม ก็คือ เอาเงินเดือน และเงินได้อื่นๆ ที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานเพื่อตอบแทนการทำงาน เข้ามารวมด้วย เช่น เงินโบนัสประจำปี เงินค่าตำแหน่ง เงินค่าวิชาชีพ ค่าจ้างจูงใจอื่นๆ ฯลฯ แต่จะไม่เกี่ยวกับเบี้ยกันดารนะครับ อันนี้ไม่ต้องเอามารวมครับ

และเวลาเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างว่าแข่งขันได้หรือไม่นั้น จะต้องเทียบค่าจ้างรวมของบริษัท กับค่าจ้างรวมของตลาด เพื่อดูว่าบริษัทเราแข่งขันได้หรือไม่นั่นเอง

การที่เราเปรียบเทียบเฉพาะเงินเดือน ทำให้เราไม่ได้พิจารณาถึงเงินได้อื่นๆ ที่คู่แข่งของเราให้อยู่เลย

เช่น บริษัทของเรามีเงินเดือนมูลฐานเฉลี่ยที่ 50,000 บาท เทียบกับมูลฐานของตลาดแล้วตลาดเท่ากับ 40,000 บาท พอเห็นแบบนี้ เราก็ดีใจว่า บริษัทของเราจ่ายเงินเดือนสูงว่าตลาด

แต่ถ้าเราเทียบค่าจ้างรวม ก็ปรากฏว่า บริษัทเราอยู่ที่ 55,000 บาท แต่ของตลาดอยู่ที่ 70,000 บาท ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบก็คือ เป็นไปได้แน่นอนครับ

กรณีที่ว่ามาข้างต้นนั้น แปลง่ายๆ ว่า บริษัทคู่แข่งในตลาดจ่ายค่าจ้างเสริมอื่นๆ มากกว่าบริษัทเรานั่นเอง

ถ้าบริษัทเราไม่เอาเงินได้อื่นเข้ามาเปรียบเทียบด้วย ก็จะทำให้เรามองไม่เห็นอัตราการแข่งขันจริงๆ ของบริษัทกับตลาดเลยครับ บางบริษัทดีใจมากที่เงินเดือนสูงกว่าตลาด แต่กลับหาคนไม่ค่อยได้ ก็เนื่องจาก เราจ่ายค่าจ้างเสริมอื่นๆ น้อยกว่าที่ตลาดเขาให้กันนั่นเองครับ

เวลาผู้สมัครเขาหางานเขาไม่ได้พิจารณาแต่เฉพาะเงินเดือนมูลฐานเพียงอย่างเดียว เขามักจะถามถึง โบนัส ค่าตำแหน่ง ค่านั่นค่านี่ ว่าบริษัทมีให้อะไรบ้าง เพื่อจะมาเปรียบเทียบกับที่ต่างๆ

ดังนั้นในการเปรียบเทียบอัตราการจ่ายค่าจ้างของบริษัทกับตลาดนั้น เราจึงไม่ควรเทียบแค่เพียงเงินเดือนมูลฐานเพียงอย่างเดียว เราจะต้องเทียบเงินได้รวมเป็นหลักเลย เพื่อจะดูว่า ในการแข่งขันกันตลาดนั้น เราสามารถแข่งขันได้หรือไม่

  • เงินได้รวม แข่งขันได้หรือไม่
  • เงินเดือนมูลฐานแข่งขันได้หรือไม่

โดยพิจารณาจากเงินได้รวมเป็นหลัก ถ้าเงินเดือนรวมเทียบเคียงกันได้ ก็แปลง่ายๆ ว่า อัตราค่าจ้างของบริษัทแข่งขันกับตลาดได้อยู่ แต่ไส้ในจะเป็นอย่างไรนั้นเราจะต้องมาพิจารณากันอีกที ในเรื่องของการวางโครงสร้างค่าจ้าง และโครงสร้างเงินเดือนนั่นเองครับ

บางบริษัทเทียบเคียงทั้งเงินได้รวม ให้แข่งขันได้ จากนั้นก็ค่อยมาดูเงินเดือนให้แข่งขันได้ ถ้าทั้งสองตัวแข่งขันได้กับตลาดทั้งคู่ ก็แปลว่า นอกจากเงินเดือนที่จ่ายใกล้เคียงกับตลาดแล้ว บริษัทยังพิจารณาให้เงินได้อื่น ไม่ว่าจะเป็นโบนัส หรือเงินจูงใจตามผลงานอื่นๆ พอๆ กับตลาดอีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ แสดงว่าบริษัทจ่ายแข่งขันกับตลาดได้เป็นอย่างดี

ปัญหาเรื่องของการดึงดูดและรักษาพนักงานด้วยระบบค่าจ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นประเด็นสำหรับบริษัทอีกต่อไป

คราวนี้ถ้าพนักงานยังคงไม่อยากอยู่ทำงานกับบริษัทอีก สาเหตุ ก็มาจากเรื่องอื่นแล้วล่ะครับ




Create Date : 16 มิถุนายน 2556
Last Update : 17 มิถุนายน 2556 6:25:15 น. 0 comments
Counter : 1143 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]