HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
26 สิงหาคม 2556

ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ไม่สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้


ปัจจุบันเรื่องของการรักษาคนเก่งทำงานในองค์กรนานๆ นั้นเป็นเรื่องที่หลายๆ องค์กรให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากองค์กรมีการลงทุนพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง และพนักงานเองก็มีทักษะ ความรู้ และความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรย่อมไม่ต้องการให้คนเก่งเหล่านี้ ออกไปทำงานที่อื่น ก็ต้องหาวิธีที่จะรักษาคนเก่งเหล่านี้ให้ทำงานกับองค์กรอย่างมีความสุข เพื่อให้เขาอยู่สร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง

คำถามก็คือ ปัจจุบันนี้ ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรท่านนั้น เป็นระบบที่รักษาคนเก่ง หรือ รักษาคนไม่เก่งกันแน่ กล่าวคือ มีระบบที่ทำให้คนเก่งอยากออกจากองค์กรโดยเร็ว หรือไม่ บางองค์กรคิดไปเองว่า ระบบของบริษัทนั้นเป็นระบบที่ดี และสามารถรักษาคนเก่งให้ทำงานได้ แต่เอาเข้าจริงๆ กลับกลายเป็นตรงกันข้ามทั้งหมด ลองมาดูกันนะครับว่าระบบอะไรบ้างที่ทำให้คนเก่งไม่อยากอยู่ทำงานกับองค์กร

  • ระบบประเมินผลงานที่ไม่ได้ดูที่ผลงาน ระบบแรกที่มักจะทำให้คนเก่งอยู่ทำงานกับองค์กรไม่ค่อยได้ก็คือ ระบบประเมินผลงานที่ไม่ได้ดูผลงานจริงๆ ของพนักงาน คนเก่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่สร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กร แต่ถ้าระบบประเมินผลงานขององค์กร ทำให้ผู้จัดการทั้งหลายใช้ความรู้สึก และความสนิทสนมส่วนตัวเป็นหลักในการประเมินผลงาน ก็จะทำให้คนเก่งเหล่านี้ไม่อยากอยู่กับองค์กร เพราะว่า ทำงานดีให้ตาย ผลงานก็ไม่เคยออกมาดีเลย
  • ระบบการขึ้นเงินเดือนที่ไม่มีความแตกต่าง ส่วนใหญ่เรื่องระบบค่าตอบแทนตามผลงานก็มักจะเป็นเรื่องของ โบนัส และการขึ้นเงินเดือนประจำปี ซึ่งถ้าระบบการตอบแทนผลงานเหล่านี้ ไม่ตอบแทนผลงานของพนักงานอย่างแท้จริง ก็จะทำให้คนเก่งรู้สึกว่า ทำงานไปก็เท่านั้น เพราะสิ่งที่ได้ตอบแทน ก็แทบจะไม่แตกต่างกับพนักงานที่ไม่ได้สร้างผลงานอะไรเลย เช่น สิ่งที่ผมเคยพบมาก็คือ อัตราการขึ้นเงินเดือนของพนักงานในแต่ละระดับผลงานมีความแตกต่างกันน้อยมาก เช่น ผลงาน A ได้ขึ้นเงินเดือน 6% ผลงาน B ได้ขึ้น 5.5% ผลงาน C ได้ 5% ผลงาน D ได้ 4.5% และสุดท้ายคือ E ได้ขึ้น 4% ลองพิจารณาดูสิครับ คนที่ทำงานได้ดีมากที่สุด กับคนที่ทำงานได้แย่ที่สุด กลับได้ขึ้นเงินเดือนในอัตราที่แตกต่างกันเพียง 2% เท่านั้น ถ้าเป็นลักษณะนี้จริงๆ คงไม่มีคนเก่งคนในไหนองค์กรที่อยากจะอยู่ทำงาน และสร้างผลงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายก็จะออกไปสร้างผลงานที่ดีกับองค์กรอื่น
  • ระบบการให้โบนัสที่ไม่สะท้อนผลงาน อีกเรื่องที่มักจะเป็นปัญหาที่ทำให้คนเก่งไม่ชอบใจ ก็คือ เรื่องของระบบการให้โบนัสของบริษัท ที่อ้างว่า ให้ตามผลงาน แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ให้เท่ากันทุกคนบ้าง ให้ตามอายุงานบ้าง หรือให้ตามอายุตัวบ้าง โดยที่ไม่ได้สนใจ หรือมองไปที่ผลงานของพนักงานจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้น คนเก่งที่พยายามสร้างผลงานที่ดี ก็ได้รับโบนัสที่พอๆ กับคนที่ไม่เก่ง หรือไม่สร้างผลงานอะไรให้กับองค์กรเลย ด้วยระบบนี้ คนเก่งก็อยู่ไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าไม่เกิดความยุติธรรม
  • ระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ไม่สะท้อนผลงาน อีกเรื่องที่มักจะมีปัญหาในการรักษาคนเก่งก็คือ ระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ที่ไม่ได้เอาผลงานมาเป็นเหตุ แต่กลับใช้เรื่องของความรู้สึกส่วนตัว ความสนิทสนม ความเป็นพรรคเป็นพวก ฯลฯ ในการเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานที่อยู่ในกลุ่มของตนเอง โดยไม่สนใจว่า คนอื่นที่มีความสามารถจะคิดอย่างไร

ระบบ 4 ระบบข้างต้น เป็นสิ่งที่ผมพบเจอมากับหลายๆ องค์กรที่นโยบายขององค์กรกำหนดชัดเจนว่า บริหารทรัพยากรบุคคลโดยเน้นไปที่ผลงาน แต่ในทางปฏิบัติจริง กลับบริหารตามใจผู้จัดการมากกว่า ใครอยากทำอะไรกับใคร หรือให้ใครได้ดี ก็ทำได้โดยไม่มีการดำเนินการตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่วางไว้เลย

เมื่อระบบเป็นแบบที่ว่ามา สิ่งที่จะเกิดขึ้นในองค์กรก็คือ ระบบเหล่านี้จะเน้นไปที่การทำให้คนไม่เก่งได้ดี ได้รับความก้าวหน้า ได้รับเงินเดือนขึ้น และโบนัส ที่สูงเมื่อเทียบกับคนเก่ง ซึ่งสุดท้าย แปลว่าระบบของบริษัทเน้นไปที่การรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่ไม่มีผลงานใดๆ เลย

ลองคิดดูสิครับ อนาคตของบริษัทจะเป็นอย่างไร




Create Date : 26 สิงหาคม 2556
Last Update : 27 สิงหาคม 2556 7:00:07 น. 0 comments
Counter : 955 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]