HR Management and Self Leadership
<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
8 กันยายน 2556

นโยบายทำงานที่บ้าน ทำให้ผลงานดีขึ้นจริงหรือ

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างมากมายในปัจจุบัน ทำให้การติดต่อสื่อสารกันเป็นไปอย่าง่ายดาย การที่จะคุยกับเพื่อนอีกคนที่อยู่กันคนละมุมโลก ทำได้ง่ายดายมากกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก และด้วยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลนี้เอง ที่ทำให้แนวโน้มของการบริหารทรัพยากรบุคคลเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อช่วยให้พนักงานทำงานได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และเอามาใช้สำหรับการสร้าง Work-Life Balance ได้อย่างดีอีกด้วย

แนวทางหนึ่งของการสร้าง Work-Life Balance ก็คือ การทำงานจากที่บ้าน ซึ่งเป็นนโยบายที่เริ่มมีหลายๆ องค์กรนำมาใช้มากขึ้น เพราะมีความคิดว่า นโยบายนี้จะช่วยให้พนักงานมี Work-Life Balance ที่ดีขึ้น ไม่ต้องเข้ามานั่งทำงานในบริษัททุกวัน ซึ่งถ้ามองกันในข้อดี ก็มีเยอะนะครับ เพราะทำให้พนักงานรู้สึกเครียดน้อยลง และสามารถที่จะบริหารจัดการงานและชีวิตส่วนตัวของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น 

แต่ทุกเรื่องย่อมมีข้อจำกัด เรื่องของการทำงานที่บ้านก็เช่นกัน ในมุมมองของหลายๆ คนมองว่า ถ้าเราให้พนักงานไปทำงานที่บ้านได้บ้าง ก็จะทำให้ Productivity ของพนักงานสูงขึ้น ได้ผลงานที่ดีขึ้น เพราะพนักงานสามารถบริหารจัดการเวลาของตนเองได้อย่างอิสระ แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเสมอไป การที่จะให้พนักงานทำงานที่บ้านได้นั้น เราจะต้องมั่นใจได้ว่า พนักงานจะต้องมีคุณลักษณะและองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • เป็นคนที่สามารถทำงานคนเดียวได้สบายๆ ถ้าพนักงานเป็นคนที่ทำงานคนเดียวไม่ได้ เป็นคนที่ชอบเข้าสังคม ต้องการเพื่อนในการพูดคุยด้วยเวลาทำงาน แบบนี้จะไม่เหมาะสำหรับให้ไปทำงานที่บ้าน เพราะไปแล้วจะไม่ได้งาน เนื่องจากเขาก็จะพยายามหาเพื่อนคุยอยู่ดี จนไม่สามารถที่จะทำงานได้เลยในวันนั้น ดังนั้นถ้าพนักงานคนนั้นเป็นคนที่ชอบเข้าสังคม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสั่งให้เขาไปทำงานที่บ้านก็ได้ครับ ให้เข้ามาทำงานในบริษัทจะดีกว่าเพราะจะเป็นผู้ที่สร้างสีสรรให้กับการทำงานมากกว่า
  • มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับบริษัทได้ ถ้าบ้านของพนักงานคนนั้นไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ไม่มีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเข้ากับของบริษัท ก็จะไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ อีกอย่างพนักงานจะต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคเหล่านี้ได้บ้าง เพราะช่างของบริษัทคงไม่ไปแก้ไขปัญหาให้กับพนักงานที่บ้านได้ทุกคน ดังนั้นถ้าจะมีนโยบายนี้ ต้องแน่ใจว่าบ้านของพนักงานมีความพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับระบบของบริษัทได้ด้วย
  • จะต้องเป็นพนักงานที่มีการบริหารเวลาที่ดี มีวินัยในตนเอง พนักงานที่จะทำงานที่บ้านได้นั้น สิ่งที่เขาจะต้องมีก็คือ การบริหารเวลาของตนเอง และการมีวินัยในตนเอง เพราะการทำงานที่บ้านนั้น จะไม่มีใครมาดูแล และคอยควบคุมการทำงานเหมือนกับในบริษัท เรามีอิสระในการทำงานมาก จะตื่นกี่โมงก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ในวันนั้น ซึ่งถ้าพนักงานคนนั้นไม่มีวินัยในตนเองในการบริหารเวลาแล้ว วันนั้นจะไม่มีผลงานออกมาเลย หรือถ้ามีก็น้อยกว่าผลงานที่ทำในบริษัท
  • ต้องมีพื้นที่สำหรับทำงานที่บ้าน สำหรับพนักงานบางคนที่ที่บ้านมีกิจการเป็นของตนเอง หรือมีญาติพี่น้องอยู่กันเยอะๆ ก็จะเป็นอุปสรรคในการทำงานอย่างมาก เพราะถ้ามีกิจการของครอบครัว ก็อาจจะไม่มีสมาธิทำงาน เพราะมีสิ่งรบกวนอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้าที่บ้านมีญาติพี่น้องอยู่กันเยอะๆ ก็มักจะถูกใช้ให้ไปทำโน่นทำนี่ ซึ่งวันนั้นทั้งวันอาจจะไม่ได้ทำงานอะไรเลยก็เป็นได้
  • งานจะต้องเหมาะสม และนำไปทำงานที่บ้านได้จริงๆ เรื่องของประเภทของงานก็มีส่วนสำคัญที่จะสามารถนำไปทำงานที่บ้านได้หรือไม่ ส่วนใหญ่งานที่สามารถนำไปทำที่บ้านได้นั้น มักจะเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดอ่าน การออกแบบงานต่างๆ อาทิ งานที่ปรึกษา งานเขียนโปรแกรม งานบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ งานขายทางโทรศัพท์ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นงานทางด้านการผลิต ที่จะต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักรใหญ่โต พนักงานกลุ่มนี้ก็ไม่สามารถที่จะทำงานที่บ้านได้ ดังนั้นในองค์กรหนึ่งจึงอาจจะมีพนักงานบางคนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ บางคนทำไม่ได้ ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ ก็อาจจะเกิดความขัดแย้งกันได้ เนื่องจากลักษณะงานที่แตกต่างกันไป

อย่างไรก็ดี การที่จะมีนโยบายทำงานที่บ้านนั้น องค์กรควรจะพิจารณาในเรื่องของคุณลักษณะของพนักงานมากกว่า ว่าเป็นคนที่มีวินัยในตนเองสักแค่ไหน และจะต้องมีการกำหนดความคาดหวังในผลงานที่ชัดเจนมากๆ ว่าในวันที่ทำงานที่บ้านนั้น รุ่งขึ้นจะต้องมีผลงานอะไรออกมาส่งให้ดูบ้าง

มิฉะนั้นแล้วสิ่งที่ผมเคยประสบมาก็คือ พนักงานจะคิดว่าวันที่ได้ทำงานที่บ้านนั้น ก็เหมือนเป็นวันหยุดอีก 1 วัน จะทำอะไรก็ได้ นอนตื่นสายๆ ทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ สุดท้ายงานก็ไม่ได้ทำสักนิด ผลงานก็ไม่ออก กลายเป็นว่า นโยบายนี้ไม่ได้ช่วยทำให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีขึ้นเลย กลับทำให้องค์กรต้องเสียผลงาน และเสียค่าจ้างเงินเดือนในอัตราปกติ แต่ได้ผลงานที่น้อยลงกว่าเดิมที่มาทำงานในบริษัท

นโยบายนี้เป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพียงแต่การนำมาใช้คงต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรของเราเองด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีครับ




Create Date : 08 กันยายน 2556
Last Update : 9 กันยายน 2556 6:59:54 น. 0 comments
Counter : 950 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]