HR Management and Self Leadership
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
10 มิถุนายน 2557

หัวหน้างาน มีผลต่อแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน

unlike-like

ได้เขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจมาสองวันแล้ว ก็ได้รับ feedback จากท่านผู้อ่านมามากพอสมควร ถึงวิธีการ และแนวทางในการสร้างแรงจูงใจ และยังทำให้ผมสังเกตเห็นว่าเรื่องของการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดขึ้นกับพนักงานนั้น เป็นเรื่องที่หัวหน้างาน และผู้จัดการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ลูกน้องทำงานให้เราด้วยความเต็มใจและพอใจ

มีท่านผู้อ่านหลายคนเขียนมาเพิ่มเติมว่า จริงๆ แล้วแรงจูงใจในตัวพนักงานนั้น สามารถเกิด หรือดับได้ ก็ด้วยฝีมือของหัวหน้างานของตนเองเป็นหลักเลย ถ้าพนักงานมีหัวหน้าที่ดี เข้าใจพนักงาน และเน้นทั้งคนและทั้งงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน พนักงานเองก็มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น แต่ถ้าตรงกันข้าม หัวหน้าไม่เคยที่จะใส่ใจลูกน้องเลย ไม่เคยคิดที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีแต่ทำให้เสียบรรยากาศ แบบนี้แรงจูงใจของพนักงานก็จะค่อยๆ หมดไปในที่สุด

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมหัวหน้างานจึงมีบทบาทสำคัญต่อแรงจูงใจขนาดนี้ คำตอบก็คือ เมื่อพนักงานตัดสินใจเข้ามาทำงานกับบริษัทแล้ว แสดงว่ายอมรับเงื่อนไขในเรื่องของค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการแล้ว เมื่อเริ่มงานที่พึ่งแรกที่จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าอยากทำงานหรือไม่อยากทำงานก็คือ หัวหน้างานโดยตรงของเขาเอง ถ้าเขามาทำงานวันแรก แล้วพบว่าหัวหน้างานของตนเอง ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจอะไรเลย มอบหมายงานเสร็จก็หายตัว บางแห่งหนักกว่านั้นอีก ก็คือ ไม่มีการมอบหมายงานใดๆ ให้เลย นั่งว่างงานอยู่เป็นเดือน แบบนี้พนักงานคนนั้นก็จะเริ่มขาดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว

แต่ถ้าเข้ามาทำงานแล้ว หัวหน้าของตนใส่ใจ และมีการชี้แจงเป้าหมายในการทำงาน เล่าให้ฟังถึงลักษณะงาน พร้อมทั้งสอนงานให้คำแนะนำ และติดตาม รวมทั้งมีคำพูดดีๆ ที่สร้างพลังใจให้กับพนักงาน พนักงานเองก็จะมีพลังในการทำงานมากขึ้น แรงจูงใจก็เกิดขึ้นได้

ผมขออนุญาตเอาคุณลักษณะของหัวหน้าที่ Ken Blanchard ได้เขียนไว้มาให้อ่านกันอีกรอบนะครับ ลักษณะหัวหน้างาน 5 แบบนี้เป็นหัวหน้างานที่ไม่สามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังทำลายแรงจูงใจของพนักงานลงไปอีกด้วย

  • หัวหน้าแบบแฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein) คงรู้จักกันดีนะครับ เป็นผีดิบที่มีชิ้นส่วนต่างๆ ของคนอื่นซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ดีๆ ทั้งนั้น แต่ขาดหัวใจและอารมณ์ ดังนั้นหัวหน้าประเภทนี้ก็คือ มีความเก่งในการทำงาน รู้ไปซะทุกเรื่อง แต่ขาดความรู้สึก เป็นเสมือนผีดิบ ขาดหัวใจ ขาดความใส่ใจในพนักงาน มุ่งเน้นแต่การทำงาน
  • หัวหน้าแบบ แดรกคิวล่า แวมไพร์ (Dracula the Vampire) รู้จักนะครับ แวมไพร์ ก็คือผีดูดเลือดหัวหน้าแบบนี้จึงเป็นหัวหน้าแบบสูบเลือดสูบเนื้อลูกน้อง อย่างเดียวเลยครับ เอาความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ ลูกน้องไว้ทีหลัง พยายามสร้างประโยชน์แก่ตนเอง โดยผ่านลูกน้องของตน ความสำเร็จทั้งหมดที่ได้ก็จะรับไว้เป็นผลงานของตนเองอย่างเดียวเลย สูบทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง พอหมดประโยชน์ก็ทิ้งขว้างทันที
  • หัวหน้างานแบบมัมมี่ (Mummy) มัมมี่ถูกผ้าพันไว้ ไม่มีความรู้สึกใดๆ นอนตลอดเวลา รอให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา หัวหน้างานแบบนี้ก็จะไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถามอะไรก็ไม่รู้ เป้าหมายของงานคืออะไร ก็ไม่รู้ ความคืบหน้าของงานเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกน้องถามอะไรก็ไม่รู้ สิ่งที่สำคัญก็คือ อย่าไปทำให้เขาโกรธนะครับ เพราะจะลุกขึ้นมาไล่บีบคอเราทันที
  • หัวหน้างานแบบแม่มดชั่วร้าย (Wicked Witch) แม่มดที่ร่ายมนต์ดำ มีเวทมนต์เสกสิ่งต่างๆ สาบแช่งสิ่งโดยที่คนที่ถูกสาบไม่เคยรู้เรื่องว่าใครเป็นคนทำ หัวหน้างานแบบนี้จะมีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังของสิ่งต่างๆ ในบริษัท เป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมาก เล่นการเมือง และเป็นผู้ส่งเสริม และคอยชักใยอยู่เบื้องหลัง พอเรื่องแดงขึ้นมา ก็ทำเป็นไม่รู้เรื่อง และไม่เคยมีใครจับได้แบบคาหนังคาเขาเลย
  • หัวหน้างานแบบหมาป่า (Werewolf) มี แต่ความเกรี้ยวกราดดุร้ายไร้เหตุผล หัวหน้างานแบบนี้จะมีแต่ใช้อารมณ์เป็นหลัก ไม่มีเหตุผลใดๆ ขึ้นเสียง เสียงดัง อีกทั้งยังไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เลย

แค่หัวหน้างานมีลักษณะแบบใดแบบหนึ่งตามข้อข้างบนที่กล่าวมา ผมเชื่อเลยว่า ไม่มีลูกน้องคนไหนมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างแน่นอนครับ




Create Date : 10 มิถุนายน 2557
Last Update : 11 มิถุนายน 2557 7:06:02 น. 0 comments
Counter : 1314 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]