HR Management and Self Leadership
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
20 พฤษภาคม 2556

ระบบ KPI ขององค์กรคุณเป็นอย่างไร

หลังจากที่รัฐบาลประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศประมาณ 40% ไปเมื่อปี 2555 และปรับให้เป็น 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศในปี 2556 ที่ผ่านมานั้น ทำให้องค์กรต่างๆ พากันหาวิธีการในการทำให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดให้ได้ และระบบหนึ่งที่ผู้ประกอบการเกือบทุกแห่ง พยายามนำเอามาใช้ เพื่อให้พนักงานสร้างผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ ก็คือ การตั้งตัวชี้วัดผลงานขึ้นมา เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำให้พนักงานรู้เป้าหมายในการทำงานของตนเองที่ชัดเจนขึ้น

แต่ในความเป็นจริงนั้น เรื่องของการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน ได้มีการทำมานานแล้ว องค์กรในบ้านเราส่วนใหญ่ ต่างก็พยายามกำหนดตัวชี้วัดผลงานกันขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายออกไป แต่ถ้าจะถามถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการตั้งตัวชี้วัดผลงานขึ้นมานั้น คำตอบก็คือ “ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาผลงานของพนักงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

เนื่องจากเราตั้งเป้าหมายให้กับพนักงาน จากนั้น เราก็พิจารณาความคืบหน้าของเป้าหมายตัวชี้วัดผลงานนั้น ว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนในแต่ละเดือน ถ้าพนักงานยังไม่สามารถทำได้ หรือมีแนวโน้มว่าจะทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หัวหน้าก็ต้องหาวิธีการในการพัฒนาลูกน้องของตนเอง ให้สามารถทำงาน และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้นให้ได้ นี่คือ วัตถุประสงค์หลักของการมีตัวชี้วัดผลงานขึ้น

แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว เกือบทุกองค์กรที่พยายามสร้างตัวชี้วัดผลงานขึ้นมา ก็เพื่อที่จะเอามาใช้เป็นเกณฑ์ในการให้รางวัล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้โบนัส และการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ซึ่งเมื่อไหร่ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ จะทำให้ระบบ KPI มีปัญหาทันที เพราะจะไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของมัน

กลับมาที่ระบบ KPI กันใหม่ จากประสบการณ์ที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปวางระบบบริหารผลงานให้กับองค์กรต่างๆ ทำให้ผมเห็นปัญหาในการใช้งานระบบนี้จากหลายๆ องค์กรที่ทำ KPI อย่างไม่ระมัดระวัง ลองมาดูกันว่า มีกรณีแบบไหนที่เกิดขึ้นได้บ้างสำหรับการทำ KPI ในองค์กร

  • กำหนด KPI โดยมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปกำหนดกันเอง และเอามานำเสนอให้ผู้บริหารอนุมัติ ลักษณะของ KPI ที่ถูกกำหนดด้วยวิธีนี้จะเป็นดังภาพข้างล่างนี้ กล่าวคือ ต่างฝ่าย ต่างก็กำหนด KPI ของตนเองขึ้นมา โดยไม่ได้ไปพิจารณาความเชื่อมโยงของ KPI ที่กำหนดขึ้นเหล่านี้เลย ผลก็คือ เกิดความขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ อาทิ ฝ่ายขายก็กำหนดว่าจะขายของให้ได้มากทีสุด ฝ่ายผลิตก็กำหนดว่าจะผลิตสินค้าประมาณเท่านี้ก็พอแล้ว พอเริ่มใช้จริงๆ ก็มีปัญหาทันที เพราะต่างฝ่ายต่างก็พยายามทำให้ได้ตาม KPI ที่ตั้งไว้ ฝ่ายขายก็พยายามขายให้ได้มากที่สุด แต่พอขายได้ ฝ่ายผลิตกลับผลิตไม่พอขาย เนื่องจากกำหนด KPI ไว้แค่เท่าที่ทำได้ ไม่ใช่แค่เพียง 2 หน่วยงานนี้เท่านั้นนะครับ ปัญหาความขัดแย้งกันในการทำงานจะเกิดขึ้นทั้งองค์กรเลย ยิ่งไปกว่านั้นถ้ามีการกำหนด KPI ของตำแหน่งงานขึ้นแบบต่างคนต่างกำหนดด้วยแล้ว องค์กรยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พนักงานบรรลุ KPI แต่องค์กรไปไม่ถึงไหนเลย ก็เป็นเหมือนภาพลูกศรที่ต่างคนต่างชี้ไปคนละทิศคนละทางนั่นเอง

  • กำหนด KPI ขององค์กร และถ่ายลงไปที่หน่วยงานเท่านั้น แบบที่สองนี้ เป็นแบบทำครึ่งๆ กลางๆ อาจจะเป็นเนื่องจากองค์กรยังไม่แน่ใจว่า การทำ KPI นั้นจะเกิดผลดีหรือไม่ดี ก็เลยกำหนด KPI ขององค์กรจากนั้นก็ถ่ายทอดลงในระดับของหน่วยงาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการต่างคนต่างตั้ง แล้วทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกันในแบบที่หนึ่ง ซึ่งก็พอช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาก็คือ KPI ในระดับของตำแหน่งงานอาจจะไม่มีการกำหนด หรือไม่มีการเชื่อมต่อลงมาจาก KPI ของหน่วยงาน ผลก็คือ คนทำงานไม่รู้ว่าเป้าหมายของตนเองที่จะต้องทำนั้นคืออะไร หรือ ต่างคนต่างกำหนดกันเอง ก็เลยทำให้การทำงานเกิดความขัดแย้งกันในระดับบุคคลอีกเช่นกัน กล่าวคือ พนักงานพยายามทำ KPI ของตนเอง โดยไม่สนใจว่า ของหน่วยงาน และขององค์กรจะเป็นอย่างไร สุดท้าย องค์กรก็บรรลุเป้าหมายบ้าง ไม่บรรลุบ้าง ดังภาพข้างล่าง

  • กำหนด KPI แบบเชื่อมโยงจากองค์กรลงสู่หน่วยงาน และลงสู่ตำแหน่งงาน แบบที่สามนี้ เป็นการกำหนด KPI โดยเริ่มต้นจากเป้าหมายสูงสุดขององค์กรก่อนว่าต้องการที่จะบรรลุอะไรในแต่ละปี จากนั้นก็กระจายเป้าหมายขององค์กรนั้นลงสู่แต่ละหน่วยงาน โดยให้แต่ละหน่วยงานคิดว่า ด้วยหน้าที่ของหน่วยงานตนเองนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ เมื่อกำหนดได้แล้ว ก็ใช้เป้าหมายของหน่วยงานเป็นตัวตั้ง จากนั้นก็กำหนดเป้าหมายของตำแหน่งงานทุกตำแหน่งในหน่วยงานนั้นๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน ด้วยวิธีนี้ อาจจะดูยากสักหน่อย แต่หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว เป้าหมายและ KPI ทุกตัวที่กำหนดขึ้น จะไม่ค่อยขัดแย้งกัน แต่จะมีการส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเดียวกันนั่นเองครับ ดังภาพข้างล่าง

แล้วองค์กรของท่านผู้อ่านล่ะครับ มีการกำหนด KPI แบบไหนครับ




Create Date : 20 พฤษภาคม 2556
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 6:31:57 น. 0 comments
Counter : 1686 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]