HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
8 ธันวาคม 2557

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงาน

employee-motivation

ทุกวันนี้ คุณมีแรงจูงใจในการทำงานหรือเปล่า อยากที่จะตื่นเช้าลุกขึ้นมาทำงานอย่างสดชื่น อยากที่จะมาทำงานด้วยความกระปรี้กระเปร่า มีไฟในตัวอยู่เสมอ หรือในทางตรงกันข้าม แทบไม่อยากลุกจากเตียงเลย ไม่อยากให้เช้า หรือ ลุกขึ้นไปทำงานด้วยความรู้สึกเหนื่อยหน่าย เบื่อ เซ็ง แต่ก็ต้องไป เพราะความจำเป็น

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ เป็นแบบไหน

จริงๆ แล้วการที่เราหมดแรงจูงใจในการทำงาน หมดพลัง หมดไฟ ฯลฯ ในการทำงานมันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งพนักงานแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน บางคนมีสาเหตุมาจากเรื่องหนึ่ง อีกคนมาจากอีกเรื่องหนึ่ง แต่เท่าที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ พร้อมกับได้นำการสัมมนาเรื่องของการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ก็พบว่า มีสาเหตุที่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญๆ ที่ทำให้แรงจูงใจของพนักงานลดหายไปได้อย่างรวดเร็ว ก็คือ

  • เรื่องของรางวัลตอบแทนที่ไม่เพียงพอ ปัจจัยแรกที่มักจะได้ยินจากพนักงานก็คือ เรื่องของรางวัลตอบแทนการทำงานที่ไม่เพียงพอ และไม่เป็นธรรม ไม่ใช่เรื่องของเงินเดือนนะครับ เพราะพนักงานตัดสินใจทำงาน ก็เพราะคิดว่าเงินเดือนน่าจะโอเคแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกหมดแรงจูงใจก็คือ การที่ได้รับรางวัลตอบแทนการทำงานที่น้อยเกินไป เมื่อเทียบกับความพยายามของตนเองที่ลงไป รวมทั้ง การให้รางวัลตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับผลงานที่พนักงานได้ทำไปนั่นเอง พนักงานบางคนมองเรื่องของเงิน และผลตอบแทนเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตของเขามาก ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเรื่องนี้กับพนักงาน ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม และกลายเป็นหมดแรงจูงใจที่จะทำงาน
  • สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน ปัจจัยถัดมาที่ทำให้แรงจูงใจของพนักงานหมดลงไปได้ก็คือ สภาพแวดล้อมในการทำงานในบริษัท เช่น เรื่องของความแออัดยัดเยียดของสถานที่ทำงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ไม่ครบ ไม่เพียงพอต่อการทำงาน เทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัย ทำให้งานออกมาไม่ได้ดั่งใจของพนักงาน รวมถึงสภาพความปลอดภัยในการทำงานที่พนักงานแต่ละคนจะต้องเผชิญ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่ทำให้พนักงานไม่อยากที่จะมาทำงาน เพราะเขารู้สึกว่าไปทำงานแล้วมันมีแต่ความไม่สะดวก ยิ่งไปกว่านั้นถ้าองค์กรเองคาดหวังผลงานที่ดี แต่กลับไม่มีเครื่องมือในการทำงานที่ดีพอ ก็ยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกหมดแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นไปอีก
  • ไม่มีแนวทางในการพัฒนาพนักงาน องค์กรที่ใช้พนักงานทำงาน โดยที่ไม่มีแนวทางในการพัฒนาพนักงานใดๆ เลย ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงานได้เช่นกัน เพราะทำงานไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะได้รับการพัฒนาอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้วพนักงานทุกคนล้วนต้องการที่จะทำงานได้ดี และเติบโตในองค์กร ซึ่งก็ต้องมีวิธีสำหรับการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้พนักงานมีความรู้ ทักษะในการทำงาน และพนักงานเองก็จะรู้สึกว่าอยู่ทำงานที่นี่แล้วเขาได้รับความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าพนักงานทำงานไปเรื่อย โดยที่องค์กรไม่ใส่ใจ ไม่สนใจที่จะพัฒนา มีแต่ใช้งานอย่างเดียว แบบนี้ พนักงานเองก็คงไม่อยากตื่นขึ้นมาทำงานกับองค์กรอย่างแน่นอน
  • ความขัดแย้งในทีมงาน อีกเรื่องที่ทำให้หมดแรงทำงานกันเลยก็คือ เรื่องของทีมงาน และเพื่อนร่วมงาน บางครั้งเกิดการเข้าใจผิดกัน โดยที่ไม่มีการพูดคุยกัน ต่างคนต่างคิดกันไปเอง ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกันไป โดยที่ลึกๆ แล้วอาจจะไม่ใช่ปัญหาอะไรที่ใหญ่โต แต่เนื่องจากแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป พอเกิดความขัดแย้งกัน พนักงานเองก็เริ่มที่จะไม่อยากมาทำงาน เพราะอาจจะไม่อยากเจอหน้าเพื่อนร่วมงาน ไม่อยากที่จะต้องคุยกัน หนักไปกว่านั้น บางคนก็พยายามที่จะแทงข้างหลังกันตลอดเวลา มีการใส่ร้ายป้ายสีกัน โดยที่ไม่มีมูลเหตุอะไรเลย สุดท้ายก็ทำงานด้วยกันไม่ได้ บรรยากาศแบบนี้ที่ทำให้พนักงานหมดแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างมาก
  • มีคนที่คิดลบมากเกินไป การทำงานในองค์กรที่มีพนักงานที่มีทัศนคติในแง่ลบมากเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หมดแรงจูงใจในการทำงานได้ เวลาที่เราคิดอะไร เสนออะไร แล้วโดนวิจารณ์แรงๆ แบบแย่ๆ ไม่เคยมีอะไรดีเลย มีแต่คนด่า ตำหนิ คิดอะไรก็ไม่ได้ ไม่ดี แถมยังไม่รู้ด้วยว่าอะไรที่ดีกว่านี้ คนแบบนี้ มีแต่จะทำให้คนอื่นหมดแรงจูงใจในการทำงานลงไปเรื่อยๆ
  • นายที่ไม่ดี เรื่องของนายหรือหัวหน้างานก็เป็นสาเหตุคลาสสิค อีกสาเหตุหนึ่ง หัวหน้างานบางคนที่ไม่เคยใส่ใจลูกน้อง ไม่เคยถามทุกข์สุข ไม่เคยที่จะติดตามงาน เวลาลูกน้องทำงานดี ก็ไม่เคยที่จะให้คำชม หรือลูกน้องทำผิด ก็ด่าแหลกแบบไม่ยั้ง ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่สามารถที่จะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีได้ ด้วยหัวหน้างานในลักษณะนี้ ก็จะทำให้พนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงานได้อีกเช่นกัน แล้วถ้าหัวหน้างานทุกคนในองค์กรเป็นแบบนี้หมด ลองคิดดูสิครับว่า พนักงานจะรู้สึกอย่างไรในการทำงาน

เมื่อเราทราบถึงสาเหตุที่เป็นตัวทำลายแรงจูงใจของพนักงานแล้ว ก็ไม่น่าจะยากในการที่จะหาแนวทางในการแก้ไขเรื่องเหล่านี้ ให้ดีขึ้น จริงๆ เรื่องที่แก้ไขยากที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องของความขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน เพราะถ้าเกิดแล้วคงแก้ลำบาก ต้องแก้ที่ใจของพนักงานแต่ละคน ต้องเปิดใจกันแบบกว้างจริงๆ เพื่อลืมอดีตที่เคยผิดพลาดกันไป แล้วหันมาเริ่มต้นกันใหม่ แต่ถ้าพนักงานคนนั้นยังคงมีทิฐิ ไม่ยอมที่จะเปิดใจ มันก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข

อีกเรื่องที่อาจจะแก้ไขยากหน่อย ก็คือ เรื่องของหัวหน้างานที่ดี จะทำอย่างไรให้หัวหน้างานทุกคนทุกระดับในองค์กรของเรา เป็นหัวหน้างานที่ดีได้ เรื่องนี้ก็เช่นกันต้องแก้ไขกันที่ตัวบุคคลเลย ถ้าหัวหน้างานคนนั้นยอมรับว่าตนเองยังขาดเรื่องอะไร และพยายามปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น แบบนี้ก็น่าจะไม่ยากในการที่จะทำให้แรงจูงใจพนักงานดีขึ้นได้

แต่ถ้าหัวหน้างานไม่ยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็น และไม่คิดที่จะแก้ไข ยิ่งไปกว่านั้นยังมองว่าตนเองถูกต้อง และดีอยู่แล้ว แม้ว่าในสายตาของพนักงานจะมองว่าไม่ดีก็ตาม ถ้าองค์กรของเรามีหัวหน้าแบบนี้เยอะๆ ก็คงต้องเริ่มทำใจกันได้เลยว่า พนักงานของเราคงหมดแรงจูงใจในการทำงานตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานอย่างแน่นอนครับ




Create Date : 08 ธันวาคม 2557
Last Update : 9 ธันวาคม 2557 7:16:15 น. 0 comments
Counter : 1378 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]