HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
3 กุมภาพันธ์ 2557

คุณตรวจสอบภูมิหลังของผู้สมัครงานสักแค่ไหน

ในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในบริษัทนั้น ทุกบริษัทต่างก็ต้องการคนที่เก่ง คนที่ดี และมีความสามารถในการทำงาน อีกทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กรด้วย ดังนั้นในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานในปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่ก็มักจะมีเครื่องมือในการสรรหาคัดเลือกมากมาย เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า เราจะได้คนที่ดี และเหมาะสมกับบริษัทของเรามากที่สุด

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการหาคนเข้าทำงานก็คือ เรามักจะให้ความสนใจกับเครื่องมือต่างๆ ในการคัดเลือกคนมากเกินไปสักนิด เช่น ถ้าเรามีแบบทดสอบความถนัด หรือแบบทดสอบทัศนคติของพนักงาน คนที่ทำหน้าที่คัดเลือกพนักงานก็มักจะเชื่อผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบนั้นๆ อย่างมาก บางครั้งเชื่อมากจนไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ เลย

ผู้สมัครบางคนได้ผลการทดสอบด้วยคะแนนที่สูงมาก และมีการตีความคะแนนที่สูงนั้นออกมาว่าเป็นคนเก่งคนดี มีอะไรดีๆ ฯลฯ ตามแต่แบบทดสอบนั้น แต่พอนัดมาสัมภาษณ์คุยกันสักพัก กลับรู้สึกตรงกันข้ามว่า เก่งอย่างที่ว่าจริงหรือ ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆ ท่านจะเชื่อแบบทดสอบ หรือจะเชื่อความรู้สึกของตนเองดีครับ

อย่างไรก็ดี ถ้าพนักงานคนนั้นผ่านเกณฑ์ต่างๆ ของเราที่กำหนดไว้ บริษัทก็จะรับเข้าทำงานทันที เท่าที่ผมเห็นในปัจจุบันนั้น บริษัทไม่ค่อยมีการตรวจสอบประวัติการทำงาน และภูมิหลังในเรื่องต่างๆ มากนัก ไม่ว่าจะเป็นความผิดต่างๆ ที่เคยทำไว้ หรือแม้กระทั่งเรื่องของสุขภาพของพนักงาน แม้ว่าจะมีการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเข้าทำงานก็จริง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการตรวจตามระเบียบข้อบังคับมากกว่าที่จะจริงจังกับเรื่องเหล่านี้

เคยพบเหตุการณ์ต่อไปนี้บ้างหรือไม่ครับ

  • พนักงานเข้ามาทำงานสักพัก ก็เริ่มป่วย ขอลาป่วย และมักจะขอลาป่วยต่อหลังจากที่มีวันหยุดยาวๆ หรือไม่ก็หลังจากหยุดเสาร์อาทิตย์ พอจันทร์ก็ป่วยต่อเลย ทำงานได้สักพักก็เริ่มปวดหัว ปวดท้อง ปวดต่างๆ นานา และเรียกได้ว่าป่วยมากจนผิดปกติ พอตรวจสอบเข้าจริงๆ ก็คือป่วยจริงๆ ไม่ได้แกล้ง แต่สุดท้ายผลงานที่ออกมาก็มักจะมีปัญหาขาดช่วงบ้าง ไม่ต่อเนื่องบ้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของคนอื่นอยู่พอสมควร
  • มีปัญหาต้องขอลาเยอะไปหมด อีกเรื่องที่อาจจะมีบางท่านที่พบเจอบ้างก็คือ พนักงานบางคนเข้ามาทำงานแล้ว ก็เริ่มขอลากิจบ้าง ลาพักร้อนบ้าง โดยเหตุผลที่ลาก็คือ ที่บ้านมีปัญหา ที่บ้านทะเลาะกัน ไปมีเรื่องมีราวกับคนอื่นจนพนักงานคนนี้ต้องลาไปเคลียร์ปัญหาเหล่านี้กับที่บ้านอยู่บ่อยๆ จนทำให้การทำงานมีปัญหาอีกเช่นกัน
  • มีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น พนักงานบางคนทำงานกับคนอื่นไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ตอนสัมภาษณ์ก็ดูปกติดีนะครับ แต่พอเริ่มทำงานก็เริ่มแสดงอาการบางอย่างให้เห็น เช่น เริ่มทำตัวแปลกแยก ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร เวลาที่หัวหน้าตำหนิอะไรเล็กๆน้อยๆ ก็รู้สึกเสียใจมาก เก็บไปคิดมาก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ร้องไห้ไม่หยุด ใครปลอบก็ไม่ได้ จนบางครั้งต้องไปหาหมอเพื่อรักษาทางจิตใจมากกว่าทางร่างกาย ซึ่งสุดท้ายก็ส่งผลต่อการทำงานอีกเช่นกัน
  • มีประวัติที่ไม่ดีมาก่อน ในกรณีนี้บางบริษัทก็ไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะรับพนักงานเข้ามาทำงาน พนักงานบางคนเคยเป็นหัวหน้าแก๊งนักเลงมาก่อน พกมีด พกปืน เวลามีเรื่องก็ยังต้องออกไปทำหน้าที่หัวหน้าแก๊งแถวบ้าน จนมีเรื่องมีราวมากมาย และเคยขึ้นโรงขึ้นศาล เคยติดคุกมากก่อน ด้วยพฤติกรรมที่ไม่ดี จนทำให้เวลาทำงานก็เอานิสัยแบบนั้นมาใช้ในที่ทำงานด้วย ปัญหาก็จะเกิดขึ้นตามมาอีกเช่นกัน

จากเหตุการณ์ต่างๆ ข้างต้น ผมคิดว่าสิ่งที่ HR ควรจะทำก่อนที่จะรับพนักงานเข้ามาทำงานก็คือ การตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการทำงานในอดีต ประวัตทางด้านสุขภาพในการทำงานของพนักงาน ทั้งสุขภาพกาย และใจ รวมทั้งประวัติครอบครัว และประวัติของตัวพนักงานเองว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมต่างๆ มาก่อนหรือไม่

ถ้าสงสัยว่าจะตรวจสอบอย่างไร ก็ขออนุญาตผู้สมัครโดยตรงเลยว่า จากบุคคลที่อ้างอิงมาในใบสมัครนั้น จะขอโทรไปพูดคุยเพื่อสอบถามรายละเอียดบางอย่างจะได้หรือไม่ ซึ่งปกติทั่วไปผู้สมัครมักจะบอกว่าไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ถ้าบางคนแสดงอาการอ้ำอึ้ง และไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าน่าจะมีอะไรที่ไม่ปกตินัก แล้วค่อยตัดสินใจว่าเราจะรับหรือไม่รับ ลองชั่งน้ำหนักดูจากรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม

มิฉะนั้นท่านก็จะประสบกับปัญหาอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น และจะมีผลอย่างมากต่อการบริหารงาน และบริหารคนของบริษัทในระยะยาวครับ




Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2557 6:28:45 น. 0 comments
Counter : 961 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]