HR Management and Self Leadership
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
24 มิถุนายน 2556

ทำไม CEO กับ Employee Engagement จึงไปกันคนละทาง

พูดถึงเรื่องของความรู้สึกผูกพันของพนักงานกับองค์กร หรือที่เรียกกันว่า Employee Engagement นั้น ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่มักจะมองว่ามีความสำคัญต่อผลงานขององค์กรเป็นอย่างมาก ถ้าองค์กรสามารถสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นกับพนักงานส่วนใหญ่ขององค์กร และพนักงานที่เป็น Talent ขององค์กร ก็จะทำให้ผลงานขององค์กรก้าวกระโดดไปได้อย่างดี อีกทั้งพนักงานก็ยังมีความสุขในการทำงานในองค์กรอีกด้วย

ดังนั้น ฝ่ายบุคคลขององค์กรในปัจจุบันจึงพยายามที่จะนำเสนอ และขายความคิดเรื่องของ การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กรให้กับ CEO ของตน เพื่อที่จะช่วยกันสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นกับบริษัท

แต่ CEO ประมาณ 60% กลับมองว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไกลตัว และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทฤษฎีเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในทางปฏิบัติเลย ก็เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก สาเหตุที่ทำให้ CEO คิดแบบนี้ก็เนื่องมาจาก

  • มองว่า Engagement เป็นเรื่องไกลตัว ใช้เวลาในการสร้างนานเกินไป CEO ส่วนใหญ่เข้ามาทำงาน ก็ต้องมีการตกลงผลงานกับกรรมการของบริษัทว่าในแต่ละปีจะต้องสร้างผลงานอะไรบ้าง ต้องได้กำไรเท่าไหร่ ยอดขายต้องเป็นเท่าไหร่ พอเห็นดังนั้น สิ่งที่ CEO ดำเนินการก็คือ พยายามสร้างผลงานในระยะสั้นๆ ที่ตกลงกับทางกรรมการบริษัทไว้ โดยไม่สนใจว่า การสร้างฐานความมั่นคงในการทำงานของพนักงานนั้น มีความสำคัญมาก แม้ว่าจะต้องใช้เวลาสร้างนานมาก แต่ผลจะคุ้มค่ามากมาย แต่อย่างว่า CEO ก็พยายามสร้างผลงานระยะสั้นๆ เพื่อที่จะได้ให้คณะกรรมการมองเห็นถึงผลงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการสร้างความผูกพันของพนักงานซึ่งเป็นนามธรรมเกินไป จับต้องแทบไม่ได้เลย
  • มองว่า Engagement เป็นเพียงสิ่งในอุดมคติ CEO ที่เข้ามาบริหารองค์กรบางส่วนก็มองว่า การที่ทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันต่อองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่มีในอุดมคติเท่านั้น ในทางปฏิบัติไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้จริง พนักงานเข้ามาทำงาน ต่างก็ต้องการเงินเดือน และค่าตอบแทนต่างๆ เป็นรางวัลในการทำงาน ดังนั้น ให้แค่เงินเดือนและสวัสดิการให้เพียงพอแก่พนักงานก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้พนักงานสร้างผลงานให้กับองค์กรได้ ไม่เห็นจำเป็นต้องไปลงทุนสร้างความผูกพันอะไรให้มันยุ่งยาก อีกทั้งก็ไม่รู้ว่าจะสร้างสำเร็จได้จริงหรือเปล่าด้วย
  • มองว่าพนักงานหาเมื่อไหร่ก็ได้ CEO บางคนมองเรื่องของการบริหารคนเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ไม่พอใจพนักงานคนใด หรือพนักงานคนไหนที่ผลงานไม่ดี ก็ไล่ออกไป แล้วหาใหม่ ก็แค่นั้น ไม่เห็นต้องไปทำอะไรที่มันยุ่งยากเลย มีคนต้องการทำงานกับบริษัทมากมาย เราจะไปหาเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วทำไมต้องลงทุนตั้งงบประมาณตั้งมากมาย สำหรับมานั่งวัดความผูกพันของพนักงาน แถมยังต้องจ้างที่ปรึกษาแพงๆ มาเพื่อที่จะมาบอกเราว่า องค์กรของเรานั้น พนักงานยังไม่มีความผูกพันเลย ถามหน่อยเถอะว่า พนักงานที่ผูกพันกับองค์กรนั้นมีจริงๆ หรือ องค์กรเราก็เป็นแบบนี้ ใครไม่อยากอยู่ ก็ไป เราก็หาใหม่ นี่ก็คือ วัฏจักรปกติของการบริหารองค์กร สรุปแล้วก็คือไม่ต้องไปสนใจเรื่องของ Engagement มากนัก ทำงานสร้างผลงานดีกว่า
  • มองว่า Engagement เป็นงานของฝ่ายบุคคล CEO บางคนเชื่อว่า งานในการสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กรนั้นเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคลแต่เพียงผู้เดียว CEO และผู้บริหารคนอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับงานนี้ ก็เลยไม่ต้องทำอะไร ไม่สนับสนุนอะไร ต่างกันต่างก็ทำงานกันไป โดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพราะคิดกันไปในทางเดียวกันว่า นี่คืองานของ HR

ด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็เลยทำให้องค์กรไม่ค่อยที่จะประสบความสำเร็จกับการสร้างความผูกพันของพนักงานมากนัก CEO บางคนก็พูดชัดเจนว่า พนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไรที่จะส่งเสริมให้พนักงานเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งเกิดความรู้สึกรักและผูกพันต่อองค์กรด้วยเลย

CEO ที่คิดแบบนี้ เชื่อมั้ยครับว่า ตัว CEO เองก็ยังไม่ผูกพันต่อองค์กรที่ตนเองบริหารอยู่เช่นกันครับ




Create Date : 24 มิถุนายน 2556
Last Update : 25 มิถุนายน 2556 6:21:43 น. 0 comments
Counter : 1149 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]