HR Management and Self Leadership
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
12 เมษายน 2556

ฝึกอบรมแบบไหนดีกว่ากัน

เรื่องของการฝึกอบรม ก็ยังคงเป็นแนวทางในการพัฒนาพนักงานที่ทุกองค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานที่ได้ความนิยมอย่างมาก เพราะเมื่อไหร่ที่คิดถึงเรื่องของการพัฒนาพนักงาน การฝึกอบรมก็จะต้องถูกคิดถึงก่อนเป็นเรื่องแรก และแนวโน้มของวิธีการฝึกอบรมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เริ่มมีเทคนิคต่างๆ  มีลูกเล่น มีกิจกรรมประกอบการฝึกอบรม เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรม เกิดความเข้าใจ และไม่เบื่อ

แต่ระยะหลังๆ สิ่งที่ผมในฐานะที่เป็นวิทยากรคนหนึ่ง ที่มักจะได้รับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการฝึกอบรมติดต่อเข้ามาที่บริษัท สิ่งที่ผมได้ยินมาค่อนข้างมาก็คือ

“หลักสูตรที่ต้องการจัดทุกหลักสูตร ของอาจารย์ที่พูดได้ฮาๆ เลย เอาแบบขำกลิ้งได้ยิ่งดี” หรือ

“อาจารย์ที่สอนตลกมั้ย ถ้าไม่ตลกไม่เอานะ” หรือ

“เนื้อหาไม่เน้น เน้นฮา”

ฯลฯ

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคิดอย่างไรกับคำพูดเหล่านี้ที่เป็นความต้องการของคนที่ต้องการจัดฝึกอบรม เพื่อสร้างความรู้และทักษะให้กับพนักงาน

จากประสบการณ์ที่ผมเองก็เคยเป็นผู้ถูกฝึกอบรม และถูกส่งไปเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ สิ่งที่เคยพบเจอมาก็มีดังนี้

  • เข้าเรียนในหลักสูตรการเป็นหัวหน้างานที่ดี วิทยากรพูดได้สนุก ฮามากมาย มีเรื่องตลกมาเล่าให้ฟังอยู่ตลอดเวลา แต่พอเรียนจบ เราก็มานั่งทบทวนดูว่าเราได้อะไรกลับมาบ้าง เมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ไปเข้าเรียน ปรากฏว่า ไม่ได้อะไรกลับมาเลยครับ
  • เข้าเรียนในหลักสูตรที่เข้มข้นมาก มีหลักการทางวิชาการมากมาย มีแบบทดสอบ มีแบบฝึกหัด มีกรณีศึกษาให้คิด เวลาเรียนไม่ค่อยสนุกหรอกครับ เพราะมีแต่เรื่องราวทางวิชาการต่างๆ แต่พอกลับมาทำงาน กลับรู้สึกว่า ได้อะไรมามากมายสำหรับการทำงาน และการต่อยอดการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นได้อีกเยอะเลย
  • เข้าเรียนในหลักสูตรที่มีเนื้อหาที่เข้มข้น และมีกรณีศึกษาที่ชัดเจน และวิทยากรก็สามารถบรรยายได้อย่างสนุกน่าฟัง ไม่ออกนอกเรื่อง ตัวอย่างที่ยก ก็สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน พอกลับมา ก็ถือว่าได้ทั้งความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจนด้วยกรณีศึกษา และตัวอย่างที่ผู้บรรยายยกมาให้ฟัง

3 ลักษณะนี้ท่านผู้อ่านชอบแบบไหนครับ

ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะชอบแบบที่ 3 แต่วิทยากรและหลักสูตรในแบบที่ 3 นี่หายากมากครับ บางครั้งหาได้แต่ราคาที่เสนอมาก็สูงหน่อยซึ่งบริษัทอาจจะไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยกลายเป็นว่าเลือกแบบที่ 1 ดีกว่า เพราะฮาดี ค่าตัววิทยากรก็ไม่แพงนัก แถมผู้เรียนยังประเมินให้กับฝ่ายฝึกอบรมว่าจัดอบรมหลักสูตรได้ตลกดีอีกด้วย พนักงานส่วนใหญ่ก็ชอบ

แต่ความรู้ล่ะครับ เป้าหมายของการฝึกอบรมก็คือการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับพนักงาน แต่การอบรมแบบที่ 1 นั้น บริษัทเสียเงิน แล้วถามว่าได้อะไรกลับมาบ้าง เรื่องนี้จะต้องพิจารณาให้ดีนะครับ เนื่องจากในระยะนี้ และในอนาคตข้างหน้า เรื่องของการบริหารต้นทุน และการบริหารเงินลงทุนต่างๆ นั้น จะต้องมีผลตอบแทนมากขึ้น จะต้องคุ้มค่ามากขึ้น และตอบวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้มากขึ้นด้วย

ผมคิดว่าการที่เราจะเลือกแนวทางในการฝึกอบรมว่า จะเป็นแนวไหนดี วิชาการ ตลกไปเลย หรืออย่างไรดีนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับตัวหลักสูตรที่เราต้องการจะจัดด้วย บางหลักสูตรมันตลกไม่ได้จริงๆ แต่สามารถที่จะหากรณีศึกษามาเล่าให้เข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน บางหลักสูตรอาจจะตลกได้

สิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนก็คือ หลักสูตรที่จะอบรมนั้น อบรมไปแล้วจะได้อะไร แล้วก็คงต้องวัดผลกันจริงๆ จังๆ ว่าได้ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้หรือเปล่า

แล้วท่านผู้อ่านละครับ คิดว่าจะอบรมกันแนวไหนดีกว่ากันครับ




Create Date : 12 เมษายน 2556
Last Update : 12 เมษายน 2556 6:58:22 น. 0 comments
Counter : 1715 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]