HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
9 พฤศจิกายน 2557

การเก็บรักษาพนักงาน เรื่องที่ดูเหมือนจะง่ายในการบริหารทรัพยากรบุคคล

human-resource-management

ทุกวันนี้เรื่องของการเก็บรักษาพนักงาน หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Employee Retention นั้น เป็นเรื่องที่เกือบทุกองค์กรมีการพูดถึงอยู่ตลอด ทุกๆ องค์กรต่างก็อยากที่จะเก็บรักษาพนักงานที่มีฝีมือ หรือที่เราเรียกว่า Talent ไว้ให้ทำงานกับองค์กรให้นานที่สุด และสร้างผลงานที่ดีที่สุดให้กับองค์กร แต่เรื่องของการเก็บรักษาพนักงานนี้ เป็นเรื่องที่ศึกษากันมานาน แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่เป็นหลักการได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ก็เนื่องจาก เป็นเรื่องของความรู้สึกของคนที่ทำงานในองค์กร ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีความรู้สึกชอบ ไม่ชอบที่แตกต่างกันออกไป และคงจะยากที่องค์กรจะสามารถตอบสนองสิ่งที่พนักงานต้องการได้ครบทุกคน

ผมอ่านเจอบทความหนึ่งของ TCii Strategic and Management Consultants ซึ่งได้วิจัยและศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ Employee Retention และเขียนสรุปออกมาได้อย่างน่าสนใจ ก็เลยขออนุญาตนำมาถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน

งานวิจัยชิ้นนี้ได้สรุปสาเหตุของการที่พนักงานอยากลาออกจากงาน และองค์กรไว้ 5 ประการดังต่อไปนี้

  • “It doesn’t feel good around here” ก็คือ พนักงานรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจ อึดอัด ฯลฯ ในการทำงานในองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุมาจาก วัฒนธรรมองค์กรที่ไมสอดคล้องกับพฤติกรรมหลักของพนักงานคนนั้น ก็คือ ไม่สามารถที่จะทำงานกับองค์กรแบบนี้ได้ เนื่องจากนิสัยส่วนตัว กับสิ่งที่องค์กรเป็นนั้นไม่ได้ไปด้วยกัน นอกจากนั้นก็มีสาเหตุมาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ทีมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างกันขึ้น หรือบรรยากาศในการทำงานร่วมกันมันชวนอึดอัด ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออกจากองค์กร
  • “They wouldn’t miss me if I were gone” พนักงานที่รู้สึกว่า องค์กร หรือผู้บริหาร หรือหัวหน้า ไม่ให้ความสำคัญกับเขา เขาก็ไม่อยากอยู่ทำงานด้วย เมื่อไหร่ที่พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสำคัญอะไรในองค์กรเลย หรือไม่ได้รับความรู้สึกถึง Self Esteem ว่าตนเองมีส่วนในความสำเร็จขององค์กรอย่างไรบ้าง พนักงานกลุ่มนี้ แม้ว่าเราจะให้เงินเดือนเขาสูงแค่ไหน ก็ไม่สามารถที่จะดึงเขาไว้ได้อย่างแน่นอน ปกติคนเราล้วนต้องการความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่องาน หรือต่อหน่วยงาน และต้องการได้รับการยอมรับจากทั้งเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานโดยตรงของตนเอง
  • “I don’t get the support I need to get my job done.” ก็คือ ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการที่จะทำให้ผลงานของพนักงานออกมาได้สำเร็จตามที่องค์กรต้องการ ปกติแล้วองค์กรจ้างพนักงานเข้ามา ก็อยากได้ผลงานจากพนักงาน พนักงานเองก็ต้องการที่จะแสดงความสามารถของตนเองให้องค์กรได้เห็นเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ในการทำงานเพื่อสร้างผลงานของพนักงานนั้น พนักงานเองปกติก็ต้องการเครื่องมือ เครื่องไม้ต่างๆ รวมทั้งต้องการการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ผลงานออกมาสำเร็จได้ แต่ถ้าพนักงานรู้สึกว่า การทำงานในองค์กรนี้ ไม่เคยได้รับการสนับสนุนอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการทำงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องของขวัญและกำลังใจในการทำงานจากคนรอบข้าง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานไม่อยากอยู่ทำงานกับองค์กรอีกต่อไป
  • Lack of opportunity for advancement ผู้ทำวิจัยเขียนไว้ชัดเจนมาก ว่า คำว่า ความก้าวหน้าในการทำงาน ไม่ได้หมายความถึงเรื่องการเลื่อนตำแหน่งเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการเติบโตในลักษณะการทำงาน ความท้าทายในการทำงาน และการทำงานในลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญมากขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่เข้าทำงาน ถ้าพนักงานเข้ามาทำงานในองค์กร แล้วรับทราบว่า ทำงานอยู่ที่นี่ไม่มีโอกาสในการเติบโตไปไหนได้ ไม่มีโอกาสที่จะทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเป็นแบบนี้ พนักงานเองก็ทนไม่ได้ที่จะอยู่ทำงานต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่เห็นอนาคตของตนเองในองค์กร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ หรือที่เราเรียกเขาว่า Gen Y จะเป็นกลุ่มพนักงานที่มองเรื่องของความก้าวหน้าในการทำงานค่อนข้างจะมาก ดังนั้นถ้าองค์กรไม่สามารถที่จะตอบสนองในเรื่องของความก้าวหน้าในการทำงานของพนักงานส่วนใหญ่ได้ พนักงานเก่งๆ ก็คงต้องขอลาออกไปทำงานกับองค์กรอื่นที่มีโอกาสก้าวหน้าได้มากกว่า เพราะคนเราทุกคนล้วนต้องการความก้าวหน้าในการทำงานทั้งสิ้น
  • Inadequate Compensation ค่าตอบแทน ก็ยังคงมีความสำคัญในเรื่องของการเก็บรักษาพนักงานอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญในอันดับแรกๆ ของพนักงานส่วนใหญ่ เพราะจากผลการวิจัยที่ออกมานั้น ชัดเจนมากว่า สิ่งที่จะรักษาพนักงานให้อยู่ทำงานกับองค์กรนั้น ส่วนใหญ่มาจากค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินมากกว่าตัวเงิน สิ่งที่พนักงานต้องการก็คือ ความรู้สึกใส่ใจ ดูแลจากองค์กร การทำงานแล้วมีความก้าวหน้าในการทำงานให้เห็นชัดเจน และต้องการได้รับการยอมรับจากคนในองค์กร ว่าเป็นคนที่มีความสำคัญในการสร้างผลงานให้กับองค์กร ส่วนเรื่องของค่าตอบแทนนั้น ก็ต้องมีการบริหารจัดการให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ รวมทั้งต้องมีความเป็นธรรมในการจ่าย เพราะพนักงานอยากได้ความเป็นธรรมมากกว่าการจ่ายสูงปรี๊ด แต่ภายในองค์กรกลับบริหารจัดการเรื่องค่าตอบแทนแบบไม่มีความเป็นธรรมภายใน แบบนี้พนักงานเองก็ไม่อยากอยู่ทำงานอีกเช่นกัน

จากงานวิจัยชิ้นนี้ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้อีกชิ้นหนึ่งว่า การเก็บรักษาพนักงานที่มีฝีมือในการทำงานไว้กับองค์กรนั้น เรื่องของค่าตอบแทนไม่ใช่ประเด็นหลัก ซึ่งมักจะตรงข้ามกับความคิดของผู้จัดการและผู้บริหารขององค์กรที่มักจะคิดว่า ค่าตอบแทนคือสิ่งที่พนักงานทุกคนต้องการ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็เป็นเรื่องของความรู้สึก และสิ่งที่จับต้องไม่ได้มากกว่า ที่จะดึงพนักงานให้อยู่ทำงานกับองค์กรไปนานๆ




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2557 7:28:47 น. 0 comments
Counter : 844 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]