HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
16 ตุลาคม 2556

ความลับขององค์กรที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน

ทุกวันนี้พนักงานในองค์กรของท่าน มีความสุขในการทำงานมากน้อยสักแค่ไหน หรือตัวท่านเอง มีความสุขในการทำงานมากน้อยสักแค่ไหน อยากตื่นเช้าด้วยความกระตือรือร้นเพื่อที่จะไปทำงานที่ตนเองรัก และทำแล้วมีความสุข หรือต้องจำใจตื่นนอนลุกจากเตียงเพื่อไปทำงานอย่างไม่ค่อยจะมีความสุขเท่าใดนัก

คนที่ได้ทำงานที่ตนเองรัก ถือว่าเป็นคนที่น่าอิจฉามาก เพราะถือว่าเป็นคนที่มีความสุขในการทำงานอย่างมาก เหมือนกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราสามารถทำงานอย่างมีความสุข เราก็จะมีความสุขในชีวิต” เพราะเวลาของชีวิตของเราส่วนใหญ่อยู่กับการทำงานเกือบทั้งหมด ดังนั้นถ้าเราได้งานที่เราชอบ มีความสุขกับมัน มันจะทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ทำงาน

ผมเองก็เคยได้ยินนายเก่า ซึ่งปัจจุบันท่านเองก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว เล่าให้ฟังว่า เวลาที่ท่านทำงาน ท่านจะมีความสุขมาก เพราะการทำงานนั้นมันเป็นกิจวัตรปกติอย่างหนึ่ง เหมือนกับการกินข้าว การอาบน้ำ ที่เราต้องทำอยู่แล้ว งานก็เช่นกัน มันเป็นส่วนเติมเต็มชีวิตของท่าน ทำให้ชีวิตท่านมีความหมาย และมีความท้าทายอยู่ทุกวัน ทำให้ใช้ชีวิตอย่างไม่เบื่อเลย

ผมสังเกตเห็นอย่างชัดเจนว่า นายเก่า และนายปัจจุบันของผมนั้น ทำงานด้วยความสุขมาก ไม่เคยที่จะบ่นเครียดหรือไม่สนุกเลย แกยังสนุกกับการทำงาน ตื่นเช้ามาถึงบริษัทเป็นคนแรกๆ เลยทั้งๆ ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงมากๆ ที่เรียกได้ว่า มาสายก็ไม่มีใครกล้าว่าอะไรด้วยซ้ำไป แต่แก่ก็มาทำงานแต่เช้า และทำงานอย่างมีความสุข

ที่สหรัฐอเมริกาเองก็มีการทำวิจัยเรื่องขององค์กรที่พนักงานมีความสุขนั้น เขาทำกันอย่างไร องค์กรเหล่านี้ได้เก็บข้อมูลว่าพนักงานที่ทำงานอย่างมีความสุขนั้นเป็นอย่างไร และจะต้องทำอย่างไรให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร ซึ่งผลก็สามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์ 5 ข้อดังต่อไปนี้

  • พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะไม่ทำงานอยู่ในตำแหน่งเดิม หรือบทบาทเดิมนานเกินไป การโอนย้าย การหมุนเวียนงาน หรือแม้แต่การสร้างงานที่มีความท้าทายมากขึ้นนั้น จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความพึงพอใจ และไม่เบื่อกับการทำงานแบบเดิมๆ ซึ่งเมื่อไหร่ที่พนักงานเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย ความสุขในการทำงานก็จะลดลง ดังนั้นองค์กรที่อยากให้พนักงานรู้สึกมีความสุข ก็จะทำการสร้างความท้าทายในการทำงาน หมุนเวียนเปลี่ยนงานกันอย่างสม่ำเสมอ ก่อนที่พนักงานจะเบื่อและเริ่มไม่สนุกกับงาน จนทำให้ไม่มีความสุขในการทำงาน
  • ความรู้สึกถึงความสุข กับความรู้สึกถึงตนเองมีความหมายในการทำงาน มันมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงบวก กล่าวคือ คนที่มีความสุขในการทำงาน จะเป็นคนที่รู้สึกว่าตนเองมีความหมายต่อองค์กร หรือหน่วยงานที่ทำงานอยู่ด้วย ดังนั้นองค์กรที่รู้เคล็ดลับนี้ ก็จะส่งเสริมให้หัวหน้างานและผู้จัดการทำให้พนักงานของตนเองรู้สึกว่า งานที่ตนเองทำอยู่นั้น มีความหมายต่อความสำเร็จของหน่วยงาน และต่อองค์กร ส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการสื่อความให้เห็นถึงเป้าหมาย และทำให้พนักงานรับรู้ว่างานของเขานั้นมีส่วนที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร เขาเป็นส่วนสำคัญตรงไหน ซึ่งเพื่อพนักงานรับทราบความสำคัญตรงนี้แล้ว เขาจะรู้สึกว่าการทำงานทุกวันเป็นการทำงานที่มีความหมายมาก หัวหน้าให้ความสำคัญกับงานนี้ และสุดท้ายเขาก็จะทำงานอย่างมีความสุข
  • พนักงานจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อหัวหน้ามีความจริงใจ และชื่นชมในผลงานพนักงานอย่างเป็นธรรมชาติ ประเด็นของเรื่องนี้ก็คือ มีบางองค์กรพยายามจะสร้างนโยบายการชื่นชมผลงาน สร้างกฎระเบียบว่าหัวหน้าจะต้องทำหน้าที่ชื่นชมผลงานพนักงานด้วย เขียนออกมาเป็นระเบียบติดไว้เลย ซึ่งการทำเช่นนี้ ทำให้ความสุขของพนักงานลดลง เพราะพนักงานจะรู้สึกถึงความไม่จริงใจขององค์กร และผู้จัดการ และจะคิดไปว่า ที่ชมก็เพราะมีระเบียบกำหนดไว้ ไม่ได้ชมจากใจของหัวหน้าจริงๆ ดังนั้นถ้าองค์กรอยากให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ก็ไม่ควรที่จะเขียนกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับความสุขของพนักงาน ควรจะส่งเสริมในแนวทางอื่นมากกว่า ทำให้มันเป็นธรรมชาติมากที่สุด และจริงใจมากที่สุด
  • องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องของคนมาก่อนงาน พนักงานจะมีความสุขก็เพราะองค์กรให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารคน มาก่อน เรื่องของการทำงาน องค์กรเหล่านี้ มีการกำหนดนโยบายที่เน้นการทำให้ความเป็นอยู่ของพนักงานดีขึ้นในแง่มุมต่างๆ กำหนดแนวทางและวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น และให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นรายบุคคล ไม่ใช่มองพนักงานเป็นชุดๆ หรือเป็นกลุ่มๆ และปฏิบัติต่อพนักงานแบบเหมารวมเหมือนๆกันไปหมดทุกคน
  • เน้นความสำคัญของการใช้ชีวิตในการทำงาน กับการใช้ชีวิตส่วนตัว กล่าวคือไม่ใช่การสร้างความสมดุล แต่จะเป็นการเอาทั้งสองเรื่องมาผสานกันให้ออกมาลงตัวมากที่สุด และมองไปถึงความต้องการของพนักงานเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการบังคับว่าพนักงานต้องสร้างความสมดุลของทั้งสองเรื่องให้ได้ แต่จริงแล้ว ความสมดุลของชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันเลย ดังนั้น ถ้าองค์กรสามารถสร้างแนวทางที่จะส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานและแบ่งเวลาในการทำงานตามความต้องการของตนเองได้ พนักงานก็จะอยู่ทำงานอย่างมีความสุขเช่นกัน

ที่กล่าวมาข้างต้นก็คือกฎเกณฑ์ 5 ประการที่องค์กรที่มีพนักงานที่มีความสุขนั้นทำกัน เพราะมีงานวิจัยออกมาค่อนข้างมากที่ยืนยันว่า ถ้าคนเราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ชีวิตส่วนตัวก็จะมีความสุข และนอกจากนั้นความสุขนั้นก็จะส่งผลต่อผลงานของพนักงาน และเมื่อพนักงานมีความสุขก็จะส่งต่อความสุขให้กับเพื่อนพนักงานด้วยกันเองอีก

สุดท้ายพนักงานทั้งองค์กรต่างก็ทำงานกันอย่างมีความสุข

อ้างอิงจากบทความเรื่อง Secrets Of America's Happiest Companies โดย Lydia Dishman จาก fastcompany



Create Date : 16 ตุลาคม 2556
Last Update : 17 ตุลาคม 2556 6:58:08 น. 0 comments
Counter : 1050 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]