Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
2485-2554 ความเหมือนที่แตกต่าง เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2485


พายเรือกันสบายใจ เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2485

วิกฤตน้ำที่เริ่มมาตั้งแต่ “ตุลาอาดูร” จวบจนวันนี้ ยังไม่มีทีท่าจะจบสิ้น

ส่งสัญญาณชัดแล้วว่า นับจากนี้ไป “ภัยพิบัติทางธรรมชาติ” คือความยากลำบากขั้นหนักหนาสาหัสที่คนรุ่นเราจะต้องเผชิญ ในขณะที่คนรุ่นปู่ย่าตาทวด ได้โอกาส (ที่ไม่อยากรับ) ในการสัมผัสรสชาติของสงครามมหาเอเชียบูรพา (The Greater East Asia War) อันหมายถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกและตะวันออกไกล ลามลงมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วง พ.ศ.2485 - 2488 คือในขณะที่คนรุ่นเราต้องวิ่งหนี “มวลน้ำ” ที่ล้นทะลักกันจ้าละหวั่น แต่คนรุ่นปู่รุ่นย่าพากันวิ่งหนีลูกระเบิดลงหลุมหลบภัย


รถรางแล่นในน้ำ

(จะถือเป็นโชคดี หรือโชคร้ายก็ไม่รู้ ที่พ่อผมได้ลิ้มลองทั้งสองรสชาติ ถึงวันที่ท่านกำลังอ่าน “เสาร์สวัสดี” ฉบับนี้ ไม่แน่ว่าผมกับพี่ชายอาจต้องย้ายพ่อหนีน้ำไปอยู่บ้านญาติแล้วก็ได้)

แต่ที่น่าสนใจคือ
เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ.2485 ซึ่งหมายความว่าคนกรุงเทพฯ เวลานั้น ได้บรรณาการแบบทวีคูณ (สำนวนวันนี้เรียก “สองเด้ง”) คือต้องหนีทั้งน้ำและลูกระเบิด ทว่า พลันที่ใครต่อใครได้ชม ภาพยนตร์ข่าว “น้ำท่วมกรุงเทพฯ 2485” ที่บันทึกภาพและให้เสียงบรรยาย โดย คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี 2542 ต่างพากันงุนงงสงสัย ว่าในขณะน้ำท่วม 2554 ทำคนกรุงเทพฯ หน้าดำคร่ำเครียดกันทั้งเมือง แล้วไย หน้าตาคนกรุงเทพฯ ในหนังข่าว “น้ำท่วม 2485” จึงต่างยิ้มแย้มแจ่มใส เอาเรือออกมาพายและแจวกันสบายใจในจังหวะโจ๊ะพรึม ล้อรับไปกับเพลง “รำวงลอยเรือ” ของสุนทราภรณ์ ที่คุณแท้นำมาเป็นเพลงประกอบข่าวอย่างลงตัว

น้ำท่วม 2485 กับ 2554 จึงเป็นความเหมือนที่แตกต่าง
เพราะถึงแม้ พ.ศ.2485 จะเป็นปีที่สยามประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยมาครบสิบปีเต็ม แต่บริบททางภูมิศาสตร์และธรรมชาติของที่ราบลุ่มแม่น้ำพระยา ยังไม่เปลี่ยนไปจากที่ เชอวาลิเย เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้เท่าใดนัก นั่นคือ


พ.ศ.2485 ที่พระบรมรูปทรงม้า

"...ในปีหนึ่งน้ำคงท่วมตามทุ่งนาราว 3-4 เดือน หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยา ก็เหมือนแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ ที่ในเวลาน้ำท่วมนั้น ก็เท่ากับเอาปุ๋ยมาใส่ตามไร่นาอันมีอยู่มากที่สุด"

หมายความว่าในยามนั้น “น้ำท่วม” ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ว่าเฉพาะปี 2485 อาจมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ จึงเกิดน้ำท่วมเข้าไปถึงพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เรื่อยไปจนถึงย่านเยาวราช ถนนราชดำเนิน ตลอดจนพระบรมมหาราชวัง ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนต้องทุกข์ร้อนอะไร ในเมื่อแม่น้ำลำคลองยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก สมัยนั้นยายผมยังพายเรือขายผลไม้ในคลองผดุงกรุงเกษม ใน กทม.ยังมีเรือเยอะกว่ารถเสียอีก น้ำท่วมก็ท่วมไป การประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดำเนินไป วีไอพีอย่างท่านเจ้าคุณพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำการปฏิวัติ 2475 หรือท่านผู้นำฝ่ายค้าน (ตลอดกาล) อย่างคุณควง อภัยวงศ์ ก็ยังนั่งเรือพายเข้าไปประชุม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นเรื่องปกติ


อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พ.ศ.2485

แม้ในหนังข่าว
เราจะเห็นคุณแท้เลือกถ่ายภาพน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในมุมที่เป็นสถานที่สำคัญ เช่น เยาวราช ราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฯ แต่ความจริงบ้านเรือนคนส่วนใหญ่ในเวลานั้น ยังอาศัยตามสองฝั่งแม่น้ำลำคลอง กระทั่งพักพิงอิงแอบบนเรือนแพก็ยังมีอยู่มาก


เมื่อหัวลำโพงกลายเป็นท่าเรือ

จุดเปลี่ยนประเทศไทยจริงๆ คือตั้งแต่เราเริ่มใช้
“แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504 - 2509) มาจนถึงวันนี้ที่เรากำลังเตรียมใช้ “แผนพัฒนาฯ” ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) ในปีหน้านี้แล้ว ผมมิได้ปรามาสว่าแผนพัฒนาฯ เลวร้ายไปหมด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นยุคที่เราเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัยกันยกใหญ่ เป็นยุคถมคลองทำถนน พร้อมๆ กับการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างความเป็นเมือง ที่ (เชื่อว่า) ศิวิไลซ์กว่าขึ้นมาแทน เป็นยุคที่เราตั้งเป้าให้อุตสาหกรรมนำหน้าการเกษตร มีการส่งเสริมการลงทุนกันใหญ่โต ถึงขั้นอนุมัติให้สร้างนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะริมฝั่งเจ้าพระยา เช่นที่อยุธยา ปทุมธานี ฯลฯ

โชคดีที่ยังมีคนเห็นการณ์ไกลอย่าง นพ.บุญส่ง เลขะกุล ซึ่งทั้งผลักทั้งดันให้จอมพลสฤษฏ์ ธนะรัชต์ ตรากฎหมายคุ้มครองป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ในฐานะ “อุทยานแห่งชาติ”
สำเร็จในปี 2505 ส่งผลให้ “เขาใหญ่” เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ก่อนที่จะได้รับการยกย่องเป็นผืนป่ามรดกโลกในวันนี้ มิฉะนั้นเราอาจไม่เหลืออะไรไว้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนให้หายใจกันเลยก็ได้

แต่กระนั้น ผลพวงของการพัฒนาที่ฝืนความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติ
ได้สำแดงฤทธิ์เดชให้เราประจักษ์อย่างเจ็บแสบแล้ว ในวิกฤตน้ำเดือนตุลาอาดูรครั้งนี้ จนเราต้องตกตะลึงกับมวลน้ำก้อนมหึมา ที่ท่วมท้นล้นขึ้นไปเกือบถึงหลังคาโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างเหลือเชื่อ ส่งผลให้ทั้งกรรมกรและชาวนาล้มละลายได้พร้อมๆ กันอย่างไม่อยากจะเชื่อ

ได้แต่หวังว่าหลังมวลน้ำแห่งความอาดูรผ่านพ้น งบประมาณ 9 แสนล้านบาทที่รัฐบาลจะใช้เนรมิต “New Thailand”


credit : //www.bangkokbiznews.com/
2485-2554 ความเหมือนที่แตกต่าง เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2485


Create Date : 11 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2554 5:12:53 น. 1 comments
Counter : 1760 Pageviews.

 



โดย: Kavanich96 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:4:10:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.