คุณสมบัติดีเด่นของน้ำมันมะพร้าวเกี่ยวข้องกับความสวยงาม

. คุณสมบัติที่ดีเด่นของน้ำมันมะพร้าว

(เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม)


น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันสกัดที่ได้โดยวิธีบีบเย็น(cold pressed) ไม่ถูกกับความร้อนและสารเคมี เรียกว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (VirginCoconut Oil) ซึ่งเป็นน้ำมันมะพร้าวจากธรรมชาติปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืชซึ่งมักจะมีเจือปนอยู่ในน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆซึ่งผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยวิธีทางเคมี ที่เรียกว่า RBD (Refined,Bleached, และ Deodorized)เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวดังกล่าว โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่นๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี

ในเรื่องการเสริมความสวยงามให้แก่มนุษย์น้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:


2.1 มีความอยู่ตัวสูง

น้ำมันมะพร้าวมีความอยู่ตัวทางเคมีสูง เพราะมีองค์ประกอบเป็นไขมันอิ่มตัวที่อะตอมของคาร์บอนเชื่อมต่อกันเป็นสายโซ่ด้วยแขนเดี่ยว (single bond) ทำให้อะตอมของออกซิเจนหรือไฮโดรเจน ไม่สามารถเข้าไปแทนที่ได้ ผิดกับไขมันไม่อิ่มตัวที่อะตอมของคาร์บอนเชื่อมต่อกันด้วยแขนคู่ (doublebond) ที่เป็นจุดอ่อนของโมเลกุล เพราะออกซิเจน หรือไฮโดรเจนสามารถเข้าไปเติมได้


การเติมออกซิเจน (oxidation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาก่อให้ เกิดความเสื่อมของโมเลกุล กล่าวคือ เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาจากผลของการเติมออกซิเจนเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปแล้วว่า อนุมูลอิสระเป็นตัวการของการเกิดโรคแห่งความเสื่อมมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคอ้วน ฯลฯ


การเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นเองเหมือนการเติมออกซิเจนแต่ก็เกิดได้ง่าย ๆ เมื่อนำอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ไปถูกกับอุณหภูมิสูงเช่นในการทอดอาหารในน้ำมันท่วม จึงเกิดเป็นสารตัวใหม่ ชื่อว่า ไขมันทรานส์ (trans fats)” ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนรูปร่างไปนอกจาก นั้น การเกิดไขมันทรานส์ ยังเกิดได้จากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วน (partially hydrogenated) ในทางอุตสาหกรรมโดยต้องใช้ความดันและสารแคตาลิสต์เข้าช่วยเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว เปลี่ยนเป็นน้ำมันอิ่มตัวเพื่อจะได้ไม่เกิดการหืน (เพราะถูกเติมออกซิเจน) และให้น้ำมันอยู่ในรูปที่แข็งตัวทำให้จับต้องผลิตภัณฑ์อาหารได้สะดวก ไม่เหนียวเหนอะหนะ


ไขมันทรานส์ทำให้เกิดผลเสียต่อเซลล์เช่นทำให้เยื่อบุเซลล์บุบสลาย ทำให้เชื้อโรค หรือสารพิษเข้าไปในเซลล์ได้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลง DNAของเซลล์ ทำให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง


สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว ที่อยู่ตัว ไม่เกิดอนุมูลอิสระ และไขมันทรานส์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งรวมทั้งผิวพรรณที่ไม่แตกแห้ง เป็นสิว ฝ้า มีเส้นผมที่ดกดำเป็นเงางาม ไม่แดงแตกปลาย ร่วงและหงอก


2.2 เคลื่อนที่ได้เร็วและย่อยได้ง่าย

น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันขนาดปานกลาง (medium-chain fatty acids -MCFAs) ซึ่งถูกย่อยได้ง่าย และเคลื่อนย้ายได้สะดวก รวดเร็วเมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้แล้วไปถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ดังนั้น ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวจึงแข็งแรง เพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไป อีกทั้งยังไปกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้นก่อให้เกิดความร้อนจากผลของ thermogenesis ซึ่งช่วยในการเผาผลาญอาหารที่บริโภคเข้าไปพร้อมกันให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน แทนที่จะไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นความร้อนที่เกิดขึ้น ยังไปช่วยให้ไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ก่อนหน้านั้นสลายตัวไปเป็นพลังงาน จึงทำให้ผู้บริโภคผอมลง และนี่เอง เป็นเหตุให้คนไทยสมัยโบราณไม่ค่อยมีใครอ้วน เพราะรับประทานมะพร้าว กะทิ และน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหารหวาน-คาว


สรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นกรดไขมันขนาดปานกลาง ที่เมื่อบริโภคเข้าไป นอกจากตัวมันเองรวมทั้งอาหารที่รับประทานเข้าไปพร้อมกัน จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานและไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกายซึ่งทำให้อ้วนแล้ว ยังไปนำไขมันที่สะสมไว้ก่อนหน้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน จึงผอมลง สมดังคำกล่าวที่ว่า Eat Fat - Look Thin


2.3 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค

น้ำมันมะพร้าว มีกรดลอริก (lauric acid, C-12) อยู่สูงมาก (48-53%) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับกรดไขมันที่มีในนมของมารดา(ซึ่งมีเพียง 3-18%) เมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกายกรดลอริกจะเปลี่ยนเป็นโมโนลอริน ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ไวรัส หรือโปรโตซัว


อกจากกรดลอริกแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยกรดไขมันที่มีขนาดปานกลางอีก 3 ชนิด คือกรดคาโปรอิก (caproic acid, C-6, 0.5%) กรดคาปริลิก (caprylic acid, C-8, 8.0%)และกรดคาปริก (capric acid, C-10, 7.0%) ทุกชนิดต่างก็มีส่วนช่วยยับยั้งเชื้อโรคโดยไม่ทำให้เกิดการดื้อยา และจะฆ่าเฉพาะเชื้อโรคที่มีเกราะหุ้มเป็นไขมัน แต่ไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ในร่างกายที่ไม่ได้มีไขมันเป็นเกราะหุ้ม


สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งชนิดที่ส่งผลต่อความงามเช่นที่เป็นสาเหตุของสิว ฝ้า ผื่นแดง รังแค ฯลฯ


2.4 มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุของโรคแห่งความเสื่อมมากมาย โดยเฉพาะโรคอ้วน และการเหี่ยวย่นของผิวหนัง อนุมูลอิสระเกิดจากผลของการเติมออกซิเจนในร่างกายของเราตามปกติ ร่างกายของเรา มีสารต่อต้านการเติมออกซิเจน หรือแอนตีออกซิแดนต์ (antioxidant) ที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระโดยการหยุดปฏิกริยาลูกโซ่ที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ปริมาณแอนตีออกซิแดนต์ในร่างกาย ขึ้นอยู่กับอาหารที่เราบริโภคเข้าไป หรือที่เราทาผิวหนังซึ่งจะช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ที่เกิดจากผลของอนุมูลอิสระ หากมีอาการรอยเหี่ยวย่นที่ผิวหนังก็แสดงว่าอนุมูลอิสระ กำลังทำลายเซลล์ในร่างกายของเรา เพราะผิวหนังขาดสารแอนตีออกซิแดนต์ ที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน


การป้องกันไม่ให้เกิดชราภาพก่อนวัยทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามิน ซี และ อี และโดยเฉพาะน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำซึ่งจะช่วยชะลอกระบวนการการเกิดชราภาพ และทำให้ท่านดูและรู้สึกเยาว์วัยตลอดทั้งร่างกาย


แม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะได้ชื่อว่าเป็นน้ำมันอิ่มตัว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัว สูงถึง 92 % แต่ก็มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่ 8% เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า น้ำมันไม่อิ่มตัวนั้นไม่อยู่ตัว เพราะมีแขนคู่ซึ่งเป็นจุดอ่อนของโมเลกุลที่ถูกโจมตีโดยกระบวนการการเติมออกซิเจนเนื่องจากน้ำมันมะพร้าว แม้ว่าจะเก็บไว้นานในอุณหภูมิห้อง และถูกแสง ก็ไม่หืน Peat (2006) จึงสันนิษฐานว่าน้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ (antioxidant) ที่ช่วยต่อต้านการเติมออกซิเจนของส่วนที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว มีผู้พยายามค้นคว้าว่า แอนตีออกซิแดนต์ในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารอะไรกันแน่ และมีอยู่ในปริมาณเท่าใดในบรรดาสารที่มีผู้พบว่าทำหน้าที่เป็นแอนตีออกซิแดนต์ในน้ำมันมะพร้าวมีดังต่อไปนี้:

2.4.1 วิตามินอี: มีรายงานว่า น้ำมันมะพร้าว มีวิตามินอีทั้งในรูป tocopherol(1.1 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) และ tocotrienol (3.1มก./100 ก.) (Anon. 2005) เป็นที่รู้กันแล้วว่า วิตามินอีเป็นแอนตีออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ tocotrienol มีประสิทธิภาพสูงกว่าtocopherol ซึ่งมีอยู่ในเครื่องสำอางทั่วไป ถึง 40-60 เท่า


2.4.2สารฟีนอล: Dia (2005) รายงานว่าน้ำมันมะพร้าว 6 ตัวอย่าง มีสารฟีนอล (phenoliccompounds) ในรูปของกรดแกลลิก (gallic acid) อยู่6.29 8.38 ไมโครกรัมต่อกรัม แต่ในอีกตัวอย่างหนึ่งมีกรดแกลลิกอยู่มากถึง 13.21–13.43 ไมโครกรัมต่อกรัม Seneviratne and Dissanayake(2008) ได้รายงานว่าน้ำมันมะพร้าว มีสารฟีนอล ซึ่งประกอบด้วย caffeic acid, p-coumaric acid, ferulicacid และ catechin และยังพบอีกว่าน้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยวิธีอุตสาหกรรมมีสารฟีนอลอยู่ 91 + 11มก./กก.ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยวิธีพื้นบ้าน มีสารฟีนอลอยู่ 618 +46 มก/กก. ซึ่งสูงกว่าที่ได้จากการสกัดโดยวิธีทางอุตสาหกรรมถึง 7เท่า เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าสารฟีนอลทำหน้าที่เป็นแอนตีออกซิแดนต์อย่างมีประสิทธิภาพ


2.4.3 สารไฟโตสเตอรอล: Wang และคณะ (2002) พบว่า น้ำมันมะพร้าว มีสารไฟโตสเตอรอล (phytosterols) อยู่ 400 1,200 มก./กก. ประกอบด้วย campesterol,stigmasterol, beta-sitosterol และ delta-5-avenasterol ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน


สรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่สูงมาก จึงสามารถต่อต้านการเติมออกซิเจนที่เป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งทำให้เกิดโรคแห่งความเสื่อม เช่นโรคอ้วนและผิวแตกแห้ง รวมทั้งชราภาพ


ขอบคุณ คุณสมบัติดีเด่นของน้ำมันมะพร้าว จากหนังสือ สวยด้วยน้ำมันมะพร้าว โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา  ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา  แสนมณี




Create Date : 30 มิถุนายน 2555
Last Update : 30 มิถุนายน 2555 18:15:09 น.
Counter : 2631 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kandanalikecoconutoil.BlogGang.com

kandanalike
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]

บทความทั้งหมด