น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ โดย รศ.พญ.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์

การอภิปราย เรื่องน้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ

ในทัศนะของแพทย์แผนปัจจุบัน


รศ.พญ.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ


ความรู้เรื่องโรคหัวใจ : โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่มีอัตราการตายมากที่สุด เมื่อเราอายุมากขึ้น แล้วเป็นโรคหัวใจจะเกิดโรคต่างๆขึ้นดังนี้


(1) หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุดและเป็นพื้นฐานของเส้นเลือดสมองตีบ ตับแตก

(2) โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

(3)เส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้หลายคนมีอาการเจ็บหน้าอก และต้องเข้ารับการรักษาด้วยการสวนหัวใจ หรือเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจ

(4) โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ และ

(5) โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ


นอกจากนี้หลอดเลือดของเราจะเกิดตะกรันขึ้น จากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือดทุกวันๆในระยะเวลายาวนาน มีผู้ทำวิจัยนำตะกรันไปตรวจปรากฏว่า 47% เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว 27% เป็นน้ำมันอิ่มตัว


เส้นเลือดแข็งตัว : เกิดจากกรรมพันธุ์ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเช่น อาหาร โลหะหนัก การติดเชื้อ การดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายและจัดสมดุลในเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องของการอักเสบ คืออาการบวม แดง ร้อนที่เกิดในเส้นเลือดต้นเหตุของการอักเสบ คือ การที่อะไรก็ตามที่ทำให้เส้นเลือดเป็นรอยแผล ซึ่งรอยแผลนี้ก็จะเกิดจากน้ำตาลขึ้นสูงเร็วไปเกิดจากไขมัน LDL ที่ทำให้เกิดรอยแผลบนพื้นผิวเส้นเลือดเกิดจากการอักเสบ หลังจากเกิดการอักเสบก็จะมีการดึงเม็ดเลือดขาวเข้ามา มีบวม แดงร้อนเข้ามา หลังจากนั้นเส้นเลือดฝอยบางส่วนที่บวม แดง ร้อน ก็จะตีบตัน ฝ่อมีการนำและมีการสร้างพังผืดมาเกาะติด ดึงเม็ดเลือดแดง บวม แดง ร้อนหรือเกล็ดเลือดเข้ามาด้วย


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดแข็ง : เมื่อมีอาการความดันโลหิตสูง เมื่อมีอายุมากขึ้นเส้นเลือดโป่งพอง การตรวจอุลตร้าซาวนด์ และการฉีดสี


การรักษาเส้นเลือดแข็ง: ในทางการแพทย์ได้แก่ การให้ยาลดความดันการให้ยาแอสไพรินเพื่อกันไม่ให้เลือดแข็งตัว การให้ยาลดไขมันในเส้นเลือดหากเส้นเลือดโป่งพอง ก็จะไม่ให้ใช้วิธีผ่าตัด และแนะนำเป็นประจำว่าทุกอย่างต้องควบคู่กับการเปลี่ยนวิถีชีวิต สำหรับผู้ที่ทานยาลดไขมันในเส้นเลือดต้องระมัดระวังตัวอย่างยิ่ง เพราะมีผลข้างเคียงมาก


ผลข้างเคียงจากการทานยาลดไขมันในเส้นเลือด: คือทำให้กล้ามเนื้อเจ็บปวด อ่อนแรง อ่อนเพลีย เกิดเป็นตาต้อหินภูมิต้านทานลดต่ำลง ตับอักเสบ


การป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว: ต้องดูว่าปัจจัยเสี่ยงอยู่ที่ไหนเราก็ใช้ป้องกัน การป้องกันมีด้วยกันหลายระดับ ถ้าคนไข้เกิดโรคแล้วมีอาการเราจึงจะให้การรักษา คำถามก็คือ ถ้าเราใช้น้ำมันมะพร้าวในปัจจุบันจะใช้ได้ทั้งการป้องกัน และใช้รักษาได้หรือไม่


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดแข็งตัว: ปัจจัยพื้นฐานได้แก่ความดันโลหิต อ้วน เบาหวาน การสูบบุหรี่ การไม่ได้ออกกำลังกาย ระดับคอเลสเตอรอลสูงปัจจัยเสริม ได้แก่ ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้โรคหัวใจทำงาน เส้นเลือดจะหดตัวทำให้เราปวด เมื่อไปพบแพทย์จะต้องทำการสวนหัวใจ  ทำบายพาสหัวใจทันทีแต่บางคนที่รอให้ความเครียดลดลง เส้นเลือดที่หดตัวก็จะคลายตัวลง


สาเหตุของโรคหัวใจ : หลังจากหมดประจำเดือดฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง มีส่วนให้ไขมันขึ้นสูง และเกิดหัวใจหลอดเลือดได้ฮอร์โมนที่สำคัญคือ cathe calamines เป็นฮอร์โมนจากความเครียดไปกระตุ้นให้cathe calamines หลั่งความเครียดจากการสันดาปของการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ความเครียดที่เซลล์ต่างๆในระดับของเซลล์ที่สร้างอนุมูลอิสระขึ้นมา เป็นปัจจัยที่ทำให้ไขมัน LDL ถูกออกซิไดซ์ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัวการแข็งตัวของเส้นเลือด ซึ่งอาจเกี่ยวกับเรื่องของเล็ดเลือด เส้นเลือดหดตัว


เมื่อเราอายุมากขึ้น : ต้องระวังการเกิดความดันโลหิตไม่ได้เกี่ยวกับเส้นเลือดอย่างเดียว อาจเกี่ยวกับแมกนีเซียมต่ำหรือโปรตัสเซียมต่ำ แคลเซียมสูงเกินไปดังนั้น ต้องกินผักเพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมให้สูงขึ้นส่งผลให้ความดันโลหิตดีขึ้น


อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ :  ณ ปัจจุบันการดูว่าคนเราจะผิดปกติอย่างไรในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าเรามีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากน้อยเพียงใด คือนอกจากจะดูเรื่องไขมันแล้วสิ่งที่สำคัญคือ C – reactive protein ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าเส้นเลือดของเราอักเสบหรือไม่ตัวอื่นๆ ที่จะตรวจ คือ homocystein ที่เป็นปัจจัยให้เส้นเลือดผิดปกติอีกสิ่งหนึ่งคือ เรื่องของฮอร์โมน ระดับของแมกนีเซียมและมีของเสียในเส้นเลือดมากน้อยเพียงใด


คอเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจ :

ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจที่เป็นที่สนใจ คือ คอเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยใหญ่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ห้ามกินน้ำมันอิ่มตัวแล้วน้ำมันไม่อิ่มตัวจะมีผลไหม ? ปัจจัยที่น่าสนใจคือ กรดไขมันที่อิ่มตัวเป็นไขมันที่ร่างกายเราสร้างไม่ได้ แต่เราต้องการ เราจะเอามาจากไหน?คนเราหากมีคอเลสเตอรอลสูง ไม่ได้เป็นปัจจัยในเรื่องการกินอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกเช่นผู้ชายที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 55 ปี ขึ้นไป เรื่องกรรมพันธุ์การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า วัยประจำเดือนหมด คนอ้วน รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันสูง ความดันโลหิตสูง ไม่ออกกำลัง


จริงๆแล้วร่างกายของคนเราเหมือนเครื่องยนต์ เมื่อเราได้น้ำตาลเข้าไปหรือได้อาหารเช้าไปร่างกายเราพยายามปรับให้มันคงที่ ฉะนั้นคอเลสเตอรอลที่เรากินจากอาหารเข้าไปร่างกายเราก็ปรับเช่นกัน แต่หากใครมีปริมาณสูงกว่าปกติแสดงว่าร่างกายเราเริ่มเสื่อมบางอย่างเพราะบางมีคอเลสเตอรอลสูงก็ไม่ได้มาจากการกินอาหารหรือน้ำมันพืชอย่างเดียวจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลต่ำ คอเลสเตอรอลที่สูงไม่ได้เป็นส่วนที่ทำให้เกิดโรคหัวใจการรับประทานอาหารมาก ก็ไม่ได้ทำให้คอเลสเตอรอลสูง ฉะนั้นการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ปกติความผิดปกติที่เกิดขึ้น มาจากสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน


มีงานวิจัยระบุว่า คนที่เป็นโรคหัวใจไม่ใช่มีคอเลสเตอรอลสูงอย่างเดียวเพราะ 40% เป็นคนที่มีคอเลสเตอรอลปกติผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 200 mg% มีโอกกาสเป็นโรคหัวใจได้3 เท่า อัตราการที่จะบอกว่าเป็นโรคหัวใจที่ดี ก็จะดูเรื่อของไตรกลีเซอไรด์ ต่อ HDL ซึ่งเป็นอัตราที่จะบอกได้ดีกว่าเรื่องของ คอเลสเตอรอลรวมกับ HDL ไชมัน LDL หากมีในปริมาณสูงก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรค แต่เมื่อเป็นรูปแบบของการออกซิไดซ์ ถ้าร่างกายเราไม่ผิดปกติอย่างอื่นจึงจะทำให้เกิดเป็น oxidative stress  มีตัวอนุมูลอิสระจึงจะทำให้เกิดโรคหัวใจ


การห้ามกินน้ำมันอิ่มตัว : มีข้อถกเถียงกันเป็นนาน มีการพัฒฯการค้านกับความเชื่อของคนเราที่บอกว่า ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ชาวบังกลาเทศ หรือ ไพลีนีเซียน สมัยก่อนกินน้ำมันมะพร้าวมากไม่เคยมีโรคหัวใจเลย แต่ปัจจุบันทำไมกลุ่มนี้ มีโรคหัวใจมากขึ้น หรือในอเมริกาในปี 1930 -1940 ไม่ได้กินน้ำมันพืช น้ำมันถั่ว แต่กินอาหารอย่างอื่น กินแต่น้ำมันมะพร้าว ปรากฏว่าช่วงหลังอัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นซึ่งค้านความรู้สึกของความเป็นมา


กินน้ำมันถั่วเหลืองเป็นโรคหัวใจมากขึ้น : ขณะเดียวกันเมื่อมีการบำบัดด้วยน้ำมันถั่วเหลือง ปรากฏว่า คนเป็นโรคหัวใจมากขึ้น และมีงงานวิจัยหลากหลายในอดีตที่ผ่านมา บอกว่าน้ำมันถั่วเหลืองดีไม่ทำให้เกิดไขมันสูง LDL ไม่สูง HDL สูง มาถึงปัจจจุบันมันค้านความเชื่อความเป็นอยู่


งานวิจัยที่ McMaster University :

ได้มีงานวิจัยอย่างใหญ่หลวง ที่ Mc Master University ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญมากเกี่ยวกับการวางระเบียบวิธีวิจัยได้นำงานวิจัยทั้งหลายที่เกี่ยวเรื่องน้ำมัน หรืออาหารที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยทำเป็น Systemic Revew ถือเป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และคนยอมรับมากที่สุด เป็นการนำวิจัยทั้งหมดมาดูก่อนว่า จะต้องเป็นงานวิจัยที่ดี 4-5 ข้อ แล้วนำผลนั้นมารวมกัน แล้วสรุปโดยใช้วิธีทงการวิจัยที่เป็น Systmic Revew แล้วหาข้อมูลทำค่าทางสถิติออกมา งานวิจัยนี้ออกมาเมื่อปี 2009 มีความเข็มแข็งและได้รับการยอมรับ


งานวิจัยนี้บอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การกินกรดไขมันทรานส์ ( trans fatty acid ) มากเกินไป กินอาหารที่มีน้ำตาลมากส่วนปัจจัยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ คือ กินแอลกอฮอล์ ปลา เส้นใยเป็นจำนวนมาก กินน้ำมันที่มีโอเมก้า-3 ในจำนวนมาก กินผักผลไม้มากๆ กินวิตามินซี อี มากๆเพราะเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ LDL ไม่เปลี่ยนเป็น oxidizedform งานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่าน้ำมันอิ่มตัวเป็นตัวทำให้เกิดโรคหัวใจ


คุณสมบัติของไขมันอิ่มตัว : มีการพบว่า น้ำมันอิ่มตัว เป็นตัวเพิ่ม HDL ลด lipoprotein ไม่ทำให้โอเมก้า -3 หายไป ไม่ต้องการใช้เอนไซม์ ฆ่าเชื้อโรค ทำให้หัวใจทำงานได้ดี ทำให้กระดูก modeling ได้ดี แคลเซียมเกาะได้ดีเป็นตัวที่นำพาวิตามินที่ละลายน้ำได้ดี


งานวิจัยที่นิวซีแลนด์ ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับไขมันอิ่มตัวอีกคือ งานวิจัยที่นิวซีแลนด์ ในปี 2009 เผยแพร่ใน Ann.Nutr.Metab นำงานวิจัยที่หลากหลายมาสรุปว่า ไขมันไม่อิ่มตัวเป็นตัวทำให้เกิดโรคหัวใจ ขณะเดียวกันไขมันอิ่มตัวไม่มีความสัมพันธ์ในการเกิดโรคหัวใจ WHO และFDA ในสหรัฐอเมริกายอมรับว่าน้ำมันอิ่มตัวเป็นน้ำมันที่ดี จึงแนะนำให้คนกินน้อยกว่า 7% ณ ปัจจุบันเนื่องจากคนอเมริกันรู้ว่า คนเป็นโรคหัวใจมากขึ้น เด็กอ้วนมากขึ้น จึงวางแผนว่า ปี 2010 -2020 ให้คนกินน้ำมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7 % ไม่พูดถึงเรื่องการที่จะต้องไปกินน้ำมันไม่อิ่มตัวเลย


น้ำมันอันตราย : น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัว เป็นน้ำมันที่อันตราย ปัจจุบันคน 70-80 % ยังบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันอื่นๆมีโอเมก้า- 6 มาก โดยไขมันที่จะจำเป็นต่อร่างกาย ก็จะมีโอเมก้า-3 ส่วน โอเมกา- 6 ทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในขณะที่โอเมก้า- 3 จะต่อต้าน ดังนั้นหากเรากินน้ำมันถั่วเหลืองมากเกินไป โอเมก้า - 6 ก็จะสะสมอยู่มาก แต่มีโอเมก้า -3 อยู่น้อย


บทบาทของโอเมก้า-3 : ในอเมริกาจะส่งเสริมให้คนที่เป็นโรคหัวใจทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า -3 เมื่อเราทานน้ำมันมะพร้าวในน้ำมันมะพร้าวจะไม่มีโอเมก้า- 3 และโอเมก้า-6 ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างหากเราทานน้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียว จะทำให้เราขาด โอเมก้า -3 โอเมก้า- 6 ดังนั้นเราจึงต้องทานน้ำมันอื่นมาผสมด้วยเพื่อทำให้ไม่ขาดน้ำมันไม่อิ่มตัวไป


ผลเสียของน้ำมันอิ่มตัว : จากงานวิจัยพบว่าการทานน้ำมันไม่อิ่มตัว ทำให้แก่เร็ว เพราะว่าเป็นตัว oxidized มีตัวอนุมูลอิสระไปที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังย่นได้เร็วอยู่ที่เส้นเลือด ก็ทำให้เป็นโรคหัวใจ โอกาสทำให้เป็นโรคมะเร็งก็ได้


ผลงานของ Mary G. Enig :

Dr.Mary G. Enig เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่อน้ำมันมะพร้าวมากได้สรุปว่า น้ำมันมะพร้าวเหมาะกับยุคศตวรรรษที่ 21 มีข้อดีหลากหลาย

น้ำมันมะพร้าว ที่เรากินเป็น neutral ไม่มีโอเมกา- 6 ที่จะทำให้เกิดการอักเสบได้

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันอิ่มตัว 92 %medium chain triglyceride ซึ่งดูดซึมได้ง่าย ทำให้ร้อนตัวได้เร็ว

น้ำมันมะพร้าว มีตัวยาที่ฆ่าเชื้อโรคได้แก่ lauric acid 50% capric acid 7 %

น้ำมันมะพร้าว มีคอเลสเตอรอล 0% เป็นอาหารทางการแพทย์ ไม่ได้ให้แคลอรี่อย่างเดียว แต่ฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย

อีกทั้งยังทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้น

และมีสารต้านอนุมูลอิสระ



 ขอบคุณ ความเห็นของ รศ.พญ.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์  จากหนังสือ รายงานการสัมนาเรื่องน้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ ถอดจากแถบบันทึกเสียง โดยเฟืองเฉย สมัยเทอดศักดิ์ กรมวิชาการเกษตร ทำบรรณาธิกรโดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย


ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี ผู้แทนชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่





Create Date : 09 ตุลาคม 2555
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 21:36:48 น.
Counter : 4052 Pageviews.

2 comments
  
บทความมีประโยชน์มากครับ
โดย: cat2 IP: 49.230.231.59 วันที่: 23 มิถุนายน 2558 เวลา:18:17:44 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
โดย: Sand_Lawyer IP: 203.114.122.27 วันที่: 4 ตุลาคม 2560 เวลา:16:22:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kandanalikecoconutoil.BlogGang.com

kandanalike
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]

บทความทั้งหมด